เครือข่ายคนพิการ...วอน ปชช.หนุน ขสมก.ซื้อ “รถเมล์ชานต่ำ”
คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภาคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย กลุ่มที่ปรึกษากฎหมายมนุษย์ล้อ และเครือข่ายคนพิการ ได้ติดตามโครงการซื้อรถเมล์ใหม่ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ โดยการเสนอแนะให้ ขสมก. ศึกษาและพิจารณาจัดซื้อรถเมล์ที่ทันสมัย เป็นสากล ราคาไม่แพง และทุกคนใช้ร่วมกันได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว
พร้อมกันนั้น เครือข่ายคนพิการได้ดำเนินการศึกษาพบว่า แต่เดิมหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย เมื่อต้องการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นขึ้นรถเมล์ได้ จึงออกแบบรถเมล์ให้มีลิฟต์ยกเก้าอี้เข็นติดที่ประตูรถเมล์ประตูใดประตูหนึ่ง เมื่อคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นต้องการขึ้นรถเมล์ เจ้าหน้าที่ประจำรถเมล์จะเปิดสวิตช์ให้ลิฟต์เคลื่อนออกมา คนพิการเข็นเก้าอี้เข็นเข้าไปอยู่ในพื้นลิฟต์ เจ้าหน้าที่ยกลิฟต์ให้สูงขึ้นเท่าพื้นรถเมล์ เพื่อให้คนพิการเข็นรถออกจากลิฟต์ และเข้าไปในรถเมล์ โดยจะมักมีที่ล็อกเก้าอี้เข็นเพื่อป้องกันเก้าอี้เข็นของคนพิการเลื่อนไถล ส่วนการลงจากรถเมล์ ก็ใช้ลิฟต์ยกเก้าอี้เข็นลงเช่นเดียวกัน ในขณะที่คนทั่วไปก้าวขึ้น – ลงบันไดรถเมล์ที่อีกประตูหนึ่ง
นับว่า รถเมล์ติดลิฟต์ ช่วยคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นให้ขึ้นรถเมล์เดินทางไปในที่ต่างๆ ได้ แต่ รถเมล์ติดลิฟต์มีข้อเสียหลายประการ ที่สำคัญ คือ ราคาแพง ฉะนั้น ในแต่ละประเทศ จึงมักจัดให้มีรถเมล์ติดลิฟต์เพียงไม่กี่คัน และวิ่งบริการเพียง ๑ – ๒ เส้นทาง เป็นเหตุให้คนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นไม่ค่อยใช้รถเมล์ติดลิฟต์ เพราะไม่มีบริการในเส้นทางที่ต้องการไป ไม่มีกำหนดว่าจะมาถึงป้ายที่รอเวลาใด และในชั่วโมงเร่งด่วนที่มีคนจำนวนมากเร่งรีบเบียดเสียดกันขึ้น – ลงรถเมล์ การใช้ลิฟต์ของคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นซึ่งใช้เวลา ๔ – ๕ นาทีต่อ ๑ คนจึงกีดขวางการใช้รถเมล์ของคนทั่วไป เป็นเหตุให้คนทั่วไปหงุดหงิด และมีเจตคติเชิงลบต่อคนพิการ บางคนถึงกับพึมพรำว่า “พิการแล้ว ยังออกมาเกะกะทำไม” .โดยไม่ได้นึกถึงว่า....คนพิการก็เป็นพลเมืองไทย เป็นคนที่ต้องกินต้องอยู่ ต้องใช้ปัจจัยสี่เช่นเดียวกับคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ดังนั้น คนพิการทุกประเภท รวมถึงคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นจึงต้องเดินทางไปศึกษา ไปทำงาน ไปหารายได้ ตลอดจน อาจไปจับจ่ายซื้อของท่องเที่ยวเช่นเดียวกับคนทั่วไป ….บางครั้ง คนขับรถเมล์ก็ถือวิสาสะตัดสิน ชะตาชีวิตของคนพิการโดยไม่บริการให้คนพิการขึ้นรถเมล์ !!!
