ติดลิฟท์คนพิการไม่ทันตามศาลสั่ง

แสดงความคิดเห็น

การติดตั้งลิฟต์โดยสารผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส

นายอมรกิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวถึง ความคืบหน้าการติดตั้งลิฟต์โดยสารผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทุกสถานีว่า ตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาให้ กทม.ดำเนินการเมื่อวันที่ 21 ม.ค.58 ที่ผ่านมา ซึ่งตัวแทนผู้พิการได้ฟ้องกทม. ที่ไม่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในรถไฟฟ้าบีทีเอส ว่าปัจจุบันกทม.ได้ติดตั้งลิฟต์โดยสารแล้วในเส้นทางส่วนต่อขยายที่กทม.เป็นผู้ดูแลเองจำนวน 11 สถานี ส่วนในเส้นทางสัมปทานจำนวน 23 สถานี นั้นทางบีทีเอสได้ติดตั้งที่สถานีที่มีความจำเป็นแล้ว 5สถานีได้แก่ หมอชิต อโศก สยามอ่อนนุช และช่องนนทรีส่วนอีก 18 สถานี ที่เหลือใช้งบของกทม.โดยสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) เป็นผู้ว่าจ้างผู้รับเหมามาดำเนินการ

นายอมร กล่าวต่อว่า ตามคำสั่งศาลฯกทม.จะต้องติดตั้งให้เสร็จทุกสถานีภายในเดือนพฤศจิกายน 2558 แต่เนื่องจากมีเจ้าของอาคาร ที่อยู่บริเวณจุดที่จะติดตั้งลิฟต์ได้ร้องเรียนคัดค้านการก่อสร้างลิฟต์ที่จะไปบดบังภูมิทัศน์หน้าอาคารกทม.จึงได้ศึกษาและปรับเปลี่ยนรูปแบบและเลื่อนจุดก่อสร้าง จนเป็นที่พอใจกับทุกฝ่ายแต่ปรากฏว่าจุดที่จะก่อสร้างมีระบบสาธารณูปโภคใต้ดินจำนวนมาก จึงต้องใช้เวลาดำเนินการเคลื่อนย้ายทำให้แผนงานอาจเสร็จล่าช้าไปจากเดิมคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ประมาณต้นปี 59 ซึ่งทางสจส.จะได้ทำหนังสือแจ้งศาลปกครองถึงปัญหาอุปสรรคที่ทำให้งานล่าช้าต่อไป

งานก่อสร้าง การติดตั้งลิฟต์โดยสารผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส

อย่างไรก็ตาม ภายในปีนี้จะสามารถติดตั้งแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 70 ซึ่งจะพร้อมเปิดให้บริการในอีกหลายสถานี โดยการติดตั้งแต่ละสถานีจะมีลิฟต์โดยสาร 4 ตัวหรือฝั่งละ 2 ตัวรวม 72 ตัว ราคาตัวละประมาณ 3 ล้านบาท นอกจากนี้ กทม.และบีทีเอสอยู่ระหว่างหารือร่วมกันในการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาในทุกสถานีจากเดิมที่มีแนวคิดจะติดตั้งในสถานีที่มีผู้โดยสารหนาแน่น แต่ปัจจุบันพบว่า ทุกสถานีต่างมีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นอีกทั้งที่ผ่านมามีเหตุการณ์ผู้โดยสารตกรางดังนั้น จึงเห็นตรงกันว่าควรทำทุกสถานีเพื่อความปลอดภัยโดยกทม.จะติดตั้งในสถานีส่วนต่อขยาย ส่วนบีทีเอสจะติดตั้งในสถานีเส้นทางสัมปทาน

