สมาธิสั้น กันอยู่หรือเปล่า?

แสดงความคิดเห็น

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต เด็กนักเรียนแสดงอาการหงุดหงิด

คุณเป็นคนหนึ่งที่ทำงานได้หลายอย่างแต่ไม่เสร็จเลยสักอย่างหรือเปล่า? หลายครั้งคุณพยายามจัดการงานอย่างมีระบบแล้วแต่ไม่สามารถทำให้เสร็จได้ จะต้องมีแรงอะไรบังคับให้คุณสนใจอย่างอื่นมากกว่า แต่ก็ไม่นานพอคุณกลับมาทำอีก ก็ทำไม่ได้จนเสร็จอีกนั่นล่ะ หากคุณมีภาวะแบบนี้อยู่ตลอดๆ ล่ะก็ ให้คุณลองอ่านดู คุณอาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโรค”สมาธิสั้นในวัยทำงาน” อยู่ก็เป็นได้ค่ะ

สมาธิสั้นนั้นคืออะไร - โรคสมาธิสั้น (Attention Defecit Hyperactivity Disorders (ADHD" เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับระบบสั่งงานอื่นๆ ผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้นคือผู้ที่มีความบกพร่องในเรื่องสมาธิ และการควบคุมการกระทำของตนเองในการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

สาเหตุที่แท้จริงของ ภาวะสมาธิสั้นนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง อีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือพันธุกรรมที่มีผลต่อสมอง แม้ว่าจะยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าภาวะสมาธิสั้นมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมก็ตาม โรคสมาธิสั้น นั้นเป็นได้ทุกวัย เรา อาจจะเคยได้ยินว่าโรคสมาธิสั้น เกิดในเด็กๆ ที่อยู่ไม่นิ่ง ภาวการณ์เรียนรู้ช้ากว่าเพื่อนๆ เนื่องจากมีช่วงสมาธิที่สั้นเกินกว่าที่จะจดจ่อและทำความเข้าใจกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ข้อเท็จจริงก็คือโรคนี้เป็นโรคที่เกิดในวัยเด็กจริงๆ ค่ะ และแน่นอนว่าคนที่มีอาการของโรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่นั้น เกิดจากอาการสมาธิสั้นตั้งแต่วัยเด็กอย่างแน่นอน แต่จะรู้ตัวไหมนั้นก็อาจจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผู้ใหญ่ในวันนั้นอาจจะคิดว่าคุณเป็นแค่เด็กซนธรรมดาๆ ก็เลยปล่อยปละไป จากกงานวิจัยพบว่าครึ่งหนึ่งของเด็กสมาธิสั้นมักมีอาการอยู่ไม่นิ่ง จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่แล้วอาการก็ยังคงปรากฏอยู่ถึง 30-80 % สมาธิสั้นหรือไม่ รู้ได้อย่างไร? แน่นอนว่าการตรวจวินิจฉัยนั้นเป็นหน้าที่ของแพทย์ค่ะ ซึ่งแพทย์จะใช้แบบวัดร่วมกับการซักประวัติ โดยมีหลักใหญ่ ๆ 3 ประการค่ะ สาวๆ ลองพิจารณาดูนะคะว่าตัวเอง เข้าข่ายเป็นโรคสมาธิสั้นหรือเปล่า?

1. ความไวของกล้ามเนื้อต่อสิ่งกระตุ้นและความวิตกกังวลภายในใจ (hyperactivity) หัวข้อเป็นทางการภาษาแพทย์มากพูดง่ายๆ อันนี้ก็ไฮเปอร์ล่ะค่ะ คือไม่สามารถผ่อนคลายและทำกิจกรรมที่อยู่กับที่ได้นานๆ เช่น การนั่งอ่านหนังสือหรือการดูโทรทัศน์ มีอาการวิตกกังวลและความรู้สึกกังวลที่มีอยู่ในใจซึ่งไม่สามารถแสดงออกมา อย่างชัดเจนได้ คือรู้สึกกังวลไปซะหมด นอยด์ (paranoid) มันไปซะทุกเรื่อง คิดมากจนเกินงาม

2. การขาดความเอาใจใส่ (inattention) เช่น การไม่สนใจผู้ร่วมสนทนา การอ่านหนังสือแต่จับใจความไม่ได้ เป็นต้น และสิ่งที่เห็นได้ชัดในชีวิตประจำวันคือ “ขี้ลืม” วางของผิดที่เสมอๆ อันนี้ตรงข้ามกับข้อแรกเลย คือเป็นสาวเฉื่อยที่ไม่ใส่ใจโลก อันนี้ก็เสี่ยงต่อการเป็นสมาธิสั้นได้นะคะ

