เครื่องช่วยฟังดิจิทัล มิติใหม่ของคน ‘หูหนวก’

แสดงความคิดเห็น

เครื่องช่วยฟังดิจิทัล ภาวะสูญเสียการได้ยิน ยังคงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ หากดูจากสถิติปี พ.ศ. ๒๕๔๗ จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีประชากรที่สูญเสียการได้ยินในระดับ ๖๕ เดซิเบล กว่า ๖๓๖,๑๕๑ คน นับเป็นความพิการอันดับ ๒ รองจาก ความพิการทางหู หรือ หูหนวก ซึ่งพบมากถึง ๓ ล้านราย โดยปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนไทยเท่านั้น เพราะสถิติจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ประชากรทั่วโลกกว่า ๒๕๐-๓๐๐ ล้านคน อยู่ในข่ายมีปัญหาทางการได้ยิน ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่ากังวลความพิการทางการได้ยิน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยแต่กลับถูกละเลย เนื่องจากเป็นภาวะซ้อนเร้นที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก ทำให้แนวโน้มของผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยืนยันได้จากผลการสำรวจสุขภาพของคนไทยจากการตรวจร่างกาย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๒ โดยประชากร มากกว่าร้อยละ ๑๐ สูญเสียการได้ยินในระดับที่ต่างกันไป ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้นทันทีที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ในทางการแพทย์ ปัญหาทางการได้ยินสามารถแก้ไขได้โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ช่วยขยายเสียง หรือเครื่องช่วยฟัง (Hearing aids) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ใช้เพิ่มความสามารถทางการได้ยินเสียงของผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ โดยทำหน้าที่ปรุงแต่งสัญญาณเสียงตามอัลกอริทึ่มที่กำหนด โดยผู้พิการมีสิทธิ์ได้รับการรักษา และได้รับเครื่องช่วยฟังฟรีจากนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่สถานการณ์ที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน การเข้าถึงเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง กลับเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากการใส่เครื่องช่วยฟังต้องอาศัยการควบคุมจากนักแก้ไขการได้ยิน ซึ่งทำหน้าที่ประเมินและทดลองปรับแต่งเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งมีระดับการสูญเสียที่ต่างกัน

ขั้นตอนดังกล่าวยุ่งยากและใช้เวลานาน อีกทั้งเครื่องช่วยฟัง เป็นอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ถ่านที่ใช้มีความเฉพาะ หาซื้อยาก และมีราคาแพง ทำให้การเข้าถึงเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังจึงเป็นไปอย่างจำกัด จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ “โครงการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยการได้ยินระดับอุตสาหกรรม” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัท ไอเมด ลาบอราทอรี่ จำกัด

โครงการดังกล่าว เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นำโดย “พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา” นักวิจัยจากสถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (REAT) เนคเทค ที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง “ดิจิทัล” สำหรับผู้ใช้งานที่มีปัญหาการได้ยิน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้พิการทางการได้ยิน ให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องนำเข้าเทคโนโลยีราคาแพงมาจากต่างประเทศ

ดร.พันศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค บอกว่า โครงการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบโจทย์ แนวคิดในการดูแลผู้สูงวัย และใส่ใจผู้พิการด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายของเนคเทค ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการ โดยพัฒนาเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสมกับการใช้งาน และที่สำคัญต้องมีราคาถูก ประชาชนสามารถเข้าถึงได้

ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องนำเข้าอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือคนพิการมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเครื่องช่วยฟังนำเข้าที่ราคาไม่ต่ำกว่าเครื่องละ ๑ หมื่นบาท ดังนั้นเป้าหมายของการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง จะต้องทำให้ตัวเครื่องมีราคาถูกกว่านำเข้า ในขณะที่ประสิทธิภาพทัดเทียมกับของนำเข้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้

ดังนั้น การวิจัยจึงต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยี การออกแบบตัวเครื่อง เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้จริง และผลิตได้ในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งการพัฒนาเครื่องช่วยฟังที่ได้มาตรฐาน ราคาเหมาะสม ผลิตได้เองได้ในประเทศ และมีค่าบำรุงรักษาต่ำ จะช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน ผู้อำนวยการเนคเทค บอกว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีจากการวิจัยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาด โดยราคาไม่สูงจนเกินไปนั้น เป็นจริงได้จากความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยและหน่วยงานพันธมิตรจากภาคเอกชน ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการตลาด ซึ่งความสำเร็จจากการร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ผู้มีรายได้น้อย สามารถเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูงได้ ท่ามกลางสถานการณ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้สูญเสียการได้ยิน

