จุดอ่อนรถไฟฟ้ากับคนพิการ
ขณะนี้ ที่การดำเนินการสร้างลิฟต์คนพิการ ในสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสยังไม่แล้วเสร็จ และล่าช้ามากกว่าหนึ่งปี จากที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้กรุงเทพมหานครดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 21 ม.ค. 59 ล่าสุด เมื่อวานนี้กลุ่มคนพิการรวมตัวกันไปรับฟังการฟ้องร้องค่าเสียหาย จากการเสียโอกาสในการเดินทางทัดเทียมกับคนทั่วไป ประเด็นนี้ถือเป็นการสะท้อนความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนของไทย ทีมข่าวของเราลงพื้นที่สะท้อนปัญหาการเดินทางของคนพิการกับระบบการเดินทางที่ทันสมัยที่สุดของไทยติดตามจากรายงาน
นี่เป็นเสียงสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำในการใช้งาน “ขนส่งมวลชน” ที่ทุกคนน่าจะสามารถใช้บริการได้ แต่ความเป็นจริงก็ยังมีกลุ่มคนที่ใช้ไม่ได้ และดูจะถูกละเลยมาตั้งแต่ที่มีโครงการสร้างสถานีรถไฟฟ้าเมื่อ 25 ปีก่อน จนนำไปสู่การร้องเรียนบีทีเอสเมื่อมีกฎกระทรวงมหาดไทยออกมาเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ และคนชราในปี พ.ศ. 2542 ทำให้มีการสร้างลิฟท์ 5 สถานีจาก 23 สถานี ก่อนจะมีคำสั่งจากศาลปกครองสูงสุดให้ติดตั้งลิฟท์ให้ครบทั้ง 23 สถานีภายใน 21 มกราคม 2559 แต่ทางกรุงเทพมหานครได้ประกาศว่าจะสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน2559
ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมาจึงมีการเปิดลิฟท์รถไฟฟ้าบีทีเอสเพิ่มอีก 4 สถานี และชี้แจงว่าจะสามารถเปิดใช้งานลิฟท์สถานีที่เหลือให้ได้ภายในปี 2560 นี้ มันจึงเป็นต้นทุนชีวิตที่ผู้พิการต้องแบกรับต่อไป แต่ต่อให้เสร็จผู้พิการก็ยังไม่สามารถเข้าถึงได้สะดวกอยู่ดี
เรื่องนี้ มานิตย์ อินทร์พิมพ์ หรือ ซาบะ หนึ่งในผู้ร่วมชะตากรรม เป็นตัวแทนของมนุษย์ล้อได้พาไปสำรวจการใช้ชีวิตของคนพิการกับระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัยที่สุดของกรุงเทพมหานคร เล่าถึงความยากลำบากของการที่เล่าถึงความยากลำบากในการโดยสารรถไฟฟ้าที่มีอุปสรรคตั้งแต่หมุนวงล้อแรก นอกจากจะเป็นสิ่งที่เหล่ามนุษย์ล้อต้องพบเจอ มันยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการเดินทางของผู้สูงอายุ เด็ก และนักท่องเที่ยวที่มีกระเป๋าใบใหญ่อีกด้วย
หากเป็นชั่วโมงเร่งด่วนวันธรรมดา ที่ต้องเบียดเสียดไปกับฝูงชน แทบไม่มีที่สำหรับรถเข็น รวมทั้งผู้พิการประเภทอื่น อย่าง สัญญาณไฟกระพริบบนป้าย เพื่อบอกผู้พิการทางการได้ยินให้รู้ว่าถึงสถานีใดแล้ว หรือแม้แต่ การใช้ผิวสัมผัสวัสดุปูพื้นสำหรับผู้พิการทางสายตารอบสถานี ถือเป็นรายละเอียดที่ทำให้ผู้พิการสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เทียบเท่ากับคนทั่วไป การเชื่อมต่อระหว่างระบบ ก็เป็นอุปสรรคไม่น้อย และหากถ้าเปรียบสิทธิ์ของคนพิการด้วยการเข้าถึงผ่านลิฟต์ของสถานีเอ็มอาร์ทีแล้ว พวกเขาคงมีสิทธิ์เพียงครึ่งเดียว เพราะสถานีทั้งหมด 18 แห่งที่มีทางเข้าออก61จุดแต่กลับมีลิฟต์แบะทางลาดเพียง30จุดเท่านั้น
