เครือข่ายคนพิการ รุดพบประธานบอร์ดชาติ เร่งเจรจา ขสมก. แก้ TOR จัดซื้อรถเมล์ใหม่ ห้ามเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2556 เวลา 14.00 น. เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน นำโดย นายภพต์ เทภาสิต ได้นำคนพิการกว่า 20 คน ไปยื่นหนังสือต่อ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ ห้องปกรณ์ อังสุสิงห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ในโอกาสที่มาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ โดยเครือข่ายคนพิการขอให้คณะกรรมการส่งเสริมฯ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ช่วยประสานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการจัดซื้อรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ (NGV) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ทบทวนร่างขอบเขตของงาน (TOR) โครงการจัดซื้อรถโดยสารประจำทางดังกล่าวใหม่ พร้อมยื่นข้อเสนอเชิงนโยบาย ๓ ข้อ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ คือ
๑. ขอให้ ขสมก. กำหนดให้มีการจัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภทในโครงการจัดซื้อรถเมล์ใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ ทั้ง ๓,๑๘๓ คัน เพื่อให้ทุกคน รวมทั้งคนพิการทุกประเภทสามารถใช้รถเมล์ดังกล่าวได้ทุกคัน
๒. ขอให้ ขสมก. ยกเลิกการติดตั้งลิฟต์ที่รถเมล์ เนื่องจากใช้ได้เฉพาะคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นเท่านั้น ราคาแพง ใช้เวลาขึ้น - ลงรถเมล์หลายนาที และต้องมีระบบดูแลรักษาอย่างดี
๓. ขอให้ ขสมก. กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะทั่วไปของรถเมล์ ทั้ง ๓,๑๘๓ คัน ให้มีโครงสร้างเป็นรถเมล์ชานต่ำ (Low Floor) ที่มีพื้นรถภายในห้องโดยสารเรียบและไม่มีขั้นบันไดบริเวณประตูกลางรถ (No Step Bus) พร้อมทั้งมีทางลาดชนิดเลื่อนเข้า - ออก บริเวณใต้ประตูตรงกลางรถซึ่งมีราคาถูก ใช้งานง่าย ไม่ต้องบำรุงรักษามาก และใช้เวลาน้อยในการขึ้น - ลงรถเมล์ เพื่อให้คนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ใช้รถเข็นเด็กอ่อน คนเจ็บป่วย คนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง และผู้หญิงใส่กระโปรงสั้น / รองเท้าส้นสูง เป็นต้น ขึ้น – ลงรถเมล์ได้โดยสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว ซึ่งช่วยป้องกันคนพิการตกเป็นจำเลยของสังคมเพราะใช้เวลามากในการขึ้นรถเมล์
๔. ขอให้ ขสมก. พิจารณาแต่งตั้งผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการยกร่าง TOR และมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าวทุกขั้นตอน เพื่อเป็นหลักประกันว่ารถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่โดยภาษีของประชาชน ทุกคนสามารถขึ้นได้ทุกคัน
นายภพต์ เทภาสิต นายกสมาคมคนพิการนนทบุรี กล่าวว่า การออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของคนพิการในเรื่องการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ของ ขสมก. โดยการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติชาติ เกิดขึ้นเนื่องจาก ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ในสังคมยังมีเจตคติที่ไม่ถูกต้องต่อคนพิการและความพิการ มองคนพิการว่าเป็นกลุ่มคนที่อ่อนแอ เป็นภาระ ด้อยโอกาส และไม่สามารถสร้างผลผลิตให้กับสังคม/ประเทศชาติได้ จำต้องได้รับการสงเคราะห์ ช่วยเหลือตามที่รัฐหรือผู้ที่มีอำนาจจัดให้เท่านั้น รวมถึง มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนพิการว่าเป็นปัญหาเชิงปัจเจก เป็นปัญหาของคนชายขอบที่เข้าไม่ถึงโอกาสเพราะปัจจัยส่วนบุคคล คนพิการจึงเป็นกลุ่มคนกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกลืมจากสังคม ถูกละเมิดสิทธิ และถูกเลือกปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทั้งที่ รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้ให้หลักประกันเรื่องความเสมอภาค/ความเท่าเทียมกันของบุคคลไว้ และใน ม.๑๕ พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๕๖ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักเรื่องคนพิการ ยังห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ อีกด้วย
