นวัตกรรมใหม่เครื่องฉายรังสี ‘VMAT’ คัดกรอง ‘มะเร็ง’ แม่นยำเพิ่มคุณภาพการรักษา

แสดงความคิดเห็น

เครื่องฉายรังสี ‘VMAT’ คัดกรอง ‘มะเร็ง’

แม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยี การรักษาและการตรวจ คัดกรองโรคมะเร็งจะพัฒนาขึ้นมากจนแพทย์สามารถตรวจพบมะเร็งหลายชนิดได้ ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นและรักษาจนหายขาดได้ แต่จากการเก็บข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในช่วงหลายปีที่ผ่านมากลับพบว่า โรคมะเร็ง ยังคงมีอัตราการคร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งยังมีแนวโน้มของอุบัติการณ์ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี ผศ.พญ.สุนันทา ศรีสุบัติ-พลอยส่องแสง แพทย์รังสีรักษา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้กล่าวว่า “ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ เรายังไม่ทราบสาเหตุทุกอย่างของการเกิดโรคมะเร็ง ทำให้ไม่มีวิธีป้องกันที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือมะเร็งบางชนิดจะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจึงได้รับการตรวจพบในขณะที่เซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปยังบริเวณอื่นแล้ว การรักษาก็ทำได้ยากขึ้น ดังนั้นวิธีการป้องกันโรคมะเร็งที่ดีที่สุดคือ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ตามวาระเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป”

ผศ.พญ.สุนันทา ด้วยเทคนิคและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้พัฒนาจนพ้นจากข้อจำกัดของวิธีการ เดิม ๆ ทำให้ผลการรักษาโรคมะเร็งทุกวันนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และผู้ป่วยได้รับผลเสียจากอาการข้างเคียงน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความใส่ใจในคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งในระหว่างการรักษา และหลังการรักษา ได้กลายเป็นสิ่งที่แพทย์ให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ผู้ป่วยจึงได้รับความเจ็บปวดทรมานจากการรักษาน้อยลง และสามารถใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

ผศ.พญ.สุนันทา อธิบายเพิ่มเติมว่า ทุกวันนี้เรามี 3 วิธีการหลักในการรักษาโรคมะเร็ง หนึ่ง คือการผ่าตัด ซึ่งถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดถ้ามะเร็งเป็นในระยะเริ่มต้น โดยในกรณีที่ผ่าตัดไม่ได้ หรือผ่าตัดแล้วไม่สามารถนำก้อนมะเร็งออกได้ทั้งหมด แพทย์จึงจะมองถึงวิธีการอื่น ๆ ต่อไป

สื่อทางการแพทย์ แสดงภาพตัวอย่างการฉายรังสี ‘VMAT’ วิธีที่สอง คือการฉายรังสี ซึ่งทำได้ทั้งการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว หรือฉายร่วมกับการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับระยะของโรคขณะที่ตรวจพบ ส่วน วิธีที่สาม คือการทำเคมีบำบัด ซึ่งโดยมากจะใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย ในกรณีที่การผ่าตัดเพียงอย่างเดียวอาจนำเซลล์มะเร็งออกไม่ได้ทั้งหมด

ในส่วนของเทคโนโลยีการรักษามะเร็ง แพทย์ผู้ชำนาญด้านรังสีรักษาได้กล่าวถึงพัฒนาการใหม่ของเครื่องฉายแสง ซึ่งได้เข้ามาทำให้การฉายแสงให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นไปอย่างเที่ยงตรงแม่นยำมากขึ้น ด้วย เทคโนโลยี VMAT (Volumetric Modulated Arc Therapy) ที่กำหนดปริมาณรังสีครอบคลุมก้อนมะเร็งได้ทั่วถึง ลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการฉายรังสีถูกอวัยวะใกล้เคียง ด้วยการป้อนข้อมูลและควบคุมการทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้ได้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น

“เมื่อก่อนนี้เครื่องฉายแสงที่ใช้กันยังเป็นแค่ระบบสองมิติที่เราต้องคอย ปรับร่างกายของผู้ป่วยให้ได้องศาเดียวกับเครื่องฉาย หลายครั้งเราต้องจับผู้ป่วยพลิกตัวเพื่อให้ได้ปริมาณรังสีครอบคลุมทุกส่วนใน อัตราที่กำหนดไว้ จนมาถึงเทคโนโลยี IMRT ที่สามารถปรับปริมาณรังสีให้สม่ำเสมอกับรูปทรง ขนาด และความหนาหรือความบางที่ไม่เท่ากันของก้อนมะเร็งก้อนหนึ่งได้ แต่ IMRT ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของทิศทางการหมุนของตัวเครื่อง

