ทัวร์อารยสถาปัตย์ สุ1,000บุรี เมืองต้องห้าม..พลาด PLUS (2)

แสดงความคิดเห็น

กฤษนะ ละไล พาทัวร์อารยสถาปัตย์ สุ1,000บุรี

โดย กฤษนะ ละไล

สุ1,000บุรี เมืองต้องห้าม..พลาด PLUS นอกจากจะมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายมากมายให้ได้ชม มีอาหารอร่อยให้ได้ชิม มีมุมสวยให้ได้ไปแชะไปโชว์กันตามสื่อออนไลน์ต่างๆ กันแล้ว ที่สุ1,000ตอนนี้ ยังได้พยายามตอบโจทย์กระแสโลกยุคใหม่ว่าด้วยเรื่องการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (Tourism for All) โดยการปรับปรุง พัฒนา และสร้างทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้พักฟื้นสุขภาพ และคนที่ใช้รถเข็น ตามหลักอารยสถาปัตย์ หรือ Friendly Design หลักการออกแบบที่เป็นสากล เป็นธรรม และเป็นมิตรกับคนทั้งมวล เพื่อให้คนทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึงได้ มาเที่ยวสุ1,000บุรีได้ สะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม และทัดเทียมกับนานาอารยประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง

กฤษนะ ละไล พาทัวร์อารยสถาปัตย์ สุ1,000บุรี

ทำให้แหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร จุดแวะพักระหว่างการเดินทาง ปั้มน้ำมัน ตลอดจนสถานที่สำคัญต่างๆ มากมายใน จ.สุพรรณบุรี ตอนนี้ มีการสร้างทำทางลาดที่ไม่ชัน ไม่แคบ ไม่ลื่น มีราวจับ ไม่อันตราย มีที่จอดรถ มีห้องสุขาสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และคนที่ใช้รถเข็น มีป้ายสัญลักษณ์เฟรนด์ลี่ดีไซน์เป็นรูปคนแก่ถือไม้เท้า รูปนั่งรถเข็น รูปคนท้อง รูปรถเข็นเด็กเล็ก เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นมิตรสำหรับคนทุกวัย และส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยเพื่อคนทั้งมวลในสถานที่นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

อย่างเช่นที่ ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย หรือนาเฮียใช้ แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่เพื่อการศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยที่สะท้อนวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีต ให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาและสัมผัสบรรยากาศบ้านไร่ชายทุ่ง กลิ่นโคลนสาบควาย และการทำไร่ไถนาในแบบวิถีไทยสไตล์ลึกซึ้ง มีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วม ได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีต ทั้งการดำนาปลูกข้าว การเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย การเกี่ยวข้าว และตำข้าว เป็นต้น ที่มากไปกว่านั้น คือ ที่นาเฮียใช้ยังได้จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นอารยสถาปัตย์เอาไว้รองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มคนที่ใช้รถเข็นไว้ด้วย มีห้องสุขา ที่จอดรถ และทางลาดที่เชื่อมโยงไปยังจุดต่างๆ แม้จะยังไม่ทั่วถึงทั้งหมด แต่ก็มีการปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของแหล่งท่องเที่ยวที่ร่วมส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวไทยเพื่อคนทั้งมวล

เช่นเดียวกับที่หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย หรือบ้านควาย อีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยววิถีไทยเก๋ไก๋สไตล์ลึกซึ้ง ตั้งอยู่ริมถนนหลวงสายสุพรรณ-ศรีประจันต์ ก่อตั้งโดยคุณประภัตร โพธสุธน อดีตรัฐมนตรี และ ส.ส.หลายสมัยชาวศรีประจันต์คนสุพรรณขนานแท้ ที่นี่ มีควายให้ได้ดูกันกว่า 100 ตัว มีการแสดงควายที่ผูกโยงกับวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีตที่ปัจจุบันหาดูไม่ได้แล้วและใครที่ยังไม่เคยเห็นควายยิ้ม ก็มาดูที่นี่ได้ในช่วงการแสดงควาย

