คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯ วุฒิสภา กับการติดตามเรื่อง ‘รถเมล์ชานต่ำ’ ที่ทุกคนใช้ได้สะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว
ภายหลังที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ วุฒิสภา และเครือข่ายคนพิการ ได้เปิดแถลงข่าว “รถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน ด้วยความสะดวกปลอดภัย” เมื่อวันจันทร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๖ ที่อาคารรัฐสภา ได้มีเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ รวมถึงประชาชนทั่วไปให้ความสนใจและติดตามความคืบหน้าของโครงการนี้ โดยมีผู้ออกมาแสดงความคิดเห็น และมีความเคลื่อนไหวตามมาอย่างต่อเนื่อง ประชาชนทุกฝ่ายร่วมสนับสนุนแนวคิด การใช้ “รถชานต่ำ” ที่ติดตั้งทางลาดเลื่อนเข้า-ออกบริเวณประตูรถ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คนทุกเพศ ทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ใช้รถเข็นเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ คนเจ็บป่วย คนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง แม้กระทั่งสาวออฟฟิศที่ใส่รองเท้าส้นสูงหรือใส่กระโปรงสั้นขึ้นรถเมล์ ก็จะได้รับความสะดวกตามไปด้วย
โครงการจัดซื้อรถเมล์จำนวน ๓,๑๘๓ คันขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ เม.ย. ๒๕๕๖ ได้แยกเป็นรถเมล์ปรับอากาศหรือรถปอ. จำนวน ๑,๕๒๔ คัน ซึ่งติดตั้งลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการขึ้น-ลงรถเมล์ รวมราคาคันละ ๔.๕ ล้านบาท ส่วนรถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อนจำนวน ๑,๖๕๙ คัน ไม่ติดตั้งลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ราคาคันละ ๓.๘ ล้านบาท เครือข่ายคนพิการจึงร้องเรียนว่าคนพิการใช้เก้าอี้เข็นไม่ต้องการใช้ลิฟต์ซึ่งติดตั้งที่รถเมล์ พร้อมทั้ง เรียกร้องว่า รถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่ต้องเป็น“รถชานต่ำ”ที่ติดตั้งทางลาดเลื่อนเข้า - ออกบริเวณประตูรถ เพื่อให้“ประชาชนทุกคนในสังคม” ใช้ได้ทุกคัน
การที่เครือข่ายคนพิการออกมาเรียกร้องขอให้ซื้อรถเมล์ชานต่ำ แทนที่จะใช้รถเมล์ที่ติดตั้งลิฟต์จึงไม่ใช่การเรียกร้องเพื่อเอื้อประโยชน์ เพียงแค่สำหรับคนพิการเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงประโยชน์และความสะดวกในการให้บริการแก่คนทุกกลุ่มของสังคม เพื่อความเท่าเทียมกันในสังคมเป็นสำคัญ
รถเมล์ที่ติดตั้งลิฟต์ สร้างความยุ่งยากใช้เวลาในการขึ้นนาน ๓ - ๕ นาที/คน ซึ่งอาจทำให้คนพิการตกเป็นจำเลยของสังคมไปโดยไม่รู้ตัว นอกจากนั้น ลิฟต์ยังมีราคาสูง ค่าซ่อมบำรุงค่อนข้างแพง ที่สำคัญไม่สามารถรองรับการใช้งานได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ใช้ได้เฉพาะผู้โดยสารที่ใช้รถเข็นเท่านั้น
ในขณะที่รถเมล์ชานต่ำมีทางลาด ราคาถูกกว่า สามารถขึ้น-ลงได้ทันที ใช้เวลาในการขึ้น-ลงแต่ละครั้งน้อยกว่า ๑ นาที การออกแบบให้เป็นรถชานต่ำจึงต้องออกแบบให้มีความเป็นสากล เป็นธรรม และเกิดความเท่าเทียมกันในสังคมอย่างแท้จริง เหตุผลประกอบอีกอย่างคือ รถชานสูงเป็นรถสมัยเก่า ซึ่งขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเลิกใช้กันหมดแล้ว ดังนั้น ขสมก.จึงควรนำไทยสู่ความเป็นสากลอย่างแท้จริง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย
ในเรื่องดังกล่าว คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯได้ติดตามว่ามีหน่วยงานและคณะทำงานใดบ้างที่ร่วมขับเคลื่อนผลักดันให้ข้อเรียกร้องนี้เกิดผลและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกคน ผลเป็นดังนี้