โดยข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่าทุก ๑๐๐ คน จะมีคนพิการทางการได้ยินประมาณ ๔ คน ซึ่งในประเทศไทยนั้นผลสำรวจพบว่า มีคนที่พิการทางการได้ยินราว ๔๐๐,๐๐๐ คน ทั้งกลุ่มที่สูญเสียการได้ยินตามวัยซึ่งไม่รุนแรง ไปจนถึงกลุ่มที่สูญเสียการได้ยินขั้นรุนแรง หรือพิการ อีกจำนวนมาก ๒๘% ของผู้สูงอายุมีปัญหาการได้ยิน ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนทั่วไปที่เมื่ออายุเกิน ๖๐ ปี คุณภาพการได้ยิน จะลดลง ๑ เดซิเบล และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง นักวิจัยกล่าว และอธิบายว่าภาวะการสูญเสียการได้ยินเกิดจากการได้ยินที่ลดลง หรือสูญเสียการได้ยินทั้งหมด เนื่องจากประสาทรับเสียงเสีย (Sensorineural Hearing loss) ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติแต่กำเนิด โดยหูทำงานบกพร่อง ความผิดปกติทางกายภาพภายในหู มีของเหลวอยู่ภายในหูชั้นกลาง การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุกระทบกระเทือนกับศีรษะ ผลกระทบจากการเจ็บป่วย ภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง เช่น meningitis และการฟังเสียงที่ดังอย่างต่อเนื่องผ่านทางหูฟังอยู่ในที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน เป็นต้น

ภาวะการสูญเสียการได้ยิน เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น Conductive hearing loss ภาวะสูญเสียการได้ยินในหูส่วนนอกและกลางจากหลายสาเหตุ เช่น ขี้หูอุดตัน การติดเชื้อ หรือ กรรมพันธุ์ ซึ่งมีผลให้การนำเสียงเข้าสู่หูชั้นในมีประสิทธิภาพด้อยลง แต่เป็นปัญหาที่ไม่รุนแรง สามารถรักษาหายได้ด้วยการให้ยา และการผ่าตัด

Sensory hearing loss ภาวะสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในหรือ auditory nerve จากความเสื่อมสภาพของ hair cells ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็นไฟฟ้า ซึ่งสาเหตุของการเสื่อมสภาพอาจเป็นแต่กำเนิด หรือเกิดจากการติดเชื้อ การใช้ยา การได้ยินเสียงดังเป็นเวลานาน และความเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นตามวัย

Neural hearing loss ภาวะสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากเส้นประสาทที่ต่อเชื่อมจาก Cochlea ไปถึงสมองถูกทำลาย ในผู้ป่วยเด็กอาจได้ยินเสียงเพียงบางส่วน หรือได้ยินเสียงทั้งหมด หรืออาจไม่ได้ยินเสียงเลย ปัญหาของการได้ยินเสียงชนิดนี้จะเป็นแบบถาวร และทำให้ความสามารถในการพูดของเด็กลดลง นักวิจัย บอกว่า วิธีการรักษาการภาวะสูญเสียการได้ยินนั้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรง ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์จะรักษาด้วยการให้ยา และการผ่าตัด หรือใช้เครื่องช่วยฟังเพื่อขยายเสียง ทำให้ได้ยินเสียงที่ชัดขึ้น ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาและการผ่าตัด

ข้อดีของการใส่เครื่องช่วยฟังคือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร โดยแพทย์สามารถปรับเครื่องช่วยฟังเพื่อขยายและปรับแต่งสัญญาณเสียงให้เหมาะสมกับลักษณะภาวะสูญเสียการได้ยินของแต่ละคน ซึ่งแตกต่างกัน โดยวัดจากระดับการได้ยินโดยปกติค่าเฉลี่ยของการได้ยินเสียงบริสุทธิ์อยู่ในช่วงความถี่ ๕๐๐ , ๑๐๐๐ และ ๒,๐๐๐ เฮิร์ต แต่ในหูข้างที่ผิดปกติ ระดับการได้ยินจะมากกว่า ๒๕ เดซิเบล โดยผู้ที่ได้ยินเสียงที่มากกว่า ๔๐ เดซิเบล ขึ้นไป จัดเป็นผู้พิการทางการได้ยิน ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องตรวจการได้ยิน (Audiometry) ซึ่งมีเกณฑ์การวัดผล ดังนี้ ระดับการได้ยินน้อยกว่าหรือเท่ากับ ๒๕ เดซิเบล อยู่ในเกณฑ์ปกติ ระดับการได้ยิน ๒๖-๔๐ เดซิเบล ได้ยินเสียงคนพูดเบา อยู่ในเกณฑ์หูตึงเล็กน้อย ระดับการได้ยิน ๔๑-๕๕ เดซิเบล ไม่ได้ยินเสียงคนพูดด้วยความดังปกติ อยู่ในเกณฑ์หูตึงปานกลาง ระดับการได้ยิน ๕๖-๗๐ เดซิเบล ต้องพูดด้วยเสียงดังๆ จึงจะได้ยิน อยู่ในเกณฑ์หูตึงมาก ระดับการได้ยิน ๗๑-๙๐ เดซิเบล ต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงช่วยจึงจะได้ยินเสียง แต่ได้ยินไม่ชัดเจน อยู่ในเกณฑ์หูตึงรุนแรง ระดับการได้ยินมากกว่า ๙๐ เดซิเบล ตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงพูดแล้ว ก็ยังไม่ได้ยิน และไม่เข้าใจคำพูด อยู่ในเกณฑ์หูหนวก

