การจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวก การผลิตและการบริการล่ามภาษามือ : ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
คอลัมน์ สถานีพัฒนาสังคม : คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการ พิจารณาศึกษา เรื่องการจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวกการผลิตล่ามภาษามือและการให้บริการล่ามภาษามือ
การจัดการเรียนการสอนสำหรับคนหูหนวก การสอนภาษามือควบคู่กับการเขียนการอ่านภาษาไทย เนื่องจากการสื่อสารสำหรับคนหูหนวกถือเป็นเรื่องสำคัญ และมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน คือ การขาดแคลนล่ามภาษามือ จึงต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเพิ่มการผลิตล่ามภาษามือ ให้ทุนสำหรับผู้เรียนล่ามภาษามือ รวมถึงสร้างหลักประกันด้านอาชีพให้กับผู้เรียนล่ามภาษามือเช่นเดียวกับอาชีพขาดแคลนอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันเพื่อนำไปสู่เป้าหมายให้คนหูหนวกทุกคนอ่านออกเขียนได้ และระบบการจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวกในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ
การพิจารณาศึกษาครั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการได้ติดตามสถานการณ์และปัญหาอุปสรรค รวมถึงนำไปสู่การให้ข้อเสนอแนะหรือกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการดำเนินงานตามหลักการบูรณาการงานของทุกภาคส่วนในรูปแบบ"ประชารัฐ"และดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ปัญหา/อุปสรรคต่อการจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวก
๑ ปัญหา/อุปสรรคด้านครูการศึกษาพิเศษ จำแนกเป็น ๓ ประเด็น ดังนี้
๑) ขาดครูสอนนักเรียนหูหนวก ทั้งครูการศึกษาพิเศษ ครูสอนรายวิชา และครูหูหนวกเพราะสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนคนหูหนวกไม่ได้รับการจัดสรรอัตราตำแหน่งครูอย่างเหมาะสม และไม่มีการผลิต ทั้งครูการศึกษาพิเศษเฉพาะทางหรือสาขาวิชาหลักหรือรายกลุ่มสาระเพื่อสอนคนหูหนวก นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยสวนดุสิตซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่ผลิตครูการศึกษาพิเศษ ได้หยุดการผลิตเมื่อ ๔ ปี ที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับเหตุผลว่าครูการศึกษาพิเศษไม่สามารถสอนรายกลุ่มสาระ
จำนวนครู-ระยะเวลา ๑๕ ปี ที่ผ่านมา จากข้อมูลการผลิตบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหูหนวกศึกษา (บัณฑิตที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน) วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา ๒๕๔๓- ๒๕๕๘ มีจำนวนครูสอนเด็กหูหนวก จำนวน ๖๙ คน ทำงานบริษัท จำนวน ๑๐๓ คน ประกอบอาชีพอื่น จำนวน ๓๗ คน ไม่มีงานทำจำนวน๒๗คนและรับราชการจำนวน๕คน
๒) ขาดองค์ความรู้ด้านการจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวก ที่เป็นสากล และทันสมัย เป็นเหตุให้ครูการศึกษาพิเศษส่วนใหญ่ทำหน้าที่สอนคนหูหนวกโดยที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษามือทั้งในการสนทนาทั่วไปและในการเรียนการสอนสาขาวิชาต่างๆ จึงต้องจัดให้ครูประจำรายวิชาซึ่งไม่ได้จบครูการศึกษาพิเศษ ไม่มีความรู้ เรื่องนักเรียนหูหนวก ไม่เคยเรียนการสื่อสารด้วยภาษามือ ไม่ได้รับการฝึกสอนกับนักเรียนหูหนวกโดยตรง และส่วนใหญ่จบการศึกษาไม่ตรงตามสาระวิชาที่สอน ทำหน้าที่สอนรายวิชาต่างๆ รวมถึงช่วยนักเรียนหูหนวกให้สามารถเรียนรวมกับนักเรียนปกติได้ในทางตรงกันข้ามมีการจัดให้ครูการศึกษาพิเศษสอนสาระวิชาที่ไม่เคยศึกษาด้วย
