ไอเดียช่วยได้! นศ.ลาดกระบัง พัฒนาแผ่นรองเท้าช่วยผู้ป่วยเบาหวาน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) เปิดตัวนวัตกรรมผลงานแผ่นรองรองเท้าเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่เป็น โรครองช้ำ ซึ่งมักจะเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดโอกาสการถูกตัดขาทิ้งเมื่อเกิดแผลกดทับบริเวณฝ่าเท้าของผู้ป่วย โดยเทคโนโลยีปัจจุบันที่รักษาผู้ป่วย ใช้ขั้นตอนการรักษาที่ยุ่งยาก ตลอดจนใช้เวลานาน และค่ารักษามีราคาแพง ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ใช้เทคโนโลยีนาโนมาช่วยในการผลิตแผ่นรองรองเท้า ทำให้เครื่องมือ มีขนาดกะทัดรัด ใช้งานง่าย ราคาไม่แพง และสามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล เพื่อความสะดวกในการแก้ไขปรับปรุงหากเกิดความผิดพลาด ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการรักษาน้อยลงและมีความแม่นยำมากขึ้น โดยงานวิจัยครั้งนี้ถือเป็นการสร้างสรรค์ผลงานทางนวัตกรรมที่ช่วยให้การ รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรครองช้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ ยังเป็นผลงานที่ช่วยเหลือสังคมเนื่องจากช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ ป่วยโรครองช้ำ ซึ่งปัจจุบันมีโรงพยาบาลหลายแห่งให้ความสนใจ และคาดว่าในอนาคตถ้าได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ให้นำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ จะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับโดยเฉพาะ บริเวณฝ่าเท้า ที่ปัจจุบันจะต้องถูกตัดขาประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน อย่างไรก็ตามบุคลากรด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ผู้ซึ่งมีความสามารถในการผลิตสร้างสรรค์อุปกรณ์การแพทย์ในปัจจุบันของไทยยัง มีจำนวนน้อย ทาง สจล. จึงได้กำหนดเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในระดับปริญญาตรี ซึ่งปัจจุบันทางสถาบันเปิดสอนเฉพาะในระดับปริญญาโท และเอก
นาย พงศ์พันธ์ วาทะสุนทรพงศ์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ในปัจจุบัน ปัญหาเรื่องสุขภาพที่มักถูกมองข้ามคือโรคเกี่ยวกับเท้า ซึ่งเป็นโรครองช้ำหรือการปวดฝ่าเท้าหรือส้นเท้าที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก โดยสาเหตุของโรคเกิดจากการกระจายน้ำหนักที่ฝ่าเท้าไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดการกดทับตรงบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่มากจนเกินไป เป็นแผลและติดเชื้อ ซึ่งส่งผลที่อันตรายต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีสูงถึง ๓,๐๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งหากเกิดแผลลุกลามนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะต้องถูกตัดขาทิ้ง โดยภายในปีหนึ่งจะต้องถูกตัดขาประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้อยู่ในวงการแพทย์ปัจจุบัน คือการใช้แผ่นรองรองเท้าที่สอดรับกับฝ่าเท้าซึ่งจะช่วยกระจายแรงกดทับใต้ฝ่าเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
นายพงศ์พันธ์ กล่าวด้วยว่า เฉลี่ยค่าใช้จ่ายจะอยู่ครั้งละ ๕๐,๐๐๐ บาท แต่ขั้นตอนการผลิตแผ่นรองรองเท้าในปัจจุบันต้องใช้เวลานาน คู่หนึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ ๗ วัน มีราคาสูง ขั้นตอนการผลิตซับซ้อน อีกทั้งยังขาดความแม่นยำของขนาดแผ่นรองรองเท้าที่อาจไม่พอดีกับขนาดฝ่าเท้า ของผู้ป่วย ซึ่งความต้องการแผ่นรองรองเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีสูงถึง ๓๐๐,๐๐๐ คู่ต่อปี แต่ผลิตได้เพียงปีละ ๒๐,๐๐๐ คู่ ด้วยแรงงานคนเพียง ๒๐๐–๓๐๐ คน จึงเป็นที่มาของการคิดค้นวิจัยแผ่นรองรองเท้ารูปแบบใหม่ เพื่อช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภายใต้การควบคุมดูแลและให้คำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย ดร. มนต์ศักดิ์ พัตทิสารอาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมเครื่องกลคณะวิศวกรรมศาสตร์สจล.