3. ความบกพร่องทางอารมณ์ (Emotional disorder) เป็นพวกอารมณ์เสื่อม เก็บอารมณ์ไม่ได้นั่นเอง เช่น มีอารมณ์แปรปรวนต่อกันหลายชั่วโมงในหลายวัน มักจะโมโหง่ายและระเบิดออกมาบ่อยๆ อารมณ์หุนหันพลันแล่น มักตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงทันที มีพฤติกรรมต่อต้านความคิดและขาดความคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบมีความรู้สึก เบื่อหน่ายและไม่พอใจอย่างไม่มีเหตุผล ขาดระเบียบวินัย ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือจัดการเรื่องเวลาได้ และไม่สามารถจดจ่อกับหน้าที่นานๆ ได้

สมาธิสั้น เรื่องร้ายๆ กับการใช้ชีวิต หลายคนมักจะติดว่าผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้นไม่ได้มีความอันตรายอะไร อาจจะวุ่นวายในเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันกับคนรอบข้างบ้าง ปรับตัวยากบ้าง หากทำอะไรช้าลง จัดตารางชีวิตดีๆ เรื่องสมาธิสั้นไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมาก แต่แท้ที่จริงแล้ว โรคสมาธิสั้นรุนแรงขนาดส่งผลให้เกิดการฆ่าตัวตายได้เลยทีเดียว เพราะผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย ชอบออกนอกเรื่องและมองข้ามในรายละเอียด พูดโพล่งเมื่อฟังคำถามยังไม่จบ ไม่รู้จักการรอคอย และการทำอะไรรุนแรงก้าวร้าวต่อตนเองหรือบุคคลอื่น สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลให้ผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ซึ่งจะส่งผลให้กลายเป็นคนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ประสบความสำเร็จในงาน และมักเก็บตัวจนกลายเป็นผู้ที่มีโรคซึมเศร้า จนเกิดความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายในที่สุด เห็นไหมคะว่าการเป็นโรค สมาธิสั้นนั้นส่งผลถึงแก่ความตายได้ไม่แพ้โรคอื่นๆ เลย แม้ว่าจะเป็นโรคที่มองไม่เห็นสัมผัสไม่ได้ ไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดทรมานร่างกายก็ตาม

บำบัด รักษา และอยู่ร่วมกับสมาธิสั้นกันอย่างไร? -โรคสมาธิสั้นมีวิธีการรักษาที่หลากหลายค่ะ เราจะพูดถึงสมาธิสั้นที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่เท่านั้น ซึ่งการรักษาคือการให้ยาและบำบัดเพื่อลดอาการเท่านั้นค่ะ และอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคนี้สามารถอยู่ในโลกได้อย่ามีความสุข ก็คือการปรับแนวคิดในการใช้ชีวิตซึ่งเราก็มีตัวอย่างบางข้อมาบอกกันค่ะ

• ให้ยาคุมอาการ ในรายที่มีอาการหนักและส่งผลต่อการใช้ชีวิตที่ยากลำบาก จิตแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าบางรายต้องใช้ยาช่วย เช่น ในกรณีก้าวร้าวรุนแรง มีอารมณ์แปรปรวนหรือซึมเศร้า หรือต่อต้านสังคมไปเลยยาที่ได้รับจะต้องรับประทานอย่างสม่ำเสมอทุกวันและในเวลาเดียวกัน

• บำบัดเพื่อลดอาการ การบำบัดจะทำโดยนักจิตวิทยา เรียกว่า “กิจกรรมบำบัดค่ะ” ส่วนหนึ่งก็เพื่อบำบัดอาการ ลดการซึมเศร้าหรือเกรี้ยวกราด ผ่อนคลายและเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาและวิธีดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับตนเอง ในขณะเดียวกัน เป็นการฝึกที่จะเข้าสังคมอย่างถูกต้อง ถูกจังหวะกับผู้อื่นอีกด้วย

• ปรับแนวคิด ยอมรับความเป็นจริง ตามสภาพธรรมชาติ ที่สำคัญที่สุดเลยคือยอมรับอาการของตนเอง ไม่ต่อต้านหรือรู้สึกละอาย ซึ่งจะเป็นการยิ่งเสริมให้มีอาการหนักขึ้น

