"รถไฟ" เพื่อคนพิการ มิติใหม่แห่งขนส่งระบบราง เคลื่อนขบวนรับ "สงกรานต์"
เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และพูดถึงอย่างวงกว้าง กรณี "พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท" เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะภาพฝันที่ใครต่อใครหวังจะให้มีเหมือนประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง "รถไฟความเร็วสูง" แต่กระนั้น ในวันซึ่งสิ่งที่คาดหวังเดินทางมายังไม่ถึง "รถไฟ" ที่มีอยู่และต้องให้บริการประชาชนต่อไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการพัฒนาปรับปรุง แม้อาจจะไม่ใช่เรื่องความเร็ว แต่ด้านอื่นๆ ก็สามารถทำได้ อย่างล่าสุดที่ "การรถไฟแห่งประเทศไทย" เล็งเห็นถึงความยากลำบากของคนพิการและคนติดตาม จึงได้อำนวยความสะดวก และเริ่มนำร่องในหัวข้อ "สะดวก ปลอดภัย คมนาคมยุคใหม่ใส่ใจคนพิการ" ก็เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม
ในวันเปิดตัวโครงการ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม บอกว่า เป็นหนึ่งในโครงการใต้แผนงานกระทรวง ซึ่งในส่วนของการรถไฟฯได้มอบหมายให้มีการปรับปรุงสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือหัวลำโพงให้เกิดความสะดวกต่อประชาชนผู้ที่มาใช้บริการ และยังได้เน้นย้ำเรื่องของการขยายไปยังสถานีต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงดำเนินการแบบครบวงจรให้เกิดการเชื่อมต่อระบบขนส่ง และต้องเอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการด้วย
เมื่อทราบโครงการดีๆ อย่างนี้ จึงต้องไปชมให้เห็นกับตาถึงสถานีรถไฟที่ผู้คนใช้บริการมากที่สุดอย่าง "หัวลำโพง" มีโอกาสได้พูดคุยกับ บัณฑิต เชาวน์สวน หัวหน้าหมวดระเบียบการโดยสาร ซึ่งให้ข้อมูลว่า ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงโดยจะนำตู้โดยสาร 10 ตู้ หรือ 10 โบกี้ ที่ดัดแปลงสำหรับผู้โดยสารที่เป็นคนพิการและผู้สูงอายุที่ใช้รถวีลแชร์ (wheel chair) ออกมาพ่วงกับขบวนรถไฟ เพื่ออำนวยความสะดวก ใน 4 เส้นทาง ซึ่งได้เปิดให้บริการประชาชนแล้ว ใน 2 เส้นทาง นั่นคือ สายเหนือและสาย ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 1/2 กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ และขบวนรถด่วน 69/70 กรุงเทพฯ-หนองคาย-กรุงเทพฯ เป็นการนำร่องก่อน "โบกี้สำหรับคนพิการ นี้ รถนั่งปรับอากาศ ชั้น 2 จะมีลิฟต์ยกวีลแชร์ มีเข็มขัดรัด เบาะ 1-6 สำหรับคนพิการ เบาะ 7-12 สำหรับคนติดตาม เก้าอี้นั่งที่ห่างกว่ารถไฟปกติ มีที่สำหรับล็อกวีลแชร์ ทั้งหมด 30 ที่นั่ง มีห้องน้ำสำหรับคนพิการที่มีราวจับ และมีปุ่มกดฉุกเฉินสำหรับขอความช่วยเหลือด้วย
"เรามีพนักงานดูแล 2 คนต่อ 1 โบกี้ โดย 1 คน เป็นช่างเทคนิคควบคุมการขึ้น-ลงของลิฟต์ และอีก 1 คน คอยบริการดูแลคนพิการที่ไม่มีคนติดตาม" บัณฑิตกล่าว
สำหรับอัตรา ค่าโดยสาร เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 การรถไฟฯลดราคาค่าโดยสารสำหรับคนพิการร้อยละ 50 ตลอดปี และคิดอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษ 90 บาท/ที่นั่ง/ทุกระยะทาง โดยผู้ติดตามดูแลคนพิการลดค่าโดยสารร้อยละ 25 ด้วย
