อารยสถาปัตย์รถไฟไทยยุคใหม่

แสดงความคิดเห็น

กฤษนะ ละไล สำรวจอารยสถาปัตย์ของรถไฟ และสถานีรถไฟหัวลำโพง

คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้เดินทางไปใช้บริการโดยสารรถไฟไทยครั้งแรกในรอบ 20 ปี เลยถือโอกาสสำรวจอารยสถาปัตย์ของรถไฟ และสถานีรถไฟในปัจจุบันไปด้วย โดยมีคุณประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย นำชม

สมัยก่อน ถ้าไปถามใครก็ตามที่นั่งวีลแชร์ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ป่วยพักฟื้น ว่าไปขึ้นรถไฟกันมั้ย ? เชื่อว่าทุกคนต้องส่ายหัว เพราะเดาได้เลยว่างานนี้ ต้องยกต้องแบกกันทั้งขึ้นทั้งล่องแหง ๆ อีกทั้ง จะเข้าห้องน้ำห้องท่าทีก็แสนยากลำบาก ทำให้การเดินทางโดยสารรถไฟของคนกลุ่มนี้ ถูกตัดขาดจากระบบรถไฟไปโดยปริยาย

แต่รถไฟไทยสมัยใหม่ในปัจจุบัน กำลังลบภาพ และความรู้สึกแย่ ๆ ที่ผู้คนเคยมีมาแต่เก่าก่อนให้หมดสิ้นไป ด้วยการเร่งแก้ไข และปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการให้บริการผู้โดยสารรถไฟ ทุกกลุ่มทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย โดยใช้หลัก “อารยสถาปัตย์” หรือการออกแบบที่เป็นธรรม ทั่วถึง และเท่าเทียม ด้วยการระดมสร้างทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับคนทั้งมวลทั่วทั้งระบบการโดยสารรถไฟ

เริ่มตั้งแต่ “ทุ่งวัวลำพอง” ในอดีต หรือ “หัวลำโพง” ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสถานีรถไฟเก่าแก่ที่สุด ของเมืองไทย เพราะเริ่มสร้างตั้งแต่ช่วงปลายสมัยรัชการที่ 5 แต่มาแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2459 ในสมัยรัชการที่ 6 นับถึงปัจจุบัน สถานีรถไฟหัวลำโพงมีอายุเก่าแก่ถึง 97 ปีแล้ว

สภาพโดยรวมในปัจจุบัน สถานีรถไฟหัวลำโพงยังคงเอกลักษณ์ศิลปะสถาปัตย์ในสไตล์ยุโรปคลาสสิค ยังมีอาคารเพดานโค้งโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ในแต่ละวันจะมีรถไฟวิ่งเข้ามารับส่งผู้โดยสารที่นี่ถึง 200 ขบวน มีผู้โดยสารทั้งที่เป็นคนไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มาใช้บริการสถานีรถไฟหัวลำโพงประมาณ 80,000 คน แต่ถ้าเป็นช่วงเทศกาลคงทะลุหลักแสน

กฤษนะ ละไล พาชมห้องน้ำภายในรถไฟที่รถวีลแชร์ใช้งานได้ ความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงตอนนี้ มีการปรับปรุงเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตามแบบมาตรฐานโลกเพิ่มขึ้นมากมาย คือ มีทางลาดเกือบทุกจุดที่มีทางเดินของคนปกติมีลิฟต์และมีทางลาดเชื่อมโยงไปสู่สถานีรถไฟใต้ดินได้

มีห้องน้ำสำหรับมนุษย์ล้อ มีโทรศัพท์สาธารณะสำหรับผู้พิการ

แม้แต่ที่ซื้อตั๋วก็มีช่องเฉพาะพิเศษสำหรับผู้พิการ แถมยังมีป้ายสัญลักษณ์รูปรถเข็นวีลแชร์ติดให้เห็นอยู่ทั่วสถานี อันเป็นภาษาสากลที่บ่งบอกว่าสถานที่แห่งนี้ สามารถให้บริการคนทุกกลุ่ม ทุกวัย และทุกสภาพร่างกายได้เฉกเช่นนานาอารยประเทศแล้ว

