คนไทย 10% นอนไม่หลับ "ศิริราช" ชี้ภัยเงียบถึงชีวิต

แสดงความคิดเห็น

หญิงสาวนอนอยู่บนเตียงมองดูนาฬิกาปลุก

แพทย์ศิริราชเผยคนไทยกว่าร้อยละ 10 ประสบปัญหา "นอนไม่หลับ" ชี้ก่อโรคความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต แนะผู้ป่วยเข้ารับการรักษา

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมโรคจากการนอนหลับแห่งประเทศไทย และชมรมศิริราชอาวุโส จัดกิจกรรม "วันนอนหลับโลก" (World Sleep Day) ที่โรงพยาบาลศิริราชโดยปีนี้มีคำขวัญรณรงค์ว่า"หลับสบายหายใจดีชีวีมีสุข"

ทั้งนี้ ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประธานศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช รพ.ศิริราช กล่าวระหว่างบรรยายสร้างความเข้าใจการนอนหลับให้กับผู้สูงอายุว่า สำหรับปัญหาการนอนหลับนั้น พบว่าสถานการณ์ทั่วโลกมีมากถึงร้อยละ 10-15 ส่วนประเทศไทย พบปัญหาป่วยจากการนอนถึง 7 ต่อ 100 คน โดยพบมากในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน ทั้งนี้ การนอนไม่พอส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทั้งการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันเกิดภาวะหลงลืม

"บางรายการนอนไม่พอ จากการฝันร้าย หรือมาจากการนอนกรนซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะทางเดินหายใจตีบ ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย มีคาร์บอนไดออกไซด์หลั่งในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะการหยุดหายใจชั่วคราว นับเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว ขณะที่การรักษาต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยสำรวจการนอนของผู้ป่วย เพื่อวิเคราะห์ จึงเริ่มรักษาได้ โดยจะมีทั้งให้ยาและการผ่าตัดขยายทางเดินหายใจ ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาควรนอนให้ได้ยาวและสนิท6-8ชั่วโมง"ศ.นพ.นิพนธ์กล่าว

ด้าน ผศ.นพ.วัฒนชัย โชตินัยวัตรกุล อายุรแพทย์ระบบประสาทวิทยา รพ.ศิริราช กล่าวว่า ปัญหาความผิดปกติจากการนอนหลับเป็นภัยคุกคามชีวิตและคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลกกว่าร้อยละ 45 ของประชากรเกือบทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับผู้สูงอายุและคนอ้วน โรคจากการนอนหลับที่พบมากที่สุดคือ โรคนอนไม่หลับ และโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) หรือการนอนกรน โดยในคนไทยพบปัญหาทั้ง 2 อย่างประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนประชากร โดยโรคนอนไม่หลับจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายส่วนปัญหาการนอนกรนจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

ผศ.นพ.วัฒนชัยกล่าวอีกว่า ปัญหาจากการนอนหลับจะนำไปสู่โรคอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ อาทิ ความง่วงอาจจะนำมาซึ่งอุบัติเหตุ ทำให้เสียชีวิต โดยไม่รู้ตัวว่าสาเหตุเกิดจากการนอนไม่เพียงพอ ส่วนโรคอื่นๆ ที่อาจตามมาจากการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย โรคอัมพฤกษ์ และโรคอัมพาต เป็นต้น สำหรับวิธีการรักษานั้น ต้องดูที่อาการและสาเหตุของโรค

"โรคนอนไม่หลับส่วนใหญ่รู้วิธีรักษาตามสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ แต่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น หรือการนอนกรน ประชาชนยังมีความรู้ในเรื่องนี้น้อย ทั้งที่สามารถรักษาได้ด้วยการลดน้ำหนัก การนอนตะแคง หลีกเลี่ยงการกินยานอนหลับ แต่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกขณะหลับ เพื่อช่วยทำให้การหายใจกลับมาเป็นปกติ" ผศ.นพ.วัฒนชัยกล่าว

