นอนหลับไม่ดีก่อโรคเพียบ “ความดัน-อ้วน-โง่-มะเร็ง” แนะวิธีหลับให้สนิท นอนได้ทุกท่า

แสดงความคิดเห็น

งาน แถลงข่าวการจัดงาน “การส่งเสริมการนอนหลับสนิท ชีวิตมีสุข”

คนไทย 1 ใน 3 มีปัญหาการนอน ต้นตอกว่า 100 โรค ทั้ง “ความดัน อ้วน โง่ มะเร็ง” พบนอนกรนพ่วงหยุดหายใจ 2 - 4% ชี้ นอนหลับดีมีคุณภาพ หลับสนิทถึงเช้า ช่วยสดใสตลอดทั้งวัน ลดเกิดอุบัติเหตุ เผยนอนได้ทุกท่าที่ช่วยให้หลับสบาย สธ.เตรียมจัดงานวันนอนหลับโลกหวังเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยนอนมีคุณภาพ

วันที่ (8 มี.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวการจัดงาน “การส่งเสริมการนอนหลับสนิท ชีวิตมีสุข” ว่า มนุษย์ใช้เวลานอนหลับวันละประมาณ 8 ชั่วโมง หรือราว 1 ใน 3 ของชีวิต ซึ่งการนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้พักผ่อน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ปรับสมดุลสารเคมีต่าง ๆ เรียบเรียงข้อมูลในสมอง ทำให้เกิดการจดจำและพัฒนาการ หากนอนหลับไม่เพียงพอ ไม่มีคุณภาพ หลับไม่สนิท ก็จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ วันนอนหลับโลก ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 18 มี.ค. สธ. จึงร่วมกับสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการนอนหลับ ที่สถาบันโรคทรวงอก จ.นนทบุรี เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงการนอนหลับ และสุขอนามัยการนอนที่ดี ให้ความรู้เกี่ยวกับการนอนที่มีคุณภาพแก่ประชาชน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน สำหรับระยะยาวจะจัดทำแหล่งองค์ความรู้และสื่อความรู้ให้ประชาชนหาข้อมูลได้ง่ายและประเมินคุณภาพการนอนของตนเอง

งาน แถลงข่าวการจัดงาน “การส่งเสริมการนอนหลับสนิทชีวิตมีสุข”

นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เทคนิคช่วยให้นอนหลับได้ง่าย คือ 1. กำหนดเวลานอนและตื่นให้เป็นเวลา ช่วงเข้านอนที่เหมาะสม คือ 21.00 - 23.00 น. เพราะเป็นช่วงที่สารแห่งความสุขจะหลั่งออกมามากที่สุด และปฏิบัติเป็นประจำ 2. ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที ก่อนนอนประมาณ 4 - 6 ชั่วโมง 3. ทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น กล้วยหอม เพราะมี “สารทริปโตฟาน” ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิต “สารเซโรโทนิน” ที่ช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย 4. หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก รสเผ็ด รสจัด หรือหวานมาก ก่อนเข้านอน 4 ชั่วโมง 5.หลีกเลี่ยงกาแฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นประสาททุกชนิด 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน 6. ผ่อนคลายร่างกาย และจิตใจก่อนนอนด้วยการอาบน้ำอุ่น เดินเบา ๆ ไปมา หรือการนั่งสมาธิ 7. จัดระเบียบห้องนอนและกำจัดสิ่งรบกวน ด้วยการปิดไฟและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสารก่อนนอน แต่บางรายอาจจำเป็นต้องเปิดเพลงเบา ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศ ทำให้หลับสบายขึ้น 8. เลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินจะทำให้หลับยาก ตื่นบ่อย และฝันร้าย และ 9. เมื่อรู้สึกง่วงอย่าพยายามฝืน ทั้งนี้ พบว่าปัญหาการนอนไม่หลับ เป็นอาการเบื้องต้นของกลุ่มโรคทางจิตเวชด้วยซึ่งพบได้เกือบทุกโรคโดยเฉพาะโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล

ศ.เกียรติคุณ พญ.คุณนันทา มาระเนตร์ นายกสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การนอนหลับที่ดีมีคุณภาพ คือ หลับต่อเนื่องและนานพอ เรียกแบบชาวบ้าน คือ หลับรวดเดียวจนถึงเช้า ซึ่งคุณภาพการนอนสำคัญกว่าระยะเวลาในการนอน เพราะแม้จะนอนเพียง 6 ชั่วโมง แต่หากการนอนนั้นมีคุณภาพ ตื่นมาแล้วสดชื่นสดใสไปตลอดทั้งวัน ก็ถือว่าเป็นการนอนที่มีคุณภาพ ส่วนท่านอนนั้นแล้วแต่บุคคลว่านอนท่าไหนแล้วสบายที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับหมอนและที่นอนด้วย ยกเว้นกลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องการหายใจและนอนกรน ไม่ควรนอนหงาย ควรนอนตะแคง ยกหัวสูง ลิ้นก็จะไม่ตกลงมา ไม่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน เป็นต้น ทั้งนี้ การนอนที่ไม่มีคุณภาพ หลับไม่สนิท ส่งผลให้เกิดโรคตามมาได้กว่า 100 โรค เช่น เรียนรู้ไม่ดี ความจำเสีย ความสนใจแย่ อ้วน เตี้ย โง่ในเด็ก ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงมะเร็ง ซึ่งปัญหาการนอนหลับถือเป็นปัญหาทั่วโลก โดยคนครึ่งโลกล้วนมีปัญหานอนไม่หลับส่วนไทยพบ1ใน3โดยจำนวนที่มีปัญหามีเพียง1ใน3เท่านั้นที่มาพบแพทย์

งาน แถลงข่าวการจัดงาน “การส่งเสริมการนอนหลับสนิทชีวิตมีสุข”

“ปัญหาการนอนที่ควรมาพบแพทย์ คือ 1.นอนไม่หลับหรือไม่พอเรื้อรังเป็นเดือนๆ หรือทานยานอนหลับเกิน 2 สัปดาห์ต่อเนื่อง 2. ง่วงผิดปกติเวลากลางวัน อยู่เฉย ๆ ก็หลับ เช้าตื่นมาแล้วไม่สดชื่น ปวดหัว มึนหัว ความจำลดลง ไม่มีสมาธิ 3. ช่วงกลางคืนมีการสะดุ้งตื่นเฮือก ๆ และ 4. ตื่นขึ้นมาแล้วมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก” ศ.เกียรติคุณ พญ.คุณนันทา กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่มีการเก็บข้อมูลโรคที่เกิดจากนอนอย่างชัดเจน แต่จากการสำรวจของ รพ.รามาธิบดี พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหานอนไม่หลับสูงถึง 50% ส่วนข้อมูลจาก รพ.ศิริราช และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) พบว่า ผู้สูงอายุมีภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ 2 - 4% พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2 เท่า นอกจากนี้ พบว่า เด็กนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วยมี 8.5%ส่วนผู้ใหญ่อายุเกิน60ปีในกทม.มีปัญหานอนกรนและหยุดหายใจร่วมด้วย16%

ศ.เกียรติคุณ พญ.คุณนันทา กล่าวว่า สำหรับกลุ่มที่น่าเป็นห่วงจากปัญหาในการหลับ คือ กลุ่มเด็กและคนขับรถทางไกล โดยในกลุ่มเด็กควรให้นอนเป็นเวลา นอนแต่หัวค่ำ ทำจิตใจผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือให้ฟัง กลุ่มคนขับรถควรนอนให้เพียงพอ และสังเกตเวลาขับรถว่ามีอาการง่วง จะหลับในหรือไม่ เช่น สมาธิลดลง ขับออกนอกเส้นทาง จำสิ่งที่ขับผ่านมาไม่ได้ เป็นต้น แนะนำว่าควรขับรถ 2 ชั่วโมง พักทุก 15 นาที หากง่วงให้จอดรถที่ปลอดภัย กินกาแฟ 1 - 2 ถ้วย แล้วนอนประมาณ 20 - 25 นาที