๑.คณะทำงานยกร่างเอกสารประกวดราคาโครงการจัดซื้อรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ใช้เชื้อ เพลิงเอ็นจีวี ของกระทรวงคมนาคม โดยการนำของ นายนเรศ บุญเปี่ยม รองผู้อำนวยการ ขสมก. รับเป็นเจ้าภาพเจรจาหารือ แต่ยังไม่ได้กำหนดวันนัดหมายหรือการประชุมหารือร่วมกัน อย่างไรก็ตามคาดว่าจะมีขึ้นเร็วๆ นี้
๒.เครือข่ายคนพิการได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติโดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุม เครือข่ายคนพิการได้ยื่นหนังสือแนวทางและข้อเสนอทั้งสิ้น ๔ ข้อในกรณีเกี่ยวข้องกับรถโดยสารประจำทางสาธารณะ ซึ่งนางปวีณา หงสกุล ได้นำเข้าหารือในที่ประชุม และมีมติให้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้มีการพิจารณาสนับสนุนตามข้อเสนอแนะดังกล่าว
๓.สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เข้าร่วมหารือกับกลุ่มที่ปรึกษากฎหมายมนุษย์ล้อ เพื่อเตรียมการใช้มาตรการ ทางกฎหมาย หากรัฐบาล และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ
เรียกร้อง
๔.เครือข่ายเยาวชน คนรุ่นใหม่ใส่ใจสังคม กลุ่ม Social Media รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ก็รวมสนับสนุนการขับเคลื่อนร่วมกัน หากรัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับข้อเสนอ “ซื้อรถชานต่ำ ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” องค์กรเครือข่ายต่างๆ พร้อมขับเคลื่อน เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนและหน่วยงาน
๕.สื่อออนไลน์ มีการนำเสนอเปรียบเทียบรถเมล์ชานต่ำกับรถเมล์ติดลิฟต์ และเชิญชวนผู้สนใจเข้าดูข้อมูลที่ http://youtu.be/b_td1Yhdjc0 (ขนาดไฟล์: 0 )
ด้วยสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร การนำรถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อนมาวิ่งให้บริการประชาชนจำนวน ๑,๖๕๙ คัน สร้างความเสื่อมทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ ก่อให้เกิดภาวะทางอารมณ์ และความเครียด ซึ่งนำไปสู่การมีปัญหาสุขภาพระยะยาวทั้งพนักงานขับรถ พนักงานเก็บเงิน แม้แต่กระทั่งประชาชนผู้โดยสาร นั่นแสดงว่า รถร้อนไม่เหมาะใช้งานในประเทศที่มีสภาพอากาศแบบบ้านเรา แม้ว่าจะเป็นรถเมล์ในโครงการรถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน ก็ควรต้องบริการด้วยรถเมล์ปรับอากาศจึงจะเหมาะสม เพื่อยกระดับสุขภาพกายและใจของประชาชนทั่วไปที่โดยสารรถเมล์ผู้ด้อยโอกาส คนพิการหรือคนทุพพลภาพก็สมควรที่จะได้รับความสะดวกสบายเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้รับผิดชอบจัดซื้อรถเมล์จึงควรพิจารณายกระดับมาตรฐานการให้บริการรถเมล์ สาธารณะที่ดีขึ้นสำหรับคนทุกชั้น และทุกระดับ
ท้ายที่สุดแล้ว “รถเมล์ชานต่ำ” จึงไม่ใช่แค่การเรียกร้องเพื่อกลุ่มคนพิการหรือเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เท่านั้น หากแต่เป็นการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในสังคมให้แก่คนทุกกลุ่ม ในสังคม ให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โทร.๐๒-๘๓๑๙๒๒๕ โทรสาร ๐๒-๘๓๑๙๒๒๖ สายด่วนวุฒิสภา ๑๑๐๒ หรือส่งจดหมาย/เอกสาร/ข้อร้องเรียนไปที่ “ตู้ปวงชนชาวไทย” ไปรษณีย์รัฐสภา กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๕สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถนนอู่ทองใน ดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ email : dek_senate@hotmail.co.th หรือ Facebook: กมธ.พัฒนาสังคม หรือกลุ่มงานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็กฯ วุฒิสภา โทร.๐๒-๘๓๑-๙๒๒๕-๖ แฟกซ์ ๐๒-๘๓๑-๙๒๒๖
ขอบคุณ... http://www.naewna.com/lady/columnist/8721
แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๑ ก.ย.๕๖