"งานวิจัยชิ้นนี้นำเสนอกระบวนการในการผลิตแผ่นรองรองเท้ารูปแบบใหม่ ที่ประกอบไปด้วยเครื่องเก็บรอยฝ่าเท้าและกระบวนการผลิตแผ่นรองรองเท้าโดยนาโนเทคโนโลยีทางวิศวกรรมเข้ามาช่วยในการผลิต ซึ่งเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้จะมีขนาดกะทัดรัด ใช้งานง่าย ราคาไม่แพง สามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล เพื่อการผลิตชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว โดยคู่หนึ่งใช้ระยะเวลาการผลิตเพียง ๑ ชั่วโมง และสะดวกในการแก้ไขปรับปรุงหากเกิดความผิดพลาด ส่งผลให้แผ่นรองรองเท้าที่ได้มีขนาดแม่นยำ เหมาะกับขนาดฝ่าเท้าของผู้ป่วย ที่สำคัญยังช่วยลดขยะที่เกิดจากการผลิตได้อีกด้วย ซึ่งกระบวนการผลิตทั้งหมดนี้เป็นการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Engineering) เข้ามาช่วยในการผลิต เช่น การสร้างแผ่นพิมพ์ในการผลิต การสร้างแบบจำลอง ๓ มิติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การรักษาเป็นไปในทิศทางที่แม่นยำขึ้น จะต้องทำงานร่วมกับเซนเซอร์วัดปริมาณแรงกดบริเวณใต้ฝ่าเท้า"
นาย อภิสิทธิ์ นำชัยชนะกิจ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ผู้คิดค้นและวิจัย เซนเซอร์วัดปริมาณแรงกดบริเวณใต้ฝ่าเท้า กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้ ตนคิดค้นขึ้นเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับการผลิตแผ่นรองรองเท้าในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือที่จะวัดปริมาณแรงกดบริเวณใต้ฝ่าเท้าและ การผลิตแผ่นรองรองเท้าด้วยวิธีการทางดิจิตอล โดยเซนเซอร์ตัวนี้ มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์ม โดยทำงานคู่กับซอฟต์แวร์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง สามารถวัดปริมาณแรงกดบริเวณใต้ฝ่าเท้าแบบต่อเนื่องได้ ซึ่งเครื่องทั้ง ๒ ตัวนี้ หากขายอยู่ในท้องตลาด ราคาจะสูงถึง ๓๐๐,๐๐๐ บาท แต่สำหรับการวิจัยครั้งนี้ใช้ต้นทุนเพียง ๓๐,๐๐๐ บาท แต่ให้ผลการวัดที่เหมือนกัน ซึ่งเซนเซอร์ ๑ อันจะสามารถเก็บค่าการวัดแรงกดได้ถึง ๒๕๐ ค่า โดยติดเซนเซอร์ผูกไว้ที่ข้อเท้า และให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานใส่เดิน ๓๐-๖๐ ก้าว ก่อนการรักษาด้วยแผ่นรองรองเท้า และวัดค่าอีกครั้งหลังจากทำการรักษาด้วยแผ่นรองรองเท้า เพื่อเปรียบเทียบค่าแรงกดที่ต่างกัน โดยมีหน่วยวัดเป็นกิโลเมตร ปาสกาล ซึ่งจากการทดลองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ๑๔ คน พบว่า แรงกดใต้ฝ่าเท้าก่อนทำการรักษามีสูงถึง ๓๐๐ กิโลเมตร ปาสกาล แต่หลังจากที่ทำการรักษาโดยให้ใส่แผ่นรองรองเท้า พบว่า ปริมาณแรงกดลดลงเหลือเพียง ๕๐ กิโลเมตร ปาสกาล
ดร.มนต์ ศักดิ์ พัตทิสาร อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า ผลงานวิจัยครั้งนี้ไม่ใช่เพียงการศึกษาในเชิงวิชาการอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ได้จริงตามหลักวิชาทางวิศวกรรม ทางคณะฯ จึงร่วมสนับสนุนการศึกษาวิจัยดังกล่าวกับนักศึกษา โดยได้ช่วยกันคิดค้นและพัฒนา เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในระดับสากลของนักศึกษา สจล. ที่สามารถศึกษาวิจัยผลงานที่เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ ตลอดจนแสดงให้เห็นว่านักศึกษาของสถาบันมีศักยภาพสูงพอที่จะแข่งขันกับนัก ศึกษาต่างประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งถือว่างานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยที่ดี มีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยพัฒนาวงการแพทย์ไทยให้ก้าวหน้า สามารถนำไปช่วยเหลือสังคมได้ โดยช่วยลดต้นทุนในค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยโรครองช้ำ ที่พบมากในผู้สูงอายุ