การสัญจรของคนพิการมักจะไกลกว่าคนทั่วไป แต่ใครจะคิดว่า เขาต้องหมุนล้อเป็นระยะทางกว่า 600 เมตร ภายในสถานีเอ็มอาร์ที เพราะตำแหน่งของลิฟต์จากถนนลงมาชั้นร้านค้า และจากชั้นร้านค้าลงมาที่ชั้นจำหน่ายตั๋ว การเข้าถึงบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียม ยังสะท้อนถึงการพัฒนาของประเทศ อย่างมาร์ตินและภรรยา ชาวเยอรมัน เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ 2 วัน บอกว่ารู้สึกผิดหวังกับการใช้บริการขนส่งมวลชนของไทย อย่างการโดยสารบีทีเอสต้องกดปุ่มให้พนักงานลงมาเปิดลิฟต์ทุกครั้ง จนถึงตอนนี้ การติดตั้งลิฟท์ที่ยังไม่แล้วเสร็จตามกำหนด ได้นำไปสู่การรวมตัวฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการเสียโอกาสในการเดินทางของกลุ่มคนพิการวันละ1,000บาทรวมเป็นเงิน361,000บาทต่อคน
ล่าสุด ศาลแพ่ง ได้ส่งให้ศาลอุทรณ์เป็นผู้พิจารณาการฟ้องร้องในวันที่ 18 พฤษภาคม นี้ ปัญหาการใช้ลิฟท์โดยสารในระบบรถไฟฟ้าเป็นเพียงมุมหนึ่งของการสะท้อนภาพปัญหาความเท่าเทียมในการเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ทางเท้า สะพานลอย หรือแม้แต่สิ่งปลูกสร้างภายในอาคารที่ไม่ได้ออกแบบมาให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างแท้จริง
หากความพิการถือเป็นต้นทุนในการใช้ชีวิต ซาบะและเพื่อนๆ ผู้พิการของเขาตามรายงานของ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ อีกเกือบ 1.5 ล้านคนทั่วประเทศ ล้วนมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าคนทั่วไปไปโดยปริยาย การเพิ่มโอกาสเข้าถึง และความเท่าเทียม
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายมานิตย์ อินทร์พิมพ์ ตัวแทนของมนุษย์ล้อได้พาไปสำรวจการใช้ชีวิตของคนพิการกับระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัยที่สุดของกรุงเทพมหานคร ขณะนี้ ที่การดำเนินการสร้างลิฟต์คนพิการ ในสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสยังไม่แล้วเสร็จ และล่าช้ามากกว่าหนึ่งปี จากที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้กรุงเทพมหานครดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 21 ม.ค. 59 ล่าสุด เมื่อวานนี้กลุ่มคนพิการรวมตัวกันไปรับฟังการฟ้องร้องค่าเสียหาย จากการเสียโอกาสในการเดินทางทัดเทียมกับคนทั่วไป ประเด็นนี้ถือเป็นการสะท้อนความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนของไทย ทีมข่าวของเราลงพื้นที่สะท้อนปัญหาการเดินทางของคนพิการกับระบบการเดินทางที่ทันสมัยที่สุดของไทยติดตามจากรายงาน นายมานิตย์ อินทร์พิมพ์ ตัวแทนของมนุษย์ล้อได้พาไปสำรวจการใช้ชีวิตของคนพิการกับระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัยที่สุดของกรุงเทพมหานคร นี่เป็นเสียงสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำในการใช้งาน “ขนส่งมวลชน” ที่ทุกคนน่าจะสามารถใช้บริการได้ แต่ความเป็นจริงก็ยังมีกลุ่มคนที่ใช้ไม่ได้ และดูจะถูกละเลยมาตั้งแต่ที่มีโครงการสร้างสถานีรถไฟฟ้าเมื่อ 25 ปีก่อน จนนำไปสู่การร้องเรียนบีทีเอสเมื่อมีกฎกระทรวงมหาดไทยออกมาเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ และคนชราในปี พ.