๓) ขาดการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการต่าง ๆ เช่น เครื่องช่วยฟัง และประสาทหูเทียม เป็นต้น รวมถึง ขาดสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้สำหรับจัดการศึกษาให้นักเรียนหูหนวกอย่างเหมาะสม ทั่วถึง หลากหลาย ทันสมัย และเพียงพอต่อการสนับสนุนการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนหูหนวกทั้งในสถานศึกษาเฉพาะคนหูหนวกและสถานศึกษาที่จัดการเรียนรวม
๒.ปัญหา/อุปสรรคด้านระบบการจัดการศึกษา จำแนกเป็น ๓ ประเด็น ดังนี้
๑) ไม่มีหลักสูตรการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับสอนนักเรียนหูหนวก เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาสำหรับนักเรียนปกติทั่วไปมีสาระการเรียนรู้ที่มีเนื้อหามากยุ่งยากและซับซ้อน
๒) ขาดแคลนล่ามภาษามือ ครูการศึกษาพิเศษ ครูเฉพาะสาขาวิชา และครูหูหนวกที่เป็นผู้สนับสนุนให้ครูและนักเรียนหูหนวกสามารถจัดการเรียนการสอนแบบสองภาษาที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของผู้เรียนแต่ละคน
๓) นักเรียนหูหนวกส่วนใหญ่ไม่ผ่านการวัดความรู้และความคิดวิเคราะห์ ทั้งการสอบ O-NET (Ordinary National Educational Test) ซึ่งเป็นการวัดผลการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และการสอบ A-NET (Advanced National EducationalTest)สำหรับโรงเรียนโสตศึกษาที่ใช้หลักสูตรแกนกลาง
๓.ปัญหา/อุปสรรคด้านการจัดการศึกษาสำหรับ คนหูหนวก จำแนกเป็น ๔ ประเด็น ดังนี้
๑) การจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวกของประเทศไทย ไม่ให้ความสำคัญต่อนักเรียนหูหนวกก่อนวัยเรียน กล่าวคือ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ๔ ปี ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของพัฒนาการทางภาษาและสมอง แต่นักเรียนหูหนวกส่วนใหญ่มักได้เริ่มเรียนภาษามือเมื่อเข้าเรียนระดับอนุบาล ซึ่งมีอายุกว่า ๔ ปี และเริ่มเรียนภาษาไทยในระดับประถมศึกษานักเรียนหูหนวกจึงมีปัญหาด้านอ่านและเขียนภาษาไทย
๒) นักเรียนหูหนวกในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ใช้ภาษามือไม่คล่อง เป็นเหตุให้เด็ก เรียนรู้และรับข้อมูลได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งมีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านการสื่อสาร ความฉลาดทางอารมณ์ ภาวะผู้นำการพัฒนาความเชื่อมั่นและการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นเป็นต้น
๓) นักเรียนหูหนวกที่ฝังประสาทหูเทียมไม่มีครูฝึกพูด เพราะเป็นเรื่องใหม่
๔) คนหูหนวกที่จบการศึกษาในระดับปริญญามีจำนวนน้อยมาก ทั้งที่หน่วยงานที่จัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวกมีทั้งสิ้น ๓๘ หน่วยงาน มีจำนวนผู้จบการศึกษา ตั้งแต่รุ่นที่ ๑-๔ รวม ๒๔๑ คน โดยแบ่งออกเป็น ชาย จำนวน ๑๐๒ คน หญิง จำนวน ๑๓๙ คน ซึ่งในจำนวนผู้จบการศึกษาดังกล่าว มีผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาโท ประมาณ ๒๐ คน ส่วนในระดับปริญญาเอกยังไม่มีผู้จบการศึกษา จะเห็นได้ว่า หากเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนแล้ว ผลปรากฏว่าจำนวนผู้จบการศึกษายังมีจำนวนไม่ถึงร้อยละ๑ของจำนวนคนหูหนวกทั้งหมดทั่วประเทศไทย
