'รถเมล์เพื่อคนพิการ'ฝันค้าง..อีกจนได้?

แสดงความคิดเห็น

ตัวแทนสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทยและเครือข่ายคนพิการนับ สิบองค์กร เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำเสนอปัญหาโครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ (เอ็นจีวี) จำนวน 3,183 คัน

25 กันยายน 2556 ตัวแทนสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทยและเครือข่ายคนพิการนับ สิบองค์กร เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำเสนอปัญหาโครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ (เอ็นจีวี) จำนวน 3,183 คัน งบประมาณ 13,162 ล้านบาท ตามมติ ครม. เมื่อ 9 เมษายน 2556 โดยเสนอทบทวนร่างขอบเขตของงาน (ทีโออาร์) โครงการจัดซื้อรถโดยสารดังกล่าวใหม่ หลังจากเคยยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ผ่านรัฐมนตรีว่าการ 2 กระทรวง ทั้งนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม และนางปวีณา หงสกุล รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งนายพิเณศวร์พัวพัฒนกุลผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ..ด้วยเหตุผลเดิม!?!

"รับจะดูแลปัญหาเรื่องนี้ให้ดีที่สุด แต่คงไม่ได้ทุกคัน เนื่องจากติดปัญหาพื้นที่ลุ่มต่ำและมีน้ำท่วมขัง"นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ชินวัตรกล่าว

ด้านนายธีรยุทธ สุคนธวิท เลขานุการสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทย บอกว่า คำตอบที่พวกเราได้จากนายกฯ ไม่ต่างจากที่ได้จากรัฐมนตรีชัชชาติ นั่นคือ "ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์" เพราะติดปัญหาเรื่องพื้นที่ลุ่มต่ำในเขตชานเมือง

"สรุปก็อ้างน้ำท่วมเหมือนเดิม"นายธีรยุทธกล่าว

ทั้งนี้ เมื่อ 17 กันยายน ที่ผ่านมา เครือข่ายคนพิการได้ยื่นหนังสือต่อ รมว.การพัฒนาสังคมฯ พร้อมข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ข้อ ได้แก่

1.ขอให้ ขสมก.กำหนดให้มีการจัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการในโครงการจัดซื้อ รถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ ทั้ง 3,183 คัน เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากรถโดยสารดังกล่าว

2.ขอให้ ขสมก.กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะทั่วไปของรถโดยสาร ทั้ง 3,183 คัน ให้มีโครงสร้างเป็นรถโดยสารแบบชานต่ำ (Low Floor) ที่มีพื้นรถภายในห้องโดยสารเรียบและไม่มีขั้นบันไดบริเวณประตูกลางรถ (No Step Bus) เพื่อให้คนพิการ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีรถเข็นเด็กอ่อน และคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

3.ขอให้ ขสมก.พิจารณาจัดให้มีทางลาดชนิดเลื่อนเข้า-ออก บริเวณใต้ประตูตรงกลางรถ แทนการใช้ลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาการขึ้น-ลงแต่ละครั้งไปได้มาก และป้องกันคนพิการตกเป็นจำเลยของสังคม

4.ขอให้ ขสมก.พิจารณาแต่งตั้งผู้แทนองค์กรคนพิการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการยกร่างทีโออาร์ และเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อรถโดยสารดังกล่าวทุกขั้นตอน เพื่อเป็นหลักประกันว่ารถโดยสารที่จะจัดซื้อใหม่โดยภาษีของประชาชนทุกคนสามารถขึ้นได้ทุกคัน

นายภพต์ เทภาสิต นายกสมาคมคนพิการนนทบุรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ในสังคมยังมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อคนพิการและความพิการ มองคนพิการว่าเป็นกลุ่มคนที่อ่อนแอ เป็นภาระ ด้อยโอกาส และไม่สามารถสร้างผลผลิตให้แก่สังคม/ประเทศชาติได้ จำต้องได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลือตามที่รัฐหรือผู้ที่มีอำนาจจัดให้เท่านั้น พวกเขามองปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนพิการว่า เป็นปัญหาเชิงปัจเจก เป็นปัญหาของคนชายขอบที่เข้าไม่ถึงโอกาสเพราะปัจจัยส่วนบุคคล คนพิการจึงเป็นกลุ่มคนกลุ่มแรกๆ ที่ถูกลืมจากสังคม ถูกละเมิดสิทธิ และถูกเลือกปฏิบัติในเรื่องต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทั้งที่รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้ให้หลักประกันเรื่องความ เสมอภาค/ความเท่าเทียมกันของบุคคลไว้ และในมาตรา 15 พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักเรื่องคนพิการยังห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการอีกด้วย

ตัวแทนสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทยและเครือข่ายคนพิการนับ สิบองค์กร เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำเสนอปัญหาโครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ (เอ็นจีวี) จำนวน 3,183 คัน

ต่อกรณีที่ ขสมก.ออกร่างทีโออาร์ 2 ฉบับ กำหนดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการเฉพาะในรถปรับอากาศ ส่วนรถเมล์ธรรมดาคนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิมเข้าข่ายการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ

"ผมว่างานนี้ไม่ใช่กรณีลืมนึกถึงคนพิการ แต่น่าจะเป็นกรณีไม่ใส่ใจคนพิการมากกว่า เพราะทางเครือข่ายได้เกาะติดสถานการณ์และแสดงจุดยืนเรื่องนี้ต่อ ขสมก.มาตั้งแต่ปี 2552 แล้ว กลับไม่มีความเปลี่ยนแปลงเลย" นายภพต์กล่าว

ส่วนที่ ขสมก.เลือกใช้ลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ แทนการใช้ทางลาด เนื่องจาก ขสมก.ยืนยันที่จะใช้รถเมล์พื้นสูงแบบเดิม แทนรถเมล์แบบชานต่ำ หรือ “โลว์ ฟลอร์ บัส” ตามข้อเสนอของทางเครือข่าย โดยอ้างเหตุผลเรื่องน้ำท่วม ซึ่งฟังไม่ขึ้น เพราะรัฐบาลมีแผนจะจ้างเอกชนทำแผนบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 3 .5 หมื่นล้านบาท เพื่อป้องกันน้ำท่วมในอนาคต ที่สำคัญน้ำไม่ได้ท่วมทุกวันและถ้าน้ำท่วมจริงรถเมล์ติดลิฟต์ก็ไม่สามารถใช้งานได้อยู่ดี

"กรณีนี้พวกเราไม่แน่ใจว่า ขสมก.มีธงอยู่แล้ว หรือมีการรับใบสั่งใครมาหรือไม่ ทั้งที่ทราบดีว่ารถเมล์แบบชานต่ำเป็นรถที่ถูกออกแบบตามแนวคิดการออกแบบที่ เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design : UD) เพื่อให้บุคคลทุกเพศทุกวัยและทุกสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีรถเข็นเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพและคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงสามารถขึ้น-ลงรถเมล์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย"

นายภพต์ กล่าวทิ้งท้ายว่า คนพิการไม่ได้ต้องการ “รถลิฟต์” เป็นเรื่องที่ ขสมก.คิดให้และตัดสินใจแทนคนพิการ ซึ่งนอกจากตัวลิฟต์จะมีราคาแพง และทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยใช่เหตุแล้ว ยัง “ไม่ใช่” ความต้องการที่แท้จริงของคนพิการ เพราะการขึ้นลง “รถลิฟต์” แต่ละครั้งใช้เวลานาน เกรงจะกระทบผู้ใช้งานอื่น โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ทุกคนต่างเร่งรีบในการเดินทาง หากมีคนพิการออกมาใช้บริการจำนวนมากจะทำให้คนพิการตกเป็น“จำเลย”ของสังคมโดยไม่เจตนา

นอกจากนั้น “รถลิฟต์” อำนวยความสะดวกได้เฉพาะคนพิการที่ใช้เก้าอี้รถเข็นเท่านั้น ขณะที่ “รถเมล์แบบชานต่ำ” สามารถตอบสนองความต้องการของคนพิการทุกประเภทได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนตาบอด คนหูหนวก คนพิการทางสมอง/สติปัญญา รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม หรือ กลุ่มคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ใช้ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน หรือเครื่องช่วยเดินแบบมีล้อ ก็สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

ดังนั้น ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วจึงพัฒนาบริการขนส่งสาธารณะแก่ประชาชนด้วย “รถเมล์ชานต่ำ” ซึ่งที่ประตูใดประตูหนึ่งของรถเมล์มีทางลาดเลื่อนเข้า-ออก เมื่อเลื่อนออกจะเชื่อมต่อทางเดินเท้ากับพื้นรถเมล์ นั่นคือ คนพิการและผู้สูงอายุที่แข็งแรงสามารถเข็นเก้าอี้เข็นขึ้นทางลาดเข้าไปในรถเมล์ด้วยตนเอง หรือถ้ามีคนช่วยเข็นก็จะสะดวกขึ้น ส่วนเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และคนกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ที่ก้าวขึ้นบันไดรถเมล์ไม่สะดวก ก็สามารถเดินบนทางลาดขึ้น-ลงรถเมล์ได้โดยง่าย ไม่เสี่ยงกับการตกบันไดรถเมล์ หรือเกิดอุบัติเหตุและใช้เวลาพอๆกับคนที่ก้าวขึ้นบันไดรถเมล์ทางอีกประตูหนึ่ง