ด้านผู้ใช้บริการ ทั่วไปอย่าง สมใจ ชูโต อายุ 63 ปี อาชีพทำสวน บอกว่า เห็นด้วยที่จะมีโบกี้สำหรับคนพิการ ซึ่งน่าจะดีสำหรับคนพิการ สามารถอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการได้ แต่ก็อยากให้มีทุกเส้นทางของประเทศไทยด้วย น่าจะส่งผลดีสำหรับคนพิการ เพราะเท่าที่สังเกตประตูรถไฟนั้นเล็กและชัน เวลาขึ้นก็ลำบาก ถ้ามีทางขึ้นลงสำหรับคนพิการโดยเฉพาะก็น่าจะมีประโยชน์ ซึ่งควรที่จะมีนานแล้ว
"การปรับปรุงนี้ น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับคนพิการที่จะโดยสารรถไฟ น่าจะมีจำนวนคนพิการที่มาใช้บริการรถไฟเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าตอนนี้การเดินทางโดยรถไฟไม่เอื้อสำหรับคนพิการ ทำให้มีคนพิการมาใช้บริการน้อย แต่ถ้ามีตู้สำหรับคนพิการน่าจะมีคนพิการมาใช้บริการเพิ่มขึ้น เพราะว่าสะดวกขึ้นมาก
"เมืองนอกมีนานแล้ว บ้านเราเพิ่งจะมี และยังห่วงเรื่องขบวนรถว่าจะมีเพียงพอสำหรับทุกขบวนทุกสายหรือเปล่า" ผู้ใช้บริการรถไฟตั้งข้อสังเกต และสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ "มิติใหม่" รถไฟไทยโดยตรง
ชัยพร ภูผารัตน์ ผู้อำนวยการสภาคนพิการทุกประเภทแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อคนพิการในทุกประเภทจริงๆ และมีแนวคิดที่จะทำเรื่องโบกี้สำหรับคนพิการมานานแล้ว แต่ก็เพิ่งเริ่มและก็มาสำเร็จในปีนี้ โดยจากการติดตามข่าว จะมีการให้บริการอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบในวันที่ 11 เมษายน ในเส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย และ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ แต่ก็ทราบมาอีกว่ายังไม่มีคนพิการไปจองเท่าที่ควร
ผอ.สภาคนพิการฯ ตั้งข้อสังเกตเป็นคำถามว่า ถ้าขึ้นจากหัวลำโพงไปลงสถานีรายทางในต่างจังหวัด ถามว่าลงไปแล้ว สะดวกสบายเหมือนที่หัวลำโพงหรือไม่? "ตอนนี้โครงการนำร่องมีแค่ที่หัวลำโพง แต่สำหรับการเดินทางโดยรถไฟ ซึ่งต้องไปยังสถานีต่างๆ ในต่างจังหวัด บางทีก็ลำบาก ลงรถไฟแล้วก็ไปต่อไม่ได้ ผมคิดว่าเราต้องพัฒนาสถานีรถไฟทั้งประเทศให้เอื้อสำหรับคนพิการ ถามว่า คนพิการเดินทางกลับบ้านช่วงสงกรานต์ได้มั้ย กลับบ้านได้ ขึ้นรถไฟจากหัวลำโพง แต่ตอนลงนี้เราก็ไม่รู้ว่าทางสถานีเค้าเตรียมความพร้อมไว้แค่ไหน เชื่อว่ายังต้องใช้เวลา 3-5 ปี ในการปรับปรุง" ชัยพรกล่าว
จากการ ที่มีโอกาสได้ไปสัมผัสขบวนโบกี้สำหรับคนพิการมาแล้ว ผอ.ชัยพรบอกว่า มีความสะดวกสบาย และอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการทุกประเภทสามารถเดินทางได้จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการขาที่ต้องนั่งวีลแชร์ ผู้พิการทางสายตา ฯลฯ หากแต่ที่ต้องเพิ่มเติมก็คือ เรื่องสถานีปลายทาง
ขณะนี้เป็นโครงการ นำร่อง ทางเราเข้าใจเจตนาดี และด้วยความเมตตาของการรถไฟแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม ก็ฝากไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีอำนาจว่า เมื่อผู้พิการเดินทางแล้ว ระหว่างทางหรือปลายทาง คนพิการต้องสามารถลงได้ และเดินทางต่อไปเองได้ด้วย" ชัยพรกล่าว
เป็นเรื่องที่ รมว.ชัชชาติรวมถึง ประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ควรรับไปพิจารณา
แต่ สำหรับการนำร่องคราวนี้ ก็ถือเป็นแต้มบวก เป็นการปรับตัวในเรื่องให้บริการ และอำนวยความสะดวกกับผู้โดยสารซึ่งเป็นผู้พิการทุกประเภท เป็นมิติใหม่สำหรับ "รถไฟไทย" ในวันที่ "รถไฟความเร็วสูง" ยังเดินทางมาไม่ถึง…..โดย อาทิตย์ แสนประเสริฐ
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ขบวนโบกี้ที่ปรับปรุงสำหรับคนพิการ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และพูดถึงอย่างวงกว้าง กรณี "พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท" เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะภาพฝันที่ใครต่อใครหวังจะให้มีเหมือนประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง "รถไฟความเร็วสูง" แต่กระนั้น ในวันซึ่งสิ่งที่คาดหวังเดินทางมายังไม่ถึง "รถไฟ" ที่มีอยู่และต้องให้บริการประชาชนต่อไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการพัฒนาปรับปรุง แม้อาจจะไม่ใช่เรื่องความเร็ว แต่ด้านอื่นๆ ก็สามารถทำได้ อย่างล่าสุดที่ "การรถไฟแห่งประเทศไทย" เล็งเห็นถึงความยากลำบากของคนพิการและคนติดตาม จึงได้อำนวยความสะดวก และเริ่มนำร่องในหัวข้อ "สะดวก ปลอดภัย คมนาคมยุคใหม่ใส่ใจคนพิการ" ก็เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม ในวันเปิดตัวโครงการ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม บอกว่า เป็นหนึ่งในโครงการใต้แผนงานกระทรวง ซึ่งในส่วนของการรถไฟฯได้มอบหมายให้มีการปรับปรุงสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือหัวลำโพงให้เกิดความสะดวกต่อประชาชนผู้ที่มาใช้บริการ และยังได้เน้นย้ำเรื่องของการขยายไปยังสถานีต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงดำเนินการแบบครบวงจรให้เกิดการเชื่อมต่อระบบขนส่ง และต้องเอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการด้วย ลิฟต์สำหรับผู้พิการขาต้องนั่งวีลแชร์ เมื่อทราบโครงการดีๆ อย่างนี้ จึงต้องไปชมให้เห็นกับตาถึงสถานีรถไฟที่ผู้คนใช้บริการมากที่สุดอย่าง "หัวลำโพง" มีโอกาสได้พูดคุยกับ บัณฑิต เชาวน์สวน หัวหน้าหมวดระเบียบการโดยสาร ซึ่งให้ข้อมูลว่า ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงโดยจะนำตู้โดยสาร 10 ตู้ หรือ 10 โบกี้ ที่ดัดแปลงสำหรับผู้โดยสารที่เป็นคนพิการและผู้สูงอายุที่ใช้รถวีลแชร์ (wheel chair) ออกมาพ่วงกับขบวนรถไฟ เพื่ออำนวยความสะดวก ใน 4 เส้นทาง ซึ่งได้เปิดให้บริการประชาชนแล้ว ใน 2 เส้นทาง นั่นคือ สายเหนือและสาย ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 1/2 กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ และขบวนรถด่วน 69/70 กรุงเทพฯ-หนองคาย-กรุงเทพฯ เป็นการนำร่องก่อน "โบกี้สำหรับคนพิการ นี้ รถนั่งปรับอากาศ ชั้น 2 จะมีลิฟต์ยกวีลแชร์ มีเข็มขัดรัด เบาะ 1-6 สำหรับคนพิการ เบาะ 7-12 สำหรับคนติดตาม เก้าอี้นั่งที่ห่างกว่ารถไฟปกติ มีที่สำหรับล็อกวีลแชร์ ทั้งหมด 30 ที่นั่ง มีห้องน้ำสำหรับคนพิการที่มีราวจับ และมีปุ่มกดฉุกเฉินสำหรับขอความช่วยเหลือด้วย "เรามีพนักงานดูแล 2 คนต่อ 1 โบกี้ โดย 1 คน เป็นช่างเทคนิคควบคุมการขึ้น-ลงของลิฟต์ และอีก 1 คน คอยบริการดูแลคนพิการที่ไม่มีคนติดตาม" บัณฑิตกล่าว สำหรับอัตรา ค่าโดยสาร เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 การรถไฟฯลดราคาค่าโดยสารสำหรับคนพิการร้อยละ 50 ตลอดปี และคิดอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษ 90 บาท/ที่นั่ง/ทุกระยะทาง โดยผู้ติดตามดูแลคนพิการลดค่าโดยสารร้อยละ 25 ด้วย ด้านผู้ใช้บริการ ทั่วไปอย่าง สมใจ ชูโต อายุ 63 ปี อาชีพทำสวน บอกว่า เห็นด้วยที่จะมีโบกี้สำหรับคนพิการ ซึ่งน่าจะดีสำหรับคนพิการ สามารถอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการได้ แต่ก็อยากให้มีทุกเส้นทางของประเทศไทยด้วย น่าจะส่งผลดีสำหรับคนพิการ เพราะเท่าที่สังเกตประตูรถไฟนั้นเล็กและชัน เวลาขึ้นก็ลำบาก ถ้ามีทางขึ้นลงสำหรับคนพิการโดยเฉพาะก็น่าจะมีประโยชน์ ซึ่งควรที่จะมีนานแล้ว ช่องทางเดินที่กว้าง "การปรับปรุงนี้ น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับคนพิการที่จะโดยสารรถไฟ น่าจะมีจำนวนคนพิการที่มาใช้บริการรถไฟเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าตอนนี้การเดินทางโดยรถไฟไม่เอื้อสำหรับคนพิการ ทำให้มีคนพิการมาใช้บริการน้อย แต่ถ้ามีตู้สำหรับคนพิการน่าจะมีคนพิการมาใช้บริการเพิ่มขึ้น เพราะว่าสะดวกขึ้นมาก "เมืองนอกมีนานแล้ว บ้านเราเพิ่งจะมี และยังห่วงเรื่องขบวนรถว่าจะมีเพียงพอสำหรับทุกขบวนทุกสายหรือเปล่า" ผู้ใช้บริการรถไฟตั้งข้อสังเกต และสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ "มิติใหม่" รถไฟไทยโดยตรง ชัยพร ภูผารัตน์ ผู้อำนวยการสภาคนพิการทุกประเภทแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อคนพิการในทุกประเภทจริงๆ และมีแนวคิดที่จะทำเรื่องโบกี้สำหรับคนพิการมานานแล้ว แต่ก็เพิ่งเริ่มและก็มาสำเร็จในปีนี้ โดยจากการติดตามข่าว จะมีการให้บริการอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบในวันที่ 11 เมษายน ในเส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย และ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ แต่ก็ทราบมาอีกว่ายังไม่มีคนพิการไปจองเท่าที่ควร ผอ.สภาคนพิการฯ ตั้งข้อสังเกตเป็นคำถามว่า ถ้าขึ้นจากหัวลำโพงไปลงสถานีรายทางในต่างจังหวัด ถามว่าลงไปแล้ว สะดวกสบายเหมือนที่หัวลำโพงหรือไม่? "ตอนนี้โครงการนำร่องมีแค่ที่หัวลำโพง แต่สำหรับการเดินทางโดยรถไฟ ซึ่งต้องไปยังสถานีต่างๆ ในต่างจังหวัด บางทีก็ลำบาก ลงรถไฟแล้วก็ไปต่อไม่ได้ ผมคิดว่าเราต้องพัฒนาสถานีรถไฟทั้งประเทศให้เอื้อสำหรับคนพิการ ถามว่า คนพิการเดินทางกลับบ้านช่วงสงกรานต์ได้มั้ย กลับบ้านได้ ขึ้นรถไฟจากหัวลำโพง แต่ตอนลงนี้เราก็ไม่รู้ว่าทางสถานีเค้าเตรียมความพร้อมไว้แค่ไหน เชื่อว่ายังต้องใช้เวลา 3-5 ปี ในการปรับปรุง" ชัยพรกล่าว จากการ ที่มีโอกาสได้ไปสัมผัสขบวนโบกี้สำหรับคนพิการมาแล้ว ผอ.ชัยพรบอกว่า มีความสะดวกสบาย และอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการทุกประเภทสามารถเดินทางได้จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการขาที่ต้องนั่งวีลแชร์ ผู้พิการทางสายตา ฯลฯ หากแต่ที่ต้องเพิ่มเติมก็คือ เรื่องสถานีปลายทาง ขณะนี้เป็นโครงการ นำร่อง ทางเราเข้าใจเจตนาดี และด้วยความเมตตาของการรถไฟแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม ก็ฝากไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีอำนาจว่า เมื่อผู้พิการเดินทางแล้ว ระหว่างทางหรือปลายทาง คนพิการต้องสามารถลงได้ และเดินทางต่อไปเองได้ด้วย" ชัยพรกล่าว เป็นเรื่องที่ รมว.ชัชชาติรวมถึง ประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ควรรับไปพิจารณา แต่ สำหรับการนำร่องคราวนี้ ก็ถือเป็นแต้มบวก เป็นการปรับตัวในเรื่องให้บริการ และอำนวยความสะดวกกับผู้โดยสารซึ่งเป็นผู้พิการทุกประเภท เป็นมิติใหม่สำหรับ "รถไฟไทย" ในวันที่ "รถไฟความเร็วสูง" ยังเดินทางมาไม่ถึง…..โดย อาทิตย์ แสนประเสริฐ ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365744518&grpid=&catid=19&subcatid=1904
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)