๔.ปัญหา/อุปสรรคด้านครอบครัว/ผู้ปกครอง จำแนกเป็น ๔ ประเด็น ดังนี้
๑) ครอบครัวขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องนักเรียน หูหนวก ภาษามือ การศึกษาพิเศษ การเลี้ยงดูนักเรียนหูหนวก และการสร้างสัมพันธภาพระหว่างลูกกับสังคม เป็นต้น ครอบครัวจึงต้องการให้นักเรียนหูหนวกเรียนรวมกับนักเรียนปกติโดยไม่คำนึงถึงทักษะในการสื่อสารของนักเรียนหูหนวก
๒) ผู้ปกครองไม่สามารถสื่อสารกับนักเรียนหูหนวกได้ ทั้งการใช้ภาษามือ และภาษาไทย
๓) ผู้ปกครองไม่นำนักเรียนหูหนวกไปเรียนที่โรงเรียนโสตศึกษาเพราะโรงเรียนอยู่ไกลจากบ้าน
๔)ผู้ปกครองไม่ยอมให้คนหูหนวกที่จบการศึกษาสาขาวิชาหูหนวกศึกษาไปทำงานโดยเฉพาะการทำงานในโรงเรียนที่ไม่มีตำแหน่งครู
๕. ปัญหา/อุปสรรคด้านสังคม/คนทั่วไป จำแนกเป็น ๒ ประเด็น ดังนี้
๑) คนทั่วไปขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องคนหูหนวก รวมถึงผลกระทบจากการสูญเสียการได้ยินแต่กำเนิดที่มีผลต่อการสื่อสารการเรียนรู้และการคิดวิเคราะห์
๒) คนทั่วไปมีเจตคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความสามารถของคนหูหนวก จึงปิดกั้น คนหูหนวกไม่ให้แสดงศักยภาพและเข้าถึงสิทธิในทุกด้าน
๖.ปัญหา/อุปสรรคด้านบทบาทของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง จำแนกเป็น ๔ ประเด็น ดังนี้ ๑) โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่รับนักเรียนหูหนวก เรียนรวมมีจำนวนน้อย ๒) การจัดการศึกษาของอาชีวศึกษายังขาดแคลนครูการศึกษาพิเศษ และล่ามภาษามือ ๓) ส่งเสริมการเพิ่มจำนวนและพัฒนา ๔) สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน ( กศน.) ยังไม่เปิดหลักสูตรระยะสั้นสำหรับให้คนหูหนวกที่จบการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้ศึกษาต่อเพิ่มเติมตามนโยบาย"การศึกษาตลอดชีวิต"
ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการดำเนินงาน ดังนี้
๑.การพัฒนางานจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวก ควรดำเนินการ ดังต่อไปนี้
๑.๑ ประกาศให้ภาษามือไทยเป็นภาษาแม่ของคนหูหนวก และภาษามือไทย เป็นภาษาประจำชาติไทยตามหลักสากลในประเทศต่างๆ
๑.๒ ปรับแก้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัวในการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับคนหูหนวก และล่ามภาษามือ
๑.๓ ส่งเสริมให้มีภาษามือไทยมาตรฐาน โดยกำหนดนโยบาย ระบบ และกลไกในการดำเนินงานจัดทำภาษามือไทยมาตรฐานอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
๑.๔ เร่งคัดกรองความพิการทางการได้ยินตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความบกพร่องทางการได้ยิน รวมทั้งสนับสนุนให้คนหูหนวกได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน รวมถึงได้ใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ และเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร เช่น เครื่องช่วยฟัง การผ่าตัดประสาทหูเทียม เป็นต้น ตลอดจนการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนหูหนวกแต่ละคน
๑.๕ จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (คน หูหนวก) และแผนช่วยเหลือครอบครัว/ผู้ปกครองของเด็กหูหนวกเป็นรายครอบครัว ตั้งแต่เด็กวัยแรกเกิดหรือแรกพบความพิการ สิ่งสำคัญ คือจะต้องมีผู้รับผิดชอบปฏิบัติตามแผนฯ อย่างรวดเร็ว เป็นรูปธรรม ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการสอนพ่อแม่คนหูหนวกให้เรียนรู้เรื่องลูกหูหนวก การเรียนรวม การใช้ภาษามือและภาษาไทยในการสื่อสารกับลูก รวมถึงคนอื่นๆ ที่สื่อสารด้วยภาษามือเช่นเดียวกัน
