จับตาจ่ายค่าซ่อมรถเมล์ใหม่2.4พันล.ตั้งแต่วันแรกที่วิ่ง??
ต้องยอมรับว่าการจัดซื้อ "รถเมล์ขสมก." เป็นหนึ่งโครงการที่ถูกจับตามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มโครงการในช่วงหลายรัฐบาลที่ผ่านมา นับตั้งแต่รูปแบบการจัดหาว่าจะเป็น “ซื้อ” หรือ “เช่า” วงเงินงบประมาณที่เคยตั้งกันไว้สูงลิบเฉียดแสนล้าน กับรถใหม่จำนวน 6,000 คัน จากนั้นก็มีการศึกษาตรวจสอบปรับแก้กันเรื่อยมา ทั้งในเรื่องของราคารถ จำนวนรถ มาจนถึงคุณสมบัติของรถ ความยาวรถ จนถึงที่ถกเถียงกันมากในเรื่องประเด็นเรื่องสเปค ชานต่ำ ชานสูง มาสรุปหยุดลงได้ทั้งหมดในช่วงรัฐบาลภายใต้การบริหารงานของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชุดนี้ โดยจะจัดซื้อรถเมล์ใช้ก๊าซเอ็นจีวีทั้งหมดจำนวน 3,183 คัน เป็นรถโดยสารธรรมดา (รถร้อน) จำนวน 1,659 คัน และรถโดยสารปรับอากาศ (รถแอร์) จำนวน 1,524 คัน โดยรถแอร์เป็นรถชานต่ำ ไร้บันได ส่วนรถร้อนไม่กำหนดเป็นชานต่ำ แต่ให้จัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกรถวีลแชร์โดยแป้นยกกว้างไม่น้อยกว่า 80 ซม. ยาวไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร วงเงินงบประมาณทั้งโครงการ 13,162.2 ล้านบาท ซึ่งได้แบ่งจัดซื้อในล็อตแรกก่อนจำนวน 489 คันเป็นรถแอร์งบประมาณ 1,784.85 ล้านบาท
หลังจากที่ได้ข้อสรุปเรื่องข้อกำหนดเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) ที่ประกาศฟังความคิดเห็นมามากกว่า 11 ครั้ง ในที่สุด องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และสามารถปรับลดราคากลางของรถเมล์แอร์ลงจากคันละ 4.5 ล้านบาท เหลือคันละ 3.6 ล้านบาท และประกาศยื่นซองประมูลไป 3 ครั้ง จนได้มีการประกวดราคาแบบอิเล็กทรอนิกส์ มีเอกชนเข้าเคาะราคาแข่งขัน2ราย เมื่อวันที่ 22 เม.ย.2558 ก็ได้ กลุ่มกิจการร่วมค้า JVCC ซึ่งมี บมจ.ช.ทวี ดอลลาเซียน (CHO)ร่วมด้วยนั้น เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่จะได้งานการจัดซื้อตัวรถวงเงินกว่า 1.7 พันล้านบาทแล้ว ในโครงการนี้จะมีการจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถทั้ง 489 คันกับผู้ชนะการประมูลอีก 1 สัญญา ในวงเงินราคากลาง 2,446,354,409.24 บาท หรือกว่า 2,446ล้านบาท โดยแยกเป็นค่าเหมาซ่อมปีที่ 1 – 5 ประมาณการไว้ในอัตรา 925.91บาทต่อคันต่อวัน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปีที่ 6 – 10 ประมาณการไว้ในอัตรา 1,636 บาทต่อคันต่อวัน ซึ่งรวมแล้ววงเงินสำหรับโครงการจัดซื้อและค่าซ่อมรถเมล์ปรับอากาศในเอ็นจีวี 489 คันนั้นสูงถึงกว่า 4,220 ล้านบาท โดยขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปสุดท้ายว่าเอกชนจะลดราคาให้เป็นเงินเท่าใดที่ภาครัฐต้องจ่ายไปกับโครงการนี้
ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พ.ค. นางปราณี ศุกระศร กรรมการบริหารกิจการองค์การและรักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)กล่าวว่า ภายหลังจากได้มีการเจรจาราคากลางของโครงการจัดซื้อตัวรถกับ กลุ่มกิจการร่วมค้า JVCC จากคันละ 3.65 ล้านบาทเหลือคันละ 3.55 ล้านบาทไปแล้วนั้นถือว่าเป็นราคาที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการต่างๆ มาถูกต้องแล้วไม่ได้มีการจัดซื้อแพงแต่อย่างใด โดย ในวันที่18 พ.ค.นี้ทางคณะกรรมการจะเจรจากับทางบริษัทฯถึงแผนการเหมาซ่อมบำรุงโดยการจ้างซ่อมบำรุงรถเมล์แยกเป็นอีก1สัญญาราคากลางในการซ่อมบำรุง 10 ปีวงเงิน 2,446.35 ล้านบาท ซึ่งขสมก.จำเป็นต้องมีสัญญาจ้างเหมาซ่อมเพราะรถที่วิ่งให้บริการจะมีการเสียชำรุดในการใช้งาน จำเป็นต้องมีค่าเหมาซ่อมเพื่อให้เกิดความสะดวกแนะสามารถมีรถบริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง โดยจำเป็นต้องเหมาซ่อมนับแต่ได้นำรถออกวิ่งให้บริการ ผลการพูดคุยกับทางบริษัทฯเบื้องต้นได้ค่าเหมาซ่อมปีที่ 1 – 5 อัตราราว 925 บาทต่อคันต่อวันตามที่กำหนดไว้ และขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาค่าเหมาซ่อมในปีที่ 6 - 10 ที่ประมาณการไว้ 1,636 บาทต่อคันต่อวัน ได้ให้เอกชนเสนอแผนการซ่อมว่าจะลดราคาลงได้เท่าไร หลังจากขั้นตอนการพิจารณาการจัดซื้อรถเมล์จะเสร็จสิ้น ก็จะเซ็นสัญญากับบริษัทเอกชนภายใน 90 วันทันที และ บริษัทฯจะต้องทยอยส่งรถให้ขสมก.โดยจะต้องนำรถมาวิ่งทดสอบเป็นระยะเวลา3วันติดต่อกัน อย่างไรก็ตามเนื่องจากขั้นตอนกระบวนการมีความล่าช้ามาก การนำรถมาให้บริการประชาชนอาจจะต้องเลื่อนไปเป็นกลางเดือนส.ค.58 จากที่กำหนดการเดิมจะได้รถเข้ามาใช้งานในเดือนก.ค.
นายชัยสิทธิ์ รูโปบล เครือข่ายประชาชนเพื่อเฝ้าระวังการคอร์รัปชั่นในภาครัฐ กล่าวว่า ทางเครือข่ายเห็นว่าราคารถที่เจรจาได้นั้นเป็นราคาที่สูงมาก ซึ่งจากข้อมูลของค่าตัวรถในสเปคที่จัดซื้อนั้น มีข้อมูลว่าราคาที่ 3 ล้านบาทต่อคันจะเป็นราคาที่เหมาะสมกว่าหากขสมก.ยอมรับการเจรจาที่ราคาคันละ 3.5 ล้านบาท ตนก็ยังมองว่าเป็นราคาที่แพงและซื้อในปริมาณมากขนาดนี้ส่งผลให้เอกชนได้กำไรไปจำนวนมากซึ่งน่าจะต่อรองราคาลงมาได้มากกว่านี้
