พุทธวิธีต้นแบบตลาดสีขาวในสังคมปัจจุบัน

แสดงความคิดเห็น

พุทธวิธีต้นแบบตลาดสีขาวในสังคมปัจจุบัน

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับการตลาดในสังคมปัจจุบัน : สายรุ้ง บุบผาพันธ์ นิสิตปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มจร รายงาน

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีหลักธรรมคำสั่งสอนถึงแปดหมื่นสีพันพระธรรมขันธ์ ซึ่งปรากฏในพระไตรปิฎกทั้ง 45 เล่ม เนื่องมาจากพระพุทธองค์ได้แสดงธรรมเผยแผ่หลักธรรมเพื่อให้ชาวโลกได้พ้นจาก ทุกข์นับเป็นเวลาที่ยาวนาน หลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งในเชิงการตลาด วงจรผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดจะเปรียบไปว่าเป็นความจริงแท้ของชีวิตเช่นเดียวกับ พุทธศาสนาที่มีรากฐานยาวนานกว่า 2,500 ปี ก็คงจะไม่เกินความจริงไปเท่าใดนัก ตัวอย่างเช่นวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์หนึ่งอย่างในทางการตลาดนั้นมีหลักเช่น เดียวกับเรื่องของไตรลักษณ์ที่ปรากฎอยู่ในพระพุทธศาสนา คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เรามารู้จักคำว่า “ไตรลักษณ์” คืออะไร

ไตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ความเป็นทุกข์ คือ มีความบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิม ได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ความที่ทุกสิ่งไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น

ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ 3 อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ ตรัสรู้ 3 อย่าง ได้แก่

1. อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) คือ อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์.

2. ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) คือ อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์

3. อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) คือ อาการของอนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง อาการที่แสดงถึงความไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย อาการที่แสดงถึงความด้อยสมรรถภาพโดยสิ้นเชิงไม่มีอำนาจกำลังอะไรต้องอาศัย พึงพิงสิ่งอื่นๆมากมายจึงมีขึ้นได้

ลักษณะ 3 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร

ในทางด้านการตลาดนั้นผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอต่อผู้บริโภคก็มีวงจรอยู่ 3 ช่วงวัยเช่นเดียวกันนั่นคือ

1. เปิดตัวผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักต่อผู้บริโภคและสื่อต่างๆ 2. ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักและครองความนิยมในตลาดอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง 3. ผลิตภัณฑ์หมดความนิยมหรือความต้องการจากตลาด เช่น มีสินค้าทดแทนได้ คู่แข่งทางการตลาดสูง หลักไตรลักษณ์ หลักการตลาด 1. อนิจจตา (เกิดขึ้น) อาการที่เกิดขึ้น 1. เปิดตัวผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักต่อผู้บริโภคและสื่อต่างๆ 2. ทุกขตา (ตั้งอยู่) ปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ 2. ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักและครองความนิยมในตลาดอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง 3. อนัตตตา (ดับไป) แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง 3. ผลิตภัณฑ์หมดความนิยมหรือความต้องการจากตลาด เช่น มีสินค้าทดแทนได้ คู่แข่งทางการตลาดสูง

ดังนั้น นักการตลาดจะต้องทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองที่ครองความนิยมในความต้องการของผู้ บริโภคต้องอยู่ในขั้น (Phase) ที่ 3 (ดับไป) อย่างเด็ดขาด ด้วยการกระตุ้นผลิตภัณฑ์ของตนเองด้วยวิธีการต่างๆ เช่นใช้หลักของ 1 ใน 4P ตามหลักการตลาดคือ P=Promotion (ลด,แลก,แจก,แถม) หรือวิธีการที่เห็นได้ง่ายและบ่อยที่สุดสำหรับผู้บริโภคสมัยนี้ที่ใช้ชีวิต ส่วนหนึ่งในการเสพสื่อต่างๆ เป็นต้น

อย่างที่ได้กล่าวแล้วว่าพระไตรปิฎกเปรียบเหมือนแหล่งรวมแห่งสรรพวิทยาการใน ทุก ๆ ศาสตร์ แม้ในเรื่องของการค้าขายโดยพระพุทธเจ้าได้ทรงให้ข้อแนะนำสำหรับการดำเนินชีวิต นำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพค้าขายไว้ใน ทุติยปาปณิกสูตร ว่า “พ่อค้า” ซึ่งหมายถึง ผู้ประกอบการทางธุรกิจในทุกสาขาอาชีพนั้น จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการคือ

1. มีตาดี หมายถึงพ่อค้าที่รู้จักว่า สินค้านี้ซื้อมาเท่านี้ ขายไปอย่างนี้ จักมีมูลค่าประมาณนี้ มีกำไรเท่านี้ 2. มีธุรกิจดี หมายถึงพ่อค้าทีเป็นคนฉลาดซื้อและขายสินค้าได้ 3. เพียบพร้อมด้วยที่พักพิง หมายถึงพอค้าที่เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงซึ่งหมายถึงมีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก

หมายความว่าผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 3 ประการ และได้ตรัสถึงกฎเกณฑ์ในการทำการค้าว่าจะต้องเป็นการค้าที่ถูกต้อง คือไม่ผิดใน 5 ประเด็นเรียกว่า วณิชชา 5 ได้แก่ 1. ไม่ค้าขายอาวุธ 2. ไม่ค้าขายมนุษย์ 3. ไม่ค้าขายสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อฆาแล้วนำไปขาย 4. ไม่ค้าขายของมึนเมา 5. ไม่ค้าขายยาพิษ

พระพุทธศาสนากับการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด

การค้าขายจะต้องมีแหล่งทำการค้าขายเรียกว่า “ตลาด” โดยทั่วไปหมายถึงการแลกเปลี่ยนสินค้าเกิดขึ้นเนื่องจากบุคคลแต่ละบุคคลหรือ กลุ่มชุมชนแต่ละกลุ่มไม่สามารถจะผลิตผลต่าง ๆที่ตนต้องการเองได้ทั้งหมดสิ่งบางอย่างผลิตเกินความต้องการแต่บางสิ่งที่ตน ต้องการผลิตเองไม่ได้หรือผลิตได้แต่ไม่เพียงพอพระพุทธศาสนามิได้กำหนดบริบท ของการค้าขายว่าลักษณะตลาดควรเป็นตลาดชนิดใดมีกลไกอย่างไรกล่าวคือตลาดผู้ ซื้อน้อยราย ผู้ขายมากราย ตลาดเสรี ตลาดผูกขาดในหลักคำสอนมิได้กล่าวถึงตลาดเชิงระบบ แต่เป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ขายที่ควรมีปัญญามีความรับผิดชอบต่ออาชีพ ของตนเองอาศัยความสุจริตเป็นรากฐานของการประกอบธุรกิจดังหลักคำสอนว่า

“ผู้มีสายตาไกล คือรู้สิ่งที่พึงขายว่า สิ่งที่ขายซื้อมาราคาเท่าไร ขายไปเท่านี้ จักได้กำไรเท่านี้ได้ทุนเท่านี้ เป็นผู้ฉลาดที่จะซื้อขายในสิ่งที่ตนพึงจะซื้อ”

ระบบการตลาดสมัยนี้พัฒนาการอย่างมากจนกระทั่งมีการนำระบบตลาดไปใช้ในกิจกรรม ทางพุทธศาสนา เช่น การผ่อนทำบุญการบูชาต่างๆ โดยกำหนดเป็นองค์ละ..... การส่งเสริมการตลาดโดยใช้ตัวแทนเขต กลุ่มแล้วให้รางวัลเป็นขวัญกำลังใจ เป็นระบบตำแหน่ง อย่างนี้เป็นต้น

ที่จริงแล้ว การนำระบบมาใช้ในการเผยแผ่พระศาสนานั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในยุคนี้ ปัจจุบัน คนเข้าวัดน้อยลงชาวพุทธย่อหย่อนในการศึกษาธรรมะการใช้ระบบการตลาดมาวางแผน บริหารจัดการในการเผยแผ่ให้เป็นระบบและมีพระของขวัญให้เป็นกำลังใจเป็น กุศโลบายที่ดีในการกระตุ้นให้คนอยากมาทำบุญและมาศึกษาและปฏิบัติธรรม สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ขัดแย้งใดๆเลยการกระทำแบบนี้ถ้าทำอย่างถูกต้อง และมีวัตถุประสงค์เพื่อชวนคนมาส่งเสริม ทำนุบำรุงพระศาสนาชวนคนมาศึกษาและปฏิบัติธรรมจะเป็นผลดีต่อระศาสนาอย่างมากๆ ถ้าพระทุกๆ วัดทำได้อย่างนี้ศาสนาพุทธจะไม่มีวันเลือนหายไปจากแผ่นดินไทย

1. กลยุทธแนวรุกปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นในภาคส่วนของเอกชนและส่วนภาคส่วนราชการ อาทิ กรมการศาสนา วัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานพระพุทธศาสนา ตลอดจนห้างร้าน บริษัท ล้วนมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของเยาวชน โดยเห็นได้จากการที่คณะสงฆ์เองนั้น มีโครงการบรรพชาอุปสมบทและบวชศีลจาริณีเพื่อปลูกและฝังคุณธรรมจริยธรรม ชี้ให้เห็นความถูกต้องตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยการนำเยาวชนมาเข้าร่วมโครงการกันอย่างต่อเนื่อง นิมนต์พระสงฆ์เข้าสู่กระบวนการการเรียนการสอนศีลธรรมตามโรงเรียน เพื่อเพิ่มศักยภาพและมุมมองเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาตลอดถึงชี้ประเด็นให้ ชัดเจนเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมสำหรับบุคคลที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมให้เกิดมี ขึ้นในโรงเรียน เปิดมุมมองและวิสัยทัศน์ให้เกิดแก่ผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนคณาจารย์ที่ประจำอยู่ในโรงเรียน

2. การพัฒนาการสอนและการสอนคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม โดยการประยุกต์ใช้พุทธวิธีในการสอน รศ. ดร. ทิศนา แขมมณี ได้กล่าวไว้ในหนังสือ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ 6 ไว้ ซึ่งขออนุญาตยกโดยสรุปมากล่าวดังนี้ว่า

ก. ใช้หลักธรรม อริยสัจ 47 ซึ่งหลักธรรมดังกล่าวสามารถประยุกต์ใช้ได้ดังนี้ 1. ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์) 2. ขั้นตั้งสมมติฐาน (ขั้นสมุทัย) 3. ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ) 4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (ขั้นมรรค)

ข. ใช้หลักธรรม ไตรสิกขา 1. ขั้นศีล หมายถึง ผู้ที่เรียนรู้ต้องควบคุมตนเองให้อยู่ในระเบียบวินัย ทั้งกายและวาจา ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เป็นปกติ ร่างกายพร้อมที่จะเรียนรู้ 2. ขั้นสมาธิ หมายถึง ขั้นที่ผู้เรียนรวบรวมจิตใจความคิดให้แน่วแน่ในจุดเดียว เรื่องเดียว 3. ขั้นปัญญา เป็นขั้นที่ผู้เรียนใช้สมาธิในการทำความเข้าใจสิ่งที่เรียนจนเกิดการเรียน รู้ในเรื่องนั้น ถูกตรงตามที่เป็นจริง

ค. หลักธรรมหลักพหูสูต 1. พหุสุตา – ฟังมาก (ได้เล่าเรียนสดับฟังไว้มาก) 2. ธดา– จำได้ (จับหลักหรือสาระได้ ทรงจำความไว้แม่นยำ) 3. วจสา ปริจิตา – คล่องปาก (ท่องบ่นหรือใช้คำพูดอยู่เสมอ จนแคล่วคล่อง จัดเจน) 4. มนสานุเปกขิตา – เพ่งขึ้นใจ (ใส่ใจ นึกคิดพิจารณาจนเจนใจ) 5. ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา– ขบได้ด้วยทฤษฎี (มีความเข้าใจลึกซึ้ง มองเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาทั้งในแง่ความหมายและเหตุผล)

ง. หลักธรรม ปรโตโฆสะและโยนิโสมนสิการ 1. ปรโตโฆสะ ได้แก่ เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือการรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร หมายถึง รู้จักหาผู้แนะนำสั่งสอน ที่ปรึกษา เพื่อน หนังสือ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทางสังคมทั่วไปที่ดี ที่เกื้อกูล ซึ่งจะชักจูงหรือกระตุ้นให้เกิดปัญญาได้ ด้วยการฟัง การสนทนา ซักถาม การอ่าน การค้นคว้า ตลอดจนการรู้จักเลือกใช้สื่อมวลชนให้เป็นประโยชน์