โลโก้ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และหญิงตั้งครรภ์

ในพื้นที่กว่า 70 ไร่ ในหมู่บ้านควายไทยแห่งนี้ มีเรือนไทยโบราณหลายหลังเรียงรายสวยงาม ส่วนหนึ่งเป็นที่พักรองรับนักท่องเที่ยวที่มานอนค้างคืน มีสวนต้นไม้ร่มรื่น และมีต้นกร่างใหญ่ที่หาดูยากตั้งตระหง่านอยู่ตามจุดต่างๆ กว่า 20 ต้นส่วนเรื่องอารยสถาปัตย์ที่หมู่บ้านควายไทยในตอนนี้ ก็พอมีอยู่บ้าง เช่น ทางลาด และห้องสุขา แต่ก็ยังไม่ทั่วถึง เพียงพอคุณประภัตรผู้ก่อตั้ง จึงได้สั่งการให้บ้านควายได้ดำเนินการปรับปรุงและสร้างทำอารยสถาปัตย์ให้มากขึ้น โดยเฉพาะทางลาดที่จะทำเพิ่มให้เชื่อมโยงไปได้ทั่วทุกจุด รวมถึงที่นั่งชมการแสดงควาย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มที่ใช้รถเข็นทั้งผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มครอบครัวที่มีเด็กเล็กใน ส่วนศาสนสถานที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญ และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชาวสุพรรณมาช้านาน นั่นก็คือ หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ ใกล้ๆ มังกรยักษ์เมืองสุพรรณ สมัยก่อน วิหารเก่าแก่ที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อโต มีแต่บันได ไม่มีทางลาด ทำให้คนที่ใช้รถเข็นไม่สามารถเข้าไปได้ นอกจากจะใช้วิถียกๆ แบกๆ กันเข้าไป แต่ในปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงใหม่ ให้ทันสมัย และร่วมตอบโจทย์การท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล โดยทางวัดได้ทำทางลาดเชื่อมเข้าไปได้ตั้งแต่ประตูทางเข้าด้านนอก ไปจนถึงประตูเข้าวิหารด้านใน ซึ่งท่านพระธรรมพุทธมงคล หรือหลวงปู่สอิ้ง เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ บอกว่า จะทำการปรับปรุงและพัฒนาวัดป่าเลไลยก์ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และคนที่ใช้รถเข็นให้สามารถมาไหว้หลวงพ่อโต และมาวัดป่าเลไลยก์ได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย หรือบ้านควาย

ฝั่งตรงข้ามวัดป่าเลไลยก์ มีภัตตาคารอาหารจีนที่คนสุพรรณคุ้นเคยมากว่า 30 ปี ชื่อ “ครัวนพรัตน์” นอกจากอาหารอร่อย และสะอาดแล้ว ยังมีการนำผลงานศิลปะของนักเรียนนักศึกษาศิลปะใน จ.สุพรรณบุรี มาโชว์และช่วยจำหน่ายเพื่อนำเงินรายได้ไปเป็นทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาเหล่านั้นอีกด้วย ได้ไปเป็นทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาเหล่านั้นอีกด้วยและห้องสุขาเพื่อให้บริการลูกค้าที่ใช้รถเข็น ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นผู้สูงอายุที่มาทานอาหารกับลูกหลานเป็นประจำ ให้ได้รับความสะดวก ปลอดภัย สบายใจหายห่วง สมดังเป้าหมายของการสร้างทำอารยสถาปัตย์เพื่อคนทุกวัย และส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลได้เป็นอย่างดี มีโอกาส อย่าลืมเดินทางไปเที่ยวสุ1,000บุรี เมืองต้องห้ามพลาด..พลัส และเมืองท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลกันด้วยนะครับ