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000024643 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 มี.ค.59
วันที่โพสต์: 10/03/2559 เวลา 09:45:05 ดูภาพสไลด์โชว์ นอนหลับไม่ดีก่อโรคเพียบ “ความดัน-อ้วน-โง่-มะเร็ง” แนะวิธีหลับให้สนิท นอนได้ทุกท่า

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

งาน แถลงข่าวการจัดงาน “การส่งเสริมการนอนหลับสนิท ชีวิตมีสุข” คนไทย 1 ใน 3 มีปัญหาการนอน ต้นตอกว่า 100 โรค ทั้ง “ความดัน อ้วน โง่ มะเร็ง” พบนอนกรนพ่วงหยุดหายใจ 2 - 4% ชี้ นอนหลับดีมีคุณภาพ หลับสนิทถึงเช้า ช่วยสดใสตลอดทั้งวัน ลดเกิดอุบัติเหตุ เผยนอนได้ทุกท่าที่ช่วยให้หลับสบาย สธ.เตรียมจัดงานวันนอนหลับโลกหวังเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยนอนมีคุณภาพ วันที่ (8 มี.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวการจัดงาน “การส่งเสริมการนอนหลับสนิท ชีวิตมีสุข” ว่า มนุษย์ใช้เวลานอนหลับวันละประมาณ 8 ชั่วโมง หรือราว 1 ใน 3 ของชีวิต ซึ่งการนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้พักผ่อน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ปรับสมดุลสารเคมีต่าง ๆ เรียบเรียงข้อมูลในสมอง ทำให้เกิดการจดจำและพัฒนาการ หากนอนหลับไม่เพียงพอ ไม่มีคุณภาพ หลับไม่สนิท ก็จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ วันนอนหลับโลก ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 18 มี.ค. สธ. จึงร่วมกับสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการนอนหลับ ที่สถาบันโรคทรวงอก จ.นนทบุรี เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงการนอนหลับ และสุขอนามัยการนอนที่ดี ให้ความรู้เกี่ยวกับการนอนที่มีคุณภาพแก่ประชาชน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน สำหรับระยะยาวจะจัดทำแหล่งองค์ความรู้และสื่อความรู้ให้ประชาชนหาข้อมูลได้ง่ายและประเมินคุณภาพการนอนของตนเอง งาน แถลงข่าวการจัดงาน “การส่งเสริมการนอนหลับสนิทชีวิตมีสุข” นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เทคนิคช่วยให้นอนหลับได้ง่าย คือ 1. กำหนดเวลานอนและตื่นให้เป็นเวลา ช่วงเข้านอนที่เหมาะสม คือ 21.00 - 23.00 น. เพราะเป็นช่วงที่สารแห่งความสุขจะหลั่งออกมามากที่สุด และปฏิบัติเป็นประจำ 2. ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที ก่อนนอนประมาณ 4 - 6 ชั่วโมง 3. ทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น กล้วยหอม เพราะมี “สารทริปโตฟาน” ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิต “สารเซโรโทนิน” ที่ช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย 4. หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก รสเผ็ด รสจัด หรือหวานมาก ก่อนเข้านอน 4 ชั่วโมง 5.หลีกเลี่ยงกาแฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นประสาททุกชนิด 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน 6. ผ่อนคลายร่างกาย และจิตใจก่อนนอนด้วยการอาบน้ำอุ่น เดินเบา ๆ ไปมา หรือการนั่งสมาธิ 7. จัดระเบียบห้องนอนและกำจัดสิ่งรบกวน ด้วยการปิดไฟและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสารก่อนนอน แต่บางรายอาจจำเป็นต้องเปิดเพลงเบา ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศ ทำให้หลับสบายขึ้น 8. เลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินจะทำให้หลับยาก ตื่นบ่อย และฝันร้าย และ 9. เมื่อรู้สึกง่วงอย่าพยายามฝืน ทั้งนี้ พบว่าปัญหาการนอนไม่หลับ เป็นอาการเบื้องต้นของกลุ่มโรคทางจิตเวชด้วยซึ่งพบได้เกือบทุกโรคโดยเฉพาะโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล ศ.