ที่สำคัญ...."รถเมล์ชานต่ำ” ถูกกว่า ”รถเมล์ติดลิฟต์”....ไม่เปลืองภาษีของประชาชน ชมคลิป...เปรียบเทียบรถเมล์ติดลิฟต์กับรถเมล์ชานต่ำ...คลิก http://www.tddf.or.th/library/detail.php?contentid=0037&postid=0005519&currentpage=1

สุดท้าย เครือข่ายคนพิการมีความเชื่อมั่นว่า การเรียกร้องให้ ขสมก.จัดซื้อรถเมล์ใหม่เป็นแบบ “รถเมล์ชานต่ำ” เป็นการเรียกร้องที่ชอบธรรม ทันสมัย และเป็นสากล เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของคนทั้งมวลในสังคม และประหยัดภาษีของประชาชน โดย ขสมก.ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะคัดค้าน นอกจากประสงค์จะใช้งบประมาณจำนวนมากโดยไม่จำเป็น

ทั้งนี้ เครือข่ายคนพิการได้ดำเนินการทุกวิถีทางแล้ว โดยเฉพาะได้นำส่งข้อเสนอแนะ ทั้งต่อ ขสมก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายกรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สื่อมวลชนทุกแขนง และสังคม ทั้งการขอพบชี้แจงโดยตรง แถลงข่าวและเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสาธารณะต่างๆอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น ไพ่ใบสุดท้าย..หาก ขสมก.ภายใต้การกำกับของรัฐบาล ยังดึงดันดำเนินการขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชน เครือข่ายคนพิการจำเป็นต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชนโดยใช้มาตรการทาง กฎหมายด้วยการยื่นฟ้อง ขสมก.ต่อศาลปกครอง"นี่เป็นสิ่งเดียวที่พวกเรายังไม่ได้ทำ" นายธีรยุทธ กล่าว : ปิยาวันทน์ ประยุกต์ศิลป์รายงาน ภาพ : ASTV ผู้จัดการออนไลน์

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130929/169287/รถเมล์เพื่อคนพิการฝันค้าง..อีกจนได้.html#.UkeLOTcrWy (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ย. 56

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ย. 56
วันที่โพสต์: 29/09/2556 เวลา 03:43:36 ดูภาพสไลด์โชว์ 'รถเมล์เพื่อคนพิการ'ฝันค้าง..อีกจนได้?