ความบกพร่องทางการได้ยินเป็นปัญหาที่หลบซ่อนอยู่ในการสื่อสารด้วยภาษาพูด ซึ่งปัญหานั้นอาจเป็นปัญหาที่รุนแรงตามมา โดยการใส่เครื่องช่วยฟังเมื่อตรวจพบความบกพร่องทางการได้ยิน จะทำให้ผู้มีปัญหาการได้ยินสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ แม้เครื่องดังกล่าวจะไม่สามารถรักษาความบกพร่องทางการได้ยินให้กลับมาเป็นปกติได้

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังแม้ภาวะสูญเสียการได้ยินในระดับต่ำอาจไม่อันตรายถึงชีวิต แต่ในความเป็นจริงการสูญเสียการได้ยินส่งผลต่อปัญหาในเชิงคุณภาพ การดำรงชีวิตรวมไปถึงสภาพจิตใจ ในกรณีที่ระดับการสูญเสียอยู่ในช่วงเล็กน้อยถึงมาก การแก้ไขการได้ยินอาจทำได้ด้วยการใส่เครื่องช่วยฟังเพื่อขยายเสียงให้ดังขึ้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยิน หรือได้ยินไม่ชัดเจน จะทำให้รับรู้เสียงได้ดีขึ้น เครื่องช่วยฟัง เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ติดกับหู สามารถถอดใส่ได้อย่างสะดวก โดยทำหน้าที่ช่วยขยาย สัญญาณเสียง ซึ่งนักโสตสัมผัสจะเป็นผู้ทำการปรับแต่งเครื่องช่วยฟังให้มีการขยายเสียงในย่านความถี่ต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานแต่ละคน โดยส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องช่วยฟัง คือ ตัวขยายเสียง (Amplify) ไมโครโฟน (Microphone) และลำโพง (Receiver)

เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังในปัจจุบันมี ๓ ระบบ ได้แก่ เครื่องช่วยฟังระบบธรรมดา (Analog)ใช้เทคนิคการขยายเสียงที่ไม่ซับซ้อน สามารถขยายเสียงให้ดังขึ้นได้โดยใช้ไขควงปรับแต่งเสียง ซึ่งมีข้อจำกัดคือปรับได้ไม่ละเอียด แต่ด้วยราคาไม่แพง เครื่องช่วยฟังระบบธรรมดาจึงเหมาะกับผู้มีงบประมาณไม่มากนัก เครื่องช่วยฟังระบบโปรแกรมกึ่งดิจิทัล (Programmable) เป็นวิวัฒนาการขั้นสูงกว่าระบบธรรมดา โดยระบบวงจรเสียงภายในยังคงเป็นแบบธรรมดา (Analog) แต่มีการปรับแต่งเสียงโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการปรับจูนเสียง ทำให้สามารถปรับเสียงได้ใกล้เคียงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น โดยภายในเครื่องมีไมโครชิพเล็กๆ ซึ่งทำหน้าที่บันทึกและจดจำค่าการปรับตั้งเสียงเอาไว้เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น และเครื่องช่วยฟังระบบดิจิทัล (Digital) มีความสามารถในการปรับเสียงแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีของแต่ละรุ่น โดยมีวงจรการขยายเสียงแบบดิจิทัล และภายในเครื่องมีไมโครชิพทำหน้าที่ประมวลผลและปรับตั้งโปรแกรมเสียงเครื่องช่วยฟัง สามารถแบ่งช่องการปรับสัญญาณเสียงหลายช่องสัญญาณ ทั้งระบบอนาล็อค ระบบกึ่งดิจิทัล และระบบดิจิทัล นักวิจัย บอกว่าเครื่องช่วยฟังดิจิทัล เป็นเทคโนโลยีเครื่องช่วงฟังที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยบางรุ่นมีระบบลดเสียงรบกวน และ ระบบประมวลผลที่มีความฉลาดมากขึ้น สามารถในการปรับเสียงได้อย่างละเอียด ตอบสนองความต้องการฟังเสียงของผู้ใช้ได้มากขึ้น

เทคโนโลยีของเครื่องช่วยฟังทั้ง ๓ ระบบ ถูกนำมาพัฒนาเป็นเครื่องช่วยฟัง ๓ รูปแบบ ได้แก่ เครื่องช่วยฟังทัดหลังใบหู (Behind the ear hearing aids) ตัวเครื่องโค้ง คล้องหรือเกี่ยวอยู่ด้านหลังใบหู มีทั้งระบบอนาล็อค และระบบดิจิทัล โดยใช้คู่กับแบบพิมพ์หู (Ear Mould) ที่ทำขึ้นเฉพาะสำหรับแต่ละคน โดยช่วยลดเสียงรบกวน เครื่องช่วยฟังแบบกล่อง (Pocket Aids) เป็นเครื่องช่วยฟังระบบเก่าหรือ ระบบอนาล็อค ขนาดเท่ากล่องไม้ขีด มีสายต่อจากเครื่องสู่หูของผู้ฟัง สามารถเหน็บกระเป๋าเสื้อ มีตัวปรับความดัง (Volume) โดยผู้ใช้สามารถปรับเพิ่มและลดความดังของเสียงได้ตามต้องการ และ เครื่องช่วยฟังชนิด ใส่ในรูหู (in-the-canal ITC, completely-in-canal CIC) เป็นเครื่องช่วยฟังชนิดที่ต้องสั่งทำโดยการหล่อแบบพิมพ์หู เพื่อให้ได้ขนาดของเครื่องเท่ากับช่องหูของผู้ใช้งาน ซึ่งประสิทธิภาพและราคาจะแตกต่างกันไป