๑.๖ พัฒนาระบบการจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวกให้เป็นสากลและทันสมัย โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาให้เด็กหูหนวกก่อนวัยเรียน ตลอดจนเปิดกว้างให้นักเรียนหูหนวกมีอิสระทางการจัดการศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษา บนพื้นฐานของความรู้ตามนโยบาย "การศึกษาตลอดชีวิต" โดยใช้ระบบการเรียนที่เน้นให้เด็กได้คิด วิเคราะห์ หาคำตอบ และอธิบายเหตุผล พร้อมทั้งเปลี่ยนผ่านระบบการเรียนในโรงเรียนเฉพาะนักเรียนหูหนวกไปสู่การเรียนรวมในโรงเรียนกับนักเรียนปกติทั่วไป โดยเน้นพัฒนาทักษะวิชาชีพในโรงเรียน และส่งเสริมนักเรียนหูหนวกให้สามารถศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ทั้งนี้ การเข้าสู่ระบบการเรียนใดควรให้คนหูหนวกเป็นผู้ใช้สิทธิเลือกตามความต้องการ
๑.๗ พัฒนาระบบการสื่อสาร ๒ ภาษา (ภาษามือไทยและภาษาไทย) โดยจัดให้นักเรียน หูหนวกได้เริ่มเรียนภาษามือมาตรฐานซึ่งเป็นภาษาแม่ของคนหูหนวก และเริ่มเรียนภาษาไทย ซึ่งเป็นฐานการเรียนรู้วิชาอื่นๆ ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน ตลอดจนกำหนดเกณฑ์และวิธีจัดการประเมินในการสอบวิชาชีพครูเฉพาะทางด้านคนหูหนวกด้วยการเน้นทักษะการใช้ภาษามือไทยเพื่อการสื่อสาร
๑.๘ กำหนดให้จัดการเรียนการสอนวิชาภาษามือ โดยเป็นวิชาบังคับในโรงเรียนและสถานศึกษาเฉพาะคนหูหนวก พร้อมกับกำหนดให้วิชาภาษามือเป็นวิชาเลือกในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนเด็กปกติ เพื่อสร้าง และเผยแผ่ความรู้ความเข้าใจเรื่อง คนหูหนวก ล่ามภาษามือ และการเป็นอาสาสมัครล่ามภาษามือแก่บุคลากรด้านคนหูหนวกประชาชนทั่วไปและผู้สนใจ
๑.๙ กำหนดให้ครูผู้สอนนักเรียนหูหนวกทั้งครูที่มีการได้ยิน และครูหูหนวกใช้เวลาสอนนักเรียนหูหนวกอย่างเต็มที่และมีคุณภาพโดยไม่ต้องทำงานด้านธุรการ หรือการบริหารจัดการ พร้อมทั้งให้ทุนศึกษาต่อ และดูงานต่างประเทศเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับล่ามภาษามือให้ทันสมัยและเป็นสากล
๑.๑๐ พัฒนาหลักสูตรการศึกษาของนักเรียนหูหนวก โดยปรับหลักสูตรกลางสำหรับเด็กทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งจัดกลไกสนับสนุนการเรียนการสอนให้นักเรียนหูหนวกสามารถเข้าสู่มาตรฐานการศึกษาทั้งด้านความรู้ ทักษะและประสบการณ์ต่าง ๆ ในระดับเดียวกับเด็กทั่วไปมากที่สุด
๑.๑๑ พัฒนาสื่อการเรียนการสอน โดยสนับสนุนการผลิตสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนหูหนวกแต่ละคนซึ่งสื่อสารโดยการใช้ภาษามือไทย เช่น ใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ใช้วีดีทัศน์ที่มีคำบรรยายแทนเสียงซึ่งสามารถเข้าใจได้ มีจอล่ามภาษามือและคำบรรยายแทนเสียงในทุกสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนคนหูหนวกเป็นต้น
๑.๑๒ ส่งเสริมการเพิ่มจำนวนและพัฒนาครูสอนนักเรียนหูหนวก (ครูหูหนวก ครูการศึกษาพิเศษ ครูสอนรายวิชา ครูสอนคนหูหนวก ครูสอนภาษาศาสตร์ เป็นต้น โดยให้ทุนอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องจนจบการศึกษาอย่างน้อยจังหวัดละ๒คน
๑.๑๓ ส่งเสริมการเพิ่มจำนวนและพัฒนาครูฝึกพูดหรือนักแก้ไขการพูดสำหรับนักเรียนหูหนวกที่ใส่ประสาทหูเทียม