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ตัวแทนสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทยและเครือข่ายคนพิการนับ สิบองค์กร เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำเสนอปัญหาโครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ (เอ็นจีวี) จำนวน 3,183 คัน 25 กันยายน 2556 ตัวแทนสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทยและเครือข่ายคนพิการนับ สิบองค์กร เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำเสนอปัญหาโครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ (เอ็นจีวี) จำนวน 3,183 คัน งบประมาณ 13,162 ล้านบาท ตามมติ ครม. เมื่อ 9 เมษายน 2556 โดยเสนอทบทวนร่างขอบเขตของงาน (ทีโออาร์) โครงการจัดซื้อรถโดยสารดังกล่าวใหม่ หลังจากเคยยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ผ่านรัฐมนตรีว่าการ 2 กระทรวง ทั้งนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม และนางปวีณา หงสกุล รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งนายพิเณศวร์พัวพัฒนกุลผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ..ด้วยเหตุผลเดิม!?! "รับจะดูแลปัญหาเรื่องนี้ให้ดีที่สุด แต่คงไม่ได้ทุกคัน เนื่องจากติดปัญหาพื้นที่ลุ่มต่ำและมีน้ำท่วมขัง"นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ชินวัตรกล่าว ด้านนายธีรยุทธ สุคนธวิท เลขานุการสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทย บอกว่า คำตอบที่พวกเราได้จากนายกฯ ไม่ต่างจากที่ได้จากรัฐมนตรีชัชชาติ นั่นคือ "ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์" เพราะติดปัญหาเรื่องพื้นที่ลุ่มต่ำในเขตชานเมือง "สรุปก็อ้างน้ำท่วมเหมือนเดิม"นายธีรยุทธกล่าว ทั้งนี้ เมื่อ 17 กันยายน ที่ผ่านมา เครือข่ายคนพิการได้ยื่นหนังสือต่อ รมว.การพัฒนาสังคมฯ พร้อมข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ข้อ ได้แก่ 1.ขอให้ ขสมก.กำหนดให้มีการจัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการในโครงการจัดซื้อ รถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ ทั้ง 3,183 คัน เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากรถโดยสารดังกล่าว 2.ขอให้ ขสมก.กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะทั่วไปของรถโดยสาร ทั้ง 3,183 คัน ให้มีโครงสร้างเป็นรถโดยสารแบบชานต่ำ (Low Floor) ที่มีพื้นรถภายในห้องโดยสารเรียบและไม่มีขั้นบันไดบริเวณประตูกลางรถ (No Step Bus) เพื่อให้คนพิการ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีรถเข็นเด็กอ่อน และคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ 3.ขอให้ ขสมก.พิจารณาจัดให้มีทางลาดชนิดเลื่อนเข้า-ออก บริเวณใต้ประตูตรงกลางรถ แทนการใช้ลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาการขึ้น-ลงแต่ละครั้งไปได้มาก และป้องกันคนพิการตกเป็นจำเลยของสังคม 4.ขอให้ ขสมก.พิจารณาแต่งตั้งผู้แทนองค์กรคนพิการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการยกร่างทีโออาร์ และเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อรถโดยสารดังกล่าวทุกขั้นตอน เพื่อเป็นหลักประกันว่ารถโดยสารที่จะจัดซื้อใหม่โดยภาษีของประชาชนทุกคนสามารถขึ้นได้ทุกคัน นายภพต์ เทภาสิต นายกสมาคมคนพิการนนทบุรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ในสังคมยังมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อคนพิการและความพิการ มองคนพิการว่าเป็นกลุ่มคนที่อ่อนแอ เป็นภาระ ด้อยโอกาส และไม่สามารถสร้างผลผลิตให้แก่สังคม/ประเทศชาติได้ จำต้องได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลือตามที่รัฐหรือผู้ที่มีอำนาจจัดให้เท่านั้น พวกเขามองปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนพิการว่า เป็นปัญหาเชิงปัจเจก เป็นปัญหาของคนชายขอบที่เข้าไม่ถึงโอกาสเพราะปัจจัยส่วนบุคคล คนพิการจึงเป็นกลุ่มคนกลุ่มแรกๆ ที่ถูกลืมจากสังคม ถูกละเมิดสิทธิ และถูกเลือกปฏิบัติในเรื่องต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทั้งที่รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้ให้หลักประกันเรื่องความ เสมอภาค/ความเท่าเทียมกันของบุคคลไว้ และในมาตรา 15 พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักเรื่องคนพิการยังห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการอีกด้วย ตัวแทนสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทยและเครือข่ายคนพิการนับ สิบองค์กร เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำเสนอปัญหาโครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ (เอ็นจีวี) จำนวน 3,183 คัน ต่อกรณีที่ ขสมก.