• เลือกงานที่ใช่ งานบางงานที่ไม่ถูกโรคกับสมาธิสั้น คืองานที่ต้องใช้สมองซับซ้อน นั่งอยู่กับที่ จมอยู่กับตัวเลย ฯลฯ งานเหล่านี้เป็นงานที่ไม่ถูกโรคกับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น ลองเปลี่ยนสายงานให้ไม่ต้องใช้กระบวนการบริหารจัดการ ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนในขั้นตอนการทำ ไม่ต้องวางแผน ฯลฯ เช่น งานการตลาดและงานขาย งานไกด์ ช่างภาพ ฯลฯ งานที่ต้องทำนอกสถานที่และเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จะเหมาะกับผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า

• กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ การเล่นกีฬานอกจากจะช่วยให้สนุกและเพลิดเพลิน แล้วยังช่วยปรับอารมณ์ของผู้ป่วยให้กลับมาสดใสร่าเริง หรือได้ปลดปล่อยความเครียดไปกับกีฬาได้อีกด้วย

• ใครสักคนที่เข้าใจ การมีผู้ที่เข้าใจ อารมณ์เย็น มีเหตุมีผล ย่อมเป็นที่พึ่งที่ดีที่สามารถลดความกังวลได้อีกด้วย ที่สำคัญเลยคือเราต้องพูดความจริงกับคนผู้นั้น และขอให้เขาช่วยเตือนหรือส่งสัญญาณเวลาทำอะไรไม่เหมาะสม เชื่อแน่ค่ะว่าในชีวิตทุกคนต้องมีคนนี้อยู่ข้างๆ แล้วแน่นอน อย่างน้อยก็คุณพ่อคุณแม่นั่นล่ะค่ะ

• คิดบวก…ช่วยได้ การคิดบวกนั้นนอกจากจะเป็นการให้กำลังใจแล้ว ยังช่วยให้เรามีความสุขกับการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย เช่น เมื่อกินอะไรไม่อร่อยก็อย่าเพิ่งหงุดหงิด ให้คิดว่าเรายังกินได้เองไม่ต้องให้ใครป้อนถือว่าโชคดีแล้ว หรือมีกินก็ดีแล้วมีอีกหลายคนบนโลกที่มื้อนี้ไม่มีอะไรตกถึงท้อง หรือทำอะไรได้เสร็จแต่ผลสำเร็จได้เพียง 60 % ให้คิดว่าอย่างน้อยดีกว่าทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ เป็นต้น

ขอบคุณ... http://variety.teenee.com/foodforbrain/56454.html

ที่นี่ดอทคอมออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ย.56

ที่มา: ที่นี่ดอทคอมออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 30/09/2556 เวลา 03:43:29 ดูภาพสไลด์โชว์ สมาธิสั้น กันอยู่หรือเปล่า?