๑.๑๔ สนับสนุนการปฏิบัติงานศูนย์บริการนักศึกษาพิการ (Disability Support Service : DSS) โดยเพิ่มจำนวนรวมทั้งกำหนดระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
๒.การพัฒนางานผลิตล่ามภาษามือควรดำเนินการดังต่อไปนี้
๒.๑ สร้างหลักประกันการมีงานทำ การบรรจุทำงาน ในหน่วยงานภาครัฐ สวัสดิการ และอัตราเงินตอบแทนล่ามภาษามืออย่างเหมาะสมและเป็นธรรมเป็นต้น
๒.๒ สนับสนุนงบประมาณให้สถาบันการศึกษา และสมาคมล่ามภาษามือแห่งประเทศไทยผลิตล่ามภาษามือให้เพียงพอทั้งล่ามภาษามือที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา และล่ามภาษามือเฉพาะทางตามระเบียบมาตรฐานล่ามภาษามือที่คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติกำหนด
๒.๓ สนับสนุนการจัดทำหลักสูตรผลิตล่ามภาษามือระดับต่างๆ ทั้งล่ามในสถานการณ์ทั่วไป และล่ามเฉพาะทาง
๒.๔ สนับสนุนการให้ทุนผลิตล่ามภาษามืออย่างเหมาะสม และต่อเนื่องจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างน้อยจังหวัดละ๒คน
๒.๕สนับสนุนการจัดระบบประเมินความรู้และทักษะการเป็นล่ามภาษามือ
๒.๖ พัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตล่ามภาษามือ โดยให้ทุนสนับสนุนการศึกษาเพื่อเป็นล่ามภาษามือ การผลิตและการบริการล่ามภาษามือทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ รวมทั้งเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาช่วยฝึกอบรมผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตล่ามภาษามือในประเทศไทย
๒.๗ พัฒนา CODA-Children of Deaf Adults ให้เป็นล่ามภาษามือ เพื่อให้การผลิต และบริการล่ามภาษามือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๒.๘ ส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนา เกี่ยวกับคนหูหนวก และล่ามภาษามืออย่างกว้างขวาง ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ พร้อมทั้งสนับสนุนคนหูหนวก ล่ามภาษามือ และผู้เกี่ยวข้องให้ร่วมเป็นผู้วิจัยด้วย
๓.การพัฒนางานบริการล่ามภาษามือควรดำเนินการดังต่อไปนี้
๓.๑ จัดทำยุทธศาสตร์ล่ามภาษามือระยะที่ ๒ เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนล่ามภาษามือ การให้ทุนการศึกษาสาขาล่ามภาษามือ และการบรรจุตำแหน่งล่ามภาษามือในส่วนราชการเป็นต้น
๓.๒ สร้างความรู้ความเข้าใจ และเจตคติเชิงสร้างสรรค์แก่สังคมโดยรวมและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเรื่องคนหูหนวกล่ามภาษามือตลอดจนประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง
๓.๓สนับสนุนการพัฒนาบริการของศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย (Thai Telecommunication Relay Service : TTRS ให้ครอบคลุมทั้งการสื่อสารเบื้องต้น ในชีวิตประจำวันของคนหูหนวก พร้อมทั้งส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ให้บริการอย่างทันสมัย
๓.๔ สนับสนุนการจัดตั้งและเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรเครือข่ายล่ามภาษามือในจังหวัดต่างๆของสมาคมล่ามภาษามือแห่งประเทศไทยในการให้บริการล่ามภาษามือ
๓.๕ สนับสนุนการจัดตั้ง "สภาวิชาชีพล่ามภาษามือ" เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของล่ามภาษามือ
