เปิดโครงการนำร่องเพื่อคนพิการของการรถไฟ
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานพิธีเปิด โครงการนำร่องเพื่อคนพิการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ณ สถานีรถไฟกรุงเทพ (สถานีรถไฟหัวลำโพง) โดยมีสื่อมวลชน และเครือข่ายด้านคนพิการต่างๆ เช่น มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย สมาคนพิการแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย สมาคมบุคคลออทิสติกแห่งประเทศไทย โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ และมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย เป็นต้น เข้าร่วม ประมาณ ๑๕๐ คน
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กล่าวว่า โครงการนำร่องเพื่อคนพิการของการรถไฟฯ นี้ เป็นโครงการต่อเนื่องภายใต้โครงการนำร่องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการของกระทรวงคมนาคม ตามนโยบาย “สะดวก ปลอดภัย คมนาคมยุคใหม่ใส่ใจคนพิการ” ทั้งนี้ จะต้องมีการดำเนินโครงการต่างๆ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยขอให้ทุกหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม ยึดหลักการดำเนินงาน ๓ ประการ ได้แก่ ๑) เป็นวัฒนธรรมของเจ้าหน้าที่กระทรวงคมนาคมทุกคนที่ต้องใส่ใจคนพิการ ต้องรู้ว่าคนพิการต้องการอะไร และต้องช่วยอย่างไร ๒)เป็นคมนาคมที่เชื่อมต่อ อย่างน้อยในสถานีหลักๆ ที่มีคนพิการใช้จำนวนมาก เพื่อสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการคมนาคม และ๓)เป็นโครงการต่อเนื่องที่จะต้องพัฒนาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย เช่น จะต้องขยายรถไฟสำหรับคนพิการจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ และเชื่อมต่อสถานีขนส่ง เป็นต้น สิ่งสำคัญจะต้องให้คนพิการเข้ามาร่วมกันดำเนินการจัดทำโครงการด้วย
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กล่าวว่า การรถไฟฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงสถานีรถไฟกรุงเทพและตู้โดยสารรถไฟ เพื่อให้คนพิการเดินทางอย่างปลอดภัย สามารถเดินทางไปทำงานหรือออกสู่สังคม เพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเดินทางได้อิสระอย่างแท้จริงต่อไป โดยวันนี้เป็นก้าวแรก ที่คนพิการจะได้ออกสู่สังคมด้วยรถไฟสำหรับคนพิการ ซึ่งเครือข่ายคนพิการ สื่อมวลชน พร้อมด้วยนางฐิติมา ฉายแสง เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม และคณะ ได้ร่วมกันเป็นสักขีพยานและร่วมทดสอบการใช้งานอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ และขบวนรถพิเศษที่พ่วงโบกี้ดัดแปลงเพื่อคนพิการ จำนวน ๔ โบกี้ เดินทางจากกรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-กรุงเทพ