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต เด็กนักเรียนแสดงอาการหงุดหงิด คุณเป็นคนหนึ่งที่ทำงานได้หลายอย่างแต่ไม่เสร็จเลยสักอย่างหรือเปล่า? หลายครั้งคุณพยายามจัดการงานอย่างมีระบบแล้วแต่ไม่สามารถทำให้เสร็จได้ จะต้องมีแรงอะไรบังคับให้คุณสนใจอย่างอื่นมากกว่า แต่ก็ไม่นานพอคุณกลับมาทำอีก ก็ทำไม่ได้จนเสร็จอีกนั่นล่ะ หากคุณมีภาวะแบบนี้อยู่ตลอดๆ ล่ะก็ ให้คุณลองอ่านดู คุณอาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโรค”สมาธิสั้นในวัยทำงาน” อยู่ก็เป็นได้ค่ะ สมาธิสั้นนั้นคืออะไร - โรคสมาธิสั้น (Attention Defecit Hyperactivity Disorders (ADHD)) เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับระบบสั่งงานอื่นๆ ผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้นคือผู้ที่มีความบกพร่องในเรื่องสมาธิ และการควบคุมการกระทำของตนเองในการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ สาเหตุที่แท้จริงของ ภาวะสมาธิสั้นนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง อีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือพันธุกรรมที่มีผลต่อสมอง แม้ว่าจะยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าภาวะสมาธิสั้นมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมก็ตาม โรคสมาธิสั้น นั้นเป็นได้ทุกวัย เรา อาจจะเคยได้ยินว่าโรคสมาธิสั้น เกิดในเด็กๆ ที่อยู่ไม่นิ่ง ภาวการณ์เรียนรู้ช้ากว่าเพื่อนๆ เนื่องจากมีช่วงสมาธิที่สั้นเกินกว่าที่จะจดจ่อและทำความเข้าใจกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ข้อเท็จจริงก็คือโรคนี้เป็นโรคที่เกิดในวัยเด็กจริงๆ ค่ะ และแน่นอนว่าคนที่มีอาการของโรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่นั้น เกิดจากอาการสมาธิสั้นตั้งแต่วัยเด็กอย่างแน่นอน แต่จะรู้ตัวไหมนั้นก็อาจจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผู้ใหญ่ในวันนั้นอาจจะคิดว่าคุณเป็นแค่เด็กซนธรรมดาๆ ก็เลยปล่อยปละไป จากกงานวิจัยพบว่าครึ่งหนึ่งของเด็กสมาธิสั้นมักมีอาการอยู่ไม่นิ่ง จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่แล้วอาการก็ยังคงปรากฏอยู่ถึง 30-80 % สมาธิสั้นหรือไม่ รู้ได้อย่างไร? แน่นอนว่าการตรวจวินิจฉัยนั้นเป็นหน้าที่ของแพทย์ค่ะ ซึ่งแพทย์จะใช้แบบวัดร่วมกับการซักประวัติ โดยมีหลักใหญ่ ๆ 3 ประการค่ะ สาวๆ ลองพิจารณาดูนะคะว่าตัวเอง เข้าข่ายเป็นโรคสมาธิสั้นหรือเปล่า? 1. ความไวของกล้ามเนื้อต่อสิ่งกระตุ้นและความวิตกกังวลภายในใจ (hyperactivity) หัวข้อเป็นทางการภาษาแพทย์มากพูดง่ายๆ อันนี้ก็ไฮเปอร์ล่ะค่ะ คือไม่สามารถผ่อนคลายและทำกิจกรรมที่อยู่กับที่ได้นานๆ เช่น การนั่งอ่านหนังสือหรือการดูโทรทัศน์ มีอาการวิตกกังวลและความรู้สึกกังวลที่มีอยู่ในใจซึ่งไม่สามารถแสดงออกมา อย่างชัดเจนได้ คือรู้สึกกังวลไปซะหมด นอยด์ (paranoid) มันไปซะทุกเรื่อง คิดมากจนเกินงาม 2. การขาดความเอาใจใส่ (inattention) เช่น การไม่สนใจผู้ร่วมสนทนา การอ่านหนังสือแต่จับใจความไม่ได้ เป็นต้น และสิ่งที่เห็นได้ชัดในชีวิตประจำวันคือ “ขี้ลืม” วางของผิดที่เสมอๆ อันนี้ตรงข้ามกับข้อแรกเลย คือเป็นสาวเฉื่อยที่ไม่ใส่ใจโลก อันนี้ก็เสี่ยงต่อการเป็นสมาธิสั้นได้นะคะ 3. ความบกพร่องทางอารมณ์ (Emotional disorder) เป็นพวกอารมณ์เสื่อม เก็บอารมณ์ไม่ได้นั่นเอง เช่น มีอารมณ์แปรปรวนต่อกันหลายชั่วโมงในหลายวัน มักจะโมโหง่ายและระเบิดออกมาบ่อยๆ อารมณ์หุนหันพลันแล่น มักตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงทันที มีพฤติกรรมต่อต้านความคิดและขาดความคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบมีความรู้สึก เบื่อหน่ายและไม่พอใจอย่างไม่มีเหตุผล ขาดระเบียบวินัย ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือจัดการเรื่องเวลาได้ และไม่สามารถจดจ่อกับหน้าที่นานๆ ได้ สมาธิสั้น เรื่องร้ายๆ กับการใช้ชีวิต หลายคนมักจะติดว่าผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้นไม่ได้มีความอันตรายอะไร อาจจะวุ่นวายในเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันกับคนรอบข้างบ้าง ปรับตัวยากบ้าง หากทำอะไรช้าลง จัดตารางชีวิตดีๆ เรื่องสมาธิสั้นไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมาก แต่แท้ที่จริงแล้ว โรคสมาธิสั้นรุนแรงขนาดส่งผลให้เกิดการฆ่าตัวตายได้เลยทีเดียว เพราะผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย ชอบออกนอกเรื่องและมองข้ามในรายละเอียด พูดโพล่งเมื่อฟังคำถามยังไม่จบ ไม่รู้จักการรอคอย และการทำอะไรรุนแรงก้าวร้าวต่อตนเองหรือบุคคลอื่น สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลให้ผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ซึ่งจะส่งผลให้กลายเป็นคนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ประสบความสำเร็จในงาน และมักเก็บตัวจนกลายเป็นผู้ที่มีโรคซึมเศร้า จนเกิดความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายในที่สุด เห็นไหมคะว่าการเป็นโรค สมาธิสั้นนั้นส่งผลถึงแก่ความตายได้ไม่แพ้โรคอื่นๆ เลย แม้ว่าจะเป็นโรคที่มองไม่เห็นสัมผัสไม่ได้ ไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดทรมานร่างกายก็ตาม บำบัด รักษา และอยู่ร่วมกับสมาธิสั้นกันอย่างไร? -โรคสมาธิสั้นมีวิธีการรักษาที่หลากหลายค่ะ เราจะพูดถึงสมาธิสั้นที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่เท่านั้น ซึ่งการรักษาคือการให้ยาและบำบัดเพื่อลดอาการเท่านั้นค่ะ และอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคนี้สามารถอยู่ในโลกได้อย่ามีความสุข ก็คือการปรับแนวคิดในการใช้ชีวิตซึ่งเราก็มีตัวอย่างบางข้อมาบอกกันค่ะ • ให้ยาคุมอาการ ในรายที่มีอาการหนักและส่งผลต่อการใช้ชีวิตที่ยากลำบาก จิตแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าบางรายต้องใช้ยาช่วย เช่น ในกรณีก้าวร้าวรุนแรง มีอารมณ์แปรปรวนหรือซึมเศร้า หรือต่อต้านสังคมไปเลยยาที่ได้รับจะต้องรับประทานอย่างสม่ำเสมอทุกวันและในเวลาเดียวกัน • บำบัดเพื่อลดอาการ การบำบัดจะทำโดยนักจิตวิทยา เรียกว่า “กิจกรรมบำบัดค่ะ” ส่วนหนึ่งก็เพื่อบำบัดอาการ ลดการซึมเศร้าหรือเกรี้ยวกราด ผ่อนคลายและเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาและวิธีดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับตนเอง ในขณะเดียวกัน เป็นการฝึกที่จะเข้าสังคมอย่างถูกต้อง ถูกจังหวะกับผู้อื่นอีกด้วย • ปรับแนวคิด ยอมรับความเป็นจริง ตามสภาพธรรมชาติ ที่สำคัญที่สุดเลยคือยอมรับอาการของตนเอง ไม่ต่อต้านหรือรู้สึกละอาย ซึ่งจะเป็นการยิ่งเสริมให้มีอาการหนักขึ้น • เลือกงานที่ใช่ งานบางงานที่ไม่ถูกโรคกับสมาธิสั้น คืองานที่ต้องใช้สมองซับซ้อน นั่งอยู่กับที่ จมอยู่กับตัวเลย ฯลฯ งานเหล่านี้เป็นงานที่ไม่ถูกโรคกับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น ลองเปลี่ยนสายงานให้ไม่ต้องใช้กระบวนการบริหารจัดการ ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนในขั้นตอนการทำ ไม่ต้องวางแผน ฯลฯ เช่น งานการตลาดและงานขาย งานไกด์ ช่างภาพ ฯลฯ งานที่ต้องทำนอกสถานที่และเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จะเหมาะกับผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า • กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ การเล่นกีฬานอกจากจะช่วยให้สนุกและเพลิดเพลิน แล้วยังช่วยปรับอารมณ์ของผู้ป่วยให้กลับมาสดใสร่าเริง หรือได้ปลดปล่อยความเครียดไปกับกีฬาได้อีกด้วย • ใครสักคนที่เข้าใจ การมีผู้ที่เข้าใจ อารมณ์เย็น มีเหตุมีผล ย่อมเป็นที่พึ่งที่ดีที่สามารถลดความกังวลได้อีกด้วย ที่สำคัญเลยคือเราต้องพูดความจริงกับคนผู้นั้น และขอให้เขาช่วยเตือนหรือส่งสัญญาณเวลาทำอะไรไม่เหมาะสม เชื่อแน่ค่ะว่าในชีวิตทุกคนต้องมีคนนี้อยู่ข้างๆ แล้วแน่นอน อย่างน้อยก็คุณพ่อคุณแม่นั่นล่ะค่ะ • คิดบวก…ช่วยได้ การคิดบวกนั้นนอกจากจะเป็นการให้กำลังใจแล้ว ยังช่วยให้เรามีความสุขกับการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย เช่น เมื่อกินอะไรไม่อร่อยก็อย่าเพิ่งหงุดหงิด ให้คิดว่าเรายังกินได้เองไม่ต้องให้ใครป้อนถือว่าโชคดีแล้ว หรือมีกินก็ดีแล้วมีอีกหลายคนบนโลกที่มื้อนี้ไม่มีอะไรตกถึงท้อง หรือทำอะไรได้เสร็จแต่ผลสำเร็จได้เพียง 60 % ให้คิดว่าอย่างน้อยดีกว่าทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ เป็นต้น ขอบคุณ... http://variety.teenee.com/foodforbrain/56454.html ที่นี่ดอทคอมออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ค้นหาข้อมูลในห้องสมุด