อย่างไรก็ตาม การมีปรโตโฆสะหรือกัลยาณมิตรนั้น ไม่ใช่ว่าคนอื่นจะมาเป็นกัลยาณมิตรให้อย่างเดียว ตัวเองก็ต้องรู้จักเลือกคบหากัลยาณมิตรด้วย จริงอยู่ เป็นหน้าที่ของสังคม โดยเฉพาะหัวหน้าที่รับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ ผู้ปกครองจะต้องทำตัวเป็นกัลยาณมิตร สรรหาและสรรค์สร้างกัลยาณมิตรให้แก่คนในความรับผิดชอบของตน เช่น สรรหาและสรรค์สร้างรายการทางสื่อมวลชนที่ดีๆ เป็นต้น แก่เด็กและประชาชน แต่ตัวเด็กและตัวคนนั้นๆ เองก็ต้องรู้จักเลือกคนหากัลยาณมิตรเองด้วย เช่น รู้จักเลือกคบคน รู้จักหาแหล่งความรู้ แหล่งความคิดสร้างสรรค์ รู้จักเลือกบุคคลที่จะนิยมเป็นแบบอย่างในความประพฤติหรือในการครองชีวิต

2. โยนิโสมนสิการ ได้แก่ การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือกระทำในใจ โดยการมองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย แบ่งออกเป็น 4 อย่าง คือ

ก. อุปายมนสิการ คิดหรือพิจารณาโดยอุบาย คิดอย่างมีวิธี คิดอย่างถูกวิธี คิดถูกวิธีที่จะเข้าถึงความจริง สอดคล้องเข้ากับแนวของสัจจะ ทำให้หยั่งรู้สภาวลักษณะและสามัญญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย ข. ปถมนสิการ คิดเป็นทางหรือคิดถูกทาง คิดได้ต่อเนื่องเป็นลำดับ มีลำดับ มีขั้นตอน แล่นไปเป็นแถวเป็นแนว หมายถึง ความคิดเป็นระเบียบตามแนวเหตุผล ค. การมนสิการ การคิดสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดกันแห่งเหตุปัจจัย การพิจารณาสืบสาวหาเหตุให้เข้าใจถึงต้นเค้าหรือแหล่งที่มาซึ่งส่งผลต่อ เนื่องมาเป็นลำดับ ง. อุปปาทกมนสิการ คิดให้เกิดผล ใช้ความคิดให้เกิดผลที่พึงประสงค์ เล็งถึงการคิดอย่างมีเป้าหมาย หมายถึง การคิดพิจารณาที่ทำให้เกิดกุศลธรรม

อย่างที่ได้กล่าวแล้วว่าพระไตรปิฎกเปรียบเหมือนแหล่งรวมแห่งสรรพวิทยาการใน ทุก ๆ ศาสตร์ แม้ในเรื่องของการค้าขายโดยพระพุทธเจ้าได้ทรงให้ข้อแนะนำสำหรับการดำเนิน ชีวิต นำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพค้าขายไว้ใน ทุติยปาปณิกสูตร9 ว่า “พ่อค้า” ซึ่งหมายถึง ผู้ประกอบการทางธุรกิจในทุกสาขาอาชีพนั้น จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการคือ 1. มีตาดี หมายถึงพ่อค้าที่รู้จักว่า สินค้านี้ซื้อมาเท่านี้ ขายไปอย่างนี้ จักมีมูลค่าประมาณนี้ มีกำไรเท่านี้ 2. มีธุรกิจดี หมายถึงพ่อค้าทีเป็นคนฉลาดซื้อและขายสินค้าได้ 3. เพียบพร้อมด้วยที่พักพิง หมายถึงพอค้าที่เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงซึ่งหมายถึงมีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก10

หมายความว่าผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 3 ประการ และได้ตรัสถึงกฎเกณฑ์ในการทำการค้าว่าจะต้องเป็นการค้าที่ถูกต้อง คือไม่ผิดใน 5 ประเด็นเรียกว่า วณิชชา 5 ได้แก่

1. ไม่ค้าขายอาวุธ 2. ไม่ค้าขายมนุษย์ 3. ไม่ค้าขายสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อฆ่าแล้วนำไปขาย 4. ไม่ค้าขายของมึนเมา 5. ไม่ค้าขายยาพิษ