๓.๖ ปรับปรุง ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยบริการล่ามภาษามือ พ.ศ.๒๕๕๒ เพื่อพัฒนาล่ามภาษามือให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและทันสมัยอยู่เสมอ เช่น การกำหนดประเภทและมาตรฐานของล่ามภาษามือแต่ละด้าน การประเมินศักยภาพ และการจดแจ้งล่ามภาษามือเป็นต้น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่คณะกรรมาธิการ การพัฒนาสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และ ผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โทร.๐๒-๘๓๑๙๒๒๕-๖ โทรสาร ๐๒-๘๓๑๙๒๒๖ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถนนอู่ทองใน ดุสิต กทม. 10300 email : dek_senate@hotmail.co.th หรือ Facebook: กมธ.พัฒนาสังคม
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/nnd/2539117
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แบบสะกดนิ้วมือไทย คอลัมน์ สถานีพัฒนาสังคม : คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการ พิจารณาศึกษา เรื่องการจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวกการผลิตล่ามภาษามือและการให้บริการล่ามภาษามือ การจัดการเรียนการสอนสำหรับคนหูหนวก การสอนภาษามือควบคู่กับการเขียนการอ่านภาษาไทย เนื่องจากการสื่อสารสำหรับคนหูหนวกถือเป็นเรื่องสำคัญ และมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน คือ การขาดแคลนล่ามภาษามือ จึงต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเพิ่มการผลิตล่ามภาษามือ ให้ทุนสำหรับผู้เรียนล่ามภาษามือ รวมถึงสร้างหลักประกันด้านอาชีพให้กับผู้เรียนล่ามภาษามือเช่นเดียวกับอาชีพขาดแคลนอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันเพื่อนำไปสู่เป้าหมายให้คนหูหนวกทุกคนอ่านออกเขียนได้ และระบบการจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวกในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ การพิจารณาศึกษาครั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการได้ติดตามสถานการณ์และปัญหาอุปสรรค รวมถึงนำไปสู่การให้ข้อเสนอแนะหรือกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการดำเนินงานตามหลักการบูรณาการงานของทุกภาคส่วนในรูปแบบ"ประชารัฐ"และดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ปัญหา/อุปสรรคต่อการจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวก ๑ ปัญหา/อุปสรรคด้านครูการศึกษาพิเศษ จำแนกเป็น ๓ ประเด็น ดังนี้ ๑) ขาดครูสอนนักเรียนหูหนวก ทั้งครูการศึกษาพิเศษ ครูสอนรายวิชา และครูหูหนวกเพราะสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนคนหูหนวกไม่ได้รับการจัดสรรอัตราตำแหน่งครูอย่างเหมาะสม และไม่มีการผลิต ทั้งครูการศึกษาพิเศษเฉพาะทางหรือสาขาวิชาหลักหรือรายกลุ่มสาระเพื่อสอนคนหูหนวก นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยสวนดุสิตซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่ผลิตครูการศึกษาพิเศษ ได้หยุดการผลิตเมื่อ ๔ ปี ที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับเหตุผลว่าครูการศึกษาพิเศษไม่สามารถสอนรายกลุ่มสาระ จำนวนครู-ระยะเวลา ๑๕ ปี ที่ผ่านมา จากข้อมูลการผลิตบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหูหนวกศึกษา (บัณฑิตที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน) วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา ๒๕๔๓- ๒๕๕๘ มีจำนวนครูสอนเด็กหูหนวก จำนวน ๖๙ คน ทำงานบริษัท จำนวน ๑๐๓ คน ประกอบอาชีพอื่น จำนวน ๓๗ คน ไม่มีงานทำจำนวน๒๗คนและรับราชการจำนวน๕คน ๒) ขาดองค์ความรู้ด้านการจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวก ที่เป็นสากล และทันสมัย