“บางกอกอารีนา” สนามกีฬาระดับโลกแห่งแรกของไทย...ติดตั้งที่นั่งสำหรับคนพิการ
“บางกอกอารี นา” สนามกีฬาระดับโลกแห่งแรกของไทยโดยคนไทยวันนี้สมบูรณ์แบบแล้วหลังจากกรุงเทพมหานครได้ฝ่าฟันอุปสรรค วิกฤตน้ำท่วมปี 54 ก่อสร้างยาวนานเกือบสองปี วันนี้ ตั้งเด่นเป็นสง่ารอการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประชาชนคนกรุงเทพฯ ได้ยลโฉม และร่วมฉลองกันพร้อมเพรียง
นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักการโยธา อธิบายฉาดฉานในช่วงนำชมความสมบูรณ์แบบภายในสนาม หลังจากที่กรุงเทพมหานครโดยสำนักการโยธาได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ว่า “บางกอกอารี นา” เป็นสนามกีฬาในร่มมาตรฐานโลก สนามแรกในประเทศไทย และเป็นอันดับ 5 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอาคารพื้นที่กว่า 10 ไร่ โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่เป็นอัตลักษณ์ไทย ตั้งอยู่บนพื้นที่ 139 ไร่ ของสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครเขตหนองจอก สามารถจุผู้ชมได้กว่า 12,000 ที่นั่ง ที่สำคัญสนามแห่งนี้ยังเป็นสนามกีฬาประหยัดพลังงานแห่งแรกของไทยอีกด้วย มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกได้หลายชนิด ถือเป็น Landmark แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ
ทุ่มงบ 1,749 ล้านบาทเนรมิตแล้วเสร็จ - งานก่อสร้างทั้งหมด สำนักการโยธาได้ว่าจ้างบริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบดำเนินโครงการ เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 เป็นต้นมา มีการต่อสัญญาตามมติคณะรัฐมนตรี สาเหตุเนื่องจากขณะนั้น กทม.ประสบภาวะน้ำท่วมหนัก(ปี 2554 ) ส่งผลกระทบให้การก่อสร้างล่าช้าออกไป จนมาสิ้นสุดสัญญาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2556 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,749 ล้านบาท วันนี้”บางกอกอารีน่า”สวยงามมาก งานทั้งหมดถือว่าเสร็จ 100% แล้ว
อย่างไรก็ตามอนาคตก็จะมีการพัฒนาพื้นที่โครงการในระยะที่ 2 ขึ้น โดยจะพัฒนาพื้นที่ 139 ไร่ ให้เป็นศูนย์ฝึกกีฬาและศูนย์ฝึกอบรมที่ทันสมัย ครบวงจร ตามความต้องการของศูนย์ฝึกอบรมสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร ที่สำคัญจะมีการเชื่อมโครงข่ายถนนปัจจุบัน รวมถึงโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนให้เกิดดวามสะดวกขึ้นด้วย เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสนามง่ายและสะดวก สอดคล้องกับแผนพัฒนาเมืองของกรุงเทพมหานครที่มุ่งเน้นพัฒนาพื้นที่เขตหนอง จอกให้เป็น Satellite Town อันเพียบพร้อมด้วยสาธารณูปโภค สาธารณูปการ สถานศึกษา สถานพยาบาล รวมทั้งศูนย์กีฬาและนันทนาการของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก
สำหรับในส่วนของการเปิดตัวเป็นทางการ มีรูปแบบอย่างไร เมื่อไร ตรงนี้คงต้องอยู่ที่ผู้บริหาร กทม. ซึ่งจะต้องพิจารณาวันเวลาที่เหมาะสมอีกครั้ง และเมื่อเปิดเป็นทางการแล้วสำนักการโยธาก็จะส่งมอบสนามให้สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวเป็นผู้ดูแลเหมือนกับสนามกีฬาอื่นๆ ของกรุงเทพมหานครทันที ในประเด็นการใช้ประโยชน์นั้นนอกจากจะเป็นสนามสำหรับจัดการแข่งขันกีฬาในร่ม ทุกประเภทแล้ว “บางกอกอารี น่า”ยังสามารถรองรับการจัดกิจกรรมของเมืองทุกรูปแบบเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด รวมถึงรองรับการพัฒนาเป็นศูนย์กีฬาหลักและสนามกีฬาระดับเมืองประจำกลุ่ม เขตกรุงเทพตะวันออกตามนโยบายของกรุงเทพ มหานคร เพื่อส่งเสริมการออกกำลังของคนเมือง เป็นสถานที่บ่มเพาะเยาวชนและประชาชนผู้มีศักยภาพสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพ สร้างโอกาสให้กรุงเทพฯในการเป็นเมืองเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกได้ไม่อาย ใครอาคาร“ดอกจอก”ที่สุดของสถาปัตยกรรมประหยัดพลังงาน
การก่อสร้าง”บางกอกอารีนา” ได้แรงบันดาลใจจากพืชท้องถิ่นชนิดหนึ่ง คือ “ดอกจอก” ซึ่งได้นำมาประยุกต์ใช้ในเชิงสัญลักษณ์ สื่อถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่น และยังแฝงความหมายถึงการร่วมแรงร่วมใจของนักกีฬา เหมือนกลีบที่รวมกันเป็น”ดอกจอก”อันสวยงาม การก่อสร้างวางผังแม่บทพื้นที่โครงการ ตั้งเป็นกลุ่มอาคารไม่บดบังทิศทางลมและทัศนียภาพใดๆเลย คงเอกลักษณ์เดิมของพื้นที่ที่มีบึงน้ำขนาดใหญ่ มีพื้นที่สีเขียวโดยรอบ วางรูปแบบเผื่อไว้ในอนาคตที่จะพัฒนาต่อเป็นสวนสาธารณะได้อีกต่างหาก “บองกอกอารีน่า” มีทางเข้าออก 3 ประตูหลัก มีจุดรับส่งคนด้านหน้าถนนเชื่อมสัมพันธ์ มีลานกิจกรรมด้านหน้า และพื้นที่เปิดโล่งเพื่อการเข้าถึง อาคารจอดรถ ทุกจุดทุกมุมมีการจัดวางผังไว้ไม่มีการบดบังทัศนียภาพ
ตัวอาคารออกแบบเป็นทรง 8 เหลี่ยม (รูปทรงดอกจอก) หลังคามีลักษณะเหมือนกลีบดอกจอกซ้อนกันเป็นชั้นๆ โครงสร้างอาคารมีความโดดเด่น 3 องค์ประกอบใหญ่ คือ 1.งานเสาเข็มและฐานราก ใช้เสาเข็มมากถึง 1,726 ต้น เพื่อรองรับฐานรากและตัวอาคารไม่ให้เกิดปัญหาการเอียงหรือทรุดตัวในภายหลัง 2.งานโครงสร้างหลังคา ใช้เทคนิคทางวิศวกรรม โครงสร้างรับแรงดึง เหมาะกับการก่อสร้างสนามกีฬาในร่มขนาดใหญ่ที่ต้องการพื้นที่เปิดโล่งบริเวณ สนามแข่งขัน ผ้าใบหุ้มตัวอาคาร(Fascade) สีทอง ป้องกันแดดฝน เพื่อช่วยระบายอากาศ ท่ามกลางที่ผู้ชมในสนามสามารถมองเห็นวิวภายนอกอาคารได้ชัดเจน แถมยัง เพิ่มความโดดเด่นด้วยเสาเปลือกอาคาร 46 ต้น โดย เชื่อมต่อด้วยโครงเหล็กถัก ตรงนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก”ลายกนก”ของไทย ที่ปรับเปลี่ยนให้ดูทันสมัยอย่างเรียบง่าย และ 3.การประหยัดพลังงาน ถือเป็นสนามกีฬาประหยัดพลังงานแห่งแรกของประเทศ อาศัยหลักการธรรมชาติ กำหนดทิศทางของอาคารไว้รับลมที่พัดผ่านบึงน้ำเพื่อลดอุณหภูมิอากาศที่ไหล เข้าสู่อาคาร มีการ ออกแบบให้มีช่องรับแสงด้านบนโดยใช้วัสดุป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร แสงสามารถส่องผ่านได้ สามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้กลมกลืนมาก มีการ ติดตั้งระบบทำความเย็นโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์ คูลลิ่ง ในระบบปรับอากาศ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์กำลังผลิต 1 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับ 1 ใน 3 ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการแข่งขันตามปกติ หากไม่มีการแข่งขันสามารถขายคืนกระแสไฟฟ้าที่เหลือใช้ให้กับการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทยหรือเก็บเป็นไฟฟ้าสำรองสำหรับศูนย์ฝึกอบรมได้คุ้มค่ามาก