ออกร่างทีโออาร์ 2 ฉบับ กำหนดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการเฉพาะในรถปรับอากาศ ส่วนรถเมล์ธรรมดาคนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิมเข้าข่ายการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ "ผมว่างานนี้ไม่ใช่กรณีลืมนึกถึงคนพิการ แต่น่าจะเป็นกรณีไม่ใส่ใจคนพิการมากกว่า เพราะทางเครือข่ายได้เกาะติดสถานการณ์และแสดงจุดยืนเรื่องนี้ต่อ ขสมก.มาตั้งแต่ปี 2552 แล้ว กลับไม่มีความเปลี่ยนแปลงเลย" นายภพต์กล่าว ส่วนที่ ขสมก.เลือกใช้ลิฟต์ยกรถเข็นคนพิการ แทนการใช้ทางลาด เนื่องจาก ขสมก.ยืนยันที่จะใช้รถเมล์พื้นสูงแบบเดิม แทนรถเมล์แบบชานต่ำ หรือ “โลว์ ฟลอร์ บัส” ตามข้อเสนอของทางเครือข่าย โดยอ้างเหตุผลเรื่องน้ำท่วม ซึ่งฟังไม่ขึ้น เพราะรัฐบาลมีแผนจะจ้างเอกชนทำแผนบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 3 .5 หมื่นล้านบาท เพื่อป้องกันน้ำท่วมในอนาคต ที่สำคัญน้ำไม่ได้ท่วมทุกวันและถ้าน้ำท่วมจริงรถเมล์ติดลิฟต์ก็ไม่สามารถใช้งานได้อยู่ดี "กรณีนี้พวกเราไม่แน่ใจว่า ขสมก.มีธงอยู่แล้ว หรือมีการรับใบสั่งใครมาหรือไม่ ทั้งที่ทราบดีว่ารถเมล์แบบชานต่ำเป็นรถที่ถูกออกแบบตามแนวคิดการออกแบบที่ เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design : UD) เพื่อให้บุคคลทุกเพศทุกวัยและทุกสภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีรถเข็นเด็กอ่อน ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพและคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงสามารถขึ้น-ลงรถเมล์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย" นายภพต์ กล่าวทิ้งท้ายว่า คนพิการไม่ได้ต้องการ “รถลิฟต์” เป็นเรื่องที่ ขสมก.คิดให้และตัดสินใจแทนคนพิการ ซึ่งนอกจากตัวลิฟต์จะมีราคาแพง และทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยใช่เหตุแล้ว ยัง “ไม่ใช่” ความต้องการที่แท้จริงของคนพิการ เพราะการขึ้นลง “รถลิฟต์” แต่ละครั้งใช้เวลานาน เกรงจะกระทบผู้ใช้งานอื่น โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ทุกคนต่างเร่งรีบในการเดินทาง หากมีคนพิการออกมาใช้บริการจำนวนมากจะทำให้คนพิการตกเป็น“จำเลย”ของสังคมโดยไม่เจตนา นอกจากนั้น “รถลิฟต์” อำนวยความสะดวกได้เฉพาะคนพิการที่ใช้เก้าอี้รถเข็นเท่านั้น ขณะที่ “รถเมล์แบบชานต่ำ” สามารถตอบสนองความต้องการของคนพิการทุกประเภทได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนตาบอด คนหูหนวก คนพิการทางสมอง/สติปัญญา รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม หรือ กลุ่มคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ใช้ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน หรือเครื่องช่วยเดินแบบมีล้อ ก็สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ดังนั้น ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วจึงพัฒนาบริการขนส่งสาธารณะแก่ประชาชนด้วย “รถเมล์ชานต่ำ” ซึ่งที่ประตูใดประตูหนึ่งของรถเมล์มีทางลาดเลื่อนเข้า-ออก เมื่อเลื่อนออกจะเชื่อมต่อทางเดินเท้ากับพื้นรถเมล์ นั่นคือ คนพิการและผู้สูงอายุที่แข็งแรงสามารถเข็นเก้าอี้เข็นขึ้นทางลาดเข้าไปในรถเมล์ด้วยตนเอง หรือถ้ามีคนช่วยเข็นก็จะสะดวกขึ้น ส่วนเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และคนกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ที่ก้าวขึ้นบันไดรถเมล์ไม่สะดวก ก็สามารถเดินบนทางลาดขึ้น-ลงรถเมล์ได้โดยง่าย ไม่เสี่ยงกับการตกบันไดรถเมล์ หรือเกิดอุบัติเหตุและใช้เวลาพอๆกับคนที่ก้าวขึ้นบันไดรถเมล์ทางอีกประตูหนึ่ง ที่สำคัญ...."รถเมล์ชานต่ำ” ถูกกว่า ”รถเมล์ติดลิฟต์”....ไม่เปลืองภาษีของประชาชน ชมคลิป...เปรียบเทียบรถเมล์ติดลิฟต์กับรถเมล์ชานต่ำ...คลิก http://www.tddf.or.th/library/detail.php?contentid=0037&postid=0005519¤tpage=1 สุดท้าย เครือข่ายคนพิการมีความเชื่อมั่นว่า การเรียกร้องให้ ขสมก.จัดซื้อรถเมล์ใหม่เป็นแบบ “รถเมล์ชานต่ำ” เป็นการเรียกร้องที่ชอบธรรม ทันสมัย และเป็นสากล เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของคนทั้งมวลในสังคม และประหยัดภาษีของประชาชน โดย ขสมก.ไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะคัดค้าน นอกจากประสงค์จะใช้งบประมาณจำนวนมากโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้ เครือข่ายคนพิการได้ดำเนินการทุกวิถีทางแล้ว โดยเฉพาะได้นำส่งข้อเสนอแนะ ทั้งต่อ ขสมก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายกรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา คณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สื่อมวลชนทุกแขนง และสังคม ทั้งการขอพบชี้แจงโดยตรง แถลงข่าวและเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสาธารณะต่างๆอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...