ต่อกรณีที่ ขสมก. ออกร่างทีโออาร์ ๒ ฉบับ กำหนดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการเฉพาะในรถปรับอากาศ ส่วนรถเมล์ธรรมดาคนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม เข้าข่ายการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ซึ่งไม่ใช่กรณี “ลืม” นึกถึงคนพิการ แต่น่าจะเป็นกรณี “ไม่ใส่ใจ” คนพิการมากกว่า เพราะทางเครือข่ายฯได้เกาะติดสถานการณ์และแสดงจุดยืนเรื่องนี้กับ ขสมก. มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ส่วนที่ ขสมก. เลือกใช้ลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ แทนการใช้ทางลาด เนื่องจาก ขสมก. ยืนยันที่จะใช้รถเมล์พื้นสูงแบบเดิม แทนรถเมล์ชานต่ำ หรือ “โลวฟลอร์บัส”ตามข้อเสนอของเครือข่ายฯ โดยอ้างเหตุผลเรื่องรถชานต่ำไม่สามารถใช้ได้หากเกิดน้ำท่วม ซึ่งฟังไม่ขึ้น เพราะรัฐบาลมีแผนที่จะจ้างเอกชนทำแผนบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท เพื่อป้องกันน้ำท่วมในอนาคต ที่สำคัญ น้ำไม่ได้ท่วมทุกวัน ถ้าน้ำท่วมจริงรถเมล์ติดลิฟต์ก็ไม่สามารถใช้งานได้อยู่ดี และคนพิการที่ใช้รถเข็นคงไม่มารอขึ้นรถเมล์หากน้ำท่วมถึงระดับรถเมล์วิ่งไม่ได้ ต่อกรณีนี้ จึงไม่แน่ใจว่า ขสมก. มีธงอยู่แล้ว หรือมีการ “รับใบสั่ง” ใครมาหรือไม่ ทั้งที่ทราบดีว่า “รถเมล์ชานต่ำ” เป็นรถที่ถูกออกแบบตามแนวคิด การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม ( Universal Design : UD ) เพื่อให้บุคคลทุกเพศทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ใช้รถเข็นเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ คนเจ็บป่วย และคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง สามารถขึ้น-ลงรถเมล์ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว
นายภพต์ กล่าวทิ้งท้ายว่า คนพิการ ไม่ต้องการ “รถติดลิฟต์” ซึ่งเป็นเรื่องที่ ขสมก. คิดให้และตัดสินใจแทนคนพิการ ทั้งนี้ นอกจากตัวลิฟต์จะมีราคาแพง และทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยใช่เหตุแล้ว “ลิฟต์” ไม่ใช่ความต้องการของคนพิการ เพราะการขึ้น - ลง “รถลิฟต์” แต่ละครั้งใช้เวลานาน ซึ่งกระทบกับผู้ใช้รถเมล์ที่ต้องรอนาน โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ทุกคนต่างเร่งรีบเดินทาง หากมีคนพิการออกมาใช้บริการรถเมล์จำนวนมาก จะทำให้คนพิการตกเป็น “จำเลย” ของสังคมโดยไม่เจตนา นอกจากนั้น “รถติดลิฟต์” อำนวยความสะดวกได้เฉพาะคนพิการที่ใช้เก้าอี้รถเข็นเท่านั้น ขณะที่ “รถเมล์ชานต่ำ” สามารถตอบสนองความต้องการของคนพิการทุกประเภทได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนตาบอด คนหูหนวก คนพิการทางสมอง/สติปัญญา รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม หรือ กลุ่มคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ใช้ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน หรือเครื่องช่วยเดินแบบมีล้อ ก็สามารถใช้รถเมล์ชานต่ำร่วมกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย จึงขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้โปรดทบทวนสเปครถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่อีกครั้งหนึ่ง
นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กล่าวสั้น ๆ ว่า ตนรับทราบและเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายคนพิการ เบื้องต้นจะให้ พก. ช่วยรวบรวมข้อมูลและรายเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าว เพื่อปรึกษาหารือกับกระทรวงคมนาคมชั้นหนึ่งก่อน หากได้ผลประการใดจะแจ้งให้ทราบโดยเร็ว.( ขอบคุณ ...เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๙ ก.ย.