“Universal Design สร้างมหานครแห่งความสุข”

แสดงความคิดเห็น

สังคมปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าหนึ่งล้านคนและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีประชากรผู้พิการมากกว่า 5 หมื่นคน ซึ่งผู้พิการที่อาศัยอยู่ถือเป็นพลเมืองของกรุงเทพฯด้วยนั้นยังไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถีงเท่าที่ควร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสองสมัย ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก มีนโยบายร่วมสร้างกรุงเทพฯ ด้านมหานครแห่งความสุข ให้สำนักการโยธาจัดทำโครงการ Universal Design เสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการใน ระดับสากล เพื่อให้พลเมืองทุกคนของกรุงเทพฯได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าเทียมมีคุณภาพ ชีวิตที่ดี

นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าวถึง Universal Design ว่า เป็นการออกแบบเพื่อทุกคนในสังคม เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ สภาพแวดล้อม และการสื่อสารที่เพิ่มความสามารถให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลง หรือมีการออกแบบพิเศษเพิ่มเติม เป็นการออกแบบที่เป็น “อารยสถาปัตย์” ทั้งในพื้นที่สาธารณะ พื้นที่การค้า การเดินทาง และที่อยู่อาศัย เพื่อสมาชิกทุกคนในสังคมที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันใน สังคม

หลักการ Universal Design มี 7 ประการ 1.ต้องมีความเท่าเทียมในการใช้ประโยชน์ (Equitable use) ใช้งานได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย 2.มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Flexible in use) ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ 3.ใช้งานสะดวกง่าย (Simple and Intuitive Use) ไม่ต้องมีความรู้หรือประสบการณ์ 4.สื่อความหมายเป็นที่เข้าใจ (Perceptible Information) มีสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย ชัดเจน 5.ทนทานต่อการใช้งานที่ผิดพลาด (Tolerance for error) แข็งแรง ปลอดภัย ไม่เสียหายง่าย 6.ช่วยผ่อนแรงได้ (Low Physical Effort) ไม่ต้องออกแรงมาก และ 7.มีพื้นที่และขนาดที่เหมาะสมในการเข้าถึงเพื่อให้ทุกคนเข้าใช้ได้

รองผู้ว่าฯจุมพลกล่าวอีกกว่า ในส่วนของพื้นที่กรุงเทพฯนั้นเรารณรงค์เรื่อง Universal Design มาโดยตลอด แต่ด้วยความที่กรุงเทพฯเป็นเมืองเก่ามีอาคารเก่าจำนวนมาก ซึ่งเราก็ขอความร่วมมือให้เจ้าของอาคารปรับเปลี่ยนหรือสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ทางลาด ป้าย ลิฟท์ ห้องน้ำสำหรับผู้พิการด้วย สำหรับในพื้นที่สาธารณะกรุงเทพมหานครก็ได้ดำเนินการจัดทำทางลาด บล็อคเตือนที่ทางเท้า และป้ายบอกทางทุกกถนนที่สร้างใหม่พร้อมปรับปรุงในถนนสายเก่า ติดตั้งสัญญานไฟ และสัญญาณเสียงที่ทางข้าม ทางม้าลาย ติดตั้งลิฟท์ผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้า เพื่อให้ผู้พิการสามารถเดินทางเชื่อมต่อได้อย่างสะดวกปลอดภัย ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงทำทางลาด ที่จอดรถ มีวิลแชร์ให้บริการ และสร้างห้องน้ำสำหรับผู้พิการในหน่ยวงานและสถานที่ราชการของกทม.ให้ได้รับ ความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อราชการ เป็นการส่งเสริมให้ผู้พิการและผู้สูงอายุ พึ่งพาตนเองได้ มีความภาคภูมิใจในความสามารถของตน เข้มแข็งพร้อมเผชิญหน้ากับอุปสรรคในการดำเนินชีวิตร่วมกับคนในสังคมอย่าง เสมอภาค เท่าเทียม

ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ ในอาคารหน่วยงานกทม.แล้ว ในโรงพยาบาล 9 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข 36 แห่ง สำนักงานและสำนักงานเขต 33 แห่ง สวนสาธารณะ 3 แห่ง รวมทั้งได้ติดตั้งลิฟต์สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ในสถานีรถไฟฟ้า BTS จำนวน 34 สถานี มีลิฟต์คนพิการ จำนวน 18 ตัว และภายในปี 2557 จะติดตั้งลิฟต์คนพิการเพิ่มเติมอีก 56 ตัว สรุปในปี 2553-2554 อาคารที่จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวก 12 โครงการ จัดให้มีทางเท้า-ทางลาดคนพิการ 964 แห่ง และในปี 2555-2556 จำนวน 20 โครงการ จัดให้มีทางเท้า-ทางลาดคนพิการ 1,591 แห่ง และมีโครงการที่จะเพิ่มทางลาดฟุตบาทสำหรับคนพิการอีก 350 แห่ง ภายในปี 2558 เพิ่มไฟเขียวไฟแดงมีเสียงสำหรับคนพิการทางสายตาเดินข้ามถนนอีก 220 ตัว เพิ่มแท็กซี่สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ 100 คัน ทำอักษร Braille รวมถึงส่งเสริมอาชีพให้คนพิการ เพิ่มเป็น 2 แสนคน เพิ่มโรงเรียนรองรับนักเรียนความสามารถพิเศษ รวมถึงเด็กออทิสติก อีก 100 แห่ง ติดตั้งลิฟท์คนพิการบนสถานีไฟฟ้า BTS เพิ่มเป็น 100 ตัว เป็นต้น

พร้อมกันนี้กรุงเทพมหานครได้กำหนดวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2575 มุ่งหวังขับเคลื่อนกรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครแห่งเอเชีย การจัดทำโครงการนี้ก็เพื่อรณรงค์สร้างการมีส่วนร่วมให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และนำไปสู่การตระหนักถึงความสำคัญ เริ่มจากการสัมมนาทางวิชาการ เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้รู้และผู้มีประสบการณ์จากภาคส่วนต่างๆ ในการเสวนา “เปิดมุมมองการออกแบบ...สู่มหานครในฝันของทุกคน” และมีการบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “Design Bangkok…Design for all” ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา และจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ (Road show) ในพื้นที่ 4 มุมเมืองเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการออกแบบและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ คนพิการในระดับสากลตามหลัก Universal ในที่อยู่อาศัยและชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนในสังคมรู้ และเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญ ให้ทุกคนในสังคมสามารถเข้าถึงบริการ และกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยจัด 4 ครั้ง ดังนี้ วันที่ 7 - 8 กันยายน 2556 ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พระราม 9 วันที่ 10 - 11 กันยายน 2556 ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พระราม 3 วันที่ 12 - 13 กันยายน 2556 ที่เดอะมอลล์บางแค และวันที่ 15 - 16 กันยายน 2556 ที่สยามดิสคัฟเวอรี่ กิจกรรมในงาน ชมนิทรรศการ และวีดิทัศน์เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสิ่งอำนวย ความสะดวกให้กับผู้พิการและผู้สูงอายุ เปิดคลินิกให้คำแนะนำ ตอบข้อซักถาม บูทผลิตภัณฑ์สำหรับก่อสร้างที่อยู่อาศัยรองรับคนพิการและผู้สูงอายุ เล่นเกมเสริมสร้างสาระ ลุ้นรับของรางวัล และแจกคู่มือ “สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อทุกคนในสังคม”

กรุงเทพมหานครเล็งเห็นถึงการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุให้ครอบคลุม เชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างกรุงเทพฯมหานครแห่งความสุข ช่วยสร้างความภูมิใจให้กับผู้พิการและผู้สูงอายุที่จะสามารถช่วยเหลือตัวเอง ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบาย และประชาชนทั่วไปยังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองน่า อยู่ เหมือนมหานครชั้นนำทั่วโลก...พรสวรรค์ จรเจริญ รายงาน

