มีเงินล้าน...จะยืนระยะได้กี่น้ำ?
สัปดาห์ที่แล้ว เข็มทิศลงทุนได้ลงบทความเรื่อง “เกษียณแล้วหยุดทำงานได้ แต่ห้ามหยุดทำเงิน” แฟนประจำหลายท่านเกิดติดใจ และอยากให้ลงรายละเอียดว่าแต่ละปีจะใช้เงินอย่างไร และจะได้ผลตอบแทนอย่างไร ถึงจะทำให้ชีวิตหลังเกษียณมั่นคง และมั่นใจได้ว่าจะยืนระยะได้ยาว ๆ
วิธีการคือ ต้องจัดสรรเงินเป็น 4 ส่วน เพื่อใช้จ่ายใน 4 ช่วงชีวิต
มาดูตัวอย่างของคนที่เกษียณแล้ว ไม่มีเงินเดือน ไม่มีเงินบำนาญ แต่มีเงินออม 1,000,000 บาท ต้องแบ่งเงินเป็น 4 ส่วน
เงินส่วนที่ 1 : สำหรับใช้จ่ายประจำวันและเสริมสภาพคล่องตั้งแต่อายุ 60-65 ปี สมมุติให้มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 10,000 บาท เป็นเวลา 5 ปี ดังนั้น ต้องแยกเงินออกมา 600,000 บาท แต่อย่าให้เงินก้อนนี้อยู่นิ่ง ๆ ต้องให้เงินทำงาน สร้างผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง เช่น ฝากธนาคาร ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 2%
เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายจนถึงอายุ 65 ปี
เงินส่วนที่ 2 : สำหรับลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนตั้งแต่อายุ 60 ปี และนำมาใช้จ่ายเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป หลังจากจัดสรรเงินสำหรับใช้จ่ายประจำวันไปแล้วแนะนำให้แบ่งเงิน 65% ของเงินที่เหลืออยู่ = 260,000 บาท เพื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอและความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ผลตอบแทนเฉลี่ยจากการลงทุนในตราสารหนี้ประมาณ 4-5% เมื่อผู้ลงทุนอายุ 65 ปี เงินลงทุน 260,000 บาท จะทบต้นทบดอกกลายเป็นเงินประมาณ 320,000 บาท สำหรับใช้จ่ายได้จนถึงอายุ 68 ปี
เงินส่วนที่ 3 : สำหรับลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนตั้งแต่อายุ 60 ปี และนำมาใช้จ่ายเมื่ออายุ 68 ปีขึ้นไป จัดสรรเงินอีก 20% ของเงินต้นที่เหลือ = 80,000 บาท เพื่อลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น โดยเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุว่า ผลตอบแทนเฉลี่ยจากการลงทุนในหุ้นตั้งแต่ปี 2544-2555 อยู่ที่ 20% เมื่อผู้ลงทุนอายุ 68 ปี เงินลงทุน 80,000 บาท จะกลายเป็นเงิน 350,000 บาท และจะใช้จ่ายจนถึงอายุ 71 ปี
เงินส่วนที่ 4 : สำหรับลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนตั้งแต่อายุ 60 ปี และนำมาใช้จ่ายเมื่ออายุ 71 ปี นี่คือเงิน 15% สุดท้าย หรือ 60,000 บาท นำไปลงทุนในกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนไม่ให้กระจุกตัวอยู่ในประเทศเพียงอย่าง เดียว ซึ่งผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 15% ดังนั้น ในปีที่ 70 เงินลงทุน 60,000 บาท จะกลายเป็นเงินเกือบ 280,000 บาท สำหรับใช้จนถึงอายุ 73 ปี
