การป้องกันโรคภูมิแพ้
กระทรวงสาธารณสุขห่วงปัญหาภูมิแพ้ หลังพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 3-4 เท่าเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักคือ กรรมพันธุ์ และปัจจัยกระตุ้น ทั้งมลภาวะ การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย สิ่งสำคัญที่ทุกคนมองข้ามคือ ความสะอาดของเครื่องใช้ในบ้าน ประเภทพรมและเครื่องปรับอากาศ ที่ต้องหมั่นทำความสะอาดเพราะเป็นแหล่งสะสมฝุ่นที่เราสูดดมทุกวัน
ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากสถิติของสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย พบ โรคภูมิแพ้ในเด็กไทยสูงถึงร้อยละ 38 และพบในผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 20 ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มากขึ้นถึง 3-4 เท่าเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลัก คือ กรรมพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง คนในเมืองอยู่บ้านมาก ไม่ออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เด็กกินนมแม่น้อยลง รับประทานอาหารจานด่วนมากขึ้น ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน มลภาวะจากอุตสาหกรรม การจราจร และการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้าน การตกแต่งบ้านด้วยการปูพรม ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละอองและการติดเครื่องปรับอากาศทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวกทำให้เชื้อไรฝุ่นเจริญเติบโตได้ดี
ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล กล่าวว่า โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายมีความผิดปกติต่อสารก่อภูมิแพ้ ส่งผลให้มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในอวัยวะที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ตัวไรฝุ่น เชื้อราในอากาศ อาหาร ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เป็นต้น ซึ่งในร่างกายคนปกติจะแพ้สารก่อภูมิแพ้ได้น้อยมากหรืออาจจะไม่มีอาการ ส่วนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้แต่ละรายจะมีอาการเกิดขึ้นแตกต่างกันและรุนแรงไม่เท่ากัน แม้จะเป็นสารก่อภูมิแพ้ชนิดเดียวกันก็ตาม ขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับและการตอบสนองของอวัยวะนั้นๆ เช่น เกิดขึ้นบริเวณจมูกทำให้เกิดโรคแพ้อากาศ อาการจาม คันจมูก คัดจมูก คันเพดานปากหรือคอ น้ำมูกไหล หากเกิดขึ้นบริเวณหลอดลม จะมีอาการ ไอ แน่นหน้าอก หอบ หายใจขัดหรือหายใจเร็ว บริเวณผิวหนังทำให้มีอาการคัน มีผดผื่นตามตัว ผื่นมักแห้ง แดง มีสะเก็ด หรือมีน้ำเหลือง หากเกิดกับระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดการแพ้อาหาร จะมีอาการ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปากบวม ปวดท้อง ท้องอืด อาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืดหรือแพ้อากาศ หรือผิวหนัง เช่น ผื่นคันหรือลมพิษร่วมด้วย โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่ไม่หายขาด แต่เป็นโรคที่มีความแปรปรวนในตัวเองสูง บางทีอาการอาจจะหายเกือบสนิทแต่ถ้าไม่ดูแลสุขภาพหรือมีสิ่งมากระทบอาการแพ้ก็อาจจะกลับมาใหม่ได้
ด้านนายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในการป้องกันโรคภูมิแพ้ควรปฏิบัติตน ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ควรนำเครื่องนอนออกไปโดนแสงแดดทุก 15 วัน เปิดหน้าต่างให้แสงแดดส่องเข้ามาในห้อง ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศแอร์ ใบพัดลมและพรมทุกสัปดาห์ เพราะพรมเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและไรฝุ่น กรณีแพ้ขนสุนัขหรือขนแมว ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส ไม่เลี้ยงสุนัขหรือแมวไว้ในบ้าน ทำความสะอาดบ้านเรือนให้ สะอาด ไม่อับชื้น ปราศจากเศษอาหาร นอกจากนี้หลีกเลี่ยงและอยู่ห่างไกลจากฝุ่นละออง ควันรถยนต์ ควันก๊าซจากโรงงาน ควันบุหรี่ เป็นต้น รวมทั้งระวังอาหารที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ได้ง่าย เช่น กุ้ง ปู หอยทะเลต่างๆ ที่สำคัญหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ลดอาการภูมิแพ้ ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
ขอบคุณ... http://www.thansettakij.com/2016/06/12/61513 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
