ก.ไอซีทีบุกเกาหลีดูการใช้ไอทีลดความเหลือมล้ำการศึกษา

แสดงความคิดเห็น

ก.ไอซีทีบุกเกาหลีดูการใช้ไอที และภาพสิ่งอำนวยความสะดวกด้าน ไอซีที ไอซีที ศึกษาแนวทางการพัฒนาด้านไอซีที เพื่อการศึกษาของประเทศเกาหลีใต้ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อเด็กด้อยโอกาสให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้น ทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์...

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า หลังจากเดินทางไปศึกษาดูงานหน่วยงานด้านไอซีที เพื่อการศึกษา ณ ประเทศเกาหลีใต้ ร่วมกับผู้แทนจาก ๔ หน่วยงาน คือ สำนักงานส่งเสริมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ ข้อตกลงทางวิชาการเพื่อการพัฒนาการใช้ไอซีทีในการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสและ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้น ทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์ เพื่อการศึกษาจาก KERIS (Korea Education and Research Information Service) และ NIA (Nation Information Society Agency) ซึ่งสะท้อนภาพการทำงานจากนโยบายไปสู่การปฏิบัติด้านไอซีที อย่างเป็นรูปธรรม โดย KERIS จะเน้นการทำงานกับเด็กในระบบโรงเรียนผ่านการพัฒนาโปรแกรมไอซีทีที่สอดคล้อง กับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม อาทิ โปรแกรม EDUNET ที่ส่งเสริมการสอนและการฝึกอบรมของครู โปรแกรม Research Information Service System (RISS) ที่ให้บริการด้านสารสนเทศเพื่อการวิจัย โปรแกรม National Education Information System (NEIS) ที่สนับสนุนการบริหารจัดการระบบการศึกษา (e-Administration) ส่วนความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจาก NIA ของเกาหลีใต้นั้น จะเน้นการใช้ไอซีทีเพื่อประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยในการศึกษาดูงานหน่วยงาน ครั้งนี้เน้นเฉพาะกลุ่มคนพิการ ซึ่งมีการนำเสนออุปกรณ์ hi-tech ที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ของคนพิการในแต่ละกลุ่ม อาทิ เครื่องสั่งการเมาส์ทางสายตาสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว (แขน) เครื่องขยายตัวอักษรสำหรับผู้พิการ ทางการมองเห็น เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังศึกษาดูงาน พิพิธภัณฑ์คลองชองเกชอน ที่สะท้อนภาพความรักชาติ และความร่วมมือสานสัมพันธ์เพื่อพัฒนาชาติไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาสายน้ำที่มีสภาพสกปรกและเน่าเหม็นในอดีต ให้กลายเป็นคลองที่ใสสะอาดในปัจจุบัน โดยโครงการนี้ใช้เวลา ๒ ปี ๓ เดือนกับกระบวนการภาคประชาสังคม สร้างการมีส่วนร่วมโดยจัดประชุมมากกว่า ๔,๐๐๐ ครั้งกับผู้ได้รับผลกระทบในการก่อสร้างฟื้นฟูคลองหลายแสนคน และการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนตั้งแต่เด็กถึงผู้อาวุโสมีส่วนร่วมให้ความ คิดในการออกแบบคลอง อันนำมาสู่ความรู้สึกเป็นเจ้าของคลองอันเป็นสายเลือดหลักของกรุงโซลมาแต่ โบราณนี้อย่างแท้จริง

สำหรับ ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากประเทศเกาหลีใต้ในครั้งนี้ เป็นความรู้ที่คณะทำงานภายใต้ความร่วมมือ ๔ ฝ่ายสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมไทยได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการวางแผนการทำงานด้านไอซีที เพื่อเด็กด้อยโอกาสผ่านทุนและเครือข่ายการทำงานที่มีอยู่แล้ว อาทิ เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนของกระทรวงฯ ในการพัฒนา และกระจายสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพไปสู่เด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น

“นอกเหนือจากประสบการณ์ที่ได้รับแล้ว การศึกษาดูงานในครั้งนี้ยังได้สร้างแรงบันดาลใจร่วมกันในการผลักดันงานด้าน ไอซีที เพื่อเด็กด้อยโอกาสให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยปัจจัยความสำเร็จนั้นอยู่ที่การวางเป้าหมายทุกระยะอย่างชัดเจน ความร่วมมือกันอย่างดี และมีทัศนคติทางบวกต่อกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่จะทำให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานบนฐานทุนการทำงานที่แต่ละฝ่ายมีอยู่แล้ว อันจะทำให้งานทั้งหมดก้าวข้ามข้อจำกัดและดำเนินไปสู่เป้าหมายที่ทุกฝ่ายมี ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นางจีราวรรณ กล่าว

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๙ ก.ย.๕๕
วันที่โพสต์: 5/10/2555 เวลา 15:03:16 ดูภาพสไลด์โชว์ ก.ไอซีทีบุกเกาหลีดูการใช้ไอทีลดความเหลือมล้ำการศึกษา