เกียรติคุณ พญ.คุณนันทา มาระเนตร์ นายกสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การนอนหลับที่ดีมีคุณภาพ คือ หลับต่อเนื่องและนานพอ เรียกแบบชาวบ้าน คือ หลับรวดเดียวจนถึงเช้า ซึ่งคุณภาพการนอนสำคัญกว่าระยะเวลาในการนอน เพราะแม้จะนอนเพียง 6 ชั่วโมง แต่หากการนอนนั้นมีคุณภาพ ตื่นมาแล้วสดชื่นสดใสไปตลอดทั้งวัน ก็ถือว่าเป็นการนอนที่มีคุณภาพ ส่วนท่านอนนั้นแล้วแต่บุคคลว่านอนท่าไหนแล้วสบายที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับหมอนและที่นอนด้วย ยกเว้นกลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องการหายใจและนอนกรน ไม่ควรนอนหงาย ควรนอนตะแคง ยกหัวสูง ลิ้นก็จะไม่ตกลงมา ไม่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน เป็นต้น ทั้งนี้ การนอนที่ไม่มีคุณภาพ หลับไม่สนิท ส่งผลให้เกิดโรคตามมาได้กว่า 100 โรค เช่น เรียนรู้ไม่ดี ความจำเสีย ความสนใจแย่ อ้วน เตี้ย โง่ในเด็ก ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงมะเร็ง ซึ่งปัญหาการนอนหลับถือเป็นปัญหาทั่วโลก โดยคนครึ่งโลกล้วนมีปัญหานอนไม่หลับส่วนไทยพบ1ใน3โดยจำนวนที่มีปัญหามีเพียง1ใน3เท่านั้นที่มาพบแพทย์ งาน แถลงข่าวการจัดงาน “การส่งเสริมการนอนหลับสนิทชีวิตมีสุข” “ปัญหาการนอนที่ควรมาพบแพทย์ คือ 1.นอนไม่หลับหรือไม่พอเรื้อรังเป็นเดือนๆ หรือทานยานอนหลับเกิน 2 สัปดาห์ต่อเนื่อง 2. ง่วงผิดปกติเวลากลางวัน อยู่เฉย ๆ ก็หลับ เช้าตื่นมาแล้วไม่สดชื่น ปวดหัว มึนหัว ความจำลดลง ไม่มีสมาธิ 3. ช่วงกลางคืนมีการสะดุ้งตื่นเฮือก ๆ และ 4. ตื่นขึ้นมาแล้วมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก” ศ.เกียรติคุณ พญ.คุณนันทา กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่มีการเก็บข้อมูลโรคที่เกิดจากนอนอย่างชัดเจน แต่จากการสำรวจของ รพ.รามาธิบดี พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหานอนไม่หลับสูงถึง 50% ส่วนข้อมูลจาก รพ.ศิริราช และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) พบว่า ผู้สูงอายุมีภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ 2 - 4% พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2 เท่า นอกจากนี้ พบว่า เด็กนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วยมี 8.5%ส่วนผู้ใหญ่อายุเกิน60ปีในกทม.มีปัญหานอนกรนและหยุดหายใจร่วมด้วย16% ศ.เกียรติคุณ พญ.คุณนันทา กล่าวว่า สำหรับกลุ่มที่น่าเป็นห่วงจากปัญหาในการหลับ คือ กลุ่มเด็กและคนขับรถทางไกล โดยในกลุ่มเด็กควรให้นอนเป็นเวลา นอนแต่หัวค่ำ ทำจิตใจผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือให้ฟัง กลุ่มคนขับรถควรนอนให้เพียงพอ และสังเกตเวลาขับรถว่ามีอาการง่วง จะหลับในหรือไม่ เช่น สมาธิลดลง ขับออกนอกเส้นทาง จำสิ่งที่ขับผ่านมาไม่ได้ เป็นต้น แนะนำว่าควรขับรถ 2 ชั่วโมง พักทุก 15 นาที หากง่วงให้จอดรถที่ปลอดภัย กินกาแฟ 1 - 2 ถ้วย แล้วนอนประมาณ 20 - 25 นาที ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000024643

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ค้นหาข้อมูลในห้องสมุด