ยังไม่มีเรตติ้ง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รวมภาพ นวัตกรรมผลงานแผ่นรองรองเท้าเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่เป็น โรครองช้ำสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) เปิดตัวนวัตกรรมผลงานแผ่นรองรองเท้าเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่เป็น โรครองช้ำ ซึ่งมักจะเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดโอกาสการถูกตัดขาทิ้งเมื่อเกิดแผลกดทับบริเวณฝ่าเท้าของผู้ป่วย โดยเทคโนโลยีปัจจุบันที่รักษาผู้ป่วย ใช้ขั้นตอนการรักษาที่ยุ่งยาก ตลอดจนใช้เวลานาน และค่ารักษามีราคาแพง ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ใช้เทคโนโลยีนาโนมาช่วยในการผลิตแผ่นรองรองเท้า ทำให้เครื่องมือ มีขนาดกะทัดรัด ใช้งานง่าย ราคาไม่แพง และสามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล เพื่อความสะดวกในการแก้ไขปรับปรุงหากเกิดความผิดพลาด ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการรักษาน้อยลงและมีความแม่นยำมากขึ้น โดยงานวิจัยครั้งนี้ถือเป็นการสร้างสรรค์ผลงานทางนวัตกรรมที่ช่วยให้การ รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรครองช้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ยังเป็นผลงานที่ช่วยเหลือสังคมเนื่องจากช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ ป่วยโรครองช้ำ ซึ่งปัจจุบันมีโรงพยาบาลหลายแห่งให้ความสนใจ และคาดว่าในอนาคตถ้าได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ให้นำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ จะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับโดยเฉพาะ บริเวณฝ่าเท้า ที่ปัจจุบันจะต้องถูกตัดขาประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน อย่างไรก็ตามบุคลากรด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ผู้ซึ่งมีความสามารถในการผลิตสร้างสรรค์อุปกรณ์การแพทย์ในปัจจุบันของไทยยัง มีจำนวนน้อย ทาง สจล. จึงได้กำหนดเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในระดับปริญญาตรี ซึ่งปัจจุบันทางสถาบันเปิดสอนเฉพาะในระดับปริญญาโท และเอก นาย พงศ์พันธ์ วาทะสุนทรพงศ์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ในปัจจุบัน ปัญหาเรื่องสุขภาพที่มักถูกมองข้ามคือโรคเกี่ยวกับเท้า ซึ่งเป็นโรครองช้ำหรือการปวดฝ่าเท้าหรือส้นเท้าที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก โดยสาเหตุของโรคเกิดจากการกระจายน้ำหนักที่ฝ่าเท้าไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดการกดทับตรงบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่มากจนเกินไป เป็นแผลและติดเชื้อ ซึ่งส่งผลที่อันตรายต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีสูงถึง ๓,๐๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งหากเกิดแผลลุกลามนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะต้องถูกตัดขาทิ้ง โดยภายในปีหนึ่งจะต้องถูกตัดขาประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้อยู่ในวงการแพทย์ปัจจุบัน คือการใช้แผ่นรองรองเท้าที่สอดรับกับฝ่าเท้าซึ่งจะช่วยกระจายแรงกดทับใต้ฝ่าเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ นายพงศ์พันธ์ กล่าวด้วยว่า เฉลี่ยค่าใช้จ่ายจะอยู่ครั้งละ ๕๐,๐๐๐ บาท แต่ขั้นตอนการผลิตแผ่นรองรองเท้าในปัจจุบันต้องใช้เวลานาน คู่หนึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ ๗ วัน มีราคาสูง ขั้นตอนการผลิตซับซ้อน อีกทั้งยังขาดความแม่นยำของขนาดแผ่นรองรองเท้าที่อาจไม่พอดีกับขนาดฝ่าเท้า ของผู้ป่วย ซึ่งความต้องการแผ่นรองรองเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีสูงถึง ๓๐๐,๐๐๐ คู่ต่อปี แต่ผลิตได้เพียงปีละ ๒๐,๐๐๐ คู่ ด้วยแรงงานคนเพียง ๒๐๐–๓๐๐ คน จึงเป็นที่มาของการคิดค้นวิจัยแผ่นรองรองเท้ารูปแบบใหม่ เพื่อช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภายใต้การควบคุมดูแลและให้คำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย ดร. มนต์ศักดิ์ พัตทิสารอาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมเครื่องกลคณะวิศวกรรมศาสตร์สจล. "งานวิจัยชิ้นนี้นำเสนอกระบวนการในการผลิตแผ่นรองรองเท้ารูปแบบใหม่ ที่ประกอบไปด้วยเครื่องเก็บรอยฝ่าเท้าและกระบวนการผลิตแผ่นรองรองเท้าโดยนาโนเทคโนโลยีทางวิศวกรรมเข้ามาช่วยในการผลิต ซึ่งเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมาใหม่นี้จะมีขนาดกะทัดรัด ใช้งานง่าย ราคาไม่แพง สามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล เพื่อการผลิตชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว โดยคู่หนึ่งใช้ระยะเวลาการผลิตเพียง ๑ ชั่วโมง และสะดวกในการแก้ไขปรับปรุงหากเกิดความผิดพลาด ส่งผลให้แผ่นรองรองเท้าที่ได้มีขนาดแม่นยำ เหมาะกับขนาดฝ่าเท้าของผู้ป่วย ที่สำคัญยังช่วยลดขยะที่เกิดจากการผลิตได้อีกด้วย ซึ่งกระบวนการผลิตทั้งหมดนี้เป็นการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Engineering) เข้ามาช่วยในการผลิต เช่น การสร้างแผ่นพิมพ์ในการผลิต การสร้างแบบจำลอง ๓ มิติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การรักษาเป็นไปในทิศทางที่แม่นยำขึ้น จะต้องทำงานร่วมกับเซนเซอร์วัดปริมาณแรงกดบริเวณใต้ฝ่าเท้า" นาย อภิสิทธิ์ นำชัยชนะกิจ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ผู้คิดค้นและวิจัย เซนเซอร์วัดปริมาณแรงกดบริเวณใต้ฝ่าเท้า กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้ ตนคิดค้นขึ้นเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับการผลิตแผ่นรองรองเท้าในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือที่จะวัดปริมาณแรงกดบริเวณใต้ฝ่าเท้าและ การผลิตแผ่นรองรองเท้าด้วยวิธีการทางดิจิตอล โดยเซนเซอร์ตัวนี้ มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์ม โดยทำงานคู่กับซอฟต์แวร์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง สามารถวัดปริมาณแรงกดบริเวณใต้ฝ่าเท้าแบบต่อเนื่องได้ ซึ่งเครื่องทั้ง ๒ ตัวนี้ หากขายอยู่ในท้องตลาด ราคาจะสูงถึง ๓๐๐,๐๐๐ บาท แต่สำหรับการวิจัยครั้งนี้ใช้ต้นทุนเพียง ๓๐,๐๐๐ บาท แต่ให้ผลการวัดที่เหมือนกัน ซึ่งเซนเซอร์ ๑ อันจะสามารถเก็บค่าการวัดแรงกดได้ถึง ๒๕๐ ค่า โดยติดเซนเซอร์ผูกไว้ที่ข้อเท้า และให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานใส่เดิน ๓๐-๖๐ ก้าว ก่อนการรักษาด้วยแผ่นรองรองเท้า และวัดค่าอีกครั้งหลังจากทำการรักษาด้วยแผ่นรองรองเท้า เพื่อเปรียบเทียบค่าแรงกดที่ต่างกัน โดยมีหน่วยวัดเป็นกิโลเมตร ปาสกาล ซึ่งจากการทดลองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ๑๔ คน พบว่า แรงกดใต้ฝ่าเท้าก่อนทำการรักษามีสูงถึง ๓๐๐ กิโลเมตร ปาสกาล แต่หลังจากที่ทำการรักษาโดยให้ใส่แผ่นรองรองเท้า พบว่า ปริมาณแรงกดลดลงเหลือเพียง ๕๐ กิโลเมตร ปาสกาล ดร.มนต์ ศักดิ์ พัตทิสาร อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า ผลงานวิจัยครั้งนี้ไม่ใช่เพียงการศึกษาในเชิงวิชาการอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ได้จริงตามหลักวิชาทางวิศวกรรม ทางคณะฯ จึงร่วมสนับสนุนการศึกษาวิจัยดังกล่าวกับนักศึกษา โดยได้ช่วยกันคิดค้นและพัฒนา เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในระดับสากลของนักศึกษา สจล. ที่สามารถศึกษาวิจัยผลงานที่เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ ตลอดจนแสดงให้เห็นว่านักศึกษาของสถาบันมีศักยภาพสูงพอที่จะแข่งขันกับนัก ศึกษาต่างประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งถือว่างานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยที่ดี มีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยพัฒนาวงการแพทย์ไทยให้ก้าวหน้า สามารถนำไปช่วยเหลือสังคมได้ โดยช่วยลดต้นทุนในค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยโรครองช้ำ
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)