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ได้ตรวจสอบพบว่าอาจจะทำให้ต้องใช้งบประมาณของทางราชการมากเกินความจำเป็นขึ้นไปอีกคือ ในส่วนของสัญญาค่าจ้างเหมาซ่อมซึ่งเป็นการเหมาจ่ายค่าซ่อมรถต่อคันต่อวันไปทุกวัน โดยเริ่มจ่ายนับแต่วันแรกที่รถออกมาวิ่งให้บริการประชาชน ค่าใช้จ่ายตรงนี้ตนไม่สามารถยอมรับได้ ซึ่งตามหลักความจริงแล้วรถที่มาสภาพใหม่นั้นไม่ควรจะต้องจ่ายค่าเหมาซ่อมในปีแรกทันที ควรจะให้รถมีอายุใช้งานไปสักระยะ อาจจะเป็นปีที่ 3 หรือปีที่5 ขึ้นไป น่าจะเหมาะสมกว่า ซึ่งรถเมล์ที่จัดซื้อมากถึง 489คันก็คงไม่ได้เสียทุกคันทุกวันแต่กลับต้องจ่ายค่าซ่อมไปทุกคันทุกวัน ตรงนี้ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบความเหมาะสมด้วย ซึ่งตามปกติของการจัดซื้อรถก็จะมีระยะเวลาประกันการซ่อมบำรุงรถให้ ยิ่งในการจัดซื้อในจำนวนล็อตใหญ่ก็ควรได้รับการดูแลหลังการขายเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ทางเครือข่ายฯจะติดตามดูจนถึงข้อสรุปหากพบว่าโครงการนี้ได้ทำให้เกิดความเสียหายแก่งบประมาณของทางราชการก็จะพิจารณาดำเนินการส่งเรื่องให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการต่อไป
ด้านนายวินัย แซ่หุ่น ผู้รับมอบอำนาจบริษัท China National Heavy Machinery Corporation (CHMC) กล่าวว่า การจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีดังกล่าว ทางCHMC รัฐวิสากิจของจีนได้เสนอโครงการจัดหารถโดยสารประจำทาง 4,000 คันให้กับกระทรวงคมนาคมในรูปแบบจีทูจี (โดยการเซ็นต์สัญญากับรัฐวิสาหกิจไทย มีกระทรวงการคลังของไทยค้ำประกัน และขสมก.ต้องทำหนังสือกู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกของประเทศจีน) ซึ่งได้เสนอเรื่องตั้งแต่ในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา รวมทั้งในรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยได้ทำหนังสือขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.57 และขอเข้าพบปลัดกระทรวงคมนาคม ลงวันที่ 29 ก.ค.57 แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา ซึ่งตนในฐานะที่ได้ติดตามการดำเนินโครงการดังกล่าว เห็นว่าราคารถแอร์ที่เจรจาราคาได้ที่ 3.55 ล้านบาท และยังมีค่าใช้จ่ายค่าซ่อมบำรุง 10 ปีคันละ 4.67 ล้านบาทยังไม่รวมค่าดอกเบี้ย ค่าวัสดุสิ้นเปลืองในการซ่อมรถ ซึ่งรวมทั้งโครงการแล้วจะเป็นวงเงินที่สูงมาก ซึ่งหากเปรียบเทียบกับที่ทางบริษัทฯได้เสนอไปเป็นรถแอร์ทั้งหมดราคาความยาวรถ10.5เมตรซึ่งรถมาตรฐานส่งออกยุโรป ราคาคันละประมาณ 4.9 ล้านบาทซึ่งเป็นราคาที่รวมค่าซ่อมบำรุงตามระยะทาง อาทิ ค่าน้ำมันเครื่อง ไส้กรอง และค่าซ่อมบำรุงรักษาระบบรถยนต์ทั้งหมดเป็นครั้ง ๆตามอาการที่เกิดขึ้น อาทิ ซ่อมเครื่องยนต์ ซ่อมระบบช่วงล่าง โดยรวมการดูแลเปลี่ยนวัสดุสิ้นเปลืองเช่น ยางรถยนต์ แบตเตอรี่ ผ้าเบรค ตลอด10ปีพร้อมรวมดอกเบี้ยแล้ว และยังได้จัดทำแผนฟื้นฟูให้กับขสมก.ตัดภาระเรื่องค่าเช่าอู่ ค่าโอที อีกทั้งทางบริษัทฯยังได้เพิ่มการเปลี่ยนรถเมล์ใหม่ให้อีก 489 คัน เพื่อครบ5ปี เท่ากับว่าขสมก.จะมีรถใช้ทั้งหมด 978 คันในวงเงินงบประมาณโครงการที่ถูกลงกว่าครึ่ง และได้จัดทำแผน