ดังนั้น การตลาดกับศาสนาจะอยู่ในฐานะอะไรอย่างไร พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร สรุปไว้น่ารับฟังว่าการตลาดจึงดำรงอยู่ในฐานะเป็น "เครื่องมือของศาสนา" มากกว่า "ศาสนาจะเป็นเครื่องมือของการตลาด"เพราะการตลาดจะเข้ามาทำหน้าที่ในการพัฒนา ช่องทางให้ศาสนาในฐานะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางสติปัญญา เพื่อจะพาให้มนุษย์หลุดรอดออกจากความกลัว ความสิ้นหวัง

เมื่อนำหลักพุทธศาสนามาเป็นส่วนหนึ่งของส่วนผสมทางการตลาดจะทำให้การตลาดบน โลกใบนี้การการตลาดสีขาว เป็นการตลาดอันงดงามต่อไป ดัง ดนัย จันทร์เจ้าฉาย นักธุรกิจสีขาว ผู้ไม่เน้นกำไรเป็นจุดประสงค์เดียวของการดำเนินธุรกิจได้นำเสนอ 4P ในการกลยุทธ์น่านน้ำสีขาว อันประกอบด้วย (1) People คือ คนในองค์กร เน้นเรื่องคนที่ทำงานด้วย ว่าจะต้องสุขใจ สุขกาย เช่นองค์กรจัดสรรห้องประชุมขนาดใหญ่ให้พนักงานได้ทำวัตรสวดมนต์ เพื่อผ่อนคลายจิตใจ เรียกได้ว่า เป็น "สถานปฏิบัติธรรมกลางเมืองที่ใหญ่มากแห่งหนึ่ง"

องค์กรที่เป็นกลยุทธ์น่านน้ำสีขาวนั้น ต้องมุ่งเน้นที่ พนักงานเป็นอันดับแรก อย่างจริงจัง (2) Profit ตัวกำไร อันเป็นน้ำหล่อเลี้ยงของกิจการ ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ เพราะถ้าไม่ใส่ใจ ก็จะทำให้ธุรกิจ อยู่ไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นเป้าหมายเดียวขององค์กร (3) Planet คำนึงถึงโลก สิ่งแวดล้อมของเรา สิ่งที่เราทำนั้นทำลายสิ่งแวดล้อม หรือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสุดท้าย ก็คือ (4) Passion แปลว่า ความรัก ความลุ่มหลงในสิ่งที่ตนเองทำ สิ่งที่ตนเองเชื่อ เมื่อคิดให้ดีแล้วตามหลักพระพุทธศาสนา การตลาดจะต้องอาศัยปฏิรูปเทศอันหมายถึงสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อให้เกิดกระบวนการคล่องตัวและนำไปสู่ความสำเร็จเรียกว่าวัฒนะซึ่งตรงกัน ข้ามกับคำว่าขาดทุนนั่นเอง

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140304/180143.html#.UxU-G84yPlA (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.57