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/ent/260675 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ก.พ.60
วันที่โพสต์: 28/02/2560 เวลา 10:34:19 ดูภาพสไลด์โชว์ ทัวร์อารยสถาปัตย์ สุ1,000บุรี เมืองต้องห้าม..พลาด PLUS (2)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กฤษนะ ละไล พาทัวร์อารยสถาปัตย์ สุ1,000บุรี โดย กฤษนะ ละไล สุ1,000บุรี เมืองต้องห้าม..พลาด PLUS นอกจากจะมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายมากมายให้ได้ชม มีอาหารอร่อยให้ได้ชิม มีมุมสวยให้ได้ไปแชะไปโชว์กันตามสื่อออนไลน์ต่างๆ กันแล้ว ที่สุ1,000ตอนนี้ ยังได้พยายามตอบโจทย์กระแสโลกยุคใหม่ว่าด้วยเรื่องการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (Tourism for All) โดยการปรับปรุง พัฒนา และสร้างทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้พักฟื้นสุขภาพ และคนที่ใช้รถเข็น ตามหลักอารยสถาปัตย์ หรือ Friendly Design หลักการออกแบบที่เป็นสากล เป็นธรรม และเป็นมิตรกับคนทั้งมวล เพื่อให้คนทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึงได้ มาเที่ยวสุ1,000บุรีได้ สะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม และทัดเทียมกับนานาอารยประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง กฤษนะ ละไล พาทัวร์อารยสถาปัตย์ สุ1,000บุรี ทำให้แหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร จุดแวะพักระหว่างการเดินทาง ปั้มน้ำมัน ตลอดจนสถานที่สำคัญต่างๆ มากมายใน จ.สุพรรณบุรี ตอนนี้ มีการสร้างทำทางลาดที่ไม่ชัน ไม่แคบ ไม่ลื่น มีราวจับ ไม่อันตราย มีที่จอดรถ มีห้องสุขาสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และคนที่ใช้รถเข็น มีป้ายสัญลักษณ์เฟรนด์ลี่ดีไซน์เป็นรูปคนแก่ถือไม้เท้า รูปนั่งรถเข็น รูปคนท้อง รูปรถเข็นเด็กเล็ก เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นมิตรสำหรับคนทุกวัย และส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยเพื่อคนทั้งมวลในสถานที่นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี อย่างเช่นที่ ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย หรือนาเฮียใช้ แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่เพื่อการศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยที่สะท้อนวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีต ให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาและสัมผัสบรรยากาศบ้านไร่ชายทุ่ง กลิ่นโคลนสาบควาย และการทำไร่ไถนาในแบบวิถีไทยสไตล์ลึกซึ้ง มีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วม ได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีต ทั้งการดำนาปลูกข้าว การเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย การเกี่ยวข้าว และตำข้าว เป็นต้น ที่มากไปกว่านั้น คือ ที่นาเฮียใช้ยังได้จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นอารยสถาปัตย์เอาไว้รองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มคนที่ใช้รถเข็นไว้ด้วย มีห้องสุขา ที่จอดรถ และทางลาดที่เชื่อมโยงไปยังจุดต่างๆ แม้จะยังไม่ทั่วถึงทั้งหมด แต่ก็มีการปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของแหล่งท่องเที่ยวที่ร่วมส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวไทยเพื่อคนทั้งมวล เช่นเดียวกับที่หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย หรือบ้านควาย อีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยววิถีไทยเก๋ไก๋สไตล์ลึกซึ้ง ตั้งอยู่ริมถนนหลวงสายสุพรรณ-ศรีประจันต์ ก่อตั้งโดยคุณประภัตร โพธสุธน อดีตรัฐมนตรี และ ส.