สำหรับกรณีดังกล่าว ได้มีการร้องเรียนจากประชาชนถึงโครงการก่อสร้างที่ล่าช้าซึ่งกทม.ได้ลงนามว่าจ้างตั้งแต่ 31 ก.ค.57 ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งตัดสินกรณีดังกล่าว แต่ขณะนี้ผ่านมากว่า 1 ปีการก่อสร้างยังคืบหน้าไม่ถึงร้อยละ50ไม่เป็นไปตามแผนงาน.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/bangkok/349830 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ย.58
วันที่โพสต์: 24/09/2558 เวลา 14:02:45 ดูภาพสไลด์โชว์ ติดลิฟท์คนพิการไม่ทันตามศาลสั่ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การติดตั้งลิฟต์โดยสารผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส นายอมรกิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวถึง ความคืบหน้าการติดตั้งลิฟต์โดยสารผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทุกสถานีว่า ตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาให้ กทม.ดำเนินการเมื่อวันที่ 21 ม.ค.58 ที่ผ่านมา ซึ่งตัวแทนผู้พิการได้ฟ้องกทม. ที่ไม่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในรถไฟฟ้าบีทีเอส ว่าปัจจุบันกทม.ได้ติดตั้งลิฟต์โดยสารแล้วในเส้นทางส่วนต่อขยายที่กทม.เป็นผู้ดูแลเองจำนวน 11 สถานี ส่วนในเส้นทางสัมปทานจำนวน 23 สถานี นั้นทางบีทีเอสได้ติดตั้งที่สถานีที่มีความจำเป็นแล้ว 5สถานีได้แก่ หมอชิต อโศก สยามอ่อนนุช และช่องนนทรีส่วนอีก 18 สถานี ที่เหลือใช้งบของกทม.โดยสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) เป็นผู้ว่าจ้างผู้รับเหมามาดำเนินการ นายอมร กล่าวต่อว่า ตามคำสั่งศาลฯกทม.จะต้องติดตั้งให้เสร็จทุกสถานีภายในเดือนพฤศจิกายน 2558 แต่เนื่องจากมีเจ้าของอาคาร ที่อยู่บริเวณจุดที่จะติดตั้งลิฟต์ได้ร้องเรียนคัดค้านการก่อสร้างลิฟต์ที่จะไปบดบังภูมิทัศน์หน้าอาคารกทม.จึงได้ศึกษาและปรับเปลี่ยนรูปแบบและเลื่อนจุดก่อสร้าง จนเป็นที่พอใจกับทุกฝ่ายแต่ปรากฏว่าจุดที่จะก่อสร้างมีระบบสาธารณูปโภคใต้ดินจำนวนมาก จึงต้องใช้เวลาดำเนินการเคลื่อนย้ายทำให้แผนงานอาจเสร็จล่าช้าไปจากเดิมคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ประมาณต้นปี 59 ซึ่งทางสจส.จะได้ทำหนังสือแจ้งศาลปกครองถึงปัญหาอุปสรรคที่ทำให้งานล่าช้าต่อไป งานก่อสร้าง การติดตั้งลิฟต์โดยสารผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อย่างไรก็ตาม ภายในปีนี้จะสามารถติดตั้งแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 70 ซึ่งจะพร้อมเปิดให้บริการในอีกหลายสถานี โดยการติดตั้งแต่ละสถานีจะมีลิฟต์โดยสาร 4 ตัวหรือฝั่งละ 2 ตัวรวม 72 ตัว ราคาตัวละประมาณ 3 ล้านบาท นอกจากนี้ กทม.และบีทีเอสอยู่ระหว่างหารือร่วมกันในการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาในทุกสถานีจากเดิมที่มีแนวคิดจะติดตั้งในสถานีที่มีผู้โดยสารหนาแน่น แต่ปัจจุบันพบว่า ทุกสถานีต่างมีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นอีกทั้งที่ผ่านมามีเหตุการณ์ผู้โดยสารตกรางดังนั้น จึงเห็นตรงกันว่าควรทำทุกสถานีเพื่อความปลอดภัยโดยกทม.จะติดตั้งในสถานีส่วนต่อขยาย ส่วนบีทีเอสจะติดตั้งในสถานีเส้นทางสัมปทาน สำหรับกรณีดังกล่าว ได้มีการร้องเรียนจากประชาชนถึงโครงการก่อสร้างที่ล่าช้าซึ่งกทม.ได้ลงนามว่าจ้างตั้งแต่ 31 ก.ค.57 ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งตัดสินกรณีดังกล่าว แต่ขณะนี้ผ่านมากว่า 1 ปีการก่อสร้างยังคืบหน้าไม่ถึงร้อยละ50ไม่เป็นไปตามแผนงาน. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/bangkok/349830

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...