นายชาญชัย สิมะโภไคย สมาชิกสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ผู้เข้าร่วมทดสอบการใช้งานรถไฟฯ ได้แสดงความรู้สึกดีใจที่การรถไฟฯ กระทรวงคมนาคม ได้ใส่ใจคนพิการ โดยได้ติดตั้งเครื่องสื่อสาร TTRS ซึ่งเป็นศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับผู้ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ หากหน่วยงานที่ทำงานกับคนหูหนวกต้องการเครื่องสื่อสาร TTRS ก็สามารถติดต่อขอรับได้ที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) พร้อมทั้งได้เสนอแนะว่า ขอให้ป้ายประกาศที่เป็นตัวหนังสือวิ่ง เพื่อให้รู้ว่าต้องผ่านสถานีรถไฟอะไร และแจ้งบอกชื่อสถานีที่กำลังจอดด้วย รวมถึงข้อมูลข่าวสารบนรถไฟ และไฟกระพริบเตือนรถไฟกำลังจะออกจากสถานี
กลุ่มคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสขึ้นรถไฟหลังจากที่เป็นคนพิการ เป็นรถไฟที่คนพิการนั่งเก้าอี้เข็นสามารถขึ้นลงได้ โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เช่น ลิฟต์ยกคนพิการขึ้นลง ที่จอดเก้าอี้เข็นสำหรับคนพิการที่นั่งบนเก้าอี้เข็น หรือที่วางเก้าอี้เข็น มีห้องน้ำที่คนพิการทุกประเภทสามารถใช้ได้ ที่นั่งผู้โดยสารก็สามารถปรับหมุนไปมาได้เพื่อปรับให้เหมาะกับคนพิการ อีกทั้งเก้าอี้เข็นคนพิการสามารถเคลื่อนไปตามช่องทางเดินได้ เป็นรถไฟเพื่อคนทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริงๆ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็กที่ต้องใช้รถเข็นเด็ก และคนพิการทุกประเภท
กลุ่มคนตาบอด ได้เสนอขอให้มีการประกาศแจ้งบอกสถานีรถไฟ และข้อมูลข่าวสารเพื่อให้คนตาบอดสามารถรับรู้บนรถไฟ บันไดทางขึ้นลงบนรถไฟควรทำให้กว้างกว่านี้และควรมีราวจับ รวมทั้งมีเบรลล์บล็อกหรือสัญลักษณ์เพื่อให้คนตาบอดสามารถเดินจากสถานีไปที่โบกี้ได้
ทั้งนี้ โครงการนำร่องเพื่อคนพิการของการรถไฟฯ ซึ่งการรถไฟฯ จะดำเนินการจัดปรับรวม ๒๐ รายการ ได้แก่ ๑)ที่นั่งบนรถไฟ ๒)ทางลาด ๓)บันไดเลื่อนขึ้นลงรถไฟ ๔)พื้นผิวบริเวณสถานีรถไฟ ๕)ช่องทางขายตั๋ว ๖)อุปกรณ์ช่วยยกคนพิการขึ้นลง ๗)ราวกั้นป้องกันตกลงตามที่ต่างๆ ๘)ห้องน้ำบนรถไฟ ๙)ลิฟต์ ๑๐)โทรศัพท์ ๑๑)ประตูห้องน้ำ ๑๒)ที่จอดรถคนพิการ ๑๓)ทางหนีไฟในสถานีรถไฟ ๑๔)ป้าย/สัญลักษณ์เกี่ยวกับคนพิการและการแจ้งข้อมูลข่าวสาร ๑๕)แผนที่การเดินรถไฟ ๑๖)ประกาศเตือนภัย ๑๗)ประกาศข้อมูลต่างๆ ๑๘)คู่มือการช่วยเหลือคนพิการ ๑๙)คู่มือแปลภาษามือสำหรับเจ้าหน้าที่ และ๒๐)เจ้าหน้าที่ผ่านการอบรมเกี่ยวกับเรื่องคนพิการประจำในหน่วยงานต่างๆ อย่างน้อย ๑ คนต่อหน่วยงาน เพื่อให้สามารถสื่อสาร หรือให้บริการต่างๆ ตามความเหมาะสมกับคนพิการนั้นๆ (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๘ ก.พ.๒๕๕๖)
1 sruttha withhope 23/08/2556 05:42:45
อีกนานแค่ไหนครับกว่าคนพิการที่นั่งรถ Wheelchair จะสามารถไปไหนมาไหนไกลๆได้ด้วยบริการของ รถไฟแห่งประเทศไทย โดยอาศัยความช่วยเหลือน้อยที่สุด เมื่อไรจะขึ้นลงจากรถไฟได้เอาแค่สถานีหลักๆก็พอ หรือ สถานีรถไฟของทุกจังหวัดก็น่าจะทำได้เลยนะครับ แค่ปรับระดับการขึ้น-ลงรถไฟให้เสมอกับทางเข้าโบกี้รถไฟ(เหมือนกับรฟไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่นี่หล่ะ)ก็น่าจะง่ายกว่าที่จะต้องมีเครื่องมายกรถ Wheelchair อีกประการก็ปรับสถานีหลักๆให้เหมาะกับการใช้รถ Wheelchair พร้อมกันไปเลย คนพิการที่ต้องเดินทางไกลๆจะได้ใช้บริการดีๆจาก รฟท.บ้างไม่ต้องเสียค่ารถเช่าทีเป็น 1000-2000 ถ้ารฟท.ทำได้จริงๆผมว่าสังคมไทยจะรู้ว่าคนพิการที่ใช้รถ Wheelchair มีมากขนาดไหน แล้วจะรู้ว่ามนุษย์ล้ออย่างพวกเรามีศักยภาพไม่แตกต่างไปกว่าคนในสังคมเลย เพียงแต่วันนี้เราติดกันอยู่แต่ในห้อง ในบ้าน เพราะจะให้ออกมาข้างนอกแต่ละครั้งค่าใช้จ่ายก็หมดไปแล้วกับค่าเดินทางที่ล้วนแต่ต้องใช้บริการ TAXI หรือไม่ก็รถเช่า ผมจะรอนะและหวังว่าการนำร่องจะมีการต่อยอดต่อไป