๕๖)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน นำโดย นายภพต์ เทภาสิต ได้นำคนพิการกว่า 20 คน ไปยื่นหนังสือต่อ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2556 เวลา 14.00 น. เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน นำโดย นายภพต์ เทภาสิต ได้นำคนพิการกว่า 20 คน ไปยื่นหนังสือต่อ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ ห้องปกรณ์ อังสุสิงห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ในโอกาสที่มาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ โดยเครือข่ายคนพิการขอให้คณะกรรมการส่งเสริมฯ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ช่วยประสานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการจัดซื้อรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ (NGV) จำนวน ๓,๑๘๓ คัน ทบทวนร่างขอบเขตของงาน (TOR) โครงการจัดซื้อรถโดยสารประจำทางดังกล่าวใหม่ พร้อมยื่นข้อเสนอเชิงนโยบาย ๓ ข้อ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ คือ ๑. ขอให้ ขสมก. กำหนดให้มีการจัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภทในโครงการจัดซื้อรถเมล์ใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ ทั้ง ๓,๑๘๓ คัน เพื่อให้ทุกคน รวมทั้งคนพิการทุกประเภทสามารถใช้รถเมล์ดังกล่าวได้ทุกคัน ๒. ขอให้ ขสมก. ยกเลิกการติดตั้งลิฟต์ที่รถเมล์ เนื่องจากใช้ได้เฉพาะคนพิการที่ใช้เก้าอี้เข็นเท่านั้น ราคาแพง ใช้เวลาขึ้น - ลงรถเมล์หลายนาที และต้องมีระบบดูแลรักษาอย่างดี ๓. ขอให้ ขสมก. กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะทั่วไปของรถเมล์ ทั้ง ๓,๑๘๓ คัน ให้มีโครงสร้างเป็นรถเมล์ชานต่ำ (Low Floor) ที่มีพื้นรถภายในห้องโดยสารเรียบและไม่มีขั้นบันไดบริเวณประตูกลางรถ (No Step Bus) พร้อมทั้งมีทางลาดชนิดเลื่อนเข้า - ออก บริเวณใต้ประตูตรงกลางรถซึ่งมีราคาถูก ใช้งานง่าย ไม่ต้องบำรุงรักษามาก และใช้เวลาน้อยในการขึ้น - ลงรถเมล์ เพื่อให้คนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ใช้รถเข็นเด็กอ่อน คนเจ็บป่วย คนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง และผู้หญิงใส่กระโปรงสั้น / รองเท้าส้นสูง เป็นต้น ขึ้น – ลงรถเมล์ได้โดยสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว ซึ่งช่วยป้องกันคนพิการตกเป็นจำเลยของสังคมเพราะใช้เวลามากในการขึ้นรถเมล์ ๔. ขอให้ ขสมก. พิจารณาแต่งตั้งผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการยกร่าง TOR และมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าวทุกขั้นตอน เพื่อเป็นหลักประกันว่ารถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่โดยภาษีของประชาชน ทุกคนสามารถขึ้นได้ทุกคัน นายภพต์ เทภาสิต นายกสมาคมคนพิการนนทบุรี กล่าวว่า การออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของคนพิการในเรื่องการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ของ ขสมก. โดยการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติชาติ เกิดขึ้นเนื่องจาก ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ในสังคมยังมีเจตคติที่ไม่ถูกต้องต่อคนพิการและความพิการ มองคนพิการว่าเป็นกลุ่มคนที่อ่อนแอ เป็นภาระ ด้อยโอกาส และไม่สามารถสร้างผลผลิตให้กับสังคม/ประเทศชาติได้ จำต้องได้รับการสงเคราะห์ ช่วยเหลือตามที่รัฐหรือผู้ที่มีอำนาจจัดให้เท่านั้น รวมถึง มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนพิการว่าเป็นปัญหาเชิงปัจเจก เป็นปัญหาของคนชายขอบที่เข้าไม่ถึงโอกาสเพราะปัจจัยส่วนบุคคล คนพิการจึงเป็นกลุ่มคนกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกลืมจากสังคม ถูกละเมิดสิทธิ และถูกเลือกปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทั้งที่ รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้ให้หลักประกันเรื่องความเสมอภาค/ความเท่าเทียมกันของบุคคลไว้ และใน ม.