อย่างไรก็ตามกระบวนการของหน่วยงานที่รับผิดชอบได้เดินหน้ามาถึงขั้นตอนนี้แล้ว ตนเพียงแต่อยากชี้ให้ถึงแนวทางในการจัดหารถที่มีทางเลือกอื่นๆให้ทางภาครัฐได้พิจารณาอีกมาก ซึ่งอาจจะมีเงื่อนของบริษัทอื่นๆที่อาจมีข้อเสนอที่ดีให้เป็นตัวเลือกในการดำเนินโครงการ ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ประชาชนต้องได้รับบริการรถเมล์ที่มีประสิทธิภาพ และภาครัฐใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด
เป็นอีกปมปัญหาที่น่าจับตาว่าโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีล็อตแรก ที่เดินหน้ามาจนเกือบจะถึงจุดที่เรียกว่าใกล้ความจริงเข้ามาทุกขณะแล้วนั้น คนกรุงเทพฯจะได้ใช้รถเมล์ใหม่กันเสียทีหรือยัง และเมื่อผลการเจรจาถึงที่สุดแล้ว ขสมก.ควรต้องออกมาแจกแจงกับประชาชนเจ้าของเงินภาษีของทั้งประเทศว่า งบประมาณที่ใช้ไปในโครงการนี้ได้บริหารจัดการได้โดยเกิดประสิทธิภาพ ไม่เกิดข้อเคลือบแคลงสงสัย ที่สำคัญในโครงการนี้ยังเหลือรถเมล์อีกกว่า2,600 คันที่จะเตรียมจัดซื้อกันอีกในเร็วๆนี้ที่จะต้องใช้งบอีกมหาศาล.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/bangkok/321119 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รถเมล์ขสมก. ต้องยอมรับว่าการจัดซื้อ "รถเมล์ขสมก." เป็นหนึ่งโครงการที่ถูกจับตามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มโครงการในช่วงหลายรัฐบาลที่ผ่านมา นับตั้งแต่รูปแบบการจัดหาว่าจะเป็น “ซื้อ” หรือ “เช่า” วงเงินงบประมาณที่เคยตั้งกันไว้สูงลิบเฉียดแสนล้าน กับรถใหม่จำนวน 6,000 คัน จากนั้นก็มีการศึกษาตรวจสอบปรับแก้กันเรื่อยมา ทั้งในเรื่องของราคารถ จำนวนรถ มาจนถึงคุณสมบัติของรถ ความยาวรถ จนถึงที่ถกเถียงกันมากในเรื่องประเด็นเรื่องสเปค ชานต่ำ ชานสูง มาสรุปหยุดลงได้ทั้งหมดในช่วงรัฐบาลภายใต้การบริหารงานของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชุดนี้ โดยจะจัดซื้อรถเมล์ใช้ก๊าซเอ็นจีวีทั้งหมดจำนวน 3,183 คัน เป็นรถโดยสารธรรมดา (รถร้อน) จำนวน 1,659 คัน และรถโดยสารปรับอากาศ (รถแอร์) จำนวน 1,524 คัน โดยรถแอร์เป็นรถชานต่ำ ไร้บันได ส่วนรถร้อนไม่กำหนดเป็นชานต่ำ แต่ให้จัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกรถวีลแชร์โดยแป้นยกกว้างไม่น้อยกว่า 80 ซม. ยาวไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร วงเงินงบประมาณทั้งโครงการ 13,162.2 ล้านบาท ซึ่งได้แบ่งจัดซื้อในล็อตแรกก่อนจำนวน 489 คันเป็นรถแอร์งบประมาณ 1,784.85 ล้านบาท