ก้าวข้ามขีดจำกัด นิเทศศาสตร์ มน.ทำสื่อเพื่อน้องที่มองไม่เห็น
นิสิตนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ขยายขีดความสามารถด้านการสื่อสารช่วยเหลือชุมชน โดยจัดโครงการลงพื้นที่บำเพ็ญประโยชน์ด้วยความรู้พิเศษเชิงนิเทศศาสตร์ ผ่านโครงการ "เสียงนี้เพื่อน้อง" ด้วยการผลิต และรับบริจาคหนังสือเสียงเพื่อนำไปมอบให้กับน้องๆ ที่โรงเรียนผู้บกพร่องทางการมองเห็น
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นิสิตภาควิชานิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลกกว่า 40 คน ได้เดินทางนำหนังสือเสียง (ไฟล์เสียง) สิ่งของบริจาค และเงินบริจาค ไปมอบให้กับคณะครู และนักเรียนโรงเรียนสันติจินตนา อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับเยาวชนผู้บกพร่องทางการมองเห็น เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน และการใช้ชีวิตประจำวัน ตามโครงการ "เสียงนี้เพื่อน้อง" ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมมอบความสนุกสนานร่วมกับน้องๆ ผู้พิการทางการมองเห็น และคณะครูกว่า 50 คน
นอกจากวัตถุประสงค์หลักของโครงการ ในการผลิต และรวบรวมหนังสือเสียง (ที่มีผู้ร่วมผลิต และบริจาค) ที่ประกอบด้วยหนังสือเสียงเนื้อหาหลากหลายรูปแบบ เช่น นิยาย นิทาน เกร็ดความรู้ ความรู้วิชาการต่างๆ เพื่อนำไปมอบให้กับน้องๆ แล้ว ผศ.กาญจนา เชี่ยววิทย์การ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการประเมินว่า หลังจบโครงการนี้แล้ว ทางโครงการได้สร้างคุณประโยชน์มากกว่าการบริจาค รับบริจาค หรือการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เมื่อพบว่านิสิตนิเทศศาสตร์กลับได้ฝึกฝนพัฒนาตนเอง และค้นพบศักยภาพด้านการสื่อสารของตนเองเพื่อส่งสารต่อไปยังมวลชนทุกคนอย่างแท้จริง
"นิสิตกลุ่มนี้มาจากสาขาสื่อสารมวลชน เอกวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งปกติก็จะเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติผลิตสื่อและเนื้อหาให้กับผู้รับสารทั่วไปดู และฟัง แต่จากโครงการนี้เห็นได้ชัดว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่เพียงพอ นิสิตต้องใช้ความรู้ที่มากกว่านั้น เพราะต้องสื่อสารกับกลุ่มคนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น" ผศ.กาญจนากล่าว และเสริมอีกว่า "ความรู้จากห้องเรียนนิเทศศาสตร์จึงยังไม่เพียงพอ นิสิตยังต้องเรียนรู้จากคนกลุ่มต่างๆ รู้จักวิเคราะห์ผู้รับสารที่มีความแตกต่างหลากหลายอีกมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในสังคม โครงการนี้จึงเป็นการก้าวข้ามการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์แบบปกติทั่วไป หรือเป็นการก้าวให้พ้นขีดจำกัดของนิเทศศาสตร์แบบเดิมออกไป"
ขณะที่ นางสาวปรวิน เมธาวีคุณากร นิสิตสาขาสื่อสารมวลชนปี 3 ฝ่ายวิชาการของโครงการบอกว่า ตนเองและเพื่อนๆ เรียนรู้ถึงข้อจำกัดที่ไม่พบในชั้นเรียนจากโครงการนี้มากมาย เช่น การเลือกเนื้อหาเพื่อผลิตไฟล์เสียง การใช้น้ำเสียง การใช้ภาษา และอื่นๆ อีกมาก ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความรู้ใหม่ในการผลิตสื่อเพื่อน้องผู้บกพร่องทางการมองเห็นทั้งสิ้น ดังนั้น การเรียนรู้ข้อจำกัดเหล่านี้ ก็จะช่วยให้นิสิตเข้าใจถึงการผลิตเนื้อหาที่มีความละเอียดอ่อนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับมวลชนทั่วไป หรือมวลชนที่มีข้อจำกัดต่างๆ ก็ตาม