๑๕ พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๕๖ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักเรื่องคนพิการ ยังห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ อีกด้วย เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน นำโดย นายภพต์ เทภาสิต ได้นำคนพิการกว่า 20 คน ไปยื่นหนังสือต่อ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต่อกรณีที่ ขสมก. ออกร่างทีโออาร์ ๒ ฉบับ กำหนดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการเฉพาะในรถปรับอากาศ ส่วนรถเมล์ธรรมดาคนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม เข้าข่ายการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ซึ่งไม่ใช่กรณี “ลืม” นึกถึงคนพิการ แต่น่าจะเป็นกรณี “ไม่ใส่ใจ” คนพิการมากกว่า เพราะทางเครือข่ายฯได้เกาะติดสถานการณ์และแสดงจุดยืนเรื่องนี้กับ ขสมก. มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ส่วนที่ ขสมก. เลือกใช้ลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ แทนการใช้ทางลาด เนื่องจาก ขสมก. ยืนยันที่จะใช้รถเมล์พื้นสูงแบบเดิม แทนรถเมล์ชานต่ำ หรือ “โลวฟลอร์บัส”ตามข้อเสนอของเครือข่ายฯ โดยอ้างเหตุผลเรื่องรถชานต่ำไม่สามารถใช้ได้หากเกิดน้ำท่วม ซึ่งฟังไม่ขึ้น เพราะรัฐบาลมีแผนที่จะจ้างเอกชนทำแผนบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท เพื่อป้องกันน้ำท่วมในอนาคต ที่สำคัญ น้ำไม่ได้ท่วมทุกวัน ถ้าน้ำท่วมจริงรถเมล์ติดลิฟต์ก็ไม่สามารถใช้งานได้อยู่ดี และคนพิการที่ใช้รถเข็นคงไม่มารอขึ้นรถเมล์หากน้ำท่วมถึงระดับรถเมล์วิ่งไม่ได้ ต่อกรณีนี้ จึงไม่แน่ใจว่า ขสมก. มีธงอยู่แล้ว หรือมีการ “รับใบสั่ง” ใครมาหรือไม่ ทั้งที่ทราบดีว่า “รถเมล์ชานต่ำ” เป็นรถที่ถูกออกแบบตามแนวคิด การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม ( Universal Design : UD ) เพื่อให้บุคคลทุกเพศทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ใช้รถเข็นเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ คนเจ็บป่วย และคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง สามารถขึ้น-ลงรถเมล์ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน นำโดย นายภพต์ เทภาสิต ได้นำคนพิการกว่า 20 คน ไปยื่นหนังสือต่อ นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายภพต์ กล่าวทิ้งท้ายว่า คนพิการ ไม่ต้องการ “รถติดลิฟต์” ซึ่งเป็นเรื่องที่ ขสมก. คิดให้และตัดสินใจแทนคนพิการ ทั้งนี้ นอกจากตัวลิฟต์จะมีราคาแพง และทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยใช่เหตุแล้ว “ลิฟต์” ไม่ใช่ความต้องการของคนพิการ เพราะการขึ้น - ลง “รถลิฟต์” แต่ละครั้งใช้เวลานาน ซึ่งกระทบกับผู้ใช้รถเมล์ที่ต้องรอนาน โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ทุกคนต่างเร่งรีบเดินทาง หากมีคนพิการออกมาใช้บริการรถเมล์จำนวนมาก จะทำให้คนพิการตกเป็น “จำเลย” ของสังคมโดยไม่เจตนา นอกจากนั้น “รถติดลิฟต์” อำนวยความสะดวกได้เฉพาะคนพิการที่ใช้เก้าอี้รถเข็นเท่านั้น ขณะที่ “รถเมล์ชานต่ำ” สามารถตอบสนองความต้องการของคนพิการทุกประเภทได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนตาบอด คนหูหนวก คนพิการทางสมอง/สติปัญญา รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม หรือ กลุ่มคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ใช้ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน หรือเครื่องช่วยเดินแบบมีล้อ ก็สามารถใช้รถเมล์ชานต่ำร่วมกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย จึงขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้โปรดทบทวนสเปครถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่อีกครั้งหนึ่ง นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กล่าวสั้น ๆ ว่า ตนรับทราบและเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายคนพิการ เบื้องต้นจะให้ พก. ช่วยรวบรวมข้อมูลและรายเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อรถเมล์ดังกล่าว เพื่อปรึกษาหารือกับกระทรวงคมนาคมชั้นหนึ่งก่อน หากได้ผลประการใดจะแจ้งให้ทราบโดยเร็ว.( ขอบคุณ ...เครือข่ายปฏิบัติการรถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๙ ก.ย.๕๖)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)