เด็กดาวน์ซินโดรมเจอปัญหา “อ้วน” เร่งดูแลอาหาร-ออกกำลังกาย
หมอเผย “เด็กดาวน์ซินโดรม” 50% มีภาวะอ้วน เหตุโรคร่วม เคลื่อนไหวร่างกายน้อย ยาที่รับประทานชี้ดูแลอาหารเป็นพิเศษเน้นโปรตีนผักผลไม้ไม่หวานร่วมออกกำลังกาย
พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่าเด็กกลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม ร้อยละ 50 มีภาวะอ้วน ปัจจัยมาจาก 1. โรคร่วมที่เกี่ยวข้องกับอาการดาวน์ เช่น เบาหวาน และไทรอยด์บกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเผาผลาญแตกต่างจากเด็กทั่วไป 2. วิถีการใช้ชีวิต เนื่องจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และข้อต่อกระดูกอาจจะยังมีไม่มากเท่ากับเด็กทั่วไป ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายและทำกิจกรรมได้น้อยกว่าเด็กปกติ ร่างกายจึงเกิดการสะสมไขมันได้ง่ายกว่า และ 3. ยาบางชนิดที่เด็กกลุ่มนี้ต้องรับประทานมีผลต่อการสะสมพลังงานและไขมันในร่างกาย จึงส่งผลให้เกิดภาวะอ้วนได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องมุ่งเน้นเรื่องการส่งเสริมการออกกำลังกายและการควบคุมอาหารในกลุ่มเด็กอาการดาวน์ โดยรูปแบบการออกกำลังกายต้องอยู่ภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัด ที่จะคอยประเมินและเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามความสามารถซึ่งบางกิจกรรมการออกกำลังกายก็จะมีการส่งเสริมเรื่องพัฒนาการร่วมด้วยเป็นต้น
พญ.อัมพร กล่าวว่า เด็กกลุ่มอาการดาวน์ต้องเลือกอาหารที่ถูกสุขลักษณะ คล้ายผู้ที่มีภาวะอ้วน คือ หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานมาก ๆ เช่น น้ำตาล แป้ง ไขมันในปริมาณมาก อาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม นอกจากนี้ ควรฝึกให้เด็กรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนมาก ๆ ร่วมกับการฝึกเคี้ยว ทั้งเนื้อสัตว์ และโปรตีนจากถั่ว เพราะเด็กกลุ่มนี้อาจจะรับประทานอาหารได้ไม่มาก และต้องส่งเสริมให้รับประทานผักและผลไม้ที่ไม่มีรสหวานจนเกินไป สำหรับในเด็กเล็กที่ยังเคี้ยวอาหารได้ไม่ดีพอ จึงต้องให้รับประทานอาหารที่นุ่มนิ่ม ผักเริ่มจากที่กลิ่นไม่แรง รสไม่จัด พอเริ่มโตขึ้นจะต้องเริ่มให้เด็กหัดรับประทานผักที่มีกลิ่นโดยค่อยๆไต่ระดับจากผักที่มีกลิ่นน้อยเพื่อให้เกิดความเคยชิน
“อาหารที่มีความเสี่ยงและไม่ควรให้ทารกกลุ่มอาการดาวน์รับประทาน เพราะจะส่งผลต่อปัญหาฟันผุ คือ อาหารที่มีสารปรุงแต่งมาก ๆ ทั้งรสหวาน มัน เค็ม รวมถึงขนมหวานเหนียวหนึบหนับอย่างลูกอม ผลไม้กวน นมก็ควรเป็นนมจืด และไม่ควรดื่มน้ำอัดลม เป็นต้น เนื่องจากเด็กที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมนั้น ความเข้าใจและความสามารถในการแปรงฟันจะดีไม่เท่ากับเด็กทั่วไป โดยจะต้องมีการส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกการเคี้ยวเพื่อกระตุ้นให้น้ำลายหลั่งออกมากๆ เพื่อจะได้ช่วยกวาดอาหารที่ตกค้างอยู่ในช่องปากหลุดออกมาเพื่อจะได้ทำให้อาหารตกค้างในช่องปากน้อยที่สุด ทั้งนี้ยังควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยเพื่อช่วยขัดฟันอีกด้วย” พญ.อัมพร กล่าว