ศ. 2542 ทำให้มีการสร้างลิฟท์ 5 สถานีจาก 23 สถานี ก่อนจะมีคำสั่งจากศาลปกครองสูงสุดให้ติดตั้งลิฟท์ให้ครบทั้ง 23 สถานีภายใน 21 มกราคม 2559 แต่ทางกรุงเทพมหานครได้ประกาศว่าจะสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน2559 ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมาจึงมีการเปิดลิฟท์รถไฟฟ้าบีทีเอสเพิ่มอีก 4 สถานี และชี้แจงว่าจะสามารถเปิดใช้งานลิฟท์สถานีที่เหลือให้ได้ภายในปี 2560 นี้ มันจึงเป็นต้นทุนชีวิตที่ผู้พิการต้องแบกรับต่อไป แต่ต่อให้เสร็จผู้พิการก็ยังไม่สามารถเข้าถึงได้สะดวกอยู่ดี เรื่องนี้ มานิตย์ อินทร์พิมพ์ หรือ ซาบะ หนึ่งในผู้ร่วมชะตากรรม เป็นตัวแทนของมนุษย์ล้อได้พาไปสำรวจการใช้ชีวิตของคนพิการกับระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัยที่สุดของกรุงเทพมหานคร เล่าถึงความยากลำบากของการที่เล่าถึงความยากลำบากในการโดยสารรถไฟฟ้าที่มีอุปสรรคตั้งแต่หมุนวงล้อแรก นอกจากจะเป็นสิ่งที่เหล่ามนุษย์ล้อต้องพบเจอ มันยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการเดินทางของผู้สูงอายุ เด็ก และนักท่องเที่ยวที่มีกระเป๋าใบใหญ่อีกด้วย หากเป็นชั่วโมงเร่งด่วนวันธรรมดา ที่ต้องเบียดเสียดไปกับฝูงชน แทบไม่มีที่สำหรับรถเข็น รวมทั้งผู้พิการประเภทอื่น อย่าง สัญญาณไฟกระพริบบนป้าย เพื่อบอกผู้พิการทางการได้ยินให้รู้ว่าถึงสถานีใดแล้ว หรือแม้แต่ การใช้ผิวสัมผัสวัสดุปูพื้นสำหรับผู้พิการทางสายตารอบสถานี ถือเป็นรายละเอียดที่ทำให้ผู้พิการสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เทียบเท่ากับคนทั่วไป การเชื่อมต่อระหว่างระบบ ก็เป็นอุปสรรคไม่น้อย และหากถ้าเปรียบสิทธิ์ของคนพิการด้วยการเข้าถึงผ่านลิฟต์ของสถานีเอ็มอาร์ทีแล้ว พวกเขาคงมีสิทธิ์เพียงครึ่งเดียว เพราะสถานีทั้งหมด 18 แห่งที่มีทางเข้าออก61จุดแต่กลับมีลิฟต์แบะทางลาดเพียง30จุดเท่านั้น นายมานิตย์ อินทร์พิมพ์ ตัวแทนของมนุษย์ล้อได้พาไปสำรวจการใช้ชีวิตของคนพิการกับระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัยที่สุดของกรุงเทพมหานคร การสัญจรของคนพิการมักจะไกลกว่าคนทั่วไป แต่ใครจะคิดว่า เขาต้องหมุนล้อเป็นระยะทางกว่า 600 เมตร ภายในสถานีเอ็มอาร์ที เพราะตำแหน่งของลิฟต์จากถนนลงมาชั้นร้านค้า และจากชั้นร้านค้าลงมาที่ชั้นจำหน่ายตั๋ว การเข้าถึงบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียม ยังสะท้อนถึงการพัฒนาของประเทศ อย่างมาร์ตินและภรรยา ชาวเยอรมัน เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ 2 วัน บอกว่ารู้สึกผิดหวังกับการใช้บริการขนส่งมวลชนของไทย อย่างการโดยสารบีทีเอสต้องกดปุ่มให้พนักงานลงมาเปิดลิฟต์ทุกครั้ง จนถึงตอนนี้ การติดตั้งลิฟท์ที่ยังไม่แล้วเสร็จตามกำหนด ได้นำไปสู่การรวมตัวฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการเสียโอกาสในการเดินทางของกลุ่มคนพิการวันละ1,000บาทรวมเป็นเงิน361,000บาทต่อคน ล่าสุด ศาลแพ่ง ได้ส่งให้ศาลอุทรณ์เป็นผู้พิจารณาการฟ้องร้องในวันที่ 18 พฤษภาคม นี้ ปัญหาการใช้ลิฟท์โดยสารในระบบรถไฟฟ้าเป็นเพียงมุมหนึ่งของการสะท้อนภาพปัญหาความเท่าเทียมในการเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ทางเท้า สะพานลอย หรือแม้แต่สิ่งปลูกสร้างภายในอาคารที่ไม่ได้ออกแบบมาให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างแท้จริง หากความพิการถือเป็นต้นทุนในการใช้ชีวิต ซาบะและเพื่อนๆ ผู้พิการของเขาตามรายงานของ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ อีกเกือบ 1.5 ล้านคนทั่วประเทศ ล้วนมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าคนทั่วไปไปโดยปริยาย การเพิ่มโอกาสเข้าถึง และความเท่าเทียม ขอบคุณ... http://www.now26.tv/view/101825
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)