คนไทย 10% นอนไม่หลับ "ศิริราช" ชี้ภัยเงียบถึงชีวิต
แพทย์ศิริราชเผยคนไทยกว่าร้อยละ 10 ประสบปัญหา "นอนไม่หลับ" ชี้ก่อโรคความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต แนะผู้ป่วยเข้ารับการรักษา
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมโรคจากการนอนหลับแห่งประเทศไทย และชมรมศิริราชอาวุโส จัดกิจกรรม "วันนอนหลับโลก" (World Sleep Day) ที่โรงพยาบาลศิริราชโดยปีนี้มีคำขวัญรณรงค์ว่า"หลับสบายหายใจดีชีวีมีสุข"
ทั้งนี้ ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประธานศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช รพ.ศิริราช กล่าวระหว่างบรรยายสร้างความเข้าใจการนอนหลับให้กับผู้สูงอายุว่า สำหรับปัญหาการนอนหลับนั้น พบว่าสถานการณ์ทั่วโลกมีมากถึงร้อยละ 10-15 ส่วนประเทศไทย พบปัญหาป่วยจากการนอนถึง 7 ต่อ 100 คน โดยพบมากในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน ทั้งนี้ การนอนไม่พอส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทั้งการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันเกิดภาวะหลงลืม
"บางรายการนอนไม่พอ จากการฝันร้าย หรือมาจากการนอนกรนซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะทางเดินหายใจตีบ ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย มีคาร์บอนไดออกไซด์หลั่งในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะการหยุดหายใจชั่วคราว นับเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว ขณะที่การรักษาต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยสำรวจการนอนของผู้ป่วย เพื่อวิเคราะห์ จึงเริ่มรักษาได้ โดยจะมีทั้งให้ยาและการผ่าตัดขยายทางเดินหายใจ ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาควรนอนให้ได้ยาวและสนิท6-8ชั่วโมง"ศ.นพ.นิพนธ์กล่าว
ด้าน ผศ.นพ.วัฒนชัย โชตินัยวัตรกุล อายุรแพทย์ระบบประสาทวิทยา รพ.ศิริราช กล่าวว่า ปัญหาความผิดปกติจากการนอนหลับเป็นภัยคุกคามชีวิตและคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลกกว่าร้อยละ 45 ของประชากรเกือบทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับผู้สูงอายุและคนอ้วน โรคจากการนอนหลับที่พบมากที่สุดคือ โรคนอนไม่หลับ และโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) หรือการนอนกรน โดยในคนไทยพบปัญหาทั้ง 2 อย่างประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนประชากร โดยโรคนอนไม่หลับจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายส่วนปัญหาการนอนกรนจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
ผศ.นพ.วัฒนชัยกล่าวอีกว่า ปัญหาจากการนอนหลับจะนำไปสู่โรคอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ อาทิ ความง่วงอาจจะนำมาซึ่งอุบัติเหตุ ทำให้เสียชีวิต โดยไม่รู้ตัวว่าสาเหตุเกิดจากการนอนไม่เพียงพอ ส่วนโรคอื่นๆ ที่อาจตามมาจากการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย โรคอัมพฤกษ์ และโรคอัมพาต เป็นต้น สำหรับวิธีการรักษานั้น ต้องดูที่อาการและสาเหตุของโรค
"โรคนอนไม่หลับส่วนใหญ่รู้วิธีรักษาตามสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ แต่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น หรือการนอนกรน ประชาชนยังมีความรู้ในเรื่องนี้น้อย ทั้งที่สามารถรักษาได้ด้วยการลดน้ำหนัก การนอนตะแคง หลีกเลี่ยงการกินยานอนหลับ แต่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกขณะหลับ เพื่อช่วยทำให้การหายใจกลับมาเป็นปกติ" ผศ.นพ.วัฒนชัยกล่าว
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395116367
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 มี.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หญิงสาวนอนอยู่บนเตียงมองดูนาฬิกาปลุก แพทย์ศิริราชเผยคนไทยกว่าร้อยละ 10 ประสบปัญหา "นอนไม่หลับ" ชี้ก่อโรคความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต แนะผู้ป่วยเข้ารับการรักษา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมโรคจากการนอนหลับแห่งประเทศไทย และชมรมศิริราชอาวุโส จัดกิจกรรม "วันนอนหลับโลก" (World Sleep Day) ที่โรงพยาบาลศิริราชโดยปีนี้มีคำขวัญรณรงค์ว่า"หลับสบายหายใจดีชีวีมีสุข" ทั้งนี้ ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประธานศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช รพ.ศิริราช กล่าวระหว่างบรรยายสร้างความเข้าใจการนอนหลับให้กับผู้สูงอายุว่า สำหรับปัญหาการนอนหลับนั้น พบว่าสถานการณ์ทั่วโลกมีมากถึงร้อยละ 10-15 ส่วนประเทศไทย พบปัญหาป่วยจากการนอนถึง 7 ต่อ 100 คน โดยพบมากในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน ทั้งนี้ การนอนไม่พอส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทั้งการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันเกิดภาวะหลงลืม "บางรายการนอนไม่พอ จากการฝันร้าย หรือมาจากการนอนกรนซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะทางเดินหายใจตีบ ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย มีคาร์บอนไดออกไซด์หลั่งในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะการหยุดหายใจชั่วคราว นับเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว ขณะที่การรักษาต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยสำรวจการนอนของผู้ป่วย เพื่อวิเคราะห์ จึงเริ่มรักษาได้ โดยจะมีทั้งให้ยาและการผ่าตัดขยายทางเดินหายใจ ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาควรนอนให้ได้ยาวและสนิท6-8ชั่วโมง"ศ.นพ.นิพนธ์กล่าว ด้าน ผศ.นพ.วัฒนชัย โชตินัยวัตรกุล อายุรแพทย์ระบบประสาทวิทยา รพ.ศิริราช กล่าวว่า ปัญหาความผิดปกติจากการนอนหลับเป็นภัยคุกคามชีวิตและคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลกกว่าร้อยละ 45 ของประชากรเกือบทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับผู้สูงอายุและคนอ้วน โรคจากการนอนหลับที่พบมากที่สุดคือ โรคนอนไม่หลับ และโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) หรือการนอนกรน โดยในคนไทยพบปัญหาทั้ง 2 อย่างประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนประชากร โดยโรคนอนไม่หลับจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายส่วนปัญหาการนอนกรนจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ผศ.นพ.วัฒนชัยกล่าวอีกว่า ปัญหาจากการนอนหลับจะนำไปสู่โรคอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ อาทิ ความง่วงอาจจะนำมาซึ่งอุบัติเหตุ ทำให้เสียชีวิต โดยไม่รู้ตัวว่าสาเหตุเกิดจากการนอนไม่เพียงพอ ส่วนโรคอื่นๆ ที่อาจตามมาจากการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย โรคอัมพฤกษ์ และโรคอัมพาต เป็นต้น สำหรับวิธีการรักษานั้น ต้องดูที่อาการและสาเหตุของโรค "โรคนอนไม่หลับส่วนใหญ่รู้วิธีรักษาตามสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ แต่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น หรือการนอนกรน ประชาชนยังมีความรู้ในเรื่องนี้น้อย ทั้งที่สามารถรักษาได้ด้วยการลดน้ำหนัก การนอนตะแคง หลีกเลี่ยงการกินยานอนหลับ แต่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกขณะหลับ เพื่อช่วยทำให้การหายใจกลับมาเป็นปกติ" ผศ.นพ.วัฒนชัยกล่าว ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395116367 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 มี.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)