ทางด้านนายณัฐพล จันทร์สา นิสิตสาขาสื่อสารมวลชนปี 3 ในฐานะประธานโครงการ ก็บอกว่าโครงการนี้พัฒนามาจากรุ่นพี่ที่จัดโครงการครั้งที่ 1 ไปเมื่อปี พ.ศ.2557 และก็หวังว่าประโยชน์ที่ได้นี้จะเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับเพื่อนๆ น้องๆ วิชาเอกสื่อสารมวลชนรุ่นถัดไป รวมถึงคนอื่นๆ ที่เข้ามาร่วมโครงการ ได้พัฒนาศักยภาพของนักนิเทศศาสตร์ให้ก้าวหน้าต่อไปอีก
ส่วนอาจารย์อัญชนา ก่อมาลัยพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสันติจินตนา กล่าวถึงโครงการจากน้องนิสิตนิเทศศาสตร์กลุ่มนี้ว่า มีประโยชน์อย่างมากในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการเข้ามาพบปะพูดคุยร่วมสนุกสนานกับน้องๆ ผู้บกพร่องทางการมองเห็นที่โดยปกติก็จะอยู่ในโลกของตน กับสังคมในไม่ได้กว้างเหมือนคนปกติทั่วไป จึงอยากเชิญชวนให้นิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ มาจัดกิจกรรมในลักษณะนี้มากขึ้น
เช่นเดียวกับคุณครูจันจิรา ฟั่นหลี ครูประจำห้องสมุดและเจ้าหน้าที่ผลิตสื่อ ที่ย้ำว่าโครงการแบบนี้มีประโยชน์กับน้องๆ มากมาย ขณะเดียวกันกระบวนการผลิตสื่อลักษณะพิเศษแบบนี้ต้องใช้ทักษะความรู้ที่แตกต่างๆ จากการผลิตสื่อให้คนปกติทั่วไป จึงคิดว่าน้องๆ นิสิตนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมลักษณะนี้ทั้งในด้านวิชาการ และด้านวิชาชีวิตอย่างมาก
สำหรับโรงเรียนสันติจินตนา จังหวัดแพร่ เป็นโรงเรียนเอกชนการกุศล บริการน้องๆ ผู้บกพร่องการมองเห็นในจังหวัดแพร่ และจังหวัดใกล้เคียง สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โดยบางส่วนก็เป็นน้องๆ ที่ได้เข้าไปเรียนร่วมในโรงเรียนปกติในระดับมัธยมด้วย
: นิสิตวิชาเอกวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ....รายงาน
ขอบคุณ... http://campus.sanook.com/1381317/
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นิสิตนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ลงพื้นที่บำเพ็ญประโยชน์ด้วยความรู้พิเศษเชิงนิเทศศาสตร์ ผ่านโครงการ "เสียงนี้เพื่อน้อง" ที่โรงเรียนผู้บกพร่องทางการมองเห็น นิสิตนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ขยายขีดความสามารถด้านการสื่อสารช่วยเหลือชุมชน โดยจัดโครงการลงพื้นที่บำเพ็ญประโยชน์ด้วยความรู้พิเศษเชิงนิเทศศาสตร์ ผ่านโครงการ "เสียงนี้เพื่อน้อง" ด้วยการผลิต และรับบริจาคหนังสือเสียงเพื่อนำไปมอบให้กับน้องๆ ที่โรงเรียนผู้บกพร่องทางการมองเห็น เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นิสิตภาควิชานิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลกกว่า 40 คน ได้เดินทางนำหนังสือเสียง (ไฟล์เสียง) สิ่งของบริจาค และเงินบริจาค ไปมอบให้กับคณะครู และนักเรียนโรงเรียนสันติจินตนา อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับเยาวชนผู้บกพร่องทางการมองเห็น เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน และการใช้ชีวิตประจำวัน ตามโครงการ "เสียงนี้เพื่อน้อง" ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมมอบความสนุกสนานร่วมกับน้องๆ ผู้พิการทางการมองเห็น และคณะครูกว่า 50 คน นอกจากวัตถุประสงค์หลักของโครงการ ในการผลิต และรวบรวมหนังสือเสียง (ที่มีผู้ร่วมผลิต และบริจาค) ที่ประกอบด้วยหนังสือเสียงเนื้อหาหลากหลายรูปแบบ เช่น นิยาย นิทาน เกร็ดความรู้ ความรู้วิชาการต่างๆ เพื่อนำไปมอบให้กับน้องๆ แล้ว ผศ.