หลังจากที่ได้ข้อสรุปเรื่องข้อกำหนดเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) ที่ประกาศฟังความคิดเห็นมามากกว่า 11 ครั้ง ในที่สุด องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และสามารถปรับลดราคากลางของรถเมล์แอร์ลงจากคันละ 4.5 ล้านบาท เหลือคันละ 3.6 ล้านบาท และประกาศยื่นซองประมูลไป 3 ครั้ง จนได้มีการประกวดราคาแบบอิเล็กทรอนิกส์ มีเอกชนเข้าเคาะราคาแข่งขัน2ราย เมื่อวันที่ 22 เม.ย.2558 ก็ได้ กลุ่มกิจการร่วมค้า JVCC ซึ่งมี บมจ.ช.ทวี ดอลลาเซียน (CHO)ร่วมด้วยนั้น เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่จะได้งานการจัดซื้อตัวรถวงเงินกว่า 1.7 พันล้านบาทแล้ว ในโครงการนี้จะมีการจ้างซ่อมแซมและบำรุงรักษารถทั้ง 489 คันกับผู้ชนะการประมูลอีก 1 สัญญา ในวงเงินราคากลาง 2,446,354,409.24 บาท หรือกว่า 2,446ล้านบาท โดยแยกเป็นค่าเหมาซ่อมปีที่ 1 – 5 ประมาณการไว้ในอัตรา 925.91บาทต่อคันต่อวัน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปีที่ 6 – 10 ประมาณการไว้ในอัตรา 1,636 บาทต่อคันต่อวัน ซึ่งรวมแล้ววงเงินสำหรับโครงการจัดซื้อและค่าซ่อมรถเมล์ปรับอากาศในเอ็นจีวี 489 คันนั้นสูงถึงกว่า 4,220 ล้านบาท โดยขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปสุดท้ายว่าเอกชนจะลดราคาให้เป็นเงินเท่าใดที่ภาครัฐต้องจ่ายไปกับโครงการนี้ รถเมล์ขสมก. แบบชานต่ำ ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พ.ค. นางปราณี ศุกระศร กรรมการบริหารกิจการองค์การและรักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)กล่าวว่า ภายหลังจากได้มีการเจรจาราคากลางของโครงการจัดซื้อตัวรถกับ กลุ่มกิจการร่วมค้า JVCC จากคันละ 3.65 ล้านบาทเหลือคันละ 3.55 ล้านบาทไปแล้วนั้นถือว่าเป็นราคาที่ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการต่างๆ มาถูกต้องแล้วไม่ได้มีการจัดซื้อแพงแต่อย่างใด โดย ในวันที่18 พ.ค.นี้ทางคณะกรรมการจะเจรจากับทางบริษัทฯถึงแผนการเหมาซ่อมบำรุงโดยการจ้างซ่อมบำรุงรถเมล์แยกเป็นอีก1สัญญาราคากลางในการซ่อมบำรุง 10 ปีวงเงิน 2,446.35 ล้านบาท ซึ่งขสมก.จำเป็นต้องมีสัญญาจ้างเหมาซ่อมเพราะรถที่วิ่งให้บริการจะมีการเสียชำรุดในการใช้งาน จำเป็นต้องมีค่าเหมาซ่อมเพื่อให้เกิดความสะดวกแนะสามารถมีรถบริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง โดยจำเป็นต้องเหมาซ่อมนับแต่ได้นำรถออกวิ่งให้บริการ ผลการพูดคุยกับทางบริษัทฯเบื้องต้นได้ค่าเหมาซ่อมปีที่ 1 – 5 อัตราราว 925 บาทต่อคันต่อวันตามที่กำหนดไว้ และขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาค่าเหมาซ่อมในปีที่ 6 - 10 ที่ประมาณการไว้ 1,636 บาทต่อคันต่อวัน ได้ให้เอกชนเสนอแผนการซ่อมว่าจะลดราคาลงได้เท่าไร หลังจากขั้นตอนการพิจารณาการจัดซื้อรถเมล์จะเสร็จสิ้น ก็จะเซ็นสัญญากับบริษัทเอกชนภายใน 90 วันทันที และ บริษัทฯจะต้องทยอยส่งรถให้ขสมก.