‘Wheel-go-round’ หนุน ‘สองล้อ’ ออกเดินทาง – กลางกระแส
เชื่อว่าหลายคน กว่าจะออกเดินทางแต่ละครั้ง ต้องใช้เวลาเตรียมความพร้อมและหาข้อมูลอยู่นาน ยิ่งเป็นสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย ยิ่งต้องเตรียมการเป็นอย่างดี ซึ่งการหาข้อมูลในยุคนี้ก็ทำได้ง่าย ขอแค่มีอินเทอร์เน็ตกับอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออย่างคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือมือถือ ข้อมูลในโลกไซเบอร์ก็พร้อมให้เราไปค้นเจอ...
แต่นั่นก็เป็นเพียงรายละเอียดของการเตรียมความพร้อมทั่วไปสำหรับคนธรรมดา เท่านั้น เพราะในสังคมนี้ยังมีกลุ่มคนผู้มีความต้องการพิเศษอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ต้องการข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อมในการเดินทางเช่นกัน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา http://www.wheelgoround.in.th/ (Wheel-go-round : Freedom in Wheel) จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นรายละเอียดสำคัญแก่ผู้นั่งรถวีลแชร์ โดยมีจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ จาก “หัวใจ” ที่คิดเกื้อกูลแก่เพื่อนร่วมสังคมว่า อยากเห็นทั้งผู้ใช้วีลแชร์ สามารถออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านได้เหมือนกับคนปกติทั่วไป
คุณปิ่น-พร้อมพร เพ็ญศิริพันธุ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Wheel-go-round เล่าถึงที่มาว่า เกิดจากการรวมตัวของนักศึกษาปริญญาโทสาขาบริหาร ธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5 คน และเพื่อน ๆ อีกกว่า 10 ชีวิต มองเห็นถึงความลำบากของการใช้ชีวิตของผู้ใช้วีลแชร์ จึงอยากที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการรวบรวมข้อมูลการเดินทางให้กับผู้นั่งรถ เข็นไว้เตรียมตัวก่อนออกเดินทางไปยังจุดหมาย ณ สถานที่ต่าง ๆ
“จากที่พูดคุยมาพบว่า ปัญหาที่พบมากในผู้ใช้วีลแชร์คือปัญหาในการเดินทาง ยกตัวอย่างเช่น จะไปสถานที่หนึ่ง พอไปถึงปรากฏว่า ทางเข้าเป็นขั้นบันได ไม่มีทางลาด ทำให้พวกเขาเข้าไปด้วยตนเองไม่ได้ ต้องขอความช่วยเหลือจากคนแถวนั้นให้ช่วยกันยกขึ้นไป หรือบางทีอยากจะเข้าห้องน้ำ ก็พบว่าไม่มีห้องน้ำสำหรับคนนั่งรถเข็น มีแต่ห้องน้ำสำหรับคนทั่วไป ซึ่งตามปกติห้องน้ำทั่วไปจะค่อนข้างแคบ ก็ทำให้เข้าได้ลำบาก หรือแม้มีห้องน้ำสำหรับผู้ใช้รถเข็นจริง หลาย ๆ ครั้งเข้าไปแล้ว ก็พบว่าไม่มีราวให้จับ ซึ่งทั้งหมดนี้มันคือความไม่สะดวกในการใช้ชีวิต เราเลยอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการบอกพวกเขาว่า สถานที่ไหน มีหรือไม่มีอะไร พวกเขาจะได้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนการเดินทางได้”
ไม่เพียงเท่านั้น ทุกคนยังสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งปันรายละเอียดในการเดินทางได้ ง่าย ๆ ด้วยการถ่ายรูปสถานที่ต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการใช้รถเข็น (ที่จอดรถ, ทางลาด, ลิฟต์, ห้องน้ำ) และกรอกข้อมูลสถานที่ลงใน http://goo.gl/byijj (ขนาดไฟล์: 0 ) จากนั้นโพสต์รูปและรายละเอียดมาที่หน้าเพจเฟซบุ๊กที่ https://www.facebook.com/wheelgoround หรือส่งมาที่อีเมล wheelgoround.org@gmail.com ให้ทางทีม wheel-go-round ตรวจสอบข้อมูลและรูปถ่าย เพื่อเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ต่อไป
เมื่อความคิดดี ๆ มีจุดตั้งต้นเพื่อสร้างประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นในสังคมอย่างจริงใจ เว็บไซต์นี้จึงได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และหน่วยปฏิบัติการวิจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและคนพิการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะเปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ กับกิจกรรมแรลลี่ กรุงเทพฯ-พัทยา ฮูเล่ เฮฮา พัทยา พาเพลิน วันที่ 7-8 กันยายนนี้