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000031970 (ขนาดไฟล์: 164)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หมอเผย “เด็กดาวน์ซินโดรม” 50% มีภาวะอ้วน เหตุโรคร่วม เคลื่อนไหวร่างกายน้อย ยาที่รับประทานชี้ดูแลอาหารเป็นพิเศษเน้นโปรตีนผักผลไม้ไม่หวานร่วมออกกำลังกาย พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่าเด็กกลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม ร้อยละ 50 มีภาวะอ้วน ปัจจัยมาจาก 1. โรคร่วมที่เกี่ยวข้องกับอาการดาวน์ เช่น เบาหวาน และไทรอยด์บกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเผาผลาญแตกต่างจากเด็กทั่วไป 2. วิถีการใช้ชีวิต เนื่องจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และข้อต่อกระดูกอาจจะยังมีไม่มากเท่ากับเด็กทั่วไป ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายและทำกิจกรรมได้น้อยกว่าเด็กปกติ ร่างกายจึงเกิดการสะสมไขมันได้ง่ายกว่า และ 3. ยาบางชนิดที่เด็กกลุ่มนี้ต้องรับประทานมีผลต่อการสะสมพลังงานและไขมันในร่างกาย จึงส่งผลให้เกิดภาวะอ้วนได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องมุ่งเน้นเรื่องการส่งเสริมการออกกำลังกายและการควบคุมอาหารในกลุ่มเด็กอาการดาวน์ โดยรูปแบบการออกกำลังกายต้องอยู่ภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัด ที่จะคอยประเมินและเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามความสามารถซึ่งบางกิจกรรมการออกกำลังกายก็จะมีการส่งเสริมเรื่องพัฒนาการร่วมด้วยเป็นต้น พญ.อัมพร กล่าวว่า เด็กกลุ่มอาการดาวน์ต้องเลือกอาหารที่ถูกสุขลักษณะ คล้ายผู้ที่มีภาวะอ้วน คือ หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานมาก ๆ เช่น น้ำตาล แป้ง ไขมันในปริมาณมาก อาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม นอกจากนี้ ควรฝึกให้เด็กรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนมาก ๆ ร่วมกับการฝึกเคี้ยว ทั้งเนื้อสัตว์ และโปรตีนจากถั่ว เพราะเด็กกลุ่มนี้อาจจะรับประทานอาหารได้ไม่มาก และต้องส่งเสริมให้รับประทานผักและผลไม้ที่ไม่มีรสหวานจนเกินไป สำหรับในเด็กเล็กที่ยังเคี้ยวอาหารได้ไม่ดีพอ จึงต้องให้รับประทานอาหารที่นุ่มนิ่ม ผักเริ่มจากที่กลิ่นไม่แรง รสไม่จัด พอเริ่มโตขึ้นจะต้องเริ่มให้เด็กหัดรับประทานผักที่มีกลิ่นโดยค่อยๆไต่ระดับจากผักที่มีกลิ่นน้อยเพื่อให้เกิดความเคยชิน “อาหารที่มีความเสี่ยงและไม่ควรให้ทารกกลุ่มอาการดาวน์รับประทาน เพราะจะส่งผลต่อปัญหาฟันผุ คือ อาหารที่มีสารปรุงแต่งมาก ๆ ทั้งรสหวาน มัน เค็ม รวมถึงขนมหวานเหนียวหนึบหนับอย่างลูกอม ผลไม้กวน นมก็ควรเป็นนมจืด และไม่ควรดื่มน้ำอัดลม เป็นต้น เนื่องจากเด็กที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมนั้น ความเข้าใจและความสามารถในการแปรงฟันจะดีไม่เท่ากับเด็กทั่วไป โดยจะต้องมีการส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกการเคี้ยวเพื่อกระตุ้นให้น้ำลายหลั่งออกมากๆ เพื่อจะได้ช่วยกวาดอาหารที่ตกค้างอยู่ในช่องปากหลุดออกมาเพื่อจะได้ทำให้อาหารตกค้างในช่องปากน้อยที่สุด ทั้งนี้ยังควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยเพื่อช่วยขัดฟันอีกด้วย” พญ.อัมพร กล่าว ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000031970
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)