ในขณะที่ คนพิการเสียภาษีเท่ากับคนอื่นๆในสังคม แต่แทบไม่มีบริการขนส่งสาธารณะให้กับคนพิการเลย ดังนั้น ไม่ว่าคนพิการจะมีสมองฉลาดเฉลียวมีร่างกายแข็งแรง และมีศักยภาพพร้อมที่จะศึกษาเล่าเรียนพียงใด ถ้าคนพิการยากจนก็จะไม่มีโอกาสเดินทางไปศึกษาหรือไปทำงาน ต้องจับเจ่าเฝ้าบ้านอยู่ไปวันๆ มีแต่คนพิการที่ครอบครัวพอมีรายได้เท่านั้น ที่สามารถเดินทางโดยรถแท็กซี่ รถรับจ้าง หรือรถส่วนตัวได้
ประเทศที่ตระหนักว่า การให้บริการขนส่งสาธารณะแก่คนพิการเป็นปัจจัยสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจึงพยายามศึกษาหาทาง ที่จะให้คนพิการเดินทางได้สะดวกมากที่สุด โดยยึดในหลักคิดที่ว่า หากคนพิการใช้เก้าอี้เข็นสามารถขึ้นรถเมล์ได้ คนกลุ่มอื่นๆ ย่อมขึ้นรถเมล์ได้เหมือนกัน ไม่ว่า จะเป็นผู้สูงอายุที่ใช้เก้าอี้เข็น ผู้ใช้เก้าอี้เข็นเด็กอ่อน คนใช้ไม้ค้ำยัน คนใช้อุปกรณ์ช่วยช่วยเดิน หญิงตั้งครรภ์ เด็ก เยาวชน สาวนุ่งกระโปรงสั้น สาวใส่ส้นสูง คนเจ็บป่วย และคนไม่แข็งแรง เป็นต้น
แต่....”รถเมล์ติดลิฟต์”ออกแบบให้ใช้ได้เฉพาะ “คนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็น”
ดังนั้น ปัจจุบัน ประเทศที่พัฒนาแล้วจึงพัฒนาบริการขนส่งสาธารณะแก่ประชาชนด้วย “รถเมล์ชานต่ำ” ซึ่งที่ประตูใดประตูหนึ่งของรถเมล์มีทางลาดเลื่อนเข้า – ออก เมื่อเลื่อนออกจะเชื่อมต่อทางเดินเท้ากับพื้นรถเมล์ นั่นคือ คนพิการและผู้สูงอายุที่แข็งแรงสามารถเข็นเก้าอี้เข็นขึ้นทางลาดเข้าไปในรถเมล์ด้วยตนเอง หรือถ้ามีคนช่วยเข็นก็จะสะดวกขึ้น ส่วนเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และคนกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ที่ก้าวขึ้นบันไดรถเมล์ไม่สะดวก ก็สามารถเดินบนทางลาดขึ้น – ลงรถเมล์ได้โดยง่าย ไม่เสี่ยงกับการตกบันไดรถเมล์ หรือเกิดอุบัติเหตุ และใช้เวลาพอๆ กับคนที่ก้าวขึ้นบันไดรถเมล์ทางอีกประตูหนึ่ง
ที่สำคัญ....”รถเมล์ชานต่ำ” ถูกกว่า ”รถเมล์ติดลิฟต์”......ไม่เปลืองภาษีของประชาชน
ชมคลิป...เปรียบเทียบรถเมล์ลิฟต์ กับ รถเมล์ชานต่ำคลิก http://www.tddf.or.th/library/detail.php?contentid=0037&postid=0005519¤tpage=1
เครือข่ายคนพิการมีความเชื่อมั่นว่า การเรียกร้องให้ ขสมก.จัดซื้อรถเมล์ใหม่เป็นแบบ “รถเมล์ชานต่ำ” เป็นการเรียกร้องที่ชอบธรรม ทันสมัย และเป็นสากล เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของคนทั้งมวลในสังคม และประหยัดภาษีของประชาชน โดย ขสมก.ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะคัดค้าน นอกจากประสงค์จะใช้งบประมาณจำนวนมากโดยไม่จำเป็น
เครือข่ายคนพิการคาดหวังว่า ทุกคนในสังคม รัฐบาล และคณะผู้มีส่วนกำหนดนโยบายจะสนับสนุนข้อเสนอแนะ ให้ ขสมก. จัดซื้อรถเมล์ใหม่เป็น”รถเมล์ชานต่ำ”ทุกคัน