นี่คือตัวอย่างการจัดสัดส่วนการลงทุน เพื่อให้เงินออมที่มีนั้นสามารถจะยืนระยะในการใช้ชีวิตของเราได้ยาวนานที่สุด จะเห็นได้ว่าการมีเงินล้าน!! และใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุดเพียงเดือนละ 10,000 บาทนั้น ช่วยให้เรามีเงินใช้จ่ายได้อย่างไม่ขาดมือจนถึงอายุ 73 ปีเท่านั้น และหากไม่กล้านำไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน เงินล้านจะหมดลงในเวลาไม่ถึง 9 ปี ดังนั้นขอย้ำอีกครั้งว่า เมื่อหยุดทำงาน แต่ต้องไม่หยุดทำเงิน เพราะเรายังไม่หยุดใช้ชีวิต และใช้จ่าย ดังนั้นหากต้องการให้เงินล้านยืนระยะสำหรับการใช้จ่าย ใช้ชีวิตให้นานที่สุด ก็ต้องเริ่มบริหารความเสี่ยงกันแล้วตั้งแต่วันนี้
มีข่าวฝาก!! สำหรับสมาชิก กบข. ที่จะเกษียณในปีนี้ หากยังไม่มีแผนการใช้เงินก้อนที่จะได้รับจาก กบข. หรือหามืออาชีพทำเงินให้ ก็แนะนำให้ “ออมต่อ รอจังหวะ กับ กบข.” มี 2 ข้อดี คือ 1. รักษาเงินต้นและผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับหลังเกษียณอย่างเต็มที่ เพราะเศรษฐกิจการลงทุนผันผวน มูลค่าหน่วยลงทุนขึ้นลงทุกวัน หากขอรับเงินคืนช่วงเศรษฐกิจขาลงอาจได้เงินน้อย ออมต่อ รอจังหวะเศรษฐกิจขาขึ้นอีกสักหน่อย อาจจะได้เงินมากกว่า 2. ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เสียภาษี แตกต่างจากการฝากเงินในธนาคารที่อาจต้องเสียภาษีดอกเบี้ยร้อยละ 15%
อิจฉาสมาชิก กบข. ก็ตรงนี้แหละ ได้ทั้งเงินบำนาญรายเดือน ได้ทั้งเงินก้อนใหญ่ บางคนได้เป็นล้าน แถมผลตอบแทนก็ไม่เสียภาษี
ออมต่อ รอจังหวะ กับ กบข. แบบนี้มีเงินล้าน ก็ยืนระยะยาวได้ยาวไม่ปวดหัว ปวดใจแน่นอน.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/55/231153 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เข็มทิศลงทุน สัปดาห์ที่แล้ว เข็มทิศลงทุนได้ลงบทความเรื่อง “เกษียณแล้วหยุดทำงานได้ แต่ห้ามหยุดทำเงิน” แฟนประจำหลายท่านเกิดติดใจ และอยากให้ลงรายละเอียดว่าแต่ละปีจะใช้เงินอย่างไร และจะได้ผลตอบแทนอย่างไร ถึงจะทำให้ชีวิตหลังเกษียณมั่นคง และมั่นใจได้ว่าจะยืนระยะได้ยาว ๆ วิธีการคือ ต้องจัดสรรเงินเป็น 4 ส่วน เพื่อใช้จ่ายใน 4 ช่วงชีวิต มาดูตัวอย่างของคนที่เกษียณแล้ว ไม่มีเงินเดือน ไม่มีเงินบำนาญ แต่มีเงินออม 1,000,000 บาท ต้องแบ่งเงินเป็น 4 ส่วน เงินส่วนที่ 1 : สำหรับใช้จ่ายประจำวันและเสริมสภาพคล่องตั้งแต่อายุ 60-65 ปี สมมุติให้มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 10,000 บาท เป็นเวลา 5 ปี ดังนั้น ต้องแยกเงินออกมา 600,000 บาท แต่อย่าให้เงินก้อนนี้อยู่นิ่ง ๆ ต้องให้เงินทำงาน สร้างผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง เช่น ฝากธนาคาร ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 2% เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายจนถึงอายุ 65 ปี เงินส่วนที่ 2 : สำหรับลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนตั้งแต่อายุ 60 ปี และนำมาใช้จ่ายเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป หลังจากจัดสรรเงินสำหรับใช้จ่ายประจำวันไปแล้วแนะนำให้แบ่งเงิน 65% ของเงินที่เหลืออยู่ = 260,000 บาท เพื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอและความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ผลตอบแทนเฉลี่ยจากการลงทุนในตราสารหนี้ประมาณ 