นวัตกรรมใหม่เครื่องฉายรังสี ‘VMAT’ คัดกรอง ‘มะเร็ง’ แม่นยำเพิ่มคุณภาพการรักษา ส่วนการฉายแสงด้วย VMAT เครื่องฉายจะหมุนได้ทุกทิศทางรอบตัวของผู้ป่วย และด้วยระบบภาพนำวิถีแบบสามมิติ จึงแม่นยำในการกำหนดพื้นที่ที่ต้องการฉายได้ตามต้องการ พร้อมเตียงปรับระดับซึ่งควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถปรับองศาของ เครื่องฉายแสงและเตียงของผู้ป่วย ให้ตำแหน่งของก้อนมะเร็งอยู่ภายในบริเวณที่ถูกฉายรังสี ช่วยลดระยะเวลาในการฉายรังสีแต่ละครั้งลงจากการใช้เครื่อง IMRT ที่ผู้ป่วยต้องนอนฉายรังสีแต่ละครั้งราว 15-30 นาที ให้เหลือแค่ครั้งละ 3-5 นาทีเท่านั้น ซึ่งการที่ผู้ป่วยอยู่บนเตียงสั้นลงจะเป็นการลดความเสี่ยงจากความผิดพลาด เนื่องจากการขยับตัวของผู้ป่วยซึ่งทำให้อวัยวะต่าง ๆ เปลี่ยนตำแหน่งไป อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดผลข้างเคียงต่อบริเวณใกล้เคียงได้

อย่างไรก็ตาม นอกจากเทคโน โลยีในการรักษาแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาโรคมะเร็งให้เกิดผลดีและมอบคุณภาพชีวิตที่ดีกลับ คืนสู่ผู้ป่วยได้ คือบุคลากรแต่ละฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการรักษา โดยการรักษาโรคมะเร็งจำเป็นต้องกำหนดแผนการอย่างเป็นขั้นตอนให้เหมาะสมกับ ผู้ป่วยเฉพาะราย ตั้งแต่การสอบถามอาการเบื้องต้น การเอกซเรย์วินิจฉัยผลตรวจ รวมถึงการให้คำแนะนำกับผู้ป่วยแต่ละรายอย่างละเอียด ด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางหลากหลายสาขา ไปจนถึงศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งต่างชนิด อายุรแพทย์ผู้ดูแลการทำเคมีบำบัด รังสี แพทย์ นักฟิสิกส์และเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการฉายแสง ตลอดจนเภสัชกร พยาบาล และทีมงานทุกฝ่าย เพราะทุกขั้นตอนล้วนมีผลต่อผลการรักษาและความปลอดภัยในชีวิตของผู้ป่วย

“อย่างในขั้นตอนการฉายแสง การกำหนดตำแหน่งขึ้นอยู่กับรังสี แพทย์โดยตรง ถ้าพิกัดพลาด ต่อให้นักฟิสิกส์จัดมุมได้ดี เจ้าหน้าที่เทคนิคฉายแสงได้ดี ผู้ป่วยไม่ขยับตัวเลยขณะฉายแสง แต่การรักษาก็ไม่หาย ฉะนั้นความสำคัญของทีมงานแต่ละฝ่ายจึงถือว่าเท่ากันหมด ถ้าใครคนใดคนหนึ่งทำได้ไม่ดี ผลการรักษาก็ไม่มีทางออกมาดีได้

ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้มีการวางระบบในศูนย์มะเร็งให้มีการรักษาร่วมกันเป็นทีมแบบสหสาขาตั้งแต่ ต้นจนจบ คือ การให้บริการรักษามะเร็งทุกชนิดเราอยู่ในบริเวณเดียว กันหมด เมื่อผู้ป่วยเข้ามา หลังจากที่ตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นแล้วพบว่ามีโรคมะเร็งก็จะตรวจดูระยะขั้นตอน ของโรค และเราจะเริ่มทำการรักษาทันที และหากดูแล้วว่าต้องทำเคมีบำบัดร่วมด้วย ก็สามารถเรียกอายุรแพทย์เข้าร่วมให้คำปรึกษาได้ทันที รวมถึงในขั้นตอนอื่น ๆ ตั้งแต่ร่วมพิจารณาฟิล์ม ดูผลตรวจ MRI หรือ CT scan ทั้งหมดนั้นเพื่อความสะดวกต่อผู้ป่วยที่ไม่ต้องเคลื่อนย้ายไปหลายตึกหลาย แผนก ดังนั้นผู้ป่วยจะใช้เวลาแค่ไม่กี่วันตั้งแต่เริ่มสงสัยว่ามีอาการจนได้รับ การตรวจและเริ่มต้นรักษา เพราะเวลาทุกนาทีถือว่ามีค่ามากสำหรับผู้ป่วย การได้รับบริการที่ดีและรวดเร็ว จึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/231377 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ก.ย.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 10/09/2556 เวลา 04:36:49 ดูภาพสไลด์โชว์ นวัตกรรมใหม่เครื่องฉายรังสี ‘VMAT’ คัดกรอง ‘มะเร็ง’ แม่นยำเพิ่มคุณภาพการรักษา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เครื่องฉายรังสี ‘VMAT’ คัดกรอง ‘มะเร็ง’ แม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยี การรักษาและการตรวจ คัดกรองโรคมะเร็งจะพัฒนาขึ้นมากจนแพทย์สามารถตรวจพบมะเร็งหลายชนิดได้ ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นและรักษาจนหายขาดได้ แต่จากการเก็บข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในช่วงหลายปีที่ผ่านมากลับพบว่า โรคมะเร็ง ยังคงมีอัตราการคร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งยังมีแนวโน้มของอุบัติการณ์ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี ผศ.พญ.สุนันทา ศรีสุบัติ-พลอยส่องแสง แพทย์รังสีรักษา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้กล่าวว่า “ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ เรายังไม่ทราบสาเหตุทุกอย่างของการเกิดโรคมะเร็ง ทำให้ไม่มีวิธีป้องกันที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือมะเร็งบางชนิดจะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจึงได้รับการตรวจพบในขณะที่เซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปยังบริเวณอื่นแล้ว การรักษาก็ทำได้ยากขึ้น ดังนั้นวิธีการป้องกันโรคมะเร็งที่ดีที่สุดคือ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ตามวาระเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป” ผศ.พญ.สุนันทา ด้วยเทคนิคและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้พัฒนาจนพ้นจากข้อจำกัดของวิธีการ เดิม ๆ ทำให้ผลการรักษาโรคมะเร็งทุกวันนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และผู้ป่วยได้รับผลเสียจากอาการข้างเคียงน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความใส่ใจในคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งในระหว่างการรักษา และหลังการรักษา ได้กลายเป็นสิ่งที่แพทย์ให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ผู้ป่วยจึงได้รับความเจ็บปวดทรมานจากการรักษาน้อยลง และสามารถใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผศ.พญ.สุนันทา อธิบายเพิ่มเติมว่า ทุกวันนี้เรามี 3 วิธีการหลักในการรักษาโรคมะเร็ง หนึ่ง คือการผ่าตัด ซึ่งถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดถ้ามะเร็งเป็นในระยะเริ่มต้น โดยในกรณีที่ผ่าตัดไม่ได้ หรือผ่าตัดแล้วไม่สามารถนำก้อนมะเร็งออกได้ทั้งหมด แพทย์จึงจะมองถึงวิธีการอื่น ๆ ต่อไป สื่อทางการแพทย์ แสดงภาพตัวอย่างการฉายรังสี ‘VMAT’ วิธีที่สอง คือการฉายรังสี ซึ่งทำได้ทั้งการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว หรือฉายร่วมกับการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับระยะของโรคขณะที่ตรวจพบ ส่วน วิธีที่สาม คือการทำเคมีบำบัด ซึ่งโดยมากจะใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย ในกรณีที่การผ่าตัดเพียงอย่างเดียวอาจนำเซลล์มะเร็งออกไม่ได้ทั้งหมด ในส่วนของเทคโนโลยีการรักษามะเร็ง แพทย์ผู้ชำนาญด้านรังสีรักษาได้กล่าวถึงพัฒนาการใหม่ของเครื่องฉายแสง