ได้ไปเห็นกับตาตัวเองแล้ว ต้องขอบอกว่า “ของเขาดีจริงๆ” และผมขอยกย่องให้สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นตัวอย่างของ “สถานที่อารยสถาปัตย์” ประเภทอาคารเก่าที่มีการปรับปรุงแก้ไขดีเยี่ยม เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย และช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศชาติ อีกทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมการขยายตลาดการท่องเที่ยวของไทยไปสู่กลุ่มผู้ สูงอายุ และผู้พิการ รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยพักฟื้น ซึ่งจะนำเงินรายได้เข้าสู่ประเทศเราอีกมหาศาล

นอกจากนี้ ผมยังได้ทดลองใช้บริการโดยสารรถไฟเส้นทางสายประวัติศาสตร์การรถไฟไทย โดยขึ้นรถไฟจากสถานีหัวลำโพง ไปลงที่สถานีเมืองกรุงเก่า จ.พระนครศรีอยุธยา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ ระหว่างเดินทางนั่งอยู่ในรถไฟ คุณประภัสร์ เล่าให้ผมฟังว่า การเดินทางโดยสารรถไฟของคนไทย มีมาตั้งแต่ 117 ปีมาแล้ว เรามีรถไฟใช้ก่อนใครในอาเซียน และมีรถไฟใช้เป็นประเทศแรก ๆ ในเอเชีย ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของมหาราช รัชการที่ 5 ที่ทรงเปิดให้บริการโดยสารรถไฟสายแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439

รถไฟสายแรกที่เปิดให้บริการ ก็คือเส้นทางที่ผมไปทดลองนั่งดูนั่นแหละ จากกรุงเทพ ไปถึงพระนครอยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร หลังจากนั้น จึงมีการต่อขยายเส้นทางไปจนถึง จ.นครราชสีมา ในปี พ.ศ.2443 รวมระยะทาง 265 กิโลเมตร

ที่น่าดีใจมากสำหรับผมคือ รถไฟไทยยุคใหม่ มีการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับให้บริการผู้พิการ ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ ได้เป็นอย่างดี มีลิฟต์สำหรับยกรถเข็นวีลแชร์ขึ้นไปในห้องผู้โดยสารได้โดย “สะดวก” และ “ปลอดภัย” ภายในโบกี้ก็มีที่พิเศษเฉพาะผู้ที่นั่งวีลแชร์ พร้อมผู้ติดตาม และมีห้องน้ำสำหรับมนุษย์ล้อ เหมือนนั่งรถไฟอยู่ในญี่ปุ่นเลย สุโค่ยมาก

กฤษนะ ละไล สำรวจอารยสถาปัตย์ของรถไฟ และสถานีรถไฟหัวลำโพง สิ่งดีงามที่เกิดขึ้นกับรถไฟไทย และประเทศชาติของเราในยุคนี้ เป็นผลมาจากนโยบาย และการปฏิบัติที่มุ่งมั่นเอาจริงเอาจังของคนในกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่ตัวผู้นำองค์กร คือ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม และคุณฐิติมา ฉายแสง อดีตเลขานุการรัฐมนตรี รวมถึงคุณประภัสร์ ผู้ว่าฯองค์กรม้าเหล็กคนปัจจุบัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริม และผลักดันอย่างจริงจังจนทำให้กิจการรถไฟไทยมีความเจริญก้าวหน้า เป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างไม่อายใคร

สมแล้วกับสโลแกนที่ว่า “สะดวก ปลอดภัย คมนาคมยุคใหม่ ใส่ใจคนพิการ” สิ่งที่เกิดขึ้นกับบริการสมัยใหม่ของรถไฟไทยครั้งนี้ ทำให้รู้ว่า คนไทยทำได้ และทำได้ดีด้วย ถ้าคิดจะทำจริง ๆ ซะอย่าง

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130826/166665/อารยสถาปัตย์รถไฟไทยยุคใหม่.html#.UhsRaX9HWzs (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ส.ค.56

