ถุงมืออัจฉริยะผลงานไทยช่วยคนตาบอดรับรู้สิ่งกีดขวาง
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ผลิตถุงมืออัจฉริยะหวังช่วยคนตาบอดรับรู้สิ่งกีดขวางด้านหน้า และเป็นอุปกรณ์ช่วยในการเดินของผู้พิการ ณัฐพงศ์ เหลืองนฤดม อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนา สำนักคณบดีคณะเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (STC) ได้ผลิตถุงมืออัจฉริยะ หรือGeniusGlovesเพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วยในการเดินของผู้พิการ
“นวัตกรรมถุงมืออัจฉริยะเป็นนวัตกรรมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา หรือผู้บกพร่องทางการมองเห็น โดยถุงมืออัจฉริยะจะส่งสัญญาณในรูปแบบการสั่นเตือนให้ผู้พิการทางสายตาทราบว่ามีสิ่งกีดขวางอยู่ด้านหน้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของประเทศไทย ในต่างประเทศมีทำเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกับของเราแต่ของเราใช้งานง่ายและราคาไม่แพง”
สำหรับแผนการผลิตเพื่อจำหน่ายจะมีการผลิตเมื่อพัฒนาได้เหมาะสมกับผู้พิการทางสายตามากที่สุด และมีฟังก์ชั่นใช้งานที่มากขึ้น ซึ่งคาดว่าไม่ปลายปีนี้หรือต้นปีหน้าจะเริ่มผลิตและวางจำแหน่าย ในราคาไม่เกิน1,000บาทผ่านช่องทางจำหน่ายคือศูนย์วิจัยวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
“ตอนนี้เราผ่านขั้นตอนการพัฒนา และทดสอบถุงมือต้นแบบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการออกแบบเพื่อพัฒนาให้ดีมากขึ้นกว่ารุ่นต้นแบบ และมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่มากขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้น ดีไซน์สวยงามมากขึ้นเป็นถุงมืออัจฉริยะ II นวัตกรรมนี้เป็นต้นแบบในการพัฒนานวัตกรรมและการศึกษาของคณะและวิทยาลัย เพื่อสร้างผลงานวิจัยสำหรับผู้พิการและมีความบกพร่อง ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชองผู้พิการให้ดีขึ้น”
สำหรับผลงานอื่นๆ นอกจากถุงมืออัจฉริยะ II (Genius Gloves II) ที่จะพัฒนาในปีนี้แล้ว ยังมีผลงาน เช่น เครื่องติดตามและขอความช่วยเหลือสำหรับผู้พิการ โดยส่งสัญญาณผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแจ้งไปยังสถานีตำรวจ โรงพยาบาล กู้ภัย และอื่นๆ ที่อยู่ใกล้ผู้พิการที่ประสบอุบัติเหตุ หรือ ถูกจี้ปล้น หรือ ต้องการความช่วยเหลือ, แอพลิเคชั่นสำหรับเรียนรู้ภาษามือเบื้องต้นเพื่อสื่อสารกับผู้พิการทางประสาทหู, นวัตกรรมอุปกรณ์อ่านอักษรเสียง เพื่อช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9600000048813 (ขนาดไฟล์: 168)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ถุงมืออัจฉริยะ ช่วยคนตาบอดรับรู้สิ่งกีดขวาง วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ผลิตถุงมืออัจฉริยะหวังช่วยคนตาบอดรับรู้สิ่งกีดขวางด้านหน้า และเป็นอุปกรณ์ช่วยในการเดินของผู้พิการ ณัฐพงศ์ เหลืองนฤดม อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนา สำนักคณบดีคณะเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (STC) ได้ผลิตถุงมืออัจฉริยะ หรือGeniusGlovesเพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วยในการเดินของผู้พิการ “นวัตกรรมถุงมืออัจฉริยะเป็นนวัตกรรมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา หรือผู้บกพร่องทางการมองเห็น โดยถุงมืออัจฉริยะจะส่งสัญญาณในรูปแบบการสั่นเตือนให้ผู้พิการทางสายตาทราบว่ามีสิ่งกีดขวางอยู่ด้านหน้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของประเทศไทย ในต่างประเทศมีทำเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกับของเราแต่ของเราใช้งานง่ายและราคาไม่แพง” สำหรับแผนการผลิตเพื่อจำหน่ายจะมีการผลิตเมื่อพัฒนาได้เหมาะสมกับผู้พิการทางสายตามากที่สุด และมีฟังก์ชั่นใช้งานที่มากขึ้น ซึ่งคาดว่าไม่ปลายปีนี้หรือต้นปีหน้าจะเริ่มผลิตและวางจำแหน่าย ในราคาไม่เกิน1,000บาทผ่านช่องทางจำหน่ายคือศูนย์วิจัยวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม “ตอนนี้เราผ่านขั้นตอนการพัฒนา และทดสอบถุงมือต้นแบบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการออกแบบเพื่อพัฒนาให้ดีมากขึ้นกว่ารุ่นต้นแบบ และมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่มากขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้น ดีไซน์สวยงามมากขึ้นเป็นถุงมืออัจฉริยะ II นวัตกรรมนี้เป็นต้นแบบในการพัฒนานวัตกรรมและการศึกษาของคณะและวิทยาลัย เพื่อสร้างผลงานวิจัยสำหรับผู้พิการและมีความบกพร่อง ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชองผู้พิการให้ดีขึ้น” สำหรับผลงานอื่นๆ นอกจากถุงมืออัจฉริยะ II (Genius Gloves II) ที่จะพัฒนาในปีนี้แล้ว ยังมีผลงาน เช่น เครื่องติดตามและขอความช่วยเหลือสำหรับผู้พิการ โดยส่งสัญญาณผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแจ้งไปยังสถานีตำรวจ โรงพยาบาล กู้ภัย และอื่นๆ ที่อยู่ใกล้ผู้พิการที่ประสบอุบัติเหตุ หรือ ถูกจี้ปล้น หรือ ต้องการความช่วยเหลือ, แอพลิเคชั่นสำหรับเรียนรู้ภาษามือเบื้องต้นเพื่อสื่อสารกับผู้พิการทางประสาทหู, นวัตกรรมอุปกรณ์อ่านอักษรเสียง เพื่อช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา ถุงมืออัจฉริยะ ช่วยคนตาบอดรับรู้สิ่งกีดขวาง ถุงมืออัจฉริยะ ช่วยคนตาบอดรับรู้สิ่งกีดขวาง นายณัฐพงศ์ เหลืองนฤดม อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฯ เจ้าของผลงานถุงมืออัจฉริยะ สำหรับคนตาบอด ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9600000048813
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)