ทั้งนี้ หากเครือข่ายคนพิการได้ดำเนินการทุกวิถีทางแล้ว โดยเฉพาะได้นำส่งข้อเสนอแนะ ทั้งต่อ ขสมก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายกรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สื่อมวลชนทุกแขนง และสังคม ทั้งการขอพบชี้แจงโดยตรง แถลงข่าว และเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสาธารณะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง หาก ขสมก.ภายใต้การกำกับของรัฐบาล ยังดึงดันดำเนินการขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชน เครือข่ายคนพิการจำเป็นต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชนโดยใช้มาตรการทางกฎหมายคือ การยื่นฟ้อง ขสมก. ต่อศาลปกครอง….เชิญทุกท่านมีส่วนร่วมโดยติดต่อที่มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย โทร. ๐๒ –๒๘๑-๙๒๘๐ โทรสาร ๐๒-๒๘๑-๙๒๗๐ อีเมล์ office@tddf,or,th เว็บไซต์ http://www.tddf.or.th/ และ เฟสบุก https://www.facebook.com/tddf.or.th (ขนาดไฟล์: 0 ) ....โดย พวงแก้ว กิจธรรม ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
(มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๓ ก.ย. ๕๖)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รถเมล์ชานต่ำ คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภาคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย กลุ่มที่ปรึกษากฎหมายมนุษย์ล้อ และเครือข่ายคนพิการ ได้ติดตามโครงการซื้อรถเมล์ใหม่ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ โดยการเสนอแนะให้ ขสมก. ศึกษาและพิจารณาจัดซื้อรถเมล์ที่ทันสมัย เป็นสากล ราคาไม่แพง และทุกคนใช้ร่วมกันได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว พร้อมกันนั้น เครือข่ายคนพิการได้ดำเนินการศึกษาพบว่า แต่เดิมหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย เมื่อต้องการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นขึ้นรถเมล์ได้ จึงออกแบบรถเมล์ให้มีลิฟต์ยกเก้าอี้เข็นติดที่ประตูรถเมล์ประตูใดประตูหนึ่ง เมื่อคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นต้องการขึ้นรถเมล์ เจ้าหน้าที่ประจำรถเมล์จะเปิดสวิตช์ให้ลิฟต์เคลื่อนออกมา คนพิการเข็นเก้าอี้เข็นเข้าไปอยู่ในพื้นลิฟต์ เจ้าหน้าที่ยกลิฟต์ให้สูงขึ้นเท่าพื้นรถเมล์ เพื่อให้คนพิการเข็นรถออกจากลิฟต์ และเข้าไปในรถเมล์ โดยจะมักมีที่ล็อกเก้าอี้เข็นเพื่อป้องกันเก้าอี้เข็นของคนพิการเลื่อนไถล ส่วนการลงจากรถเมล์ ก็ใช้ลิฟต์ยกเก้าอี้เข็นลงเช่นเดียวกัน ในขณะที่คนทั่วไปก้าวขึ้น – ลงบันไดรถเมล์ที่อีกประตูหนึ่ง ผู้สูงอายุนั่งรถเข็นใช้ทางลาดขึ้นรถเมล์ นับว่า รถเมล์ติดลิฟต์ ช่วยคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นให้ขึ้นรถเมล์เดินทางไปในที่ต่างๆ ได้ แต่ รถเมล์ติดลิฟต์มีข้อเสียหลายประการ ที่สำคัญ คือ ราคาแพง ฉะนั้น ในแต่ละประเทศ จึงมักจัดให้มีรถเมล์ติดลิฟต์เพียงไม่กี่คัน และวิ่งบริการเพียง ๑ – ๒ เส้นทาง เป็นเหตุให้คนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นไม่ค่อยใช้รถเมล์ติดลิฟต์ เพราะไม่มีบริการในเส้นทางที่ต้องการไป ไม่มีกำหนดว่าจะมาถึงป้ายที่รอเวลาใด และในชั่วโมงเร่งด่วนที่มีคนจำนวนมากเร่งรีบเบียดเสียดกันขึ้น – ลงรถเมล์ การใช้ลิฟต์ของคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นซึ่งใช้เวลา ๔ – ๕ นาทีต่อ ๑ คนจึงกีดขวางการใช้รถเมล์ของคนทั่วไป เป็นเหตุให้คนทั่วไปหงุดหงิด และมีเจตคติเชิงลบต่อคนพิการ บางคนถึงกับพึมพรำว่า “พิการแล้ว ยังออกมาเกะกะทำไม” .โดยไม่ได้นึกถึงว่า....คนพิการก็เป็นพลเมืองไทย เป็นคนที่ต้องกินต้องอยู่ ต้องใช้ปัจจัยสี่เช่นเดียวกับคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ดังนั้น คนพิการทุกประเภท รวมถึงคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นจึงต้องเดินทางไปศึกษา ไปทำงาน ไปหารายได้ ตลอดจน อาจไปจับจ่ายซื้อของท่องเที่ยวเช่นเดียวกับคนทั่วไป ….บางครั้ง คนขับรถเมล์ก็ถือวิสาสะตัดสิน ชะตาชีวิตของคนพิการโดยไม่บริการให้คนพิการขึ้นรถเมล์ !!! คนพิการนั่งรถเข็นใช้ทางลาดขึ้นรถเมล์ ในขณะที่ คนพิการเสียภาษีเท่ากับคนอื่นๆในสังคม แต่แทบไม่มีบริการขนส่งสาธารณะให้กับคนพิการเลย ดังนั้น ไม่ว่าคนพิการจะมีสมองฉลาดเฉลียวมีร่างกายแข็งแรง และมีศักยภาพพร้อมที่จะศึกษาเล่าเรียนพียงใด ถ้าคนพิการยากจนก็จะไม่มีโอกาสเดินทางไปศึกษาหรือไปทำงาน ต้องจับเจ่าเฝ้าบ้านอยู่ไปวันๆ มีแต่คนพิการที่ครอบครัวพอมีรายได้เท่านั้น ที่สามารถเดินทางโดยรถแท็กซี่ รถรับจ้าง หรือรถส่วนตัวได้ ประเทศที่ตระหนักว่า การให้บริการขนส่งสาธารณะแก่คนพิการเป็นปัจจัยสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจึงพยายามศึกษาหาทาง ที่จะให้คนพิการเดินทางได้สะดวกมากที่สุด โดยยึดในหลักคิดที่ว่า หากคนพิการใช้เก้าอี้เข็นสามารถขึ้นรถเมล์ได้ คนกลุ่มอื่นๆ ย่อมขึ้นรถเมล์ได้เหมือนกัน ไม่ว่า จะเป็นผู้สูงอายุที่ใช้เก้าอี้เข็น ผู้ใช้เก้าอี้เข็นเด็กอ่อน คนใช้ไม้ค้ำยัน คนใช้อุปกรณ์ช่วยช่วยเดิน หญิงตั้งครรภ์ เด็ก เยาวชน สาวนุ่งกระโปรงสั้น สาวใส่ส้นสูง คนเจ็บป่วย และคนไม่แข็งแรง เป็นต้น รวมภาพ ประชาชนทุกเภท ทุกวัย ที่ใช้รถเมล์ประจำทาง แต่....”