คิดดี : ข้อแนะนำในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงวัย

แสดงความคิดเห็น

ในปัจจุบันการแพทย์มีการพัฒนาไปมากประกอบกับอัตราการเกิดของประชากรลดลง จึงมีประชากรเป็นกลุ่มผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้นซึ่งร่างกายจะเริ่มถดถอยมีการ เสื่อมสภาพต่าง ๆ ของกระดูกและข้อต่อทำให้ทำอะไรได้ไม่สะดวกเหมือนเคยจึงจำเป็นต้องมีการออก แบบเพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

ชักโครกที่ถูกต้องตามการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงวัย 1. ระดับพื้น ไม่ควรทำระดับพื้นให้มีระดับแตกต่างกับภายในอาคารเพราะจะทำให้สะดุดหรือหก ล้มได้ง่ายหากจำเป็นต้องมีควรทำเป็นทางลาดที่มีความชัน 1:12 และขนาดของทางลาดควรกว้างไม่น้อยกว่า1 เมตรและมีราวจับตลอดแนวและมีพื้นผิวเรียบแต่ไม่ลื่น

2.ประตูควรเป็นบานเลื่อนขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 0.90 เซนติเมตรเพื่อให้รถเข็นหรืออุปกรณ์ช่วยเดินผ่านได้โดยสะดวกหากเป็นบานเปิด มือจับควรเป็นลักษณะก้านโยกและไม่ควรติดระบบปิดประตูอัตโนมัติ (โช้คอัพ)

3.วัสดุพื้น วัสดุที่นำมาปูพื้นควรมีลักษณะที่สามารถยืดหยุ่นได้และไม่มีความลื่นทำความ สะอาดง่าย มีรอยต่อน้อยเช่น กระเบื้องยางม้วนอย่างหนาไม้ทำให้เวลาเดินไม่สะดุดรอยต่อของวัสดุปูพื้นและ ไม่เย็นเท้าอีกด้วย

4.ปลั๊กและสวิตช์ไฟต่าง ๆ ควรติดตั้งที่ระดับความสูง 0.70-1.00 เมตรเพื่อหลีกเลี่ยงการก้มลงเมื่อเวลาเปิดใช้งานและควรมีแป้นสัมผัสที่ใหญ่ กว่าปกติ สำหรับปลั๊กไฟ ควรมีสวิตช์เปิด-ปิดปลั๊กด้วย

5.ห้องน้ำควรมีราวจับที่มั่นคงตามพื้นที่ใช้งานต่าง ๆ

-อ่างล้างหน้า หากมีผู้สูงอายุที่ต้องใช้รถเข็นควรคำนึงถึงความสูงของเคาน์เตอร์ให้เหมาะสม และสามารถให้รถเข็นเข้าไปในด้านล่างของเคาน์เตอร์เพื่อให้ใช้งานได้โดย สะดวก(ด้านล่างของเคาน์เตอร์ควรเปิดโล่งสำหรับรถเข็น)

รวมภาพการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงวัยและคนพิการ อาทิ ทางลาด ห้องน้ำ ทางต่างระดับ -ส่วนอาบน้ำควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1x1.5 เมตรและมีการติดตั้งราวจับสำหรับช่วยพยุงตัวและมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการ วางเก้าอี้อาบน้ำหรือมีผู้ช่วยอาบน้ำได้หากจะมีกระจกกั้นส่วนเปียก-แห้งต้อง เป็นกระจกนิรภัยเท่านั้น

-การลดระดับต่าง ๆ ควรทำทางลาดทั้งหมดหากเลี่ยงการลดระดับไม่ได้ควรเปลี่ยนสีของกระเบื้องให้ ชัดเจนเพื่อสามารถรับรู้ได้โดยง่ายและควรใช้กระเบื้องที่มีผิวหยาบไม่ลื่น

-ชักโครกต้องมีอุปกรณ์ช่วยพยุงตัวจึงควรเว้นพื้นที่ไว้ให้มากกว่าปกติ

-อุปกรณ์เปิด-ปิดน้ำต่าง ๆ ควรเป็นก้านโยก และใช้ฝักบัวแรงดันต่ำ-ประตูไม่ควรมีกลอนเพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ ทันทีหากเกิดเหตุฉุกเฉิน

6. หน้าต่างควรมีช่องเปิดไม่น้อยกว่า 20% ของพื้นที่ห้องเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกควรเปิดหน้าต่างทางทิศเหนือและ ตะวันออก หน้าต่างควรใช้เป็นบานเลื่อนเพื่อความสะดวกในการใช้งาน