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คนพิการนั่งรถเข็น เข็นรถขึ้นทางลาดรถเมล์ชานต่ำ ภายหลังที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรีผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ วุฒิสภา และเครือข่ายคนพิการ ได้เปิดแถลงข่าว “รถเมล์เพื่อประชาชน ทุกคนต้องขึ้นได้ทุกคัน ด้วยความสะดวกปลอดภัย” เมื่อวันจันทร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๖ ที่อาคารรัฐสภา ได้มีเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการ รวมถึงประชาชนทั่วไปให้ความสนใจและติดตามความคืบหน้าของโครงการนี้ โดยมีผู้ออกมาแสดงความคิดเห็น และมีความเคลื่อนไหวตามมาอย่างต่อเนื่อง ประชาชนทุกฝ่ายร่วมสนับสนุนแนวคิด การใช้ “รถชานต่ำ” ที่ติดตั้งทางลาดเลื่อนเข้า-ออกบริเวณประตูรถ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คนทุกเพศ ทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ใช้รถเข็นเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ คนเจ็บป่วย คนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง แม้กระทั่งสาวออฟฟิศที่ใส่รองเท้าส้นสูงหรือใส่กระโปรงสั้นขึ้นรถเมล์ ก็จะได้รับความสะดวกตามไปด้วย โครงการจัดซื้อรถเมล์จำนวน ๓,๑๘๓ คันขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ เม.ย. ๒๕๕๖ ได้แยกเป็นรถเมล์ปรับอากาศหรือรถปอ. จำนวน ๑,๕๒๔ คัน ซึ่งติดตั้งลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการขึ้น-ลงรถเมล์ รวมราคาคันละ ๔.๕ ล้านบาท ส่วนรถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อนจำนวน ๑,๖๕๙ คัน ไม่ติดตั้งลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ราคาคันละ ๓.๘ ล้านบาท เครือข่ายคนพิการจึงร้องเรียนว่าคนพิการใช้เก้าอี้เข็นไม่ต้องการใช้ลิฟต์ซึ่งติดตั้งที่รถเมล์ พร้อมทั้ง เรียกร้องว่า รถเมล์ที่จะจัดซื้อใหม่ต้องเป็น“รถชานต่ำ”ที่ติดตั้งทางลาดเลื่อนเข้า - ออกบริเวณประตูรถ เพื่อให้“ประชาชนทุกคนในสังคม” ใช้ได้ทุกคัน รถเมล์ชานต่ำ การที่เครือข่ายคนพิการออกมาเรียกร้องขอให้ซื้อรถเมล์ชานต่ำ แทนที่จะใช้รถเมล์ที่ติดตั้งลิฟต์จึงไม่ใช่การเรียกร้องเพื่อเอื้อประโยชน์ เพียงแค่สำหรับคนพิการเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงประโยชน์และความสะดวกในการให้บริการแก่คนทุกกลุ่มของสังคม เพื่อความเท่าเทียมกันในสังคมเป็นสำคัญ รถเมล์ที่ติดตั้งลิฟต์ สร้างความยุ่งยากใช้เวลาในการขึ้นนาน ๓ - ๕ นาที/คน ซึ่งอาจทำให้คนพิการตกเป็นจำเลยของสังคมไปโดยไม่รู้ตัว นอกจากนั้น ลิฟต์ยังมีราคาสูง ค่าซ่อมบำรุงค่อนข้างแพง ที่สำคัญไม่สามารถรองรับการใช้งานได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ใช้ได้เฉพาะผู้โดยสารที่ใช้รถเข็นเท่านั้น ในขณะที่รถเมล์ชานต่ำมีทางลาด ราคาถูกกว่า สามารถขึ้น-ลงได้ทันที ใช้เวลาในการขึ้น-ลงแต่ละครั้งน้อยกว่า ๑ นาที การออกแบบให้เป็นรถชานต่ำจึงต้องออกแบบให้มีความเป็นสากล เป็นธรรม และเกิดความเท่าเทียมกันในสังคมอย่างแท้จริง เหตุผลประกอบอีกอย่างคือ รถชานสูงเป็นรถสมัยเก่า ซึ่งขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเลิกใช้กันหมดแล้ว ดังนั้น ขสมก.จึงควรนำไทยสู่ความเป็นสากลอย่างแท้จริง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย ในเรื่องดังกล่าว คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯได้ติดตามว่ามีหน่วยงานและคณะทำงานใดบ้างที่ร่วมขับเคลื่อนผลักดันให้ข้อเรียกร้องนี้เกิดผลและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกคน ผลเป็นดังนี้ ๑.คณะทำงานยกร่างเอกสารประกวดราคาโครงการจัดซื้อรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ใช้เชื้อ เพลิงเอ็นจีวี ของกระทรวงคมนาคม โดยการนำของ นายนเรศ บุญเปี่ยม รองผู้อำนวยการ ขสมก. รับเป็นเจ้าภาพเจรจาหารือ แต่ยังไม่ได้กำหนดวันนัดหมายหรือการประชุมหารือร่วมกัน อย่างไรก็ตามคาดว่าจะมีขึ้นเร็วๆ นี้ ๒.