โดยจะต้องนำรถมาวิ่งทดสอบเป็นระยะเวลา3วันติดต่อกัน อย่างไรก็ตามเนื่องจากขั้นตอนกระบวนการมีความล่าช้ามาก การนำรถมาให้บริการประชาชนอาจจะต้องเลื่อนไปเป็นกลางเดือนส.ค.58 จากที่กำหนดการเดิมจะได้รถเข้ามาใช้งานในเดือนก.ค. นายชัยสิทธิ์ รูโปบล เครือข่ายประชาชนเพื่อเฝ้าระวังการคอร์รัปชั่นในภาครัฐ กล่าวว่า ทางเครือข่ายเห็นว่าราคารถที่เจรจาได้นั้นเป็นราคาที่สูงมาก ซึ่งจากข้อมูลของค่าตัวรถในสเปคที่จัดซื้อนั้น มีข้อมูลว่าราคาที่ 3 ล้านบาทต่อคันจะเป็นราคาที่เหมาะสมกว่าหากขสมก.ยอมรับการเจรจาที่ราคาคันละ 3.5 ล้านบาท ตนก็ยังมองว่าเป็นราคาที่แพงและซื้อในปริมาณมากขนาดนี้ส่งผลให้เอกชนได้กำไรไปจำนวนมากซึ่งน่าจะต่อรองราคาลงมาได้มากกว่านี้ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ได้ตรวจสอบพบว่าอาจจะทำให้ต้องใช้งบประมาณของทางราชการมากเกินความจำเป็นขึ้นไปอีกคือ ในส่วนของสัญญาค่าจ้างเหมาซ่อมซึ่งเป็นการเหมาจ่ายค่าซ่อมรถต่อคันต่อวันไปทุกวัน โดยเริ่มจ่ายนับแต่วันแรกที่รถออกมาวิ่งให้บริการประชาชน ค่าใช้จ่ายตรงนี้ตนไม่สามารถยอมรับได้ ซึ่งตามหลักความจริงแล้วรถที่มาสภาพใหม่นั้นไม่ควรจะต้องจ่ายค่าเหมาซ่อมในปีแรกทันที ควรจะให้รถมีอายุใช้งานไปสักระยะ อาจจะเป็นปีที่ 3 หรือปีที่5 ขึ้นไป น่าจะเหมาะสมกว่า ซึ่งรถเมล์ที่จัดซื้อมากถึง 489คันก็คงไม่ได้เสียทุกคันทุกวันแต่กลับต้องจ่ายค่าซ่อมไปทุกคันทุกวัน ตรงนี้ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบความเหมาะสมด้วย ซึ่งตามปกติของการจัดซื้อรถก็จะมีระยะเวลาประกันการซ่อมบำรุงรถให้ ยิ่งในการจัดซื้อในจำนวนล็อตใหญ่ก็ควรได้รับการดูแลหลังการขายเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ทางเครือข่ายฯจะติดตามดูจนถึงข้อสรุปหากพบว่าโครงการนี้ได้ทำให้เกิดความเสียหายแก่งบประมาณของทางราชการก็จะพิจารณาดำเนินการส่งเรื่องให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการต่อไป ด้านนายวินัย แซ่หุ่น ผู้รับมอบอำนาจบริษัท China National Heavy Machinery Corporation (CHMC) กล่าวว่า การจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีดังกล่าว ทางCHMC รัฐวิสากิจของจีนได้เสนอโครงการจัดหารถโดยสารประจำทาง 4,000 คันให้กับกระทรวงคมนาคมในรูปแบบจีทูจี (โดยการเซ็นต์สัญญากับรัฐวิสาหกิจไทย มีกระทรวงการคลังของไทยค้ำประกัน และขสมก.