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 27/03/2557 เวลา 09:04:36 ดูภาพสไลด์โชว์ พุทธวิธีต้นแบบตลาดสีขาวในสังคมปัจจุบัน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พุทธวิธีต้นแบบตลาดสีขาวในสังคมปัจจุบัน หลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับการตลาดในสังคมปัจจุบัน : สายรุ้ง บุบผาพันธ์ นิสิตปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มจร รายงาน พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีหลักธรรมคำสั่งสอนถึงแปดหมื่นสีพันพระธรรมขันธ์ ซึ่งปรากฏในพระไตรปิฎกทั้ง 45 เล่ม เนื่องมาจากพระพุทธองค์ได้แสดงธรรมเผยแผ่หลักธรรมเพื่อให้ชาวโลกได้พ้นจาก ทุกข์นับเป็นเวลาที่ยาวนาน หลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งในเชิงการตลาด วงจรผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดจะเปรียบไปว่าเป็นความจริงแท้ของชีวิตเช่นเดียวกับ พุทธศาสนาที่มีรากฐานยาวนานกว่า 2,500 ปี ก็คงจะไม่เกินความจริงไปเท่าใดนัก ตัวอย่างเช่นวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์หนึ่งอย่างในทางการตลาดนั้นมีหลักเช่น เดียวกับเรื่องของไตรลักษณ์ที่ปรากฎอยู่ในพระพุทธศาสนา คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เรามารู้จักคำว่า “ไตรลักษณ์” คืออะไร ไตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ความเป็นทุกข์ คือ มีความบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิม ได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ความที่ทุกสิ่งไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ 3 อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ ตรัสรู้ 3 อย่าง ได้แก่ 1. อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) คือ อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์. 2. ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) คือ อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์ 3. อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) คือ อาการของอนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง อาการที่แสดงถึงความไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย อาการที่แสดงถึงความด้อยสมรรถภาพโดยสิ้นเชิงไม่มีอำนาจกำลังอะไรต้องอาศัย พึงพิงสิ่งอื่นๆมากมายจึงมีขึ้นได้ ลักษณะ 3 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร ในทางด้านการตลาดนั้นผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอต่อผู้บริโภคก็มีวงจรอยู่ 3 ช่วงวัยเช่นเดียวกันนั่นคือ 1. เปิดตัวผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักต่อผู้บริโภคและสื่อต่างๆ 2. ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักและครองความนิยมในตลาดอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง 3. ผลิตภัณฑ์หมดความนิยมหรือความต้องการจากตลาด เช่น มีสินค้าทดแทนได้ คู่แข่งทางการตลาดสูง หลักไตรลักษณ์ หลักการตลาด 1. อนิจจตา (เกิดขึ้น) อาการที่เกิดขึ้น 1. เปิดตัวผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักต่อผู้บริโภคและสื่อต่างๆ 2. ทุกขตา (ตั้งอยู่) ปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ 2. ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักและครองความนิยมในตลาดอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง 3. อนัตตตา (ดับไป) แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง 3. ผลิตภัณฑ์หมดความนิยมหรือความต้องการจากตลาด เช่น มีสินค้าทดแทนได้ คู่แข่งทางการตลาดสูง ดังนั้น นักการตลาดจะต้องทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองที่ครองความนิยมในความต้องการของผู้ บริโภคต้องอยู่ในขั้น (Phase) ที่ 3 (ดับไป) อย่างเด็ดขาด ด้วยการกระตุ้นผลิตภัณฑ์ของตนเองด้วยวิธีการต่างๆ เช่นใช้หลักของ 1 ใน 4P ตามหลักการตลาดคือ P=Promotion (ลด,แลก,แจก,แถม) หรือวิธีการที่เห็นได้ง่ายและบ่อยที่สุดสำหรับผู้บริโภคสมัยนี้ที่ใช้ชีวิต ส่วนหนึ่งในการเสพสื่อต่างๆ เป็นต้น อย่างที่ได้กล่าวแล้วว่าพระไตรปิฎกเปรียบเหมือนแหล่งรวมแห่งสรรพวิทยาการใน ทุก ๆ ศาสตร์ แม้ในเรื่องของการค้าขายโดยพระพุทธเจ้าได้ทรงให้ข้อแนะนำสำหรับการดำเนินชีวิต นำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพค้าขายไว้ใน ทุติยปาปณิกสูตร ว่า “พ่อค้า” ซึ่งหมายถึง ผู้ประกอบการทางธุรกิจในทุกสาขาอาชีพนั้น จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการคือ 1. มีตาดี หมายถึงพ่อค้าที่รู้จักว่า สินค้านี้ซื้อมาเท่านี้ ขายไปอย่างนี้ จักมีมูลค่าประมาณนี้ มีกำไรเท่านี้ 2. มีธุรกิจดี หมายถึงพ่อค้าทีเป็นคนฉลาดซื้อและขายสินค้าได้ 3. เพียบพร้อมด้วยที่พักพิง หมายถึงพอค้าที่เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงซึ่งหมายถึงมีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก หมายความว่าผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 3 ประการ และได้ตรัสถึงกฎเกณฑ์ในการทำการค้าว่าจะต้องเป็นการค้าที่ถูกต้อง คือไม่ผิดใน 5 ประเด็นเรียกว่า วณิชชา 5 ได้แก่ 1. ไม่ค้าขายอาวุธ 2. ไม่ค้าขายมนุษย์ 3. ไม่ค้าขายสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อฆาแล้วนำไปขาย 4. ไม่ค้าขายของมึนเมา 5. ไม่ค้าขายยาพิษ พระพุทธศาสนากับการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด การค้าขายจะต้องมีแหล่งทำการค้าขายเรียกว่า “ตลาด” โดยทั่วไปหมายถึงการแลกเปลี่ยนสินค้าเกิดขึ้นเนื่องจากบุคคลแต่ละบุคคลหรือ กลุ่มชุมชนแต่ละกลุ่มไม่สามารถจะผลิตผลต่าง ๆที่ตนต้องการเองได้ทั้งหมดสิ่งบางอย่างผลิตเกินความต้องการแต่บางสิ่งที่ตน ต้องการผลิตเองไม่ได้หรือผลิตได้แต่ไม่เพียงพอพระพุทธศาสนามิได้กำหนดบริบท ของการค้าขายว่าลักษณะตลาดควรเป็นตลาดชนิดใดมีกลไกอย่างไรกล่าวคือตลาดผู้ ซื้อน้อยราย ผู้ขายมากราย ตลาดเสรี ตลาดผูกขาดในหลักคำสอนมิได้กล่าวถึงตลาดเชิงระบบ แต่เป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ขายที่ควรมีปัญญามีความรับผิดชอบต่ออาชีพ ของตนเองอาศัยความสุจริตเป็นรากฐานของการประกอบธุรกิจดังหลักคำสอนว่า “ผู้มีสายตาไกล คือรู้สิ่งที่พึงขายว่า สิ่งที่ขายซื้อมาราคาเท่าไร ขายไปเท่านี้ จักได้กำไรเท่านี้ได้ทุนเท่านี้ เป็นผู้ฉลาดที่จะซื้อขายในสิ่งที่ตนพึงจะซื้อ” ระบบการตลาดสมัยนี้พัฒนาการอย่างมากจนกระทั่งมีการนำระบบตลาดไปใช้ในกิจกรรม ทางพุทธศาสนา เช่น การผ่อนทำบุญการบูชาต่างๆ โดยกำหนดเป็นองค์ละ..... การส่งเสริมการตลาดโดยใช้ตัวแทนเขต กลุ่มแล้วให้รางวัลเป็นขวัญกำลังใจ เป็นระบบตำแหน่ง อย่างนี้เป็นต้น ที่จริงแล้ว การนำระบบมาใช้ในการเผยแผ่พระศาสนานั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในยุคนี้ ปัจจุบัน คนเข้าวัดน้อยลงชาวพุทธย่อหย่อนในการศึกษาธรรมะการใช้ระบบการตลาดมาวางแผน บริหารจัดการในการเผยแผ่ให้เป็นระบบและมีพระของขวัญให้เป็นกำลังใจเป็น กุศโลบายที่ดีในการกระตุ้นให้คนอยากมาทำบุญและมาศึกษาและปฏิบัติธรรม สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ขัดแย้งใดๆเลยการกระทำแบบนี้ถ้าทำอย่างถูกต้อง และมีวัตถุประสงค์เพื่อชวนคนมาส่งเสริม ทำนุบำรุงพระศาสนาชวนคนมาศึกษาและปฏิบัติธรรมจะเป็นผลดีต่อระศาสนาอย่างมากๆ ถ้าพระทุกๆ วัดทำได้อย่างนี้ศาสนาพุทธจะไม่มีวันเลือนหายไปจากแผ่นดินไทย 1. กลยุทธแนวรุกปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นในภาคส่วนของเอกชนและส่วนภาคส่วนราชการ อาทิ กรมการศาสนา วัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานพระพุทธศาสนา ตลอดจนห้างร้าน บริษัท ล้วนมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของเยาวชน โดยเห็นได้จากการที่คณะสงฆ์เองนั้น มีโครงการบรรพชาอุปสมบทและบวชศีลจาริณีเพื่อปลูกและฝังคุณธรรมจริยธรรม ชี้ให้เห็นความถูกต้องตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยการนำเยาวชนมาเข้าร่วมโครงการกันอย่างต่อเนื่อง นิมนต์พระสงฆ์เข้าสู่กระบวนการการเรียนการสอนศีลธรรมตามโรงเรียน เพื่อเพิ่มศักยภาพและมุมมองเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาตลอดถึงชี้ประเด็นให้ ชัดเจนเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมสำหรับบุคคลที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมให้เกิดมี ขึ้นในโรงเรียน เปิดมุมมองและวิสัยทัศน์ให้เกิดแก่ผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนคณาจารย์ที่ประจำอยู่ในโรงเรียน 2. การพัฒนาการสอนและการสอนคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ค้นหาข้อมูลในห้องสมุด