เป็นเหตุให้ครูการศึกษาพิเศษส่วนใหญ่ทำหน้าที่สอนคนหูหนวกโดยที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษามือทั้งในการสนทนาทั่วไปและในการเรียนการสอนสาขาวิชาต่างๆ จึงต้องจัดให้ครูประจำรายวิชาซึ่งไม่ได้จบครูการศึกษาพิเศษ ไม่มีความรู้ เรื่องนักเรียนหูหนวก ไม่เคยเรียนการสื่อสารด้วยภาษามือ ไม่ได้รับการฝึกสอนกับนักเรียนหูหนวกโดยตรง และส่วนใหญ่จบการศึกษาไม่ตรงตามสาระวิชาที่สอน ทำหน้าที่สอนรายวิชาต่างๆ รวมถึงช่วยนักเรียนหูหนวกให้สามารถเรียนรวมกับนักเรียนปกติได้ในทางตรงกันข้ามมีการจัดให้ครูการศึกษาพิเศษสอนสาระวิชาที่ไม่เคยศึกษาด้วย ๓) ขาดการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการต่าง ๆ เช่น เครื่องช่วยฟัง และประสาทหูเทียม เป็นต้น รวมถึง ขาดสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้สำหรับจัดการศึกษาให้นักเรียนหูหนวกอย่างเหมาะสม ทั่วถึง หลากหลาย ทันสมัย และเพียงพอต่อการสนับสนุนการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนหูหนวกทั้งในสถานศึกษาเฉพาะคนหูหนวกและสถานศึกษาที่จัดการเรียนรวม ๒.ปัญหา/อุปสรรคด้านระบบการจัดการศึกษา จำแนกเป็น ๓ ประเด็น ดังนี้ ๑) ไม่มีหลักสูตรการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับสอนนักเรียนหูหนวก เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาสำหรับนักเรียนปกติทั่วไปมีสาระการเรียนรู้ที่มีเนื้อหามากยุ่งยากและซับซ้อน ๒) ขาดแคลนล่ามภาษามือ ครูการศึกษาพิเศษ ครูเฉพาะสาขาวิชา และครูหูหนวกที่เป็นผู้สนับสนุนให้ครูและนักเรียนหูหนวกสามารถจัดการเรียนการสอนแบบสองภาษาที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของผู้เรียนแต่ละคน ๓) นักเรียนหูหนวกส่วนใหญ่ไม่ผ่านการวัดความรู้และความคิดวิเคราะห์ ทั้งการสอบ O-NET (Ordinary National Educational Test) ซึ่งเป็นการวัดผลการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และการสอบ A-NET (Advanced National EducationalTest)สำหรับโรงเรียนโสตศึกษาที่ใช้หลักสูตรแกนกลาง ๓.ปัญหา/อุปสรรคด้านการจัดการศึกษาสำหรับ คนหูหนวก จำแนกเป็น ๔ ประเด็น ดังนี้ ๑) การจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวกของประเทศไทย ไม่ให้ความสำคัญต่อนักเรียนหูหนวกก่อนวัยเรียน กล่าวคือ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ๔ ปี ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของพัฒนาการทางภาษาและสมอง แต่นักเรียนหูหนวกส่วนใหญ่มักได้เริ่มเรียนภาษามือเมื่อเข้าเรียนระดับอนุบาล ซึ่งมีอายุกว่า ๔ ปี และเริ่มเรียนภาษาไทยในระดับประถมศึกษานักเรียนหูหนวกจึงมีปัญหาด้านอ่านและเขียนภาษาไทย ๒) นักเรียนหูหนวกในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ใช้ภาษามือไม่คล่อง เป็นเหตุให้เด็ก เรียนรู้และรับข้อมูลได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งมีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านการสื่อสาร ความฉลาดทางอารมณ์ ภาวะผู้นำการพัฒนาความเชื่อมั่นและการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นเป็นต้น ๓) นักเรียนหูหนวกที่ฝังประสาทหูเทียมไม่มีครูฝึกพูด เพราะเป็นเรื่องใหม่ ๔) คนหูหนวกที่จบการศึกษาในระดับปริญญามีจำนวนน้อยมาก ทั้งที่หน่วยงานที่จัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวกมีทั้งสิ้น ๓๘ หน่วยงาน มีจำนวนผู้จบการศึกษา ตั้งแต่รุ่นที่ ๑-๔ รวม ๒๔๑ คน โดยแบ่งออกเป็น ชาย จำนวน ๑๐๒ คน หญิง จำนวน ๑๓๙ คน ซึ่งในจำนวนผู้จบการศึกษาดังกล่าว มีผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาโท ประมาณ ๒๐ คน ส่วนในระดับปริญญาเอกยังไม่มีผู้จบการศึกษา จะเห็นได้ว่า หากเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนแล้ว ผลปรากฏว่าจำนวนผู้จบการศึกษายังมีจำนวนไม่ถึงร้อยละ๑ของจำนวนคนหูหนวกทั้งหมดทั่วประเทศไทย ๔.