ต้องทำหนังสือกู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกของประเทศจีน) ซึ่งได้เสนอเรื่องตั้งแต่ในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา รวมทั้งในรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยได้ทำหนังสือขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.57 และขอเข้าพบปลัดกระทรวงคมนาคม ลงวันที่ 29 ก.ค.57 แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา ซึ่งตนในฐานะที่ได้ติดตามการดำเนินโครงการดังกล่าว เห็นว่าราคารถแอร์ที่เจรจาราคาได้ที่ 3.55 ล้านบาท และยังมีค่าใช้จ่ายค่าซ่อมบำรุง 10 ปีคันละ 4.67 ล้านบาทยังไม่รวมค่าดอกเบี้ย ค่าวัสดุสิ้นเปลืองในการซ่อมรถ ซึ่งรวมทั้งโครงการแล้วจะเป็นวงเงินที่สูงมาก ซึ่งหากเปรียบเทียบกับที่ทางบริษัทฯได้เสนอไปเป็นรถแอร์ทั้งหมดราคาความยาวรถ10.5เมตรซึ่งรถมาตรฐานส่งออกยุโรป ราคาคันละประมาณ 4.9 ล้านบาทซึ่งเป็นราคาที่รวมค่าซ่อมบำรุงตามระยะทาง อาทิ ค่าน้ำมันเครื่อง ไส้กรอง และค่าซ่อมบำรุงรักษาระบบรถยนต์ทั้งหมดเป็นครั้ง ๆตามอาการที่เกิดขึ้น อาทิ ซ่อมเครื่องยนต์ ซ่อมระบบช่วงล่าง โดยรวมการดูแลเปลี่ยนวัสดุสิ้นเปลืองเช่น ยางรถยนต์ แบตเตอรี่ ผ้าเบรค ตลอด10ปีพร้อมรวมดอกเบี้ยแล้ว และยังได้จัดทำแผนฟื้นฟูให้กับขสมก.ตัดภาระเรื่องค่าเช่าอู่ ค่าโอที อีกทั้งทางบริษัทฯยังได้เพิ่มการเปลี่ยนรถเมล์ใหม่ให้อีก 489 คัน เพื่อครบ5ปี เท่ากับว่าขสมก.จะมีรถใช้ทั้งหมด 978 คันในวงเงินงบประมาณโครงการที่ถูกลงกว่าครึ่ง และได้จัดทำแผน รถเมล์ขสมก. แบบชานต่ำ อย่างไรก็ตามกระบวนการของหน่วยงานที่รับผิดชอบได้เดินหน้ามาถึงขั้นตอนนี้แล้ว ตนเพียงแต่อยากชี้ให้ถึงแนวทางในการจัดหารถที่มีทางเลือกอื่นๆให้ทางภาครัฐได้พิจารณาอีกมาก ซึ่งอาจจะมีเงื่อนของบริษัทอื่นๆที่อาจมีข้อเสนอที่ดีให้เป็นตัวเลือกในการดำเนินโครงการ ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ประชาชนต้องได้รับบริการรถเมล์ที่มีประสิทธิภาพ และภาครัฐใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด เป็นอีกปมปัญหาที่น่าจับตาว่าโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีล็อตแรก ที่เดินหน้ามาจนเกือบจะถึงจุดที่เรียกว่าใกล้ความจริงเข้ามาทุกขณะแล้วนั้น คนกรุงเทพฯจะได้ใช้รถเมล์ใหม่กันเสียทีหรือยัง และเมื่อผลการเจรจาถึงที่สุดแล้ว ขสมก.ควรต้องออกมาแจกแจงกับประชาชนเจ้าของเงินภาษีของทั้งประเทศว่า งบประมาณที่ใช้ไปในโครงการนี้ได้บริหารจัดการได้โดยเกิดประสิทธิภาพ ไม่เกิดข้อเคลือบแคลงสงสัย ที่สำคัญในโครงการนี้ยังเหลือรถเมล์อีกกว่า2,600 คันที่จะเตรียมจัดซื้อกันอีกในเร็วๆนี้ที่จะต้องใช้งบอีกมหาศาล. ขอบคุณ...
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)