นักวิจัย บอกว่า ในอดีตเครื่องช่วยฟังมักเป็นแบบอนาล็อค แต่ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีไมโครชิป ทำให้เครื่องช่วยฟังดิจิทัลมีขนาดเล็กและสามารถทัดหลังหูหรือ ใส่ในรูหู เป็นที่นิยมมากขึ้น โดยหลักการทำงานเครื่องช่วยฟังดิจิทัล จะเปลี่ยนสัญญาณเสียงที่ได้รับผ่านไมโครโฟน จากสัญญาณอนาล็อคตามธรรมชาติเป็นสัญญาณดิจิทัล (A/D) เพื่อประมวลผล โดยใช้อัลกอริทึ่มชั้นสูง (Digital Signal Processing: DSP) รองรับการคำนวนทางคณิตศาสตร์ชั้นสูง สามารถสร้างวงจรขยายและกรองสัญญาณที่มีความซับซ้อนสูงได้ ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนกลับเป็นสัญญาณเสียงผ่าน Receiver อีกครั้ง

“เทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังแบบดิจิทัล ที่มีประสิทธิภาพต้องมีความละเอียดสูงในการปรับแต่งให้เข้ากับการสูญเสียการได้ยิน อีกทั้งต้องมั่นใจได้ว่า กำลังขยายสูงสุดจะไม่อยู่ในระดับที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อการได้ยินของผู้ใช้” นักวิจัยอธิบาย และบอกว่า นอกจากนี้ เครื่องช่วยฟังดิจิทัลยังสามารถออกแบบให้มีฟังก์ชั่นพิเศษอื่นๆ เช่น ตัดสัญญาณรบกวนจากภายนอก ลดเสียงสะท้อนกลับ หรือตั้งโปรแกรมตัดเสียงให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละสถานการณ์ได้

ผลผลิตจากงานวิจัยเครื่องช่วยฟังในตลาดส่วนมากจะเป็นเครื่องจากต่างประเทศ มีราคาสูง ในขณะที่นักปรับแต่งการได้ยินที่มีอยู่จำกัด ทำให้ผู้ประสบปัญหาทางการได้ยินต้องรอคิวปรับแต่งเครื่องให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคน โจทย์นี้กลายเป็นความท้าทายและโอกาสสำหรับนักวิจัยไทย ในการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังขึ้นเองที่ผ่านมา ทีมวิจัยเนคเทคได้เดินหน้าโครงการพัฒนาเทคโนโลยีการได้ยิน ในระยะที่ ๑ ซึ่งเริ่มต้นจาก บันทึก ความร่วมมือระหว่างเนคเทคและโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ เพื่อพัฒนาต้นแบบเครื่องช่วยฟังแบบ Digital BTE ราคาประหยัด ระดับห้องปฏิบัติการ เพื่อส่งมอบต้นแบบดังกล่าวให้ศูนย์การได้ยินและแก้ไขการพูด โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ นำไปใช้ศึกษาในผู้ใช้งานเพิ่มเติมและนำข้อมูลมาทำการปรับปรุงด้านเทคนิคร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ต้นแบบเครื่องช่วยฟังดังกล่าวยังมีความยากในการนำไปผลิตเชิงอุตสาหกรรม อีกทั้งไม่เหมาะกับการใช้งานบางประเภท ที่ต้องการความทนทาน ใช้งานง่าย และค่าใช้จ่ายต่ำ จึงได้เดินหน้าโครงการในระยะที่ ๒ เพื่อพัฒนาต้นแบบเครื่องช่วยฟังที่เหมาะกับชนบท ซึ่งเป็นเครื่องช่วยฟังดิจิทัลแบบกล่อง (PDN-๐๑B) ที่มีการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานในคน ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการวิจัยดังกล่าวได้เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด นักวิจัยได้พัฒนาต้นแบบ เครื่องช่วยฟังดิจิทัล P๐๒