ภายในอาคารออกแบบให้ตอบสนองการใช้งานหลากหลาย เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์พื้นที่สูงสุดมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล ทางเข้าหลักอยู่บริเวณชั้น M มีที่นั่งเป็นอัฒจันทร์ 5 ชั้น ชั้น 1 ที่นั่งแบบยืดหดเข้าออกได้เพื่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานสนาม มีที่นั่ง VIP บริเวณชั้น 3 ติดตั้งที่นั่งสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุไว้ที่บริเวณ ชั้น 2 ชั้น 4 และ 5 ความจุ 12,160 ที่นั่ง สามารถขยายได้ถึง 12,500 ที่นั่ง รองรับการแข่งขันกีฬาในร่มได้หลายชนิดกีฬา
เปิดประสบการณ์นักศึกษาพาชมสนามจริง - เมื่อเร็วๆนี้สำนักการโยธาได้จัดกิจกรรม เปิดประสบ การณ์ใหม่กับ Bangkok Arena สนามกีฬาในร่มมาตรฐานโลก ฝีมือคนไทย มีการนำนักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา และ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้าเยี่ยมชมความคืบหน้าโครงการ (Site Visit) ตามโครงการบันทึกเบื้องหลังความสำเร็จโครงการก่อสร้าง Bangkok Arena
“ที่จริงช่วงที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างมีผู้สนใจขอเข้าชมจำนวนมาก ซึ่งไม่สะดวกเนื่องจากการก่อสร้างต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนงาน หากมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมก็ต้องหยุดทำงานจึงไม่สะดวก แต่การให้ผู้สนใจโดยเฉพาะนักศึกษาที่ศึกษาทางด้านช่างสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมได้มีโอกาสเข้าชมและมารับฟังครั้งนี้ก็เพื่อ ถ่ายทอดความรู้ เทคนิควิศวกรรมต่างๆในการก่อสร้าง “บางกอกอารีนา” ครั้งนี้ จะทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรง ไม่ต้องไปดูงานรูปแบบสถาปัตย์ถึงต่างประเทศ เชื่อว่าน้องๆนักศึกษาจะได้รับประโยชน์จากการการเข้าเยี่ยมชมในโครงการนี้” นายทวีศักดิ์กล่าว
“บางกอกอารีนา” ถือเป็นความภาคภูมิใจของคนกรุงเทพฯ เป็นผลงานที่สุดของที่สุดทางด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ภายใต้การบริหารจัดการของกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่แค่เฉพาะการสร้างสนามกีฬาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการลงทุนที่จะสร้างประโยชน์กลับคืนให้กับกรุงเทพฯประเทศไทยในอนาคตด้วย โดยความมุ่งมั่นที่จะสร้างเวทีระดับสากลในการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาไทย ให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่อง สำหรับการเพิ่มพื้นที่ด้านสุขภาพ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนเมืองให้สมบูรณ์ครบถ้วนมากขึ้น และบัดนี้ความประสงค์ดังกล่าวประสบผลสำเร็จเสร็จสิ้นเป็นเป็นสุดยอดสนาม กีฬาระดับภูมิภาค Landmark แห่งใหม่ ตัวแทนอัตลักษณ์ไทยบนเวทีโลกสง่างามแล้ว
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/nnd/1789325
(แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ธ.ค.56)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