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395116367

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 มี.ค.57

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 19/03/2557 เวลา 04:27:14 ดูภาพสไลด์โชว์ คนไทย 10% นอนไม่หลับ "ศิริราช" ชี้ภัยเงียบถึงชีวิต

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หญิงสาวนอนอยู่บนเตียงมองดูนาฬิกาปลุก แพทย์ศิริราชเผยคนไทยกว่าร้อยละ 10 ประสบปัญหา "นอนไม่หลับ" ชี้ก่อโรคความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต แนะผู้ป่วยเข้ารับการรักษา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมโรคจากการนอนหลับแห่งประเทศไทย และชมรมศิริราชอาวุโส จัดกิจกรรม "วันนอนหลับโลก" (World Sleep Day) ที่โรงพยาบาลศิริราชโดยปีนี้มีคำขวัญรณรงค์ว่า"หลับสบายหายใจดีชีวีมีสุข" ทั้งนี้ ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประธานศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช รพ.ศิริราช กล่าวระหว่างบรรยายสร้างความเข้าใจการนอนหลับให้กับผู้สูงอายุว่า สำหรับปัญหาการนอนหลับนั้น พบว่าสถานการณ์ทั่วโลกมีมากถึงร้อยละ 10-15 ส่วนประเทศไทย พบปัญหาป่วยจากการนอนถึง 7 ต่อ 100 คน โดยพบมากในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน ทั้งนี้ การนอนไม่พอส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทั้งการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันเกิดภาวะหลงลืม "บางรายการนอนไม่พอ จากการฝันร้าย หรือมาจากการนอนกรนซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะทางเดินหายใจตีบ ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย มีคาร์บอนไดออกไซด์หลั่งในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะการหยุดหายใจชั่วคราว นับเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว ขณะที่การรักษาต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยสำรวจการนอนของผู้ป่วย เพื่อวิเคราะห์ จึงเริ่มรักษาได้ โดยจะมีทั้งให้ยาและการผ่าตัดขยายทางเดินหายใจ ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาควรนอนให้ได้ยาวและสนิท6-8ชั่วโมง"ศ.นพ.นิพนธ์กล่าว ด้าน ผศ.นพ.วัฒนชัย โชตินัยวัตรกุล อายุรแพทย์ระบบประสาทวิทยา รพ.ศิริราช กล่าวว่า ปัญหาความผิดปกติจากการนอนหลับเป็นภัยคุกคามชีวิตและคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลกกว่าร้อยละ 45 ของประชากรเกือบทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับผู้สูงอายุและคนอ้วน โรคจากการนอนหลับที่พบมากที่สุดคือ โรคนอนไม่หลับ และโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) หรือการนอนกรน โดยในคนไทยพบปัญหาทั้ง 2 อย่างประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนประชากร โดยโรคนอนไม่หลับจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายส่วนปัญหาการนอนกรนจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ผศ.นพ.วัฒนชัยกล่าวอีกว่า ปัญหาจากการนอนหลับจะนำไปสู่โรคอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ อาทิ ความง่วงอาจจะนำมาซึ่งอุบัติเหตุ ทำให้เสียชีวิต โดยไม่รู้ตัวว่าสาเหตุเกิดจากการนอนไม่เพียงพอ ส่วนโรคอื่นๆ ที่อาจตามมาจากการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย โรคอัมพฤกษ์ และโรคอัมพาต เป็นต้น สำหรับวิธีการรักษานั้น ต้องดูที่อาการและสาเหตุของโรค "โรคนอนไม่หลับส่วนใหญ่รู้วิธีรักษาตามสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ แต่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น หรือการนอนกรน ประชาชนยังมีความรู้ในเรื่องนี้น้อย ทั้งที่สามารถรักษาได้ด้วยการลดน้ำหนัก การนอนตะแคง หลีกเลี่ยงการกินยานอนหลับ แต่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกขณะหลับ เพื่อช่วยทำให้การหายใจกลับมาเป็นปกติ" ผศ.นพ.วัฒนชัยกล่าว ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395116367 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ค้นหาข้อมูลในห้องสมุด