เครือข่ายคนพิการได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติโดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นางปวีณา หงสกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุม เครือข่ายคนพิการได้ยื่นหนังสือแนวทางและข้อเสนอทั้งสิ้น ๔ ข้อในกรณีเกี่ยวข้องกับรถโดยสารประจำทางสาธารณะ ซึ่งนางปวีณา หงสกุล ได้นำเข้าหารือในที่ประชุม และมีมติให้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้มีการพิจารณาสนับสนุนตามข้อเสนอแนะดังกล่าว ๓.สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เข้าร่วมหารือกับกลุ่มที่ปรึกษากฎหมายมนุษย์ล้อ เพื่อเตรียมการใช้มาตรการ ทางกฎหมาย หากรัฐบาล และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ เรียกร้อง ๔.เครือข่ายเยาวชน คนรุ่นใหม่ใส่ใจสังคม กลุ่ม Social Media รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ก็รวมสนับสนุนการขับเคลื่อนร่วมกัน หากรัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับข้อเสนอ “ซื้อรถชานต่ำ ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” องค์กรเครือข่ายต่างๆ พร้อมขับเคลื่อน เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนและหน่วยงาน ๕.สื่อออนไลน์ มีการนำเสนอเปรียบเทียบรถเมล์ชานต่ำกับรถเมล์ติดลิฟต์ และเชิญชวนผู้สนใจเข้าดูข้อมูลที่ http://youtu.be/b_td1Yhdjc0 ด้วยสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร การนำรถเมล์ธรรมดาหรือรถร้อนมาวิ่งให้บริการประชาชนจำนวน ๑,๖๕๙ คัน สร้างความเสื่อมทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ ก่อให้เกิดภาวะทางอารมณ์ และความเครียด ซึ่งนำไปสู่การมีปัญหาสุขภาพระยะยาวทั้งพนักงานขับรถ พนักงานเก็บเงิน แม้แต่กระทั่งประชาชนผู้โดยสาร นั่นแสดงว่า รถร้อนไม่เหมาะใช้งานในประเทศที่มีสภาพอากาศแบบบ้านเรา แม้ว่าจะเป็นรถเมล์ในโครงการรถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน ก็ควรต้องบริการด้วยรถเมล์ปรับอากาศจึงจะเหมาะสม เพื่อยกระดับสุขภาพกายและใจของประชาชนทั่วไปที่โดยสารรถเมล์ผู้ด้อยโอกาส คนพิการหรือคนทุพพลภาพก็สมควรที่จะได้รับความสะดวกสบายเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้รับผิดชอบจัดซื้อรถเมล์จึงควรพิจารณายกระดับมาตรฐานการให้บริการรถเมล์ สาธารณะที่ดีขึ้นสำหรับคนทุกชั้น และทุกระดับ ท้ายที่สุดแล้ว “รถเมล์ชานต่ำ” จึงไม่ใช่แค่การเรียกร้องเพื่อกลุ่มคนพิการหรือเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เท่านั้น หากแต่เป็นการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในสังคมให้แก่คนทุกกลุ่ม ในสังคม ให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รถเมล์ชานต่ำ ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โทร.๐๒-๘๓๑๙๒๒๕ โทรสาร ๐๒-๘๓๑๙๒๒๖ สายด่วนวุฒิสภา ๑๑๐๒ หรือส่งจดหมาย/เอกสาร/ข้อร้องเรียนไปที่ “ตู้ปวงชนชาวไทย” ไปรษณีย์รัฐสภา กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๕สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถนนอู่ทองใน ดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ email : dek_senate@hotmail.co.th หรือ Facebook: กมธ.พัฒนาสังคม หรือกลุ่มงานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็กฯ วุฒิสภา โทร.๐๒-๘๓๑-๙๒๒๕-๖ แฟกซ์ ๐๒-๘๓๑-๙๒๒๖ ขอบคุณ... http://www.naewna.com/lady/columnist/8721 แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๑ ก.ย.๕๖
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)