“บางกอกอารี นา” สนามกีฬาระดับโลกแห่งแรกของไทยโดยคนไทยวันนี้สมบูรณ์แบบแล้วหลังจากกรุงเทพมหานครได้ฝ่าฟันอุปสรรค วิกฤตน้ำท่วมปี 54 ก่อสร้างยาวนานเกือบสองปี วันนี้ ตั้งเด่นเป็นสง่ารอการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประชาชนคนกรุงเทพฯ ได้ยลโฉม และร่วมฉลองกันพร้อมเพรียง นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักการโยธา อธิบายฉาดฉานในช่วงนำชมความสมบูรณ์แบบภายในสนาม หลังจากที่กรุงเทพมหานครโดยสำนักการโยธาได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ว่า “บางกอกอารี นา” เป็นสนามกีฬาในร่มมาตรฐานโลก สนามแรกในประเทศไทย และเป็นอันดับ 5 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอาคารพื้นที่กว่า 10 ไร่ โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่เป็นอัตลักษณ์ไทย ตั้งอยู่บนพื้นที่ 139 ไร่ ของสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครเขตหนองจอก สามารถจุผู้ชมได้กว่า 12,000 ที่นั่ง ที่สำคัญสนามแห่งนี้ยังเป็นสนามกีฬาประหยัดพลังงานแห่งแรกของไทยอีกด้วย มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกได้หลายชนิด ถือเป็น Landmark แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ทุ่มงบ 1,749 ล้านบาทเนรมิตแล้วเสร็จ - งานก่อสร้างทั้งหมด สำนักการโยธาได้ว่าจ้างบริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบดำเนินโครงการ เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 เป็นต้นมา มีการต่อสัญญาตามมติคณะรัฐมนตรี สาเหตุเนื่องจากขณะนั้น กทม.ประสบภาวะน้ำท่วมหนัก(ปี 2554 ) ส่งผลกระทบให้การก่อสร้างล่าช้าออกไป จนมาสิ้นสุดสัญญาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2556 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,749 ล้านบาท วันนี้”บางกอกอารีน่า”สวยงามมาก งานทั้งหมดถือว่าเสร็จ 100% แล้ว อย่างไรก็ตามอนาคตก็จะมีการพัฒนาพื้นที่โครงการในระยะที่ 2 ขึ้น โดยจะพัฒนาพื้นที่ 139 ไร่ ให้เป็นศูนย์ฝึกกีฬาและศูนย์ฝึกอบรมที่ทันสมัย ครบวงจร ตามความต้องการของศูนย์ฝึกอบรมสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร ที่สำคัญจะมีการเชื่อมโครงข่ายถนนปัจจุบัน รวมถึงโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนให้เกิดดวามสะดวกขึ้นด้วย เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสนามง่ายและสะดวก สอดคล้องกับแผนพัฒนาเมืองของกรุงเทพมหานครที่มุ่งเน้นพัฒนาพื้นที่เขตหนอง จอกให้เป็น Satellite Town อันเพียบพร้อมด้วยสาธารณูปโภค สาธารณูปการ สถานศึกษา สถานพยาบาล รวมทั้งศูนย์กีฬาและนันทนาการของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก สำหรับในส่วนของการเปิดตัวเป็นทางการ มีรูปแบบอย่างไร เมื่อไร ตรงนี้คงต้องอยู่ที่ผู้บริหาร กทม. ซึ่งจะต้องพิจารณาวันเวลาที่เหมาะสมอีกครั้ง และเมื่อเปิดเป็นทางการแล้วสำนักการโยธาก็จะส่งมอบสนามให้สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวเป็นผู้ดูแลเหมือนกับสนามกีฬาอื่นๆ ของกรุงเทพมหานครทันที ในประเด็นการใช้ประโยชน์นั้นนอกจากจะเป็นสนามสำหรับจัดการแข่งขันกีฬาในร่ม