แบบพ็อคเกตไทป์ ที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้พิการทางการได้ยิน และผู้ที่มีปัญหาการได้ยินระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ครอบคลุมผู้สูญเสียการได้ยินกว่า ๕๕% ในประเทศไทย โดยตัวเครื่องผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพสูง ผ่านการทดสอบ acoustic ตามมาตรฐานสากล รูปลักษณ์ภายนอกที่ทันสมัย ออกแบบให้สามารถพกพาได้สะดวก ไม่เหมือนกับอุปกรณ์สำหรับคนพิการ คงทนและเหมาะกับการใช้งาน ระบบการทำงานของเครื่องช่วยฟังดิจิทัล P๐๒ สามารถปรับแต่งระยะของการรับฟังเสียงได้ตามความเหมาะสมของผู้ใช้ และเป็นไปตามมาตรฐานภายใต้เงื่อนไขการวินิจฉัยของแพทย์ อำนวยความสะดวกให้นักปรับแต่งการได้ยินสามารถปรับแต่งแก้ไขได้โดยผ่านทางคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ภาษาไทย ช่วยลดระยะเวลาให้นักปรับแต่งการได้ยินได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้ง สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือรุ่นที่มีระบบ Bluetooth พร้อมเพิ่มเทคนิคผสมเสียงสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มคุณภาพการได้ยิน ประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยระบบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่สามารถประจุไฟใหม่ได้ (rechargeable) ช่วยลดความสิ้นเปลืองในการเปลี่ยนแบตเตอรี่

ทั้งนี้ เครื่องช่วยฟังที่พัฒนาขึ้นยังได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพด้าน acoustic โดยเครื่องวิเคราะห์เครื่องช่วยฟัง (hearing aid analyzer) ประสิทธิภาพสูง และซอฟต์แวร์มาตรฐาน ตลอดจนการวัดประสิทธิภาพด้วยตู้ไร้เสียงสะท้อน (anechoic box) และ ๒-cc coupler ซึ่งใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทุกรุ่นที่ออกแบบจากการวิจัย นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้ทดสอบเครื่องช่วยฟังดิจิทัล P๐๒ ตามมาตรฐานสากล โดยทดสอบประสิทธิภาพของเสียง acoustic IEC ๖๐๑๑๘-๗. Hearing aids. Part ๗: Measurement of performance characteristics of hearing aids for quality inspection for delivery purposes. และการเข้ากันได้ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า IEC ๖๐๑๑๘-๑๓. Hearing aids - Part ๑๓: Electromagnetic compatibility (EMC). รวมถึง การทดสอบประเมินการใช้งานจากผู้ป่วยจริงตามหลักวิชาการ เนื่องจากเครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทีมวิจัยจึงได้ร่วมกับทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาโสต ศอ นาสิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการทดสอบทางคลินิกระยะยาว โดยทดสอบประเมินความพึงพอใจ ตามแบบ Abbreviated Profit of Hearing Aid Benefits (APHAB) และทดสอบความคงทนของคุณภาพจากการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลจากการทดสอบการขยายเสียงหลังการใช้งานต่อเนื่อง เป็นเวลา ๑ ปี พบว่า ตัวเครื่องยังคงความสามารถในการถูกโปรแกรมซ้ำ ความคงทนของอุปกรณ์ และคุณลักษณะ โดยไม่มีส่วนใดชำรุด นอกจากนี้อาสาสมัครยังให้ความพึงพอใจในการใช้งาน โดยกลุ่มผู้ใช้งานมีความพึงพอใจสูง ความสามารถ ด้านฮาร์ดแวร์มีความเสถียร ตัดเสียงรบกวนได้ดี มีกำลังขยายเสียงถึง ๑๒๕ เดซิเบล คุณภาพเทียบเท่าเครื่องช่วยฟังนำเข้าจากยุโรป แต่ราคาต่ำกว่า ๒๐-๒๕%

ขยายผลเพื่อผู้พิการ ความสำเร็จดังกล่าว นำมาสู่ขั้นตอนการขยายผล โดยทีมวิจัยได้ร่วมกับบริษัทเอกชนพัฒนาต่อยอดจากเครื่องต้นแบบ เป็นเครื่องที่สามารถผลิตได้ในเชิงพาณิชย์ จากการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอก และการขึ้นรูปอุปกรณ์ห่อหุ้มพลาสติก ตลอดจนศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตในระดับอุตสาหกรรม ให้สามารถผลิตเครื่องช่วยฟังดิจิทัลที่ได้มาตรฐานเครื่องมือแพทย์ โดยมอบหมายให้เอกชนเป็นผู้วิจัยด้านการตลาด และจัด จำหน่ายสินค้า โครงการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยการได้ยินระดับอุตสาหกรรม เป็นโครงการต่อเนื่องจากพัฒนาเทคโนโลยีการได้ยิน ในระยะที่ ๓ เพื่อต่อยอดและส่งมอบเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังดิจิทัล สู่ภาคอุตสาหกรรมและสังคมแบบยั่งยืน ที่เน้นการต่อยอดเทคโนโลยีที่มีให้มีความเหมาะสม และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกเข้าสู่ตลาดได้จริง