ปัญหา/อุปสรรคด้านครอบครัว/ผู้ปกครอง จำแนกเป็น ๔ ประเด็น ดังนี้ ๑) ครอบครัวขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องนักเรียน หูหนวก ภาษามือ การศึกษาพิเศษ การเลี้ยงดูนักเรียนหูหนวก และการสร้างสัมพันธภาพระหว่างลูกกับสังคม เป็นต้น ครอบครัวจึงต้องการให้นักเรียนหูหนวกเรียนรวมกับนักเรียนปกติโดยไม่คำนึงถึงทักษะในการสื่อสารของนักเรียนหูหนวก ๒) ผู้ปกครองไม่สามารถสื่อสารกับนักเรียนหูหนวกได้ ทั้งการใช้ภาษามือ และภาษาไทย ๓) ผู้ปกครองไม่นำนักเรียนหูหนวกไปเรียนที่โรงเรียนโสตศึกษาเพราะโรงเรียนอยู่ไกลจากบ้าน ๔)ผู้ปกครองไม่ยอมให้คนหูหนวกที่จบการศึกษาสาขาวิชาหูหนวกศึกษาไปทำงานโดยเฉพาะการทำงานในโรงเรียนที่ไม่มีตำแหน่งครู ๕. ปัญหา/อุปสรรคด้านสังคม/คนทั่วไป จำแนกเป็น ๒ ประเด็น ดังนี้ ๑) คนทั่วไปขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องคนหูหนวก รวมถึงผลกระทบจากการสูญเสียการได้ยินแต่กำเนิดที่มีผลต่อการสื่อสารการเรียนรู้และการคิดวิเคราะห์ ๒) คนทั่วไปมีเจตคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความสามารถของคนหูหนวก จึงปิดกั้น คนหูหนวกไม่ให้แสดงศักยภาพและเข้าถึงสิทธิในทุกด้าน ๖.ปัญหา/อุปสรรคด้านบทบาทของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง จำแนกเป็น ๔ ประเด็น ดังนี้ ๑) โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่รับนักเรียนหูหนวก เรียนรวมมีจำนวนน้อย ๒) การจัดการศึกษาของอาชีวศึกษายังขาดแคลนครูการศึกษาพิเศษ และล่ามภาษามือ ๓) ส่งเสริมการเพิ่มจำนวนและพัฒนา ๔) สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน ( กศน.) ยังไม่เปิดหลักสูตรระยะสั้นสำหรับให้คนหูหนวกที่จบการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้ศึกษาต่อเพิ่มเติมตามนโยบาย"การศึกษาตลอดชีวิต" ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการดำเนินงาน ดังนี้ ๑.การพัฒนางานจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวก ควรดำเนินการ ดังต่อไปนี้ ๑.๑ ประกาศให้ภาษามือไทยเป็นภาษาแม่ของคนหูหนวก และภาษามือไทย เป็นภาษาประจำชาติไทยตามหลักสากลในประเทศต่างๆ ๑.๒ ปรับแก้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัวในการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับคนหูหนวก และล่ามภาษามือ ๑.๓ ส่งเสริมให้มีภาษามือไทยมาตรฐาน โดยกำหนดนโยบาย ระบบ และกลไกในการดำเนินงานจัดทำภาษามือไทยมาตรฐานอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ๑.๔ เร่งคัดกรองความพิการทางการได้ยินตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความบกพร่องทางการได้ยิน รวมทั้งสนับสนุนให้คนหูหนวกได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน รวมถึงได้ใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ และเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร เช่น เครื่องช่วยฟัง การผ่าตัดประสาทหูเทียม เป็นต้น
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)