ทุกประเภทแล้ว “บางกอกอารี น่า”ยังสามารถรองรับการจัดกิจกรรมของเมืองทุกรูปแบบเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด รวมถึงรองรับการพัฒนาเป็นศูนย์กีฬาหลักและสนามกีฬาระดับเมืองประจำกลุ่ม เขตกรุงเทพตะวันออกตามนโยบายของกรุงเทพ มหานคร เพื่อส่งเสริมการออกกำลังของคนเมือง เป็นสถานที่บ่มเพาะเยาวชนและประชาชนผู้มีศักยภาพสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพ สร้างโอกาสให้กรุงเทพฯในการเป็นเมืองเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกได้ไม่อาย ใครอาคาร“ดอกจอก”ที่สุดของสถาปัตยกรรมประหยัดพลังงาน การก่อสร้าง”บางกอกอารีนา” ได้แรงบันดาลใจจากพืชท้องถิ่นชนิดหนึ่ง คือ “ดอกจอก” ซึ่งได้นำมาประยุกต์ใช้ในเชิงสัญลักษณ์ สื่อถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่น และยังแฝงความหมายถึงการร่วมแรงร่วมใจของนักกีฬา เหมือนกลีบที่รวมกันเป็น”ดอกจอก”อันสวยงาม การก่อสร้างวางผังแม่บทพื้นที่โครงการ ตั้งเป็นกลุ่มอาคารไม่บดบังทิศทางลมและทัศนียภาพใดๆเลย คงเอกลักษณ์เดิมของพื้นที่ที่มีบึงน้ำขนาดใหญ่ มีพื้นที่สีเขียวโดยรอบ วางรูปแบบเผื่อไว้ในอนาคตที่จะพัฒนาต่อเป็นสวนสาธารณะได้อีกต่างหาก “บองกอกอารีน่า” มีทางเข้าออก 3 ประตูหลัก มีจุดรับส่งคนด้านหน้าถนนเชื่อมสัมพันธ์ มีลานกิจกรรมด้านหน้า และพื้นที่เปิดโล่งเพื่อการเข้าถึง อาคารจอดรถ ทุกจุดทุกมุมมีการจัดวางผังไว้ไม่มีการบดบังทัศนียภาพ ตัวอาคารออกแบบเป็นทรง 8 เหลี่ยม (รูปทรงดอกจอก) หลังคามีลักษณะเหมือนกลีบดอกจอกซ้อนกันเป็นชั้นๆ โครงสร้างอาคารมีความโดดเด่น 3 องค์ประกอบใหญ่ คือ 1.งานเสาเข็มและฐานราก ใช้เสาเข็มมากถึง 1,726 ต้น เพื่อรองรับฐานรากและตัวอาคารไม่ให้เกิดปัญหาการเอียงหรือทรุดตัวในภายหลัง 2.งานโครงสร้างหลังคา ใช้เทคนิคทางวิศวกรรม โครงสร้างรับแรงดึง เหมาะกับการก่อสร้างสนามกีฬาในร่มขนาดใหญ่ที่ต้องการพื้นที่เปิดโล่งบริเวณ สนามแข่งขัน ผ้าใบหุ้มตัวอาคาร(Fascade) สีทอง ป้องกันแดดฝน เพื่อช่วยระบายอากาศ ท่ามกลางที่ผู้ชมในสนามสามารถมองเห็นวิวภายนอกอาคารได้ชัดเจน แถมยัง เพิ่มความโดดเด่นด้วยเสาเปลือกอาคาร 46 ต้น โดย เชื่อมต่อด้วยโครงเหล็กถัก ตรงนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก”ลายกนก”ของไทย ที่ปรับเปลี่ยนให้ดูทันสมัยอย่างเรียบง่าย และ 3.การประหยัดพลังงาน ถือเป็นสนามกีฬาประหยัดพลังงานแห่งแรกของประเทศ อาศัยหลักการธรรมชาติ กำหนดทิศทางของอาคารไว้รับลมที่พัดผ่านบึงน้ำเพื่อลดอุณหภูมิอากาศที่ไหล เข้าสู่อาคาร มีการ ออกแบบให้มีช่องรับแสงด้านบนโดยใช้วัสดุป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร แสงสามารถส่องผ่านได้ สามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้กลมกลืนมาก มีการ ติดตั้งระบบทำความเย็นโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์ คูลลิ่ง ในระบบปรับอากาศ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์กำลังผลิต 1 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับ 1 ใน 3 ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการแข่งขันตามปกติ หากไม่มีการแข่งขันสามารถขายคืนกระแสไฟฟ้าที่เหลือใช้ให้กับการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทยหรือเก็บเป็นไฟฟ้าสำรองสำหรับศูนย์ฝึกอบรมได้คุ้มค่ามาก ภายในอาคารออกแบบให้ตอบสนองการใช้งานหลากหลาย เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์พื้นที่สูงสุดมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล ทางเข้าหลักอยู่บริเวณชั้น M มีที่นั่งเป็นอัฒจันทร์ 5 ชั้น ชั้น 1 ที่นั่งแบบยืดหดเข้าออกได้เพื่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานสนาม มีที่นั่ง VIP บริเวณชั้น 3 ติดตั้งที่นั่งสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุไว้ที่บริเวณ ชั้น 2 ชั้น 4 และ 5 ความจุ 12,160 ที่นั่ง สามารถขยายได้ถึง 12,500 ที่นั่ง รองรับการแข่งขันกีฬาในร่มได้หลายชนิดกีฬา เปิดประสบการณ์นักศึกษาพาชมสนามจริง - เมื่อเร็วๆนี้สำนักการโยธาได้จัดกิจกรรม เปิดประสบ การณ์ใหม่กับ Bangkok Arena สนามกีฬาในร่มมาตรฐานโลก ฝีมือคนไทย มีการนำนักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา และ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้าเยี่ยมชมความคืบหน้าโครงการ (Site Visit) ตามโครงการบันทึกเบื้องหลังความสำเร็จโครงการก่อสร้าง Bangkok Arena “ที่จริงช่วงที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างมีผู้สนใจขอเข้าชมจำนวนมาก ซึ่งไม่สะดวกเนื่องจากการก่อสร้างต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนงาน หากมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมก็ต้องหยุดทำงานจึงไม่สะดวก แต่การให้ผู้สนใจโดยเฉพาะนักศึกษาที่ศึกษาทางด้านช่างสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมได้มีโอกาสเข้าชมและมารับฟังครั้งนี้ก็เพื่อ ถ่ายทอดความรู้ เทคนิควิศวกรรมต่างๆในการก่อสร้าง “บางกอกอารีนา” ครั้งนี้ จะทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรง ไม่ต้องไปดูงานรูปแบบสถาปัตย์ถึงต่างประเทศ เชื่อว่าน้องๆนักศึกษาจะได้รับประโยชน์จากการการเข้าเยี่ยมชมในโครงการนี้” นายทวีศักดิ์กล่าว “บางกอกอารีนา” ถือเป็นความภาคภูมิใจของคนกรุงเทพฯ เป็นผลงานที่สุดของที่สุดทางด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ภายใต้การบริหารจัดการของกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่แค่เฉพาะการสร้างสนามกีฬาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการลงทุนที่จะสร้างประโยชน์กลับคืนให้กับกรุงเทพฯประเทศไทยในอนาคตด้วย โดยความมุ่งมั่นที่จะสร้างเวทีระดับสากลในการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาไทย ให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่อง สำหรับการเพิ่มพื้นที่ด้านสุขภาพ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนเมืองให้สมบูรณ์ครบถ้วนมากขึ้น และบัดนี้ความประสงค์ดังกล่าวประสบผลสำเร็จเสร็จสิ้นเป็นเป็นสุดยอดสนาม กีฬาระดับภูมิภาค Landmark แห่งใหม่ ตัวแทนอัตลักษณ์ไทยบนเวทีโลกสง่างามแล้ว ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/nnd/1789325] http://www.ryt9.com/s/nnd/1789325]
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)