ปวรินทร์ หะริณสุต ผู้บริหารบริษัท ไอเมด ลาบอราทอรี่ บอกว่า งานวิจัยของไทยมีศักยภาพสูง ทำให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์จะเคยเป็นของนำเข้า สามารถผลิตได้ด้วยฝีมือคนไทย เป็นนวัตกรรมที่มีโอกาสทางการตลาดสูง สามารถผลิตและจำหน่ายในราคาที่ผู้ใช้สามารถจ่ายได้ ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาด้านการได้ยิน สามารถใช้งานได้ในวงกว้าง ด้วยราคาต่อเครื่องที่ ต่ำกว่า ๑ หมื่นบาท ทำให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้ในวงกว้าง สามารถเบิกจ่ายได้ในระบบประกันสังคม ซึ่งหากเปรียบเทียบกับเครื่องช่วยฟังที่ราคาใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นเครื่องในระบบอนาล็อกที่มีความคมชัดของเสียงไม่ละเอียดเท่าเครื่องช่วยฟังแบบดิจิทัล ทำให้ความต้องการเครื่องช่วยฟังดิจิทัลมีมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปวรินทร์ ยอมรับว่า ความยากของการนำงานวิจัยมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ คือ การเพิ่มกำลังการผลิตจากระดับห้องปฏิบัติการสู่ระดับอุตสาหกรรม รวมไปถึงการนำข้อมูลทางการตลาดมาใช้เป็นโจทย์การวิจัยเพื่อให้ได้ผลงานที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ได้จริง แต่ความสำเร็จจากขั้นตอนทดสอบร่วมกับอาสาสมัคร ทำให้มั่นใจว่า เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นนี้มีศักยภาพทางการตลาดสูง โดยหลังจากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ปรับแพ็กเกจให้ถูกใจผู้ใช้ และขอใบรับรองมาตรฐานทางการแพทย์เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะสามารถวางขายเชิงพาณิชย์ได้ในต้นปี ๒๕๕๖ “เครื่องช่วยฟังดิจิทัล P๐๒ ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายเครื่องเล่น MP๓ ผู้ใช้งานจึงไม่ต้องกังวลว่าจะโดนมองเป็นคนพิการ อีกทั้งสามารถใช้ร่วมกับถ่านแบบชาร์จ จึงลดค่าใช้จ่ายได้กว่า ๑๐ เท่า” ผู้บริหารบริษัท ไอเมด ลาบอราทอรี่ กล่าวย้ำ

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเทคโนโลยีในก้าวต่อไปยังคงไม่หยุดนิ่ง โดยจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของการออกแบบรูปลักษณ์ของตัวเครื่องให้ดูดี น่าใช้ สีสันสดใส ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีที่อยู่ภายในต้องพัฒนาให้ใช้งานได้ง่าย เข้าถึงความต้องการของผู้ใช้ เพื่อเพิ่มทางเลือกที่ในการเข้าถึงเทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูง แต่ราคาประหยัด นอกจากนี้ ทีมวิจัยมีแผนจะพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องช่วงฟังอย่างต่อเนื่อง และถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังเข้าสู่ตลาดให้ได้ไม่น้อยกว่าสองรุ่น รวมถึงออกแบบและพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ Assistive Listening System (ALS) ระดับภาคสนามสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางด้านการได้ยิน โดยออกแบบให้เหมาะกับการใช้ในโรงเรียน (School ALS) และ งานทางด้านความบันเทิงส่วนบุคคล (Personal ALS/ACC-P๐๓)

“งานวิจัยเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการพัฒนาสินค้าทางการแพทย์ ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสที่จะสร้างเทคโนโลยีของตนเองโดยไม่ต้องไปพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ” โครงการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยการได้ยินระดับอุตสาหกรรม เป็นตัวอย่างความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือของ นักวิจัยที่ทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม โดยมุ่งหวังให้เกิดทางเลือกแก่การบริการด้านสุขภาพของคนไทยอย่างยั่งยืนต่อไป โดยการทำงานร่วมกับภาคเอกชน ตลอดจนองค์กรเพื่อสังคมที่ไม่หวังผลกำไร เช่น มูลนิธิ หูคอจมูกชนบท และราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิก ในการร่วมกันศึกษาและผลิตอุปกรณ์ราคาประหยัด ที่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับผู้ด้อยโอกาสที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการตามสิทธิของตนได้

ภาพความสำเร็จของการพัฒนาเครื่องช่วยฟังดิจิทัลรุ่น P๐๒ ผลผลิตจากการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยการได้ยินระดับอุตสาหกรรม ที่พร้อมต่อยอดในเชิงพานิชย์ ช่วยให้คนไทยมีทางเลือกในการใช้งานอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังดิจิทัลประสิทธิภาพสูง มีสภาพการใช้งานที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนไทย และที่สำคัญสามารถผลิตได้เองในประเทศ โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีนำเข้าอย่างที่ผ่านมา...Lab - สถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (REAT)

ที่มา: เนคเทคออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๙ ก.ย.๕๕
วันที่โพสต์: 5/10/2555 เวลา 15:14:54 ดูภาพสไลด์โชว์ เครื่องช่วยฟังดิจิทัล มิติใหม่ของคน ‘หูหนวก’

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

สถิติความสนใจ

ชอบ: 1 คน (100%)

ไม่ชอบ: 0 คน (0%)

ไม่มีความเห็น: 0 คน (0%)

