โอกาสประเทศไทย:เมืองศูนย์กลางอารยสถาปัตย์แห่งประชาคมอาเซียน
คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : เมื่อช่วงบ่ายวันพฤหัสที่ 14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทูตอารยสถาปัตย์ และโครงการขับเคลื่อน และพัฒนาอารยสถาปัตย์ไทยสู่เวทีโลก โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และพันธมิตรได้จัดเวทีเสวนาวาระชาติ หัวข้อ "โอกาสประเทศไทย กับการก้าวไปสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางอารยสถาปัตย์แห่งประชาคมอาเซียน" ที่ตึก สสส.ซอยงามดูพลี
เวทีนี้มีผู้บริหาร และนำองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนผู้นำเครือข่ายผู้พิการประเภทต่างๆ เข้าร่วมเสวนากันอย่างคับคั่ง เริ่มจากประธานเปิดงาน คือ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่แสดงความมั่นใจในศักยภาพประเทศไทย โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งเมืองไทยมีโอกาสเป็นผู้นำอารยสถาปัตย์ในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างแน่นอน
"การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือโอกาสที่ไทยจะเสนอเป็นศูนย์กลางเมืองอารยสถาปัตย์ในระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะคนพิการและคนสูงอายุ อีกทั้ง ยังเป็นโอกาสที่ไทยจะสร้างเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวและพักผ่อนของคนสูงอายุ อารยสถาปัตย์ หรือหลักการออกแบบที่เป็นสากล และเป็นมิตรกับคนทั้งมวล จะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเท่าเทียมในสังคม" รมต.วิทยาศาสตร์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ดร.พิเชฐ มองว่า การสร้างเมืองอารยสถาปัตย์ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความร่วมมือ และบูรณาการทำงานของหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะในเชิงกายภาพ แต่ยังรวมถึงการเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยีด้วย
ทางด้าน ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า แนวคิดเรื่องอารยสถาปัตย์ เป็นเรื่องการออกแบบเพื่อทุกคนซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในประเทศ ชั้นนำ เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ ที่มีการปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน และในขณะนี้จะเห็นว่าหลายหน่วยงานในประเทศไทยเริ่มหันมาให้ความสนใจอย่าง จริงจัง ทั้งนี้ ในส่วนของ สสส.เองได้มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ที่จะมุ่งเน้นการดำเนินงานใน 4 ด้าน คือ
1.การสร้างองค์ความรู้และพัฒนาเครือข่ายในกลุ่มเยาวชน นักศึกษา ผู้บริหารองค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน 2.การผลักดันนโนบาย ระเบียบข้อบังคับร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ 3. การสื่อสารสาธารณะ เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนักของสังคม และ4. การพัฒนากลไกการติดตาม และผลักดันขยายผลนโยบายการออกแบบเพื่อคนทุกคน จนทำให้เกิดองค์ความรู้ งานวิชาการต่างๆ เช่น การจัดคู่มือการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาและสถาปนิก รวมถึงจะมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจน สามารถนำผลงานเหล่านั้นไปกำหนดนโยบาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ได้ โดยมีภาคประชาสังคมเป็นแรงขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง
อนาคตประเทศไทย กับการเป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองทางด้านอารยสถาปัตย์ของประชาคม อาเซียน อยู่ไม่ไกลเกินฝันแล้วครับ สัปดาห์หน้ามาฟังมุมมองของผู้บริหารองค์กรชั้นนำกับการรวมพลังขับเคลื่อน ประเทศไทยไปสู่ผู้นำอารยสถาปัตย์ในภูมิภาคอาเซียนกันบ้างครับ
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150518/206438.html (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เวทีเสวนาวาระชาติ หัวข้อ "โอกาสประเทศไทย กับการก้าวไปสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางอารยสถาปัตย์แห่งประชาคมอาเซียน" คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : เมื่อช่วงบ่ายวันพฤหัสที่ 14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทูตอารยสถาปัตย์ และโครงการขับเคลื่อน และพัฒนาอารยสถาปัตย์ไทยสู่เวทีโลก โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และพันธมิตรได้จัดเวทีเสวนาวาระชาติ หัวข้อ "โอกาสประเทศไทย กับการก้าวไปสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางอารยสถาปัตย์แห่งประชาคมอาเซียน" ที่ตึก สสส.ซอยงามดูพลี เวทีนี้มีผู้บริหาร และนำองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนผู้นำเครือข่ายผู้พิการประเภทต่างๆ เข้าร่วมเสวนากันอย่างคับคั่ง เริ่มจากประธานเปิดงาน คือ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่แสดงความมั่นใจในศักยภาพประเทศไทย โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งเมืองไทยมีโอกาสเป็นผู้นำอารยสถาปัตย์ในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างแน่นอน เวทีเสวนาวาระชาติ หัวข้อ "โอกาสประเทศไทย กับการก้าวไปสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางอารยสถาปัตย์แห่งประชาคมอาเซียน" "การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือโอกาสที่ไทยจะเสนอเป็นศูนย์กลางเมืองอารยสถาปัตย์ในระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะคนพิการและคนสูงอายุ อีกทั้ง ยังเป็นโอกาสที่ไทยจะสร้างเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวและพักผ่อนของคนสูงอายุ อารยสถาปัตย์ หรือหลักการออกแบบที่เป็นสากล และเป็นมิตรกับคนทั้งมวล จะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเท่าเทียมในสังคม" รมต.วิทยาศาสตร์ กล่าว อย่างไรก็ตาม ดร.พิเชฐ มองว่า การสร้างเมืองอารยสถาปัตย์ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความร่วมมือ และบูรณาการทำงานของหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะในเชิงกายภาพ แต่ยังรวมถึงการเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยีด้วย ทางด้าน ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า แนวคิดเรื่องอารยสถาปัตย์ เป็นเรื่องการออกแบบเพื่อทุกคนซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในประเทศ ชั้นนำ เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ ที่มีการปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน และในขณะนี้จะเห็นว่าหลายหน่วยงานในประเทศไทยเริ่มหันมาให้ความสนใจอย่าง จริงจัง ทั้งนี้ ในส่วนของ สสส.เองได้มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ที่จะมุ่งเน้นการดำเนินงานใน 4 ด้าน คือ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1.การสร้างองค์ความรู้และพัฒนาเครือข่ายในกลุ่มเยาวชน นักศึกษา ผู้บริหารองค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน 2.การผลักดันนโนบาย ระเบียบข้อบังคับร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ 3. การสื่อสารสาธารณะ เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนักของสังคม และ4. การพัฒนากลไกการติดตาม และผลักดันขยายผลนโยบายการออกแบบเพื่อคนทุกคน จนทำให้เกิดองค์ความรู้ งานวิชาการต่างๆ เช่น การจัดคู่มือการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาและสถาปนิก รวมถึงจะมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจน สามารถนำผลงานเหล่านั้นไปกำหนดนโยบาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ได้ โดยมีภาคประชาสังคมเป็นแรงขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง อนาคตประเทศไทย กับการเป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองทางด้านอารยสถาปัตย์ของประชาคม อาเซียน อยู่ไม่ไกลเกินฝันแล้วครับ สัปดาห์หน้ามาฟังมุมมองของผู้บริหารองค์กรชั้นนำกับการรวมพลังขับเคลื่อน ประเทศไทยไปสู่ผู้นำอารยสถาปัตย์ในภูมิภาคอาเซียนกันบ้างครับ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150518/206438.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)