4-5% เมื่อผู้ลงทุนอายุ 65 ปี เงินลงทุน 260,000 บาท จะทบต้นทบดอกกลายเป็นเงินประมาณ 320,000 บาท สำหรับใช้จ่ายได้จนถึงอายุ 68 ปี เงินส่วนที่ 3 : สำหรับลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนตั้งแต่อายุ 60 ปี และนำมาใช้จ่ายเมื่ออายุ 68 ปีขึ้นไป จัดสรรเงินอีก 20% ของเงินต้นที่เหลือ = 80,000 บาท เพื่อลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น โดยเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุว่า ผลตอบแทนเฉลี่ยจากการลงทุนในหุ้นตั้งแต่ปี 2544-2555 อยู่ที่ 20% เมื่อผู้ลงทุนอายุ 68 ปี เงินลงทุน 80,000 บาท จะกลายเป็นเงิน 350,000 บาท และจะใช้จ่ายจนถึงอายุ 71 ปี เงินส่วนที่ 4 : สำหรับลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนตั้งแต่อายุ 60 ปี และนำมาใช้จ่ายเมื่ออายุ 71 ปี นี่คือเงิน 15% สุดท้าย หรือ 60,000 บาท นำไปลงทุนในกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนไม่ให้กระจุกตัวอยู่ในประเทศเพียงอย่าง เดียว ซึ่งผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 15% ดังนั้น ในปีที่ 70 เงินลงทุน 60,000 บาท จะกลายเป็นเงินเกือบ 280,000 บาท สำหรับใช้จนถึงอายุ 73 ปี นี่คือตัวอย่างการจัดสัดส่วนการลงทุน เพื่อให้เงินออมที่มีนั้นสามารถจะยืนระยะในการใช้ชีวิตของเราได้ยาวนานที่สุด จะเห็นได้ว่าการมีเงินล้าน!! และใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุดเพียงเดือนละ 10,000 บาทนั้น ช่วยให้เรามีเงินใช้จ่ายได้อย่างไม่ขาดมือจนถึงอายุ 73 ปีเท่านั้น และหากไม่กล้านำไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน เงินล้านจะหมดลงในเวลาไม่ถึง 9 ปี ดังนั้นขอย้ำอีกครั้งว่า เมื่อหยุดทำงาน แต่ต้องไม่หยุดทำเงิน เพราะเรายังไม่หยุดใช้ชีวิต และใช้จ่าย ดังนั้นหากต้องการให้เงินล้านยืนระยะสำหรับการใช้จ่าย ใช้ชีวิตให้นานที่สุด ก็ต้องเริ่มบริหารความเสี่ยงกันแล้วตั้งแต่วันนี้ มีข่าวฝาก!! สำหรับสมาชิก กบข. ที่จะเกษียณในปีนี้ หากยังไม่มีแผนการใช้เงินก้อนที่จะได้รับจาก กบข. หรือหามืออาชีพทำเงินให้ ก็แนะนำให้ “ออมต่อ รอจังหวะ กับ กบข.” มี 2 ข้อดี คือ 1. รักษาเงินต้นและผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับหลังเกษียณอย่างเต็มที่ เพราะเศรษฐกิจการลงทุนผันผวน มูลค่าหน่วยลงทุนขึ้นลงทุกวัน หากขอรับเงินคืนช่วงเศรษฐกิจขาลงอาจได้เงินน้อย ออมต่อ รอจังหวะเศรษฐกิจขาขึ้นอีกสักหน่อย อาจจะได้เงินมากกว่า 2. ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เสียภาษี แตกต่างจากการฝากเงินในธนาคารที่อาจต้องเสียภาษีดอกเบี้ยร้อยละ 15% อิจฉาสมาชิก กบข. ก็ตรงนี้แหละ ได้ทั้งเงินบำนาญรายเดือน ได้ทั้งเงินก้อนใหญ่ บางคนได้เป็นล้าน แถมผลตอบแทนก็ไม่เสียภาษี ออมต่อ รอจังหวะ กับ กบข. แบบนี้มีเงินล้าน ก็ยืนระยะยาวได้ยาวไม่ปวดหัว ปวดใจแน่นอน. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/55/231153 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)