7. ลิฟต์โดยสาร (หากมี) ควรคำนึงถึงขนาดไม่ให้เล็กเกินไปเพราะต้องเผื่อพื้นที่สำหรับรถเข็นหรือ อุปกรณ์ช่วยเดินอื่น ๆ และมีพื้นที่เหลือเพียงพอสำหรับผู้ดูแลและควรมีระบบเก็บไฟฟ้าสำรองเผื่อใน กรณีไฟฟ้าดับด้วย

8. โทรศัพท์และสัญญาณเรียกฉุกเฉินควรติดอยู่โดยทั่วไปเป็นระยะโดยเฉพาะบริเวณที่นอนและห้องน้ำ

9. เครื่องเรือนต่าง ๆ ควรจัดวางให้มีระยะเข้าถึงที่กว้างมากกว่าปกติ ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 1.20 เมตรโดยรอบบริเวณเครื่องเรือน

10. การวางเตียงนอนโดยมากผู้สูงอายุมักมีพฤติกรรมตื่นนอนง่าย รู้สึกตัวง่ายถ้าคู่นอนมีการพลิกตัวบ่อยอาจแก้ปัญหาโดยออกแบบเตียงนอนแบบแยก กันเพื่อให้เกิดการรบกวนกันน้อยที่สุดและควรมีที่ว่างโดยรอบเตียงทั้ง 3 ด้านเพื่อให้ขึ้นเตียงนอนได้โดยสะดวก

11. ราวระเบียงควรติดตั้งให้มีขอบสูงไม่น้อยกว่า 1.20 เมตรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ

12.โทนสีควรเลือกใช้โทนสีสว่างจะกระตุ้นให้ผู้อยู่อาศัยมีความสดชื่นลดอาการซึมเศร้าได้

นอกจากนี้การออกแบบต่าง ๆ ควรปรึกษาสถาปนิกผู้มีความชำนาญเพื่อให้สามารถออกแบบใช้งานได้ตรงวัตถุประสงค์.

lifeimage_ar@yahoo.com

ภาณุวัฒน์ สินธวัชต์

ณัฐพล ปิยะตันติ

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/224499/คิดดี+%3A+ข้อแนะนำในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงวัย (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 มี.ค.57

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 27/03/2557 เวลา 09:11:11 ดูภาพสไลด์โชว์ คิดดี : ข้อแนะนำในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงวัย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ในปัจจุบันการแพทย์มีการพัฒนาไปมากประกอบกับอัตราการเกิดของประชากรลดลง จึงมีประชากรเป็นกลุ่มผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้นซึ่งร่างกายจะเริ่มถดถอยมีการ เสื่อมสภาพต่าง ๆ ของกระดูกและข้อต่อทำให้ทำอะไรได้ไม่สะดวกเหมือนเคยจึงจำเป็นต้องมีการออก แบบเพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ ชักโครกที่ถูกต้องตามการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงวัย 1. ระดับพื้น ไม่ควรทำระดับพื้นให้มีระดับแตกต่างกับภายในอาคารเพราะจะทำให้สะดุดหรือหก ล้มได้ง่ายหากจำเป็นต้องมีควรทำเป็นทางลาดที่มีความชัน 1:12 และขนาดของทางลาดควรกว้างไม่น้อยกว่า1 เมตรและมีราวจับตลอดแนวและมีพื้นผิวเรียบแต่ไม่ลื่น 2.ประตูควรเป็นบานเลื่อนขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 0.90 เซนติเมตรเพื่อให้รถเข็นหรืออุปกรณ์ช่วยเดินผ่านได้โดยสะดวกหากเป็นบานเปิด มือจับควรเป็นลักษณะก้านโยกและไม่ควรติดระบบปิดประตูอัตโนมัติ (โช้คอัพ) 3.วัสดุพื้น วัสดุที่นำมาปูพื้นควรมีลักษณะที่สามารถยืดหยุ่นได้และไม่มีความลื่นทำความ สะอาดง่าย มีรอยต่อน้อยเช่น กระเบื้องยางม้วนอย่างหนาไม้ทำให้เวลาเดินไม่สะดุดรอยต่อของวัสดุปูพื้นและ ไม่เย็นเท้าอีกด้วย 4.ปลั๊กและสวิตช์ไฟต่าง ๆ ควรติดตั้งที่ระดับความสูง 0.70-1.00 เมตรเพื่อหลีกเลี่ยงการก้มลงเมื่อเวลาเปิดใช้งานและควรมีแป้นสัมผัสที่ใหญ่ กว่าปกติ สำหรับปลั๊กไฟ ควรมีสวิตช์เปิด-ปิดปลั๊กด้วย 5.ห้องน้ำควรมีราวจับที่มั่นคงตามพื้นที่ใช้งานต่าง ๆ -อ่างล้างหน้า หากมีผู้สูงอายุที่ต้องใช้รถเข็นควรคำนึงถึงความสูงของเคาน์เตอร์ให้เหมาะสม และสามารถให้รถเข็นเข้าไปในด้านล่างของเคาน์เตอร์เพื่อให้ใช้งานได้โดย สะดวก(ด้านล่างของเคาน์เตอร์ควรเปิดโล่งสำหรับรถเข็น) รวมภาพการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงวัยและคนพิการ อาทิ ทางลาด ห้องน้ำ ทางต่างระดับ -ส่วนอาบน้ำควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1x1.5 เมตรและมีการติดตั้งราวจับสำหรับช่วยพยุงตัวและมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการ วางเก้าอี้อาบน้ำหรือมีผู้ช่วยอาบน้ำได้หากจะมีกระจกกั้นส่วนเปียก-แห้งต้อง เป็นกระจกนิรภัยเท่านั้น -การลดระดับต่าง ๆ ควรทำทางลาดทั้งหมดหากเลี่ยงการลดระดับไม่ได้ควรเปลี่ยนสีของกระเบื้องให้ ชัดเจนเพื่อสามารถรับรู้ได้โดยง่ายและควรใช้กระเบื้องที่มีผิวหยาบไม่ลื่น -ชักโครกต้องมีอุปกรณ์ช่วยพยุงตัวจึงควรเว้นพื้นที่ไว้ให้มากกว่าปกติ -อุปกรณ์เปิด-ปิดน้ำต่าง ๆ ควรเป็นก้านโยก และใช้ฝักบัวแรงดันต่ำ-ประตูไม่ควรมีกลอนเพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ ทันทีหากเกิดเหตุฉุกเฉิน 6. หน้าต่างควรมีช่องเปิดไม่น้อยกว่า 20% ของพื้นที่ห้องเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกควรเปิดหน้าต่างทางทิศเหนือและ ตะวันออก หน้าต่างควรใช้เป็นบานเลื่อนเพื่อความสะดวกในการใช้งาน 7. ลิฟต์โดยสาร (หากมี) ควรคำนึงถึงขนาดไม่ให้เล็กเกินไปเพราะต้องเผื่อพื้นที่สำหรับรถเข็นหรือ อุปกรณ์ช่วยเดินอื่น ๆ และมีพื้นที่เหลือเพียงพอสำหรับผู้ดูแลและควรมีระบบเก็บไฟฟ้าสำรองเผื่อใน กรณีไฟฟ้าดับด้วย 8. โทรศัพท์และสัญญาณเรียกฉุกเฉินควรติดอยู่โดยทั่วไปเป็นระยะโดยเฉพาะบริเวณที่นอนและห้องน้ำ 9. เครื่องเรือนต่าง ๆ ควรจัดวางให้มีระยะเข้าถึงที่กว้างมากกว่าปกติ ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 1.20 เมตรโดยรอบบริเวณเครื่องเรือน 10. การวางเตียงนอนโดยมากผู้สูงอายุมักมีพฤติกรรมตื่นนอนง่าย รู้สึกตัวง่ายถ้าคู่นอนมีการพลิกตัวบ่อยอาจแก้ปัญหาโดยออกแบบเตียงนอนแบบแยก กันเพื่อให้เกิดการรบกวนกันน้อยที่สุดและควรมีที่ว่างโดยรอบเตียงทั้ง 3 ด้านเพื่อให้ขึ้นเตียงนอนได้โดยสะดวก 11. ราวระเบียงควรติดตั้งให้มีขอบสูงไม่น้อยกว่า 1.20 เมตรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ 12.โทนสีควรเลือกใช้โทนสีสว่างจะกระตุ้นให้ผู้อยู่อาศัยมีความสดชื่นลดอาการซึมเศร้าได้ นอกจากนี้การออกแบบต่าง ๆ ควรปรึกษาสถาปนิกผู้มีความชำนาญเพื่อให้สามารถออกแบบใช้งานได้ตรงวัตถุประสงค์. lifeimage_ar@yahoo.com ภาณุวัฒน์ สินธวัชต์ ณัฐพล ปิยะตันติ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/224499/คิดดี+%3A+ข้อแนะนำในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงวัย เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ค้นหาข้อมูลในห้องสมุด