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 27/08/2556 เวลา 03:50:11 ดูภาพสไลด์โชว์ อารยสถาปัตย์รถไฟไทยยุคใหม่

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กฤษนะ ละไล สำรวจอารยสถาปัตย์ของรถไฟ และสถานีรถไฟหัวลำโพง คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้เดินทางไปใช้บริการโดยสารรถไฟไทยครั้งแรกในรอบ 20 ปี เลยถือโอกาสสำรวจอารยสถาปัตย์ของรถไฟ และสถานีรถไฟในปัจจุบันไปด้วย โดยมีคุณประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย นำชม สมัยก่อน ถ้าไปถามใครก็ตามที่นั่งวีลแชร์ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ป่วยพักฟื้น ว่าไปขึ้นรถไฟกันมั้ย ? เชื่อว่าทุกคนต้องส่ายหัว เพราะเดาได้เลยว่างานนี้ ต้องยกต้องแบกกันทั้งขึ้นทั้งล่องแหง ๆ อีกทั้ง จะเข้าห้องน้ำห้องท่าทีก็แสนยากลำบาก ทำให้การเดินทางโดยสารรถไฟของคนกลุ่มนี้ ถูกตัดขาดจากระบบรถไฟไปโดยปริยาย แต่รถไฟไทยสมัยใหม่ในปัจจุบัน กำลังลบภาพ และความรู้สึกแย่ ๆ ที่ผู้คนเคยมีมาแต่เก่าก่อนให้หมดสิ้นไป ด้วยการเร่งแก้ไข และปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการให้บริการผู้โดยสารรถไฟ ทุกกลุ่มทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย โดยใช้หลัก “อารยสถาปัตย์” หรือการออกแบบที่เป็นธรรม ทั่วถึง และเท่าเทียม ด้วยการระดมสร้างทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับคนทั้งมวลทั่วทั้งระบบการโดยสารรถไฟ เริ่มตั้งแต่ “ทุ่งวัวลำพอง” ในอดีต หรือ “หัวลำโพง” ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสถานีรถไฟเก่าแก่ที่สุด ของเมืองไทย เพราะเริ่มสร้างตั้งแต่ช่วงปลายสมัยรัชการที่ 5 แต่มาแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2459 ในสมัยรัชการที่ 6 นับถึงปัจจุบัน สถานีรถไฟหัวลำโพงมีอายุเก่าแก่ถึง 97 ปีแล้ว สภาพโดยรวมในปัจจุบัน สถานีรถไฟหัวลำโพงยังคงเอกลักษณ์ศิลปะสถาปัตย์ในสไตล์ยุโรปคลาสสิค ยังมีอาคารเพดานโค้งโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ในแต่ละวันจะมีรถไฟวิ่งเข้ามารับส่งผู้โดยสารที่นี่ถึง 200 ขบวน มีผู้โดยสารทั้งที่เป็นคนไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มาใช้บริการสถานีรถไฟหัวลำโพงประมาณ 80,000 คน แต่ถ้าเป็นช่วงเทศกาลคงทะลุหลักแสน กฤษนะ ละไล พาชมห้องน้ำภายในรถไฟที่รถวีลแชร์ใช้งานได้ ความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงตอนนี้ มีการปรับปรุงเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตามแบบมาตรฐานโลกเพิ่มขึ้นมากมาย คือ มีทางลาดเกือบทุกจุดที่มีทางเดินของคนปกติมีลิฟต์และมีทางลาดเชื่อมโยงไปสู่สถานีรถไฟใต้ดินได้ มีห้องน้ำสำหรับมนุษย์ล้อ มีโทรศัพท์สาธารณะสำหรับผู้พิการ แม้แต่ที่ซื้อตั๋วก็มีช่องเฉพาะพิเศษสำหรับผู้พิการ แถมยังมีป้ายสัญลักษณ์รูปรถเข็นวีลแชร์ติดให้เห็นอยู่ทั่วสถานี อันเป็นภาษาสากลที่บ่งบอกว่าสถานที่แห่งนี้ สามารถให้บริการคนทุกกลุ่ม ทุกวัย และทุกสภาพร่างกายได้เฉกเช่นนานาอารยประเทศแล้ว ได้ไปเห็นกับตาตัวเองแล้ว ต้องขอบอกว่า “ของเขาดีจริงๆ” และผมขอยกย่องให้สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นตัวอย่างของ “สถานที่อารยสถาปัตย์” ประเภทอาคารเก่าที่มีการปรับปรุงแก้ไขดีเยี่ยม เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย และช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศชาติ อีกทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมการขยายตลาดการท่องเที่ยวของไทยไปสู่กลุ่มผู้ สูงอายุ และผู้พิการ รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยพักฟื้น ซึ่งจะนำเงินรายได้เข้าสู่ประเทศเราอีกมหาศาล นอกจากนี้ ผมยังได้ทดลองใช้บริการโดยสารรถไฟเส้นทางสายประวัติศาสตร์การรถไฟไทย โดยขึ้นรถไฟจากสถานีหัวลำโพง ไปลงที่สถานีเมืองกรุงเก่า จ.พระนครศรีอยุธยา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ ระหว่างเดินทางนั่งอยู่ในรถไฟ คุณประภัสร์ เล่าให้ผมฟังว่า การเดินทางโดยสารรถไฟของคนไทย มีมาตั้งแต่ 117 ปีมาแล้ว เรามีรถไฟใช้ก่อนใครในอาเซียน และมีรถไฟใช้เป็นประเทศแรก ๆ ในเอเชีย ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของมหาราช รัชการที่ 5 ที่ทรงเปิดให้บริการโดยสารรถไฟสายแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 รถไฟสายแรกที่เปิดให้บริการ ก็คือเส้นทางที่ผมไปทดลองนั่งดูนั่นแหละ จากกรุงเทพ ไปถึงพระนครอยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร หลังจากนั้น จึงมีการต่อขยายเส้นทางไปจนถึง จ.นครราชสีมา ในปี พ.ศ.2443 รวมระยะทาง 265 กิโลเมตร ที่น่าดีใจมากสำหรับผมคือ รถไฟไทยยุคใหม่ มีการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับให้บริการผู้พิการ ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ ได้เป็นอย่างดี มีลิฟต์สำหรับยกรถเข็นวีลแชร์ขึ้นไปในห้องผู้โดยสารได้โดย “สะดวก” และ “ปลอดภัย” ภายในโบกี้ก็มีที่พิเศษเฉพาะผู้ที่นั่งวีลแชร์ พร้อมผู้ติดตาม และมีห้องน้ำสำหรับมนุษย์ล้อ เหมือนนั่งรถไฟอยู่ในญี่ปุ่นเลย สุโค่ยมาก กฤษนะ ละไล สำรวจอารยสถาปัตย์ของรถไฟ และสถานีรถไฟหัวลำโพง สิ่งดีงามที่เกิดขึ้นกับรถไฟไทย และประเทศชาติของเราในยุคนี้ เป็นผลมาจากนโยบาย และการปฏิบัติที่มุ่งมั่นเอาจริงเอาจังของคนในกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่ตัวผู้นำองค์กร คือ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม และคุณฐิติมา ฉายแสง อดีตเลขานุการรัฐมนตรี รวมถึงคุณประภัสร์ ผู้ว่าฯองค์กรม้าเหล็กคนปัจจุบัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริม และผลักดันอย่างจริงจังจนทำให้กิจการรถไฟไทยมีความเจริญก้าวหน้า เป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างไม่อายใคร สมแล้วกับสโลแกนที่ว่า “สะดวก ปลอดภัย คมนาคมยุคใหม่ ใส่ใจคนพิการ” สิ่งที่เกิดขึ้นกับบริการสมัยใหม่ของรถไฟไทยครั้งนี้ ทำให้รู้ว่า คนไทยทำได้ และทำได้ดีด้วย ถ้าคิดจะทำจริง ๆ ซะอย่าง ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130826/166665/อารยสถาปัตย์รถไฟไทยยุคใหม่.html#.UhsRaX9HWzs คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...