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/nnd/1730557

ryt9.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56

ที่มา: ryt9.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 7/09/2556 เวลา 03:24:35

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สังคมปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าหนึ่งล้านคนและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีประชากรผู้พิการมากกว่า 5 หมื่นคน ซึ่งผู้พิการที่อาศัยอยู่ถือเป็นพลเมืองของกรุงเทพฯด้วยนั้นยังไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถีงเท่าที่ควร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสองสมัย ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก มีนโยบายร่วมสร้างกรุงเทพฯ ด้านมหานครแห่งความสุข ให้สำนักการโยธาจัดทำโครงการ Universal Design เสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการใน ระดับสากล เพื่อให้พลเมืองทุกคนของกรุงเทพฯได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าเทียมมีคุณภาพ ชีวิตที่ดี นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าวถึง Universal Design ว่า เป็นการออกแบบเพื่อทุกคนในสังคม เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ สภาพแวดล้อม และการสื่อสารที่เพิ่มความสามารถให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลง หรือมีการออกแบบพิเศษเพิ่มเติม เป็นการออกแบบที่เป็น “อารยสถาปัตย์” ทั้งในพื้นที่สาธารณะ พื้นที่การค้า การเดินทาง และที่อยู่อาศัย เพื่อสมาชิกทุกคนในสังคมที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันใน สังคม หลักการ Universal Design มี 7 ประการ 1.ต้องมีความเท่าเทียมในการใช้ประโยชน์ (Equitable use) ใช้งานได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย 2.มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Flexible in use) ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ 3.ใช้งานสะดวกง่าย (Simple and Intuitive Use) ไม่ต้องมีความรู้หรือประสบการณ์ 4.สื่อความหมายเป็นที่เข้าใจ (Perceptible Information) มีสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย ชัดเจน 5.ทนทานต่อการใช้งานที่ผิดพลาด (Tolerance for error) แข็งแรง ปลอดภัย ไม่เสียหายง่าย 6.ช่วยผ่อนแรงได้ (Low Physical Effort) ไม่ต้องออกแรงมาก และ 7.มีพื้นที่และขนาดที่เหมาะสมในการเข้าถึงเพื่อให้ทุกคนเข้าใช้ได้ รองผู้ว่าฯจุมพลกล่าวอีกกว่า ในส่วนของพื้นที่กรุงเทพฯนั้นเรารณรงค์เรื่อง Universal Design มาโดยตลอด แต่ด้วยความที่กรุงเทพฯเป็นเมืองเก่ามีอาคารเก่าจำนวนมาก ซึ่งเราก็ขอความร่วมมือให้เจ้าของอาคารปรับเปลี่ยนหรือสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ทางลาด ป้าย ลิฟท์ ห้องน้ำสำหรับผู้พิการด้วย สำหรับในพื้นที่สาธารณะกรุงเทพมหานครก็ได้ดำเนินการจัดทำทางลาด บล็อคเตือนที่ทางเท้า และป้ายบอกทางทุกกถนนที่สร้างใหม่พร้อมปรับปรุงในถนนสายเก่า ติดตั้งสัญญานไฟ และสัญญาณเสียงที่ทางข้าม ทางม้าลาย ติดตั้งลิฟท์ผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้า เพื่อให้ผู้พิการสามารถเดินทางเชื่อมต่อได้อย่างสะดวกปลอดภัย ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงทำทางลาด ที่จอดรถ มีวิลแชร์ให้บริการ และสร้างห้องน้ำสำหรับผู้พิการในหน่ยวงานและสถานที่ราชการของกทม.ให้ได้รับ ความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อราชการ เป็นการส่งเสริมให้ผู้พิการและผู้สูงอายุ พึ่งพาตนเองได้ มีความภาคภูมิใจในความสามารถของตน เข้มแข็งพร้อมเผชิญหน้ากับอุปสรรคในการดำเนินชีวิตร่วมกับคนในสังคมอย่าง เสมอภาค เท่าเทียม ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ ในอาคารหน่วยงานกทม.