กาญจนา เชี่ยววิทย์การ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการประเมินว่า หลังจบโครงการนี้แล้ว ทางโครงการได้สร้างคุณประโยชน์มากกว่าการบริจาค รับบริจาค หรือการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เมื่อพบว่านิสิตนิเทศศาสตร์กลับได้ฝึกฝนพัฒนาตนเอง และค้นพบศักยภาพด้านการสื่อสารของตนเองเพื่อส่งสารต่อไปยังมวลชนทุกคนอย่างแท้จริง "นิสิตกลุ่มนี้มาจากสาขาสื่อสารมวลชน เอกวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งปกติก็จะเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติผลิตสื่อและเนื้อหาให้กับผู้รับสารทั่วไปดู และฟัง แต่จากโครงการนี้เห็นได้ชัดว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่เพียงพอ นิสิตต้องใช้ความรู้ที่มากกว่านั้น เพราะต้องสื่อสารกับกลุ่มคนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น" ผศ.กาญจนากล่าว และเสริมอีกว่า "ความรู้จากห้องเรียนนิเทศศาสตร์จึงยังไม่เพียงพอ นิสิตยังต้องเรียนรู้จากคนกลุ่มต่างๆ รู้จักวิเคราะห์ผู้รับสารที่มีความแตกต่างหลากหลายอีกมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในสังคม โครงการนี้จึงเป็นการก้าวข้ามการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์แบบปกติทั่วไป หรือเป็นการก้าวให้พ้นขีดจำกัดของนิเทศศาสตร์แบบเดิมออกไป" ขณะที่ นางสาวปรวิน เมธาวีคุณากร นิสิตสาขาสื่อสารมวลชนปี 3 ฝ่ายวิชาการของโครงการบอกว่า ตนเองและเพื่อนๆ เรียนรู้ถึงข้อจำกัดที่ไม่พบในชั้นเรียนจากโครงการนี้มากมาย เช่น การเลือกเนื้อหาเพื่อผลิตไฟล์เสียง การใช้น้ำเสียง การใช้ภาษา และอื่นๆ อีกมาก ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความรู้ใหม่ในการผลิตสื่อเพื่อน้องผู้บกพร่องทางการมองเห็นทั้งสิ้น ดังนั้น การเรียนรู้ข้อจำกัดเหล่านี้ ก็จะช่วยให้นิสิตเข้าใจถึงการผลิตเนื้อหาที่มีความละเอียดอ่อนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับมวลชนทั่วไป หรือมวลชนที่มีข้อจำกัดต่างๆ ก็ตาม ทางด้านนายณัฐพล จันทร์สา นิสิตสาขาสื่อสารมวลชนปี 3 ในฐานะประธานโครงการ ก็บอกว่าโครงการนี้พัฒนามาจากรุ่นพี่ที่จัดโครงการครั้งที่ 1 ไปเมื่อปี พ.ศ.2557 และก็หวังว่าประโยชน์ที่ได้นี้จะเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับเพื่อนๆ น้องๆ วิชาเอกสื่อสารมวลชนรุ่นถัดไป รวมถึงคนอื่นๆ ที่เข้ามาร่วมโครงการ ได้พัฒนาศักยภาพของนักนิเทศศาสตร์ให้ก้าวหน้าต่อไปอีก ส่วนอาจารย์อัญชนา ก่อมาลัยพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสันติจินตนา กล่าวถึงโครงการจากน้องนิสิตนิเทศศาสตร์กลุ่มนี้ว่า มีประโยชน์อย่างมากในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการเข้ามาพบปะพูดคุยร่วมสนุกสนานกับน้องๆ ผู้บกพร่องทางการมองเห็นที่โดยปกติก็จะอยู่ในโลกของตน กับสังคมในไม่ได้กว้างเหมือนคนปกติทั่วไป จึงอยากเชิญชวนให้นิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ มาจัดกิจกรรมในลักษณะนี้มากขึ้น เช่นเดียวกับคุณครูจันจิรา ฟั่นหลี ครูประจำห้องสมุดและเจ้าหน้าที่ผลิตสื่อ ที่ย้ำว่าโครงการแบบนี้มีประโยชน์กับน้องๆ มากมาย ขณะเดียวกันกระบวนการผลิตสื่อลักษณะพิเศษแบบนี้ต้องใช้ทักษะความรู้ที่แตกต่างๆ จากการผลิตสื่อให้คนปกติทั่วไป จึงคิดว่าน้องๆ นิสิตนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมลักษณะนี้ทั้งในด้านวิชาการ และด้านวิชาชีวิตอย่างมาก สำหรับโรงเรียนสันติจินตนา จังหวัดแพร่ เป็นโรงเรียนเอกชนการกุศล บริการน้องๆ ผู้บกพร่องการมองเห็นในจังหวัดแพร่ และจังหวัดใกล้เคียง สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โดยบางส่วนก็เป็นน้องๆ ที่ได้เข้าไปเรียนร่วมในโรงเรียนปกติในระดับมัธยมด้วย : นิสิตวิชาเอกวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ....รายงาน ขอบคุณ... http://campus.sanook.com/1381317/
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)