ซึ่งได้เข้ามาทำให้การฉายแสงให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นไปอย่างเที่ยงตรงแม่นยำมากขึ้น ด้วย เทคโนโลยี VMAT (Volumetric Modulated Arc Therapy) ที่กำหนดปริมาณรังสีครอบคลุมก้อนมะเร็งได้ทั่วถึง ลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการฉายรังสีถูกอวัยวะใกล้เคียง ด้วยการป้อนข้อมูลและควบคุมการทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้ได้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น “เมื่อก่อนนี้เครื่องฉายแสงที่ใช้กันยังเป็นแค่ระบบสองมิติที่เราต้องคอย ปรับร่างกายของผู้ป่วยให้ได้องศาเดียวกับเครื่องฉาย หลายครั้งเราต้องจับผู้ป่วยพลิกตัวเพื่อให้ได้ปริมาณรังสีครอบคลุมทุกส่วนใน อัตราที่กำหนดไว้ จนมาถึงเทคโนโลยี IMRT ที่สามารถปรับปริมาณรังสีให้สม่ำเสมอกับรูปทรง ขนาด และความหนาหรือความบางที่ไม่เท่ากันของก้อนมะเร็งก้อนหนึ่งได้ แต่ IMRT ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของทิศทางการหมุนของตัวเครื่อง นวัตกรรมใหม่เครื่องฉายรังสี ‘VMAT’ คัดกรอง ‘มะเร็ง’ แม่นยำเพิ่มคุณภาพการรักษา ส่วนการฉายแสงด้วย VMAT เครื่องฉายจะหมุนได้ทุกทิศทางรอบตัวของผู้ป่วย และด้วยระบบภาพนำวิถีแบบสามมิติ จึงแม่นยำในการกำหนดพื้นที่ที่ต้องการฉายได้ตามต้องการ พร้อมเตียงปรับระดับซึ่งควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถปรับองศาของ เครื่องฉายแสงและเตียงของผู้ป่วย ให้ตำแหน่งของก้อนมะเร็งอยู่ภายในบริเวณที่ถูกฉายรังสี ช่วยลดระยะเวลาในการฉายรังสีแต่ละครั้งลงจากการใช้เครื่อง IMRT ที่ผู้ป่วยต้องนอนฉายรังสีแต่ละครั้งราว 15-30 นาที ให้เหลือแค่ครั้งละ 3-5 นาทีเท่านั้น ซึ่งการที่ผู้ป่วยอยู่บนเตียงสั้นลงจะเป็นการลดความเสี่ยงจากความผิดพลาด เนื่องจากการขยับตัวของผู้ป่วยซึ่งทำให้อวัยวะต่าง ๆ เปลี่ยนตำแหน่งไป อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดผลข้างเคียงต่อบริเวณใกล้เคียงได้ อย่างไรก็ตาม นอกจากเทคโน โลยีในการรักษาแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาโรคมะเร็งให้เกิดผลดีและมอบคุณภาพชีวิตที่ดีกลับ คืนสู่ผู้ป่วยได้ คือบุคลากรแต่ละฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการรักษา โดยการรักษาโรคมะเร็งจำเป็นต้องกำหนดแผนการอย่างเป็นขั้นตอนให้เหมาะสมกับ ผู้ป่วยเฉพาะราย ตั้งแต่การสอบถามอาการเบื้องต้น การเอกซเรย์วินิจฉัยผลตรวจ รวมถึงการให้คำแนะนำกับผู้ป่วยแต่ละรายอย่างละเอียด ด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางหลากหลายสาขา ไปจนถึงศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งต่างชนิด อายุรแพทย์ผู้ดูแลการทำเคมีบำบัด รังสี แพทย์ นักฟิสิกส์และเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการฉายแสง ตลอดจนเภสัชกร พยาบาล และทีมงานทุกฝ่าย เพราะทุกขั้นตอนล้วนมีผลต่อผลการรักษาและความปลอดภัยในชีวิตของผู้ป่วย “อย่างในขั้นตอนการฉายแสง การกำหนดตำแหน่งขึ้นอยู่กับรังสี แพทย์โดยตรง ถ้าพิกัดพลาด ต่อให้นักฟิสิกส์จัดมุมได้ดี เจ้าหน้าที่เทคนิคฉายแสงได้ดี ผู้ป่วยไม่ขยับตัวเลยขณะฉายแสง แต่การรักษาก็ไม่หาย ฉะนั้นความสำคัญของทีมงานแต่ละฝ่ายจึงถือว่าเท่ากันหมด ถ้าใครคนใดคนหนึ่งทำได้ไม่ดี ผลการรักษาก็ไม่มีทางออกมาดีได้ ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้มีการวางระบบในศูนย์มะเร็งให้มีการรักษาร่วมกันเป็นทีมแบบสหสาขาตั้งแต่ ต้นจนจบ คือ การให้บริการรักษามะเร็งทุกชนิดเราอยู่ในบริเวณเดียว กันหมด เมื่อผู้ป่วยเข้ามา หลังจากที่ตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นแล้วพบว่ามีโรคมะเร็งก็จะตรวจดูระยะขั้นตอน ของโรค และเราจะเริ่มทำการรักษาทันที และหากดูแล้วว่าต้องทำเคมีบำบัดร่วมด้วย ก็สามารถเรียกอายุรแพทย์เข้าร่วมให้คำปรึกษาได้ทันที รวมถึงในขั้นตอนอื่น ๆ ตั้งแต่ร่วมพิจารณาฟิล์ม ดูผลตรวจ MRI หรือ CT scan ทั้งหมดนั้นเพื่อความสะดวกต่อผู้ป่วยที่ไม่ต้องเคลื่อนย้ายไปหลายตึกหลาย แผนก ดังนั้นผู้ป่วยจะใช้เวลาแค่ไม่กี่วันตั้งแต่เริ่มสงสัยว่ามีอาการจนได้รับ การตรวจและเริ่มต้นรักษา เพราะเวลาทุกนาทีถือว่ามีค่ามากสำหรับผู้ป่วย การได้รับบริการที่ดีและรวดเร็ว จึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/224/231377 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ค้นหาข้อมูลในห้องสมุด