พร้อมพร เล่าเพิ่มเติมถึงการจัดกิจกรรมที่กำลังจะมีขึ้นว่า เป็นกิจกรรมครั้งที่ 3 หลังจากเคยจัดกิจกรรมหมุนล้อไปดูหนัง (We wheel watch a movie) และแรลลี่ครอบครัวหรรษา ณ พิพิธภัณฑ์สยาม (Family Rally@Museum Siam) เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มผู้ใช้วีลแชร์ได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกับผู้ใช้วีลแชร์ คนอื่น ๆ และครอบครัว รวมถึงมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่าง ๆ กับคนรอบข้าง ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกเขาให้ดีขึ้น โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถสมัครไปทางหน้าเฟซบุ๊ก แฟนเพจ https://www.facebook.com/wheelgoround หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 08-1959-9765
“ต้องยอมรับว่า การดำเนินงานในรูปแบบของเว็บไซต์อย่างเดียวมันไม่พอ เพราะจุดประสงค์หลักอีกเรื่องหนึ่งก็คือ เราต้องการสร้างสังคม (Community) ผู้ใช้วีลแชร์ให้เข้มแข็ง และมีทัศนคติที่ดีขึ้นต่อการออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน จนเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้พวกเขาออกมาใช้ชีวิตข้างนอกอย่างอิสระมากขึ้น”
เมื่อมีแผนที่ในการออกเดินทาง ที่เหลือก็คือการออกไปท่องโลกภายนอกให้สนุก เสมือนกับการนั่งเล่นม้าหมุน หมุนไปจนกว่าจะถึงจุดหมาย สัญลักษณ์ของเว็บไซต์ Wheel-go-round.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/728/228325 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คนพิการนั่งรถเข็นมาสถานที่ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับรถเข็น เชื่อว่าหลายคน กว่าจะออกเดินทางแต่ละครั้ง ต้องใช้เวลาเตรียมความพร้อมและหาข้อมูลอยู่นาน ยิ่งเป็นสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย ยิ่งต้องเตรียมการเป็นอย่างดี ซึ่งการหาข้อมูลในยุคนี้ก็ทำได้ง่าย ขอแค่มีอินเทอร์เน็ตกับอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออย่างคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือมือถือ ข้อมูลในโลกไซเบอร์ก็พร้อมให้เราไปค้นเจอ... โรงแรม ibisแต่นั่นก็เป็นเพียงรายละเอียดของการเตรียมความพร้อมทั่วไปสำหรับคนธรรมดา เท่านั้น เพราะในสังคมนี้ยังมีกลุ่มคนผู้มีความต้องการพิเศษอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ต้องการข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อมในการเดินทางเช่นกัน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา http://www.wheelgoround.in.th/ (Wheel-go-round : Freedom in Wheel) จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นรายละเอียดสำคัญแก่ผู้นั่งรถวีลแชร์ โดยมีจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ จาก “หัวใจ” ที่คิดเกื้อกูลแก่เพื่อนร่วมสังคมว่า อยากเห็นทั้งผู้ใช้วีลแชร์ สามารถออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านได้เหมือนกับคนปกติทั่วไป ป้ายคนพิการนั่งรถเข็นคุณปิ่น-พร้อมพร เพ็ญศิริพันธุ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Wheel-go-round เล่าถึงที่มาว่า เกิดจากการรวมตัวของนักศึกษาปริญญาโทสาขาบริหาร ธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5 คน และเพื่อน ๆ อีกกว่า 10 ชีวิต มองเห็นถึงความลำบากของการใช้ชีวิตของผู้ใช้วีลแชร์ จึงอยากที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการรวบรวมข้อมูลการเดินทางให้กับผู้นั่งรถ เข็นไว้เตรียมตัวก่อนออกเดินทางไปยังจุดหมาย ณ สถานที่ต่าง ๆ “จากที่พูดคุยมาพบว่า ปัญหาที่พบมากในผู้ใช้วีลแชร์คือปัญหาในการเดินทาง ยกตัวอย่างเช่น จะไปสถานที่หนึ่ง พอไปถึงปรากฏว่า ทางเข้าเป็นขั้นบันได ไม่มีทางลาด ทำให้พวกเขาเข้าไปด้วยตนเองไม่ได้ ต้องขอความช่วยเหลือจากคนแถวนั้นให้ช่วยกันยกขึ้นไป หรือบางทีอยากจะเข้าห้องน้ำ ก็พบว่าไม่มีห้องน้ำสำหรับคนนั่งรถเข็น มีแต่ห้องน้ำสำหรับคนทั่วไป ซึ่งตามปกติห้องน้ำทั่วไปจะค่อนข้างแคบ ก็ทำให้เข้าได้ลำบาก หรือแม้มีห้องน้ำสำหรับผู้ใช้รถเข็นจริง หลาย ๆ ครั้งเข้าไปแล้ว ก็พบว่าไม่มีราวให้จับ ซึ่งทั้งหมดนี้มันคือความไม่สะดวกในการใช้ชีวิต เราเลยอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการบอกพวกเขาว่า สถานที่ไหน มีหรือไม่มีอะไร พวกเขาจะได้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนการเดินทางได้” ทางเข้าสถานที่ เป็นทางลาด รถวีลแชร์ใช้ได้ ไม่เพียงเท่านั้น ทุกคนยังสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งปันรายละเอียดในการเดินทางได้ ง่าย ๆ ด้วยการถ่ายรูปสถานที่ต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการใช้รถเข็น (ที่จอดรถ, ทางลาด, ลิฟต์, ห้องน้ำ) และกรอกข้อมูลสถานที่ลงใน http://goo.gl/byijj จากนั้นโพสต์รูปและรายละเอียดมาที่หน้าเพจเฟซบุ๊กที่ https://www.facebook.com/wheelgoround หรือส่งมาที่อีเมล wheelgoround.org@gmail.com ให้ทางทีม wheel-go-round ตรวจสอบข้อมูลและรูปถ่าย เพื่อเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ต่อไป เมื่อความคิดดี ๆ มีจุดตั้งต้นเพื่อสร้างประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นในสังคมอย่างจริงใจ เว็บไซต์นี้จึงได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และหน่วยปฏิบัติการวิจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและคนพิการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะเปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ กับกิจกรรมแรลลี่ กรุงเทพฯ-พัทยา ฮูเล่ เฮฮา พัทยา พาเพลิน วันที่ 7-8 กันยายนนี้ ห้องน้ำที่รถวีลแชร์เข้าใช้งานได้พร้อมพร เล่าเพิ่มเติมถึงการจัดกิจกรรมที่กำลังจะมีขึ้นว่า เป็นกิจกรรมครั้งที่ 3 หลังจากเคยจัดกิจกรรมหมุนล้อไปดูหนัง (We wheel watch a movie) และแรลลี่ครอบครัวหรรษา ณ พิพิธภัณฑ์สยาม (Family Rally@Museum Siam) เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มผู้ใช้วีลแชร์ได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกับผู้ใช้วีลแชร์ คนอื่น ๆ และครอบครัว รวมถึงมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่าง ๆ กับคนรอบข้าง ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกเขาให้ดีขึ้น โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถสมัครไปทางหน้าเฟซบุ๊ก แฟนเพจ https://www.facebook.com/wheelgoround หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 08-1959-9765 “ต้องยอมรับว่า การดำเนินงานในรูปแบบของเว็บไซต์อย่างเดียวมันไม่พอ เพราะจุดประสงค์หลักอีกเรื่องหนึ่งก็คือ เราต้องการสร้างสังคม (Community) ผู้ใช้วีลแชร์ให้เข้มแข็ง และมีทัศนคติที่ดีขึ้นต่อการออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน จนเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้พวกเขาออกมาใช้ชีวิตข้างนอกอย่างอิสระมากขึ้น” เมื่อมีแผนที่ในการออกเดินทาง ที่เหลือก็คือการออกไปท่องโลกภายนอกให้สนุก เสมือนกับการนั่งเล่นม้าหมุน หมุนไปจนกว่าจะถึงจุดหมาย สัญลักษณ์ของเว็บไซต์ Wheel-go-round. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/728/228325 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)