ส.หลายสมัยชาวศรีประจันต์คนสุพรรณขนานแท้ ที่นี่ มีควายให้ได้ดูกันกว่า 100 ตัว มีการแสดงควายที่ผูกโยงกับวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีตที่ปัจจุบันหาดูไม่ได้แล้วและใครที่ยังไม่เคยเห็นควายยิ้ม ก็มาดูที่นี่ได้ในช่วงการแสดงควาย โลโก้ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และหญิงตั้งครรภ์ ในพื้นที่กว่า 70 ไร่ ในหมู่บ้านควายไทยแห่งนี้ มีเรือนไทยโบราณหลายหลังเรียงรายสวยงาม ส่วนหนึ่งเป็นที่พักรองรับนักท่องเที่ยวที่มานอนค้างคืน มีสวนต้นไม้ร่มรื่น และมีต้นกร่างใหญ่ที่หาดูยากตั้งตระหง่านอยู่ตามจุดต่างๆ กว่า 20 ต้นส่วนเรื่องอารยสถาปัตย์ที่หมู่บ้านควายไทยในตอนนี้ ก็พอมีอยู่บ้าง เช่น ทางลาด และห้องสุขา แต่ก็ยังไม่ทั่วถึง เพียงพอคุณประภัตรผู้ก่อตั้ง จึงได้สั่งการให้บ้านควายได้ดำเนินการปรับปรุงและสร้างทำอารยสถาปัตย์ให้มากขึ้น โดยเฉพาะทางลาดที่จะทำเพิ่มให้เชื่อมโยงไปได้ทั่วทุกจุด รวมถึงที่นั่งชมการแสดงควาย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มที่ใช้รถเข็นทั้งผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มครอบครัวที่มีเด็กเล็กใน ส่วนศาสนสถานที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญ และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชาวสุพรรณมาช้านาน นั่นก็คือ หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ ใกล้ๆ มังกรยักษ์เมืองสุพรรณ สมัยก่อน วิหารเก่าแก่ที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อโต มีแต่บันได ไม่มีทางลาด ทำให้คนที่ใช้รถเข็นไม่สามารถเข้าไปได้ นอกจากจะใช้วิถียกๆ แบกๆ กันเข้าไป แต่ในปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงใหม่ ให้ทันสมัย และร่วมตอบโจทย์การท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล โดยทางวัดได้ทำทางลาดเชื่อมเข้าไปได้ตั้งแต่ประตูทางเข้าด้านนอก ไปจนถึงประตูเข้าวิหารด้านใน ซึ่งท่านพระธรรมพุทธมงคล หรือหลวงปู่สอิ้ง เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ บอกว่า จะทำการปรับปรุงและพัฒนาวัดป่าเลไลยก์ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และคนที่ใช้รถเข็นให้สามารถมาไหว้หลวงพ่อโต และมาวัดป่าเลไลยก์ได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย หรือบ้านควาย ฝั่งตรงข้ามวัดป่าเลไลยก์ มีภัตตาคารอาหารจีนที่คนสุพรรณคุ้นเคยมากว่า 30 ปี ชื่อ “ครัวนพรัตน์” นอกจากอาหารอร่อย และสะอาดแล้ว ยังมีการนำผลงานศิลปะของนักเรียนนักศึกษาศิลปะใน จ.สุพรรณบุรี มาโชว์และช่วยจำหน่ายเพื่อนำเงินรายได้ไปเป็นทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาเหล่านั้นอีกด้วย ได้ไปเป็นทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาเหล่านั้นอีกด้วยและห้องสุขาเพื่อให้บริการลูกค้าที่ใช้รถเข็น ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นผู้สูงอายุที่มาทานอาหารกับลูกหลานเป็นประจำ ให้ได้รับความสะดวก ปลอดภัย สบายใจหายห่วง สมดังเป้าหมายของการสร้างทำอารยสถาปัตย์เพื่อคนทุกวัย และส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลได้เป็นอย่างดี มีโอกาส อย่าลืมเดินทางไปเที่ยวสุ1,000บุรี เมืองต้องห้ามพลาด..พลัส และเมืองท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลกันด้วยนะครับ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/ent/260675

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...