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพ โครงการนำร่องเพื่อคนพิการของการรถไฟแห่งประเทสไทย ซึ่งมีการจัดปรับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการที่สถานีรถไฟกรุงเทพ(สถานีหัวลำโพง)และบนรถไฟโบกี้คนพิการ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานพิธีเปิด โครงการนำร่องเพื่อคนพิการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ณ สถานีรถไฟกรุงเทพ (สถานีรถไฟหัวลำโพง) โดยมีสื่อมวลชน และเครือข่ายด้านคนพิการต่างๆ เช่น มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย สมาคนพิการแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย สมาคมบุคคลออทิสติกแห่งประเทศไทย โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ และมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย เป็นต้น เข้าร่วม ประมาณ ๑๕๐ คน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กล่าวว่า โครงการนำร่องเพื่อคนพิการของการรถไฟฯ นี้ เป็นโครงการต่อเนื่องภายใต้โครงการนำร่องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการของกระทรวงคมนาคม ตามนโยบาย “สะดวก ปลอดภัย คมนาคมยุคใหม่ใส่ใจคนพิการ” ทั้งนี้ จะต้องมีการดำเนินโครงการต่างๆ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยขอให้ทุกหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม ยึดหลักการดำเนินงาน ๓ ประการ ได้แก่ ๑) เป็นวัฒนธรรมของเจ้าหน้าที่กระทรวงคมนาคมทุกคนที่ต้องใส่ใจคนพิการ ต้องรู้ว่าคนพิการต้องการอะไร และต้องช่วยอย่างไร ๒)เป็นคมนาคมที่เชื่อมต่อ อย่างน้อยในสถานีหลักๆ ที่มีคนพิการใช้จำนวนมาก เพื่อสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการคมนาคม และ๓)เป็นโครงการต่อเนื่องที่จะต้องพัฒนาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย เช่น จะต้องขยายรถไฟสำหรับคนพิการจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ และเชื่อมต่อสถานีขนส่ง เป็นต้น สิ่งสำคัญจะต้องให้คนพิการเข้ามาร่วมกันดำเนินการจัดทำโครงการด้วย นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กล่าวว่า การรถไฟฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงสถานีรถไฟกรุงเทพและตู้โดยสารรถไฟ เพื่อให้คนพิการเดินทางอย่างปลอดภัย สามารถเดินทางไปทำงานหรือออกสู่สังคม เพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเดินทางได้อิสระอย่างแท้จริงต่อไป โดยวันนี้เป็นก้าวแรก ที่คนพิการจะได้ออกสู่สังคมด้วยรถไฟสำหรับคนพิการ ซึ่งเครือข่ายคนพิการ สื่อมวลชน พร้อมด้วยนางฐิติมา ฉายแสง เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม และคณะ ได้ร่วมกันเป็นสักขีพยานและร่วมทดสอบการใช้งานอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ และขบวนรถพิเศษที่พ่วงโบกี้ดัดแปลงเพื่อคนพิการ จำนวน ๔ โบกี้ เดินทางจากกรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-กรุงเทพ นายชาญชัย สิมะโภไคย สมาชิกสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ผู้เข้าร่วมทดสอบการใช้งานรถไฟฯ ได้แสดงความรู้สึกดีใจที่การรถไฟฯ กระทรวงคมนาคม ได้ใส่ใจคนพิการ โดยได้ติดตั้งเครื่องสื่อสาร TTRS ซึ่งเป็นศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับผู้ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ หากหน่วยงานที่ทำงานกับคนหูหนวกต้องการเครื่องสื่อสาร TTRS ก็สามารถติดต่อขอรับได้ที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) พร้อมทั้งได้เสนอแนะว่า ขอให้ป้ายประกาศที่เป็นตัวหนังสือวิ่ง เพื่อให้รู้ว่าต้องผ่านสถานีรถไฟอะไร และแจ้งบอกชื่อสถานีที่กำลังจอดด้วย รวมถึงข้อมูลข่าวสารบนรถไฟ และไฟกระพริบเตือนรถไฟกำลังจะออกจากสถานี กลุ่มคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสขึ้นรถไฟหลังจากที่เป็นคนพิการ เป็นรถไฟที่คนพิการนั่งเก้าอี้เข็นสามารถขึ้นลงได้ โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เช่น ลิฟต์ยกคนพิการขึ้นลง ที่จอดเก้าอี้เข็นสำหรับคนพิการที่นั่งบนเก้าอี้เข็น หรือที่วางเก้าอี้เข็น มีห้องน้ำที่คนพิการทุกประเภทสามารถใช้ได้ ที่นั่งผู้โดยสารก็สามารถปรับหมุนไปมาได้เพื่อปรับให้เหมาะกับคนพิการ อีกทั้งเก้าอี้เข็นคนพิการสามารถเคลื่อนไปตามช่องทางเดินได้ เป็นรถไฟเพื่อคนทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริงๆ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็กที่ต้องใช้รถเข็นเด็ก และคนพิการทุกประเภท กลุ่มคนตาบอด ได้เสนอขอให้มีการประกาศแจ้งบอกสถานีรถไฟ และข้อมูลข่าวสารเพื่อให้คนตาบอดสามารถรับรู้บนรถไฟ บันไดทางขึ้นลงบนรถไฟควรทำให้กว้างกว่านี้และควรมีราวจับ รวมทั้งมีเบรลล์บล็อกหรือสัญลักษณ์เพื่อให้คนตาบอดสามารถเดินจากสถานีไปที่โบกี้ได้ ทั้งนี้ โครงการนำร่องเพื่อคนพิการของการรถไฟฯ ซึ่งการรถไฟฯ จะดำเนินการจัดปรับรวม ๒๐ รายการ ได้แก่ ๑)ที่นั่งบนรถไฟ ๒)ทางลาด ๓)บันไดเลื่อนขึ้นลงรถไฟ ๔)พื้นผิวบริเวณสถานีรถไฟ ๕)ช่องทางขายตั๋ว ๖)อุปกรณ์ช่วยยกคนพิการขึ้นลง ๗)ราวกั้นป้องกันตกลงตามที่ต่างๆ ๘)ห้องน้ำบนรถไฟ ๙)ลิฟต์ ๑๐)โทรศัพท์ ๑๑)ประตูห้องน้ำ ๑๒)ที่จอดรถคนพิการ ๑๓)ทางหนีไฟในสถานีรถไฟ ๑๔)ป้าย/สัญลักษณ์เกี่ยวกับคนพิการและการแจ้งข้อมูลข่าวสาร ๑๕)แผนที่การเดินรถไฟ ๑๖)ประกาศเตือนภัย ๑๗)ประกาศข้อมูลต่างๆ ๑๘)คู่มือการช่วยเหลือคนพิการ ๑๙)คู่มือแปลภาษามือสำหรับเจ้าหน้าที่ และ๒๐)เจ้าหน้าที่ผ่านการอบรมเกี่ยวกับเรื่องคนพิการประจำในหน่วยงานต่างๆ อย่างน้อย ๑ คนต่อหน่วยงาน เพื่อให้สามารถสื่อสาร หรือให้บริการต่างๆ ตามความเหมาะสมกับคนพิการนั้นๆ (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๘ ก.พ.๒๕๕๖)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)