รถเมล์ติดลิฟต์”ออกแบบให้ใช้ได้เฉพาะ “คนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็น” ดังนั้น ปัจจุบัน ประเทศที่พัฒนาแล้วจึงพัฒนาบริการขนส่งสาธารณะแก่ประชาชนด้วย “รถเมล์ชานต่ำ” ซึ่งที่ประตูใดประตูหนึ่งของรถเมล์มีทางลาดเลื่อนเข้า – ออก เมื่อเลื่อนออกจะเชื่อมต่อทางเดินเท้ากับพื้นรถเมล์ นั่นคือ คนพิการและผู้สูงอายุที่แข็งแรงสามารถเข็นเก้าอี้เข็นขึ้นทางลาดเข้าไปในรถเมล์ด้วยตนเอง หรือถ้ามีคนช่วยเข็นก็จะสะดวกขึ้น ส่วนเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และคนกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ที่ก้าวขึ้นบันไดรถเมล์ไม่สะดวก ก็สามารถเดินบนทางลาดขึ้น – ลงรถเมล์ได้โดยง่าย ไม่เสี่ยงกับการตกบันไดรถเมล์ หรือเกิดอุบัติเหตุ และใช้เวลาพอๆ กับคนที่ก้าวขึ้นบันไดรถเมล์ทางอีกประตูหนึ่ง ที่สำคัญ....”รถเมล์ชานต่ำ” ถูกกว่า ”รถเมล์ติดลิฟต์”......ไม่เปลืองภาษีของประชาชน ชมคลิป...เปรียบเทียบรถเมล์ลิฟต์ กับ รถเมล์ชานต่ำคลิก http://www.tddf.or.th/library/detail.php?contentid=0037&postid=0005519¤tpage=1 เครือข่ายคนพิการมีความเชื่อมั่นว่า การเรียกร้องให้ ขสมก.จัดซื้อรถเมล์ใหม่เป็นแบบ “รถเมล์ชานต่ำ” เป็นการเรียกร้องที่ชอบธรรม ทันสมัย และเป็นสากล เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของคนทั้งมวลในสังคม และประหยัดภาษีของประชาชน โดย ขสมก.ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะคัดค้าน นอกจากประสงค์จะใช้งบประมาณจำนวนมากโดยไม่จำเป็น เครือข่ายคนพิการคาดหวังว่า ทุกคนในสังคม รัฐบาล และคณะผู้มีส่วนกำหนดนโยบายจะสนับสนุนข้อเสนอแนะ ให้ ขสมก. จัดซื้อรถเมล์ใหม่เป็น”รถเมล์ชานต่ำ”ทุกคัน ตึกศาลปกครอง ทั้งนี้ หากเครือข่ายคนพิการได้ดำเนินการทุกวิถีทางแล้ว โดยเฉพาะได้นำส่งข้อเสนอแนะ ทั้งต่อ ขสมก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายกรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สื่อมวลชนทุกแขนง และสังคม ทั้งการขอพบชี้แจงโดยตรง แถลงข่าว และเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสาธารณะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง หาก ขสมก.ภายใต้การกำกับของรัฐบาล ยังดึงดันดำเนินการขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชน เครือข่ายคนพิการจำเป็นต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชนโดยใช้มาตรการทางกฎหมายคือ การยื่นฟ้อง ขสมก. ต่อศาลปกครอง….เชิญทุกท่านมีส่วนร่วมโดยติดต่อที่มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย โทร. ๐๒ –๒๘๑-๙๒๘๐ โทรสาร ๐๒-๒๘๑-๙๒๗๐ อีเมล์ office@tddf,or,th เว็บไซต์ http://www.tddf.or.th/ และ เฟสบุก https://www.facebook.com/tddf.or.th....โดย พวงแก้ว กิจธรรม ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๓ ก.ย. ๕๖)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)