กรมการแพทย์โชว์เทคโนโลยีเครื่องช่วยฝึกการเคลื่อนไหวนวัตกรรมสุดเจ๋งเพื่อคนพิการ
กรมการแพทย์โดยสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ แถลงข่าวเปิดตัว "นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการ" พร้อมโชว์เทคโนโลยีเครื่องช่วยการฝึกเดิน ศูนย์ทดสอบอุปกรณ์และเครื่องช่วยความพิการทางการเคลื่อนไหวสำหรับคนพิการ รวมทั้งนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมารักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป
นายแพทย์ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากรายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย ปี 2558 ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าความพิการทางการเคลื่อนไหวมีมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง (48.81%) และกลุ่มคนพิการวัยสูงอายุ (อายุ 60ปีขึ้นไป) มีความพิการทางการเคลื่อนไหวมากที่สุด (51.26%) รองลงมาคือกลุ่มคนพิการที่อยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง 15-60 ปี (46.08%) ซึ่งหนึ่งในสาเหตุอันดับต้นของความพิการคือ ภาวะความเจ็บป่วยและโรคต่างๆ (30.14%) เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจตีบ เป็นต้น และเกิดจากอุบัติเหตุ (14.14%) ซึ่งผู้ที่มีชีวิตรอดจากสาเหตุ ดังกล่าวข้างต้น ได้รับผลที่ตามมาคือพิการหรือทุพพลภาพ ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการเดินและการประกอบ กิจวัตรประจำวันต่างๆมากขึ้นโดยความพิการทางการเคลื่อนไหวเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย
สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและพัฒนาวิชาการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการต่างๆ จึงได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้แก่
1.การฝึกเดินด้วยเครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดิน (Lokomat) เทคโนโลยีที่ใช้เพิ่มการทรงตัวและความมั่นคงในขณะเดินให้แก่ผู้ป่วยเป็นการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวเรื่องการเดิน ใช้รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผู้ป่วยบาดเจ็บสันหลัง ผู้ป่วยเด็กสมองพิการ และผู้ป่วยพาร์กินสัน เป็นต้น ผู้ป่วยจะได้ฝึกเดินบนสายพานเลื่อนที่มีที่พยุงน้ำหนักตัว และมีขาของหุ่นยนต์ประกบกับขาของผู้ป่วย ซึ่งขาของหุ่นยนต์จะขับเคลื่อนด้วยระบบคอมพิวเตอร์คอยควบคุม การเคลื่อนไหวของข้อสะโพกและข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยเดินด้วยจังหวะและท่าทางการเดินคล้ายธรรมชาติ คล้ายคลึงกับการทรงตัวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้การเคลื่อนไหวทำให้ผู้ป่วยสามารถพัฒนารูปแบบการเดินและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาได้มากขึ้น ซึ่งจากผลงานวิจัยพบว่าการใช้เครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดินในการฝึกเดินร่วมกับการฝึกทางกายภาพบำบัดมีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลับมาเดินเองได้ มากกว่าการฝึกทางกายภาพบำบัดอย่างเดียวและได้ผลดีโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองมานาน 3 เดือน และยังไม่เคยได้รับการฝึกเดินมาก่อน2เครื่องฝึกการทรงตัวบนลู่เดิน (Perturbation Treadmill) พัฒนาเพื่อเพิ่มทักษะด้านการทรงตัวและความมั่นคงในการเดินเป็นเครื่องสำหรับฝึกการทรงตัวบนลู่เดินประกอบด้วยลู่วิ่งไฟฟ้า (Treadmill) ที่ถูกออกแบบมาพิเศษกว่าลู่วิ่งไฟฟฟ้าทั่วไป คือ สามารถจำลองการเดินได้ 4 ทิศทาง ได้แก่ ทิศทางด้านหน้าหลังซ้าย และขวาพร้อมชุดอุปกรณ์พยุงน้ำหนักร่างกายและระบบคอมพิวเตอร์พร้อมหน้าจอแสดงผลเพื่อการฟื้นฟูและเพิ่มทักษะตอบสนองการทรงตัวขณะที่มีการเคลื่อนไหวในทิศทางต่างๆ คล้ายคลึงกับการทรงตัวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันเหมาะสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีความบกพร้องหรือมีความผิดปกติของระบบการควบคุมสมดุลของร่างกายและการทรงตัวในขณะยืนและเดิน เพื่อลดโอกาสในการล้มและสามารถเดินโดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น ผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางการกีฬาเป็นต้น ผู้ป่วยจะได้รับการปรับการทรงตัว ประเมินความเสี่ยงในการล้ม และประเมินด้วยเครื่องวิเคราะห์การยืนลงน้ำหนักและการเดินทั้งก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมการฝึก
ด้านแพทย์หญิงดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กล่าวเสริมว่า นอกจากการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับคนพิการแล้ว สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติยังได้พัฒนาศูนย์ทดสอบอุปกรณ์และเครื่องช่วยความพิการทางการเคลื่อนไหวสำหรับคนพิการประกอบด้วย ศูนย์ทดสอบรถนั่งคนพิการและศูนย์ทดสอบข้อเข่าเทียมและฝ่าเท้าเทียม ซึ่งปัจจุบันรถนั่งคนพิการที่ให้บริการในประเทศไทย ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศและบางส่วนผลิตขึ้นในประเทศไทยซึ่งสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.2207-2547 "รถเข็นคนไข้นั่งชนิดพับได้" ไว้แล้ว แต่ยังไม่มีห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ โยสถาบันสิริธรฯ ได้ร่วมมือกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย (สสท.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พัฒนาศูนย์ทดสอบให้ได้มาตรฐานระดับสากลเพื่อส่งเสริมงานวิจัย ลดการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานเพื่อการส่งออกในระดับอาเซียน และเพื่อให้คนพิการได้รับอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมเข้าสู่สังคม
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/2629908
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กรมการแพทย์โดยสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ แถลงข่าวเปิดตัว "นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการ" กรมการแพทย์โดยสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ แถลงข่าวเปิดตัว "นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการ" พร้อมโชว์เทคโนโลยีเครื่องช่วยการฝึกเดิน ศูนย์ทดสอบอุปกรณ์และเครื่องช่วยความพิการทางการเคลื่อนไหวสำหรับคนพิการ รวมทั้งนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมารักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป นายแพทย์ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากรายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย ปี 2558 ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าความพิการทางการเคลื่อนไหวมีมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง (48.81%) และกลุ่มคนพิการวัยสูงอายุ (อายุ 60ปีขึ้นไป) มีความพิการทางการเคลื่อนไหวมากที่สุด (51.26%) รองลงมาคือกลุ่มคนพิการที่อยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง 15-60 ปี (46.08%) ซึ่งหนึ่งในสาเหตุอันดับต้นของความพิการคือ ภาวะความเจ็บป่วยและโรคต่างๆ (30.14%) เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจตีบ เป็นต้น และเกิดจากอุบัติเหตุ (14.14%) ซึ่งผู้ที่มีชีวิตรอดจากสาเหตุ ดังกล่าวข้างต้น ได้รับผลที่ตามมาคือพิการหรือทุพพลภาพ ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการเดินและการประกอบ กิจวัตรประจำวันต่างๆมากขึ้นโดยความพิการทางการเคลื่อนไหวเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและพัฒนาวิชาการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการต่างๆ จึงได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้แก่ 1.