การป้องกันโรคภูมิแพ้ กระทรวงสาธารณสุขห่วงปัญหาภูมิแพ้ หลังพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 3-4 เท่าเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักคือ กรรมพันธุ์ และปัจจัยกระตุ้น ทั้งมลภาวะ การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย สิ่งสำคัญที่ทุกคนมองข้ามคือ ความสะอาดของเครื่องใช้ในบ้าน ประเภทพรมและเครื่องปรับอากาศ ที่ต้องหมั่นทำความสะอาดเพราะเป็นแหล่งสะสมฝุ่นที่เราสูดดมทุกวัน ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากสถิติของสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย พบ โรคภูมิแพ้ในเด็กไทยสูงถึงร้อยละ 38 และพบในผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 20 ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มากขึ้นถึง 3-4 เท่าเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลัก คือ กรรมพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง คนในเมืองอยู่บ้านมาก ไม่ออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เด็กกินนมแม่น้อยลง รับประทานอาหารจานด่วนมากขึ้น ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน มลภาวะจากอุตสาหกรรม การจราจร และการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้าน การตกแต่งบ้านด้วยการปูพรม ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละอองและการติดเครื่องปรับอากาศทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวกทำให้เชื้อไรฝุ่นเจริญเติบโตได้ดี ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล กล่าวว่า โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายมีความผิดปกติต่อสารก่อภูมิแพ้ ส่งผลให้มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในอวัยวะที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ตัวไรฝุ่น เชื้อราในอากาศ อาหาร ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เป็นต้น ซึ่งในร่างกายคนปกติจะแพ้สารก่อภูมิแพ้ได้น้อยมากหรืออาจจะไม่มีอาการ ส่วนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้แต่ละรายจะมีอาการเกิดขึ้นแตกต่างกันและรุนแรงไม่เท่ากัน แม้จะเป็นสารก่อภูมิแพ้ชนิดเดียวกันก็ตาม ขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับและการตอบสนองของอวัยวะนั้นๆ เช่น เกิดขึ้นบริเวณจมูกทำให้เกิดโรคแพ้อากาศ อาการจาม คันจมูก คัดจมูก คันเพดานปากหรือคอ น้ำมูกไหล หากเกิดขึ้นบริเวณหลอดลม จะมีอาการ ไอ แน่นหน้าอก หอบ หายใจขัดหรือหายใจเร็ว บริเวณผิวหนังทำให้มีอาการคัน มีผดผื่นตามตัว ผื่นมักแห้ง แดง มีสะเก็ด หรือมีน้ำเหลือง หากเกิดกับระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดการแพ้อาหาร จะมีอาการ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปากบวม ปวดท้อง ท้องอืด อาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืดหรือแพ้อากาศ หรือผิวหนัง เช่น ผื่นคันหรือลมพิษร่วมด้วย โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่ไม่หายขาด แต่เป็นโรคที่มีความแปรปรวนในตัวเองสูง บางทีอาการอาจจะหายเกือบสนิทแต่ถ้าไม่ดูแลสุขภาพหรือมีสิ่งมากระทบอาการแพ้ก็อาจจะกลับมาใหม่ได้ ด้านนายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในการป้องกันโรคภูมิแพ้ควรปฏิบัติตน ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ควรนำเครื่องนอนออกไปโดนแสงแดดทุก 15 วัน เปิดหน้าต่างให้แสงแดดส่องเข้ามาในห้อง ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศแอร์ ใบพัดลมและพรมทุกสัปดาห์ เพราะพรมเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและไรฝุ่น กรณีแพ้ขนสุนัขหรือขนแมว ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัส ไม่เลี้ยงสุนัขหรือแมวไว้ในบ้าน ทำความสะอาดบ้านเรือนให้ สะอาด ไม่อับชื้น ปราศจากเศษอาหาร นอกจากนี้หลีกเลี่ยงและอยู่ห่างไกลจากฝุ่นละออง ควันรถยนต์ ควันก๊าซจากโรงงาน ควันบุหรี่ เป็นต้น รวมทั้งระวังอาหารที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ได้ง่าย เช่น กุ้ง ปู หอยทะเลต่างๆ ที่สำคัญหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ลดอาการภูมิแพ้ ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ขอบคุณ... http://www.thansettakij.com/2016/06/12/61513
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)