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

สถิติความสนใจ

ชอบ: 1 คน (100%)

ไม่ชอบ: 0 คน (0%)

ไม่มีความเห็น: 0 คน (0%)

จำนวนคนโหวตทั้งหมด: 1 คน (100%)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ก.ไอซีทีบุกเกาหลีดูการใช้ไอที และภาพสิ่งอำนวยความสะดวกด้าน ไอซีทีไอซีที ศึกษาแนวทางการพัฒนาด้านไอซีที เพื่อการศึกษาของประเทศเกาหลีใต้ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อเด็กด้อยโอกาสให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้น ทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์... นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า หลังจากเดินทางไปศึกษาดูงานหน่วยงานด้านไอซีที เพื่อการศึกษา ณ ประเทศเกาหลีใต้ ร่วมกับผู้แทนจาก ๔ หน่วยงาน คือ สำนักงานส่งเสริมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้ ข้อตกลงทางวิชาการเพื่อการพัฒนาการใช้ไอซีทีในการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสและ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้น ทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์ เพื่อการศึกษาจาก KERIS (Korea Education and Research Information Service) และ NIA (Nation Information Society Agency) ซึ่งสะท้อนภาพการทำงานจากนโยบายไปสู่การปฏิบัติด้านไอซีที อย่างเป็นรูปธรรม โดย KERIS จะเน้นการทำงานกับเด็กในระบบโรงเรียนผ่านการพัฒนาโปรแกรมไอซีทีที่สอดคล้อง กับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม อาทิ โปรแกรม EDUNET ที่ส่งเสริมการสอนและการฝึกอบรมของครู โปรแกรม Research Information Service System (RISS) ที่ให้บริการด้านสารสนเทศเพื่อการวิจัย โปรแกรม National Education Information System (NEIS) ที่สนับสนุนการบริหารจัดการระบบการศึกษา (e-Administration) ส่วนความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจาก NIA ของเกาหลีใต้นั้น จะเน้นการใช้ไอซีทีเพื่อประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยในการศึกษาดูงานหน่วยงาน ครั้งนี้เน้นเฉพาะกลุ่มคนพิการ ซึ่งมีการนำเสนออุปกรณ์ hi-tech ที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ของคนพิการในแต่ละกลุ่ม อาทิ เครื่องสั่งการเมาส์ทางสายตาสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว (แขน) เครื่องขยายตัวอักษรสำหรับผู้พิการ ทางการมองเห็น เป็นต้น นอกจากนี้ ยังศึกษาดูงาน พิพิธภัณฑ์คลองชองเกชอน ที่สะท้อนภาพความรักชาติ และความร่วมมือสานสัมพันธ์เพื่อพัฒนาชาติไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาสายน้ำที่มีสภาพสกปรกและเน่าเหม็นในอดีต ให้กลายเป็นคลองที่ใสสะอาดในปัจจุบัน โดยโครงการนี้ใช้เวลา ๒ ปี ๓ เดือนกับกระบวนการภาคประชาสังคม สร้างการมีส่วนร่วมโดยจัดประชุมมากกว่า ๔,๐๐๐ ครั้งกับผู้ได้รับผลกระทบในการก่อสร้างฟื้นฟูคลองหลายแสนคน และการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนตั้งแต่เด็กถึงผู้อาวุโสมีส่วนร่วมให้ความ คิดในการออกแบบคลอง อันนำมาสู่ความรู้สึกเป็นเจ้าของคลองอันเป็นสายเลือดหลักของกรุงโซลมาแต่ โบราณนี้อย่างแท้จริง สำหรับ ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากประเทศเกาหลีใต้ในครั้งนี้ เป็นความรู้ที่คณะทำงานภายใต้ความร่วมมือ ๔ ฝ่ายสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมไทยได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการวางแผนการทำงานด้านไอซีที เพื่อเด็กด้อยโอกาสผ่านทุนและเครือข่ายการทำงานที่มีอยู่แล้ว อาทิ เครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนของกระทรวงฯ ในการพัฒนา และกระจายสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพไปสู่เด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น “นอกเหนือจากประสบการณ์ที่ได้รับแล้ว การศึกษาดูงานในครั้งนี้ยังได้สร้างแรงบันดาลใจร่วมกันในการผลักดันงานด้าน ไอซีที เพื่อเด็กด้อยโอกาสให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยปัจจัยความสำเร็จนั้นอยู่ที่การวางเป้าหมายทุกระยะอย่างชัดเจน ความร่วมมือกันอย่างดี และมีทัศนคติทางบวกต่อกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่จะทำให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานบนฐานทุนการทำงานที่แต่ละฝ่ายมีอยู่แล้ว อันจะทำให้งานทั้งหมดก้าวข้ามข้อจำกัดและดำเนินไปสู่เป้าหมายที่ทุกฝ่ายมี ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นางจีราวรรณ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...