แล้ว ในโรงพยาบาล 9 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข 36 แห่ง สำนักงานและสำนักงานเขต 33 แห่ง สวนสาธารณะ 3 แห่ง รวมทั้งได้ติดตั้งลิฟต์สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ในสถานีรถไฟฟ้า BTS จำนวน 34 สถานี มีลิฟต์คนพิการ จำนวน 18 ตัว และภายในปี 2557 จะติดตั้งลิฟต์คนพิการเพิ่มเติมอีก 56 ตัว สรุปในปี 2553-2554 อาคารที่จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวก 12 โครงการ จัดให้มีทางเท้า-ทางลาดคนพิการ 964 แห่ง และในปี 2555-2556 จำนวน 20 โครงการ จัดให้มีทางเท้า-ทางลาดคนพิการ 1,591 แห่ง และมีโครงการที่จะเพิ่มทางลาดฟุตบาทสำหรับคนพิการอีก 350 แห่ง ภายในปี 2558 เพิ่มไฟเขียวไฟแดงมีเสียงสำหรับคนพิการทางสายตาเดินข้ามถนนอีก 220 ตัว เพิ่มแท็กซี่สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ 100 คัน ทำอักษร Braille รวมถึงส่งเสริมอาชีพให้คนพิการ เพิ่มเป็น 2 แสนคน เพิ่มโรงเรียนรองรับนักเรียนความสามารถพิเศษ รวมถึงเด็กออทิสติก อีก 100 แห่ง ติดตั้งลิฟท์คนพิการบนสถานีไฟฟ้า BTS เพิ่มเป็น 100 ตัว เป็นต้น พร้อมกันนี้กรุงเทพมหานครได้กำหนดวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2575 มุ่งหวังขับเคลื่อนกรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครแห่งเอเชีย การจัดทำโครงการนี้ก็เพื่อรณรงค์สร้างการมีส่วนร่วมให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และนำไปสู่การตระหนักถึงความสำคัญ เริ่มจากการสัมมนาทางวิชาการ เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้รู้และผู้มีประสบการณ์จากภาคส่วนต่างๆ ในการเสวนา “เปิดมุมมองการออกแบบ...สู่มหานครในฝันของทุกคน” และมีการบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “Design Bangkok…Design for all” ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา และจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ (Road show) ในพื้นที่ 4 มุมเมืองเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการออกแบบและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ คนพิการในระดับสากลตามหลัก Universal ในที่อยู่อาศัยและชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนในสังคมรู้ และเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญ ให้ทุกคนในสังคมสามารถเข้าถึงบริการ และกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยจัด 4 ครั้ง ดังนี้ วันที่ 7 - 8 กันยายน 2556 ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พระราม 9 วันที่ 10 - 11 กันยายน 2556 ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พระราม 3 วันที่ 12 - 13 กันยายน 2556 ที่เดอะมอลล์บางแค และวันที่ 15 - 16 กันยายน 2556 ที่สยามดิสคัฟเวอรี่ กิจกรรมในงาน ชมนิทรรศการ และวีดิทัศน์เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสิ่งอำนวย ความสะดวกให้กับผู้พิการและผู้สูงอายุ เปิดคลินิกให้คำแนะนำ ตอบข้อซักถาม บูทผลิตภัณฑ์สำหรับก่อสร้างที่อยู่อาศัยรองรับคนพิการและผู้สูงอายุ เล่นเกมเสริมสร้างสาระ ลุ้นรับของรางวัล และแจกคู่มือ “สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อทุกคนในสังคม” กรุงเทพมหานครเล็งเห็นถึงการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุให้ครอบคลุม เชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างกรุงเทพฯมหานครแห่งความสุข ช่วยสร้างความภูมิใจให้กับผู้พิการและผู้สูงอายุที่จะสามารถช่วยเหลือตัวเอง ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบาย และประชาชนทั่วไปยังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองน่า อยู่ เหมือนมหานครชั้นนำทั่วโลก...พรสวรรค์ จรเจริญ รายงาน ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/nnd/1730557 ryt9.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...