จำนวนคนโหวตทั้งหมด: 1 คน (100%)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เครื่องช่วยฟังดิจิทัลภาวะสูญเสียการได้ยิน ยังคงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ หากดูจากสถิติปี พ.ศ. ๒๕๔๗ จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีประชากรที่สูญเสียการได้ยินในระดับ ๖๕ เดซิเบล กว่า ๖๓๖,๑๕๑ คน นับเป็นความพิการอันดับ ๒ รองจาก ความพิการทางหู หรือ หูหนวก ซึ่งพบมากถึง ๓ ล้านราย โดยปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนไทยเท่านั้น เพราะสถิติจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ประชากรทั่วโลกกว่า ๒๕๐-๓๐๐ ล้านคน อยู่ในข่ายมีปัญหาทางการได้ยิน ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่ากังวลความพิการทางการได้ยิน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยแต่กลับถูกละเลย เนื่องจากเป็นภาวะซ้อนเร้นที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก ทำให้แนวโน้มของผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยืนยันได้จากผลการสำรวจสุขภาพของคนไทยจากการตรวจร่างกาย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๒ โดยประชากร มากกว่าร้อยละ ๑๐ สูญเสียการได้ยินในระดับที่ต่างกันไป ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้นทันทีที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ในทางการแพทย์ ปัญหาทางการได้ยินสามารถแก้ไขได้โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ช่วยขยายเสียง หรือเครื่องช่วยฟัง (Hearing aids) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ใช้เพิ่มความสามารถทางการได้ยินเสียงของผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ โดยทำหน้าที่ปรุงแต่งสัญญาณเสียงตามอัลกอริทึ่มที่กำหนด โดยผู้พิการมีสิทธิ์ได้รับการรักษา และได้รับเครื่องช่วยฟังฟรีจากนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่สถานการณ์ที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน การเข้าถึงเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง กลับเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากการใส่เครื่องช่วยฟังต้องอาศัยการควบคุมจากนักแก้ไขการได้ยิน ซึ่งทำหน้าที่ประเมินและทดลองปรับแต่งเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งมีระดับการสูญเสียที่ต่างกัน ขั้นตอนดังกล่าวยุ่งยากและใช้เวลานาน อีกทั้งเครื่องช่วยฟัง เป็นอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ถ่านที่ใช้มีความเฉพาะ หาซื้อยาก และมีราคาแพง ทำให้การเข้าถึงเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังจึงเป็นไปอย่างจำกัด จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ “โครงการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยการได้ยินระดับอุตสาหกรรม” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัท ไอเมด ลาบอราทอรี่ จำกัด โครงการดังกล่าว เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นำโดย “พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา” นักวิจัยจากสถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (REAT) เนคเทค ที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟัง “ดิจิทัล” สำหรับผู้ใช้งานที่มีปัญหาการได้ยิน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้พิการทางการได้ยิน ให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องนำเข้าเทคโนโลยีราคาแพงมาจากต่างประเทศ ดร.พันศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค บอกว่า โครงการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบโจทย์ แนวคิดในการดูแลผู้สูงวัย และใส่ใจผู้พิการด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายของเนคเทค ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการ โดยพัฒนาเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสมกับการใช้งาน และที่สำคัญต้องมีราคาถูก ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องนำเข้าอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือคนพิการมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเครื่องช่วยฟังนำเข้าที่ราคาไม่ต่ำกว่าเครื่องละ ๑ หมื่นบาท ดังนั้นเป้าหมายของการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง จะต้องทำให้ตัวเครื่องมีราคาถูกกว่านำเข้า ในขณะที่ประสิทธิภาพทัดเทียมกับของนำเข้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้ ดังนั้น การวิจัยจึงต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยี การออกแบบตัวเครื่อง เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้จริง และผลิตได้ในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งการพัฒนาเครื่องช่วยฟังที่ได้มาตรฐาน ราคาเหมาะสม ผลิตได้เองได้ในประเทศ และมีค่าบำรุงรักษาต่ำ จะช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน ผู้อำนวยการเนคเทค บอกว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีจากการวิจัยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาด โดยราคาไม่สูงจนเกินไปนั้น เป็นจริงได้จากความร่วมมือระหว่างทีมวิจัยและหน่วยงานพันธมิตรจากภาคเอกชน ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการตลาด ซึ่งความสำเร็จจากการร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ผู้มีรายได้น้อย สามารถเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูงได้ ท่ามกลางสถานการณ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้สูญเสียการได้ยิน โดยข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่าทุก ๑๐๐ คน จะมีคนพิการทางการได้ยินประมาณ ๔ คน ซึ่งในประเทศไทยนั้นผลสำรวจพบว่า มีคนที่พิการทางการได้ยินราว ๔๐๐,๐๐๐ คน ทั้งกลุ่มที่สูญเสียการได้ยินตามวัยซึ่งไม่รุนแรง ไปจนถึงกลุ่มที่สูญเสียการได้ยินขั้นรุนแรง หรือพิการ อีกจำนวนมาก ๒๘% ของผู้สูงอายุมีปัญหาการได้ยิน ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนทั่วไปที่เมื่ออายุเกิน ๖๐ ปี คุณภาพการได้ยิน จะลดลง ๑ เดซิเบล และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง นักวิจัยกล่าว และอธิบายว่าภาวะการสูญเสียการได้ยินเกิดจากการได้ยินที่ลดลง หรือสูญเสียการได้ยินทั้งหมด เนื่องจากประสาทรับเสียงเสีย (Sensorineural Hearing loss) ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติแต่กำเนิด โดยหูทำงานบกพร่อง ความผิดปกติทางกายภาพภายในหู มีของเหลวอยู่ภายในหูชั้นกลาง การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุกระทบกระเทือนกับศีรษะ ผลกระทบจากการเจ็บป่วย ภาวะการติดเชื้ออย่างรุนแรง เช่น meningitis และการฟังเสียงที่ดังอย่างต่อเนื่องผ่านทางหูฟังอยู่ในที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน เป็นต้น ภาวะการสูญเสียการได้ยิน เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น Conductive hearing loss ภาวะสูญเสียการได้ยินในหูส่วนนอกและกลางจากหลายสาเหตุ เช่น ขี้หูอุดตัน การติดเชื้อ หรือ กรรมพันธุ์ ซึ่งมีผลให้การนำเสียงเข้าสู่หูชั้นในมีประสิทธิภาพด้อยลง แต่เป็นปัญหาที่ไม่รุนแรง สามารถรักษาหายได้ด้วยการให้ยา และการผ่าตัด Sensory hearing loss ภาวะสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในหรือ auditory nerve จากความเสื่อมสภาพของ hair cells ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็นไฟฟ้า ซึ่งสาเหตุของการเสื่อมสภาพอาจเป็นแต่กำเนิด หรือเกิดจากการติดเชื้อ การใช้ยา การได้ยินเสียงดังเป็นเวลานาน และความเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นตามวัย Neural hearing loss ภาวะสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากเส้นประสาทที่ต่อเชื่อมจาก Cochlea ไปถึงสมองถูกทำลาย ในผู้ป่วยเด็กอาจได้ยินเสียงเพียงบางส่วน หรือได้ยินเสียงทั้งหมด หรืออาจไม่ได้ยินเสียงเลย ปัญหาของการได้ยินเสียงชนิดนี้จะเป็นแบบถาวร และทำให้ความสามารถในการพูดของเด็กลดลง นักวิจัย บอกว่า วิธีการรักษาการภาวะสูญเสียการได้ยินนั้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรง ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์จะรักษาด้วยการให้ยา และการผ่าตัด หรือใช้เครื่องช่วยฟังเพื่อขยายเสียง ทำให้ได้ยินเสียงที่ชัดขึ้น ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาและการผ่าตัด ข้อดีของการใส่เครื่องช่วยฟังคือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร โดยแพทย์สามารถปรับเครื่องช่วยฟังเพื่อขยายและปรับแต่งสัญญาณเสียงให้เหมาะสมกับลักษณะภาวะสูญเสียการได้ยินของแต่ละคน ซึ่งแตกต่างกัน โดยวัดจากระดับการได้ยินโดยปกติค่าเฉลี่ยของการได้ยินเสียงบริสุทธิ์อยู่ในช่วงความถี่ ๕๐๐ , ๑๐๐๐ และ ๒,๐๐๐ เฮิร์ต แต่ในหูข้างที่ผิดปกติ ระดับการได้ยินจะมากกว่า ๒๕ เดซิเบล โดยผู้ที่ได้ยินเสียงที่มากกว่า ๔๐ เดซิเบล ขึ้นไป จัดเป็นผู้พิการทางการได้ยิน ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องตรวจการได้ยิน (Audiometry) ซึ่งมีเกณฑ์การวัดผล ดังนี้ ระดับการได้ยินน้อยกว่าหรือเท่ากับ ๒๕ เดซิเบล อยู่ในเกณฑ์ปกติ ระดับการได้ยิน ๒๖-๔๐ เดซิเบล ได้ยินเสียงคนพูดเบา อยู่ในเกณฑ์หูตึงเล็กน้อย ระดับการได้ยิน ๔๑-๕๕ เดซิเบล ไม่ได้ยินเสียงคนพูดด้วยความดังปกติ อยู่ในเกณฑ์หูตึงปานกลาง ระดับการได้ยิน ๕๖-๗๐ เดซิเบล ต้องพูดด้วยเสียงดังๆ จึงจะได้ยิน อยู่ในเกณฑ์หูตึงมาก ระดับการได้ยิน ๗๑-๙๐ เดซิเบล ต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงช่วยจึงจะได้ยินเสียง แต่ได้ยินไม่ชัดเจน อยู่ในเกณฑ์หูตึงรุนแรง ระดับการได้ยินมากกว่า ๙๐ เดซิเบล ตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงพูดแล้ว ก็ยังไม่ได้ยิน และไม่เข้าใจคำพูด อยู่ในเกณฑ์หูหนวก ความบกพร่องทางการได้ยินเป็นปัญหาที่หลบซ่อนอยู่ในการสื่อสารด้วยภาษาพูด

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...