การฝึกเดินด้วยเครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดิน (Lokomat) เทคโนโลยีที่ใช้เพิ่มการทรงตัวและความมั่นคงในขณะเดินให้แก่ผู้ป่วยเป็นการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวเรื่องการเดิน ใช้รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผู้ป่วยบาดเจ็บสันหลัง ผู้ป่วยเด็กสมองพิการ และผู้ป่วยพาร์กินสัน เป็นต้น ผู้ป่วยจะได้ฝึกเดินบนสายพานเลื่อนที่มีที่พยุงน้ำหนักตัว และมีขาของหุ่นยนต์ประกบกับขาของผู้ป่วย ซึ่งขาของหุ่นยนต์จะขับเคลื่อนด้วยระบบคอมพิวเตอร์คอยควบคุม การเคลื่อนไหวของข้อสะโพกและข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยเดินด้วยจังหวะและท่าทางการเดินคล้ายธรรมชาติ คล้ายคลึงกับการทรงตัวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้การเคลื่อนไหวทำให้ผู้ป่วยสามารถพัฒนารูปแบบการเดินและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาได้มากขึ้น ซึ่งจากผลงานวิจัยพบว่าการใช้เครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดินในการฝึกเดินร่วมกับการฝึกทางกายภาพบำบัดมีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลับมาเดินเองได้ มากกว่าการฝึกทางกายภาพบำบัดอย่างเดียวและได้ผลดีโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองมานาน 3 เดือน และยังไม่เคยได้รับการฝึกเดินมาก่อน2เครื่องฝึกการทรงตัวบนลู่เดิน (Perturbation Treadmill) พัฒนาเพื่อเพิ่มทักษะด้านการทรงตัวและความมั่นคงในการเดินเป็นเครื่องสำหรับฝึกการทรงตัวบนลู่เดินประกอบด้วยลู่วิ่งไฟฟ้า (Treadmill) ที่ถูกออกแบบมาพิเศษกว่าลู่วิ่งไฟฟฟ้าทั่วไป คือ สามารถจำลองการเดินได้ 4 ทิศทาง ได้แก่ ทิศทางด้านหน้าหลังซ้าย และขวาพร้อมชุดอุปกรณ์พยุงน้ำหนักร่างกายและระบบคอมพิวเตอร์พร้อมหน้าจอแสดงผลเพื่อการฟื้นฟูและเพิ่มทักษะตอบสนองการทรงตัวขณะที่มีการเคลื่อนไหวในทิศทางต่างๆ คล้ายคลึงกับการทรงตัวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันเหมาะสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีความบกพร้องหรือมีความผิดปกติของระบบการควบคุมสมดุลของร่างกายและการทรงตัวในขณะยืนและเดิน เพื่อลดโอกาสในการล้มและสามารถเดินโดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น ผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางการกีฬาเป็นต้น ผู้ป่วยจะได้รับการปรับการทรงตัว ประเมินความเสี่ยงในการล้ม และประเมินด้วยเครื่องวิเคราะห์การยืนลงน้ำหนักและการเดินทั้งก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมการฝึก ด้านแพทย์หญิงดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กล่าวเสริมว่า นอกจากการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับคนพิการแล้ว สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติยังได้พัฒนาศูนย์ทดสอบอุปกรณ์และเครื่องช่วยความพิการทางการเคลื่อนไหวสำหรับคนพิการประกอบด้วย ศูนย์ทดสอบรถนั่งคนพิการและศูนย์ทดสอบข้อเข่าเทียมและฝ่าเท้าเทียม ซึ่งปัจจุบันรถนั่งคนพิการที่ให้บริการในประเทศไทย ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศและบางส่วนผลิตขึ้นในประเทศไทยซึ่งสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.2207-2547 "รถเข็นคนไข้นั่งชนิดพับได้" ไว้แล้ว แต่ยังไม่มีห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ โยสถาบันสิริธรฯ ได้ร่วมมือกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย (สสท.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พัฒนาศูนย์ทดสอบให้ได้มาตรฐานระดับสากลเพื่อส่งเสริมงานวิจัย ลดการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานเพื่อการส่งออกในระดับอาเซียน และเพื่อให้คนพิการได้รับอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมเข้าสู่สังคม ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/2629908
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)