‘โลโคแมต’ หุ่นยนต์ฝึกเดินช่วยผู้ป่วย..อัมพฤกษ์-อัมพาต
อัมพฤกษ์-อัมพาต...!ผลพวงของโรคหลอดเลือดสมอง ที่คนไทยเป็นกันมากขึ้นในแต่ละปีองค์การ อัมพาตโลก (World Stroke Organization : WSO) รายงานว่า โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์-อัมพาต เป็นสาเหตุการตายอันดับ ๒ ของประชากรอายุมากกว่า ๖๐ ปี และเป็นสาเหตุการตายอันดับ ๓ ทั่วโลก รวมทั้ง เป็นสาเหตุที่สำคัญของความพิการที่รุนแรง ข้อมูลทางสถิติพบว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดใหม่ทั่วโลกราว ๑๐-๑๕ ล้านคน ในจำนวน นี้ ๕ ล้านคนเสียชีวิต และอีก ๕ ล้านคนกลายเป็นคนพิการอย่างถาวร ส่วนประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายหรือพิการสูงเป็นอันดับ ๓ ในเพศชาย รองจากโรคเอดส์และอุบัติเหตุ และสูงเป็นอันดับ ๒ ในเพศหญิงรองจากโรคเอดส์
พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ บอกว่า เพราะเหตุที่ในปัจจุบันมีผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาตเพิ่มขึ้นมาก ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติจึงได้นำ “โลโคแมต” (Lokomat) หรือหุ่นยนต์ฝึกเดินมาใช้สำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาต ถือเป็นหุ่นยนต์ ๑ ใน ๓ ตัวที่มีในประเทศไทย โดยโลโคแมตอีก ๒ ตัว อยู่ที่ รพ.ศิริราช และ รพ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) โดยที่ มอ.และศูนย์สิรินธรมีทั้งหุ่นยนต์โลโคแมตธรรมดาและโลโคแมตจิ๋ว ที่สามารถใช้กับการฝึกเดินในเด็กสมองพิการหรือเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้ ด้วย
ภคอร สายพันธุ์ หัวหน้างานกายภาพบำบัด ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ อธิบายว่า โลโคแมตถือเป็นอุปกรณ์ฝึกเดินที่ทันสมัยที่สุดที่ศูนย์สิรินธรนำมาใช้สำหรับ ผู้ป่วยทางระบบประสาท เช่น บาดเจ็บไขสันหลัง หลอดเลือดสมอง เด็กสมองพิการและเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า รวมทั้งกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาการเดินทุกรูปแบบ โลโคแมต ทำงานโดยการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยมีส่วนประกอบของ อุปกรณ์ที่ช่วยพยุงสะโพกและขาทั้งสองข้าง ขาแต่ละข้างจะมีมอเตอร์ของข้อสะโพกและข้อเข่าติดตั้งยึดกับลู่ทางเดินที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์พีซี
ภคอร บอกว่า ในอดีตการฝึกเดินของผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาต และ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเดิน จะใช้วิธีฝึกกับนักกายภาพบำบัด ซึ่งต้องใช้ทั้งความอดทนและกำลังใจอย่างมาก บางครั้งเดินได้เพียง ๕-๑๐ นาที ก็เหนื่อยแล้ว ทั้งคนฝึกและคนถูกฝึก แต่สำหรับการฝึกกับโลโคแมต ผู้ป่วยสามารถที่จะฝึกเดินอย่างต่อเนื่องได้นานถึง ๓๐-๔๐ นาที รวมทั้งยังควบคุมจังหวะการเดินได้อย่างถูกต้อง ๑๐๐ % ลดการช่วยพยุงน้ำหนักตัว โดยผู้ป่วยสามารถพยุงน้ำหนักตัวเองได้มากขึ้น
นอกจากโลโคแมตจะช่วยฝึกเดินแล้ว สิ่งที่เป็นผลพวงจากการ ฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดินสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ตัวนี้ยังมีส่วนช่วยใน เรื่องความทนทานของระบบหัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิต ที่พบว่าหลังการฝึกเดินแล้วผู้ป่วยมีระบบไหลเวียนโลหิตที่ดีขึ้น อวัยวะภายในดีขึ้น หัวใจทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก ป้องกันการยึดติดของข้อต่อ และป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุน ได้ด้วย
ที่พิเศษอีกอย่างสำหรับการฝึกเดินกับหุ่นยนต์โลโคแมต ก็คือ ความเพลิดเพลินในระหว่างการฝึก เพราะระบบของโลโคแมตจะมีการติดตั้งจอระบบ ๓ D ให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นพัฒนาการระหว่างการฝึกเดินของตนเอง และสนุกสนานไปกับเกมแอนนิเมชั่นที่ช่วยในการฝึกเดิน เช่น เกมลูกแกะ ก็จะมีแกะออกมาวิ่งเล่น ถ้าผู้ป่วยต้องการจับลูกแกะที่อยู่ทางซ้าย ก็ต้องออก กำลังขาขวาให้มากขึ้น ถ้าต้องการลูกแกะที่อยู่ทางขวาก็ต้องออกกำลังขาซ้าย หรือเกมสุนัขจิ้งจอก ที่ผู้ป่วยต้องพยายามเดินหลบหลีกสุนัขจิ้งจอกที่ออกมาขวางทาง หรือพยายามหลีกเลี่ยง มิฉะนั้นก็อาจจะถูกสุนัขจิ้งจอกกัดเอาได้ เรียกว่า ระหว่างที่กำลังฝึกเดินนั้น ผู้ป่วยแทบไม่รู้เลยว่ากำลังอยู่ในโปรแกรมของการฝึก เพราะเหมือนกำลังเล่นเกมแอนนิเมชั่น ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสิบเกมเลยทีเดียว
สำหรับโลโคแมต ได้รับการพัฒนาขึ้นที่ Spinal Cord Injury Center ของมหาวิทยาลัย Balgrist ในเมืองซูริก ที่มีทั้งแพทย์ นักกายภาพบำบัด ผู้ป่วย และนักวิทยาศาสตร์ ช่วยกันแก้ไขปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้งานจนเป็นที่ยอมรับ
ด้วยความจำกัดของทรัพยากรบุคคล เวลา และงบประมาณ ปัจจุบันโลโคแมต สามารถใช้ฝึกเดินให้ผู้ป่วยได้ประมาณวันละ ๕ คน เพราะแต่ละคนต้องใช้เวลา ตั้งแต่ติดตั้งอุปกรณ์ ฝึกเดิน และถอดอุปกรณ์ คนละไม่ต่ำกว่า ๑ ชั่วโมง แต่ผลที่น่าพอใจก็คือ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติยืนยันว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์โลโคแมต มีพัฒนาการด้านการเดินในทางบวกและมีโอกาสที่จะเดินได้ดีขึ้นถึง ๑๐๐%
สถิติความสนใจ
ชอบ: 1 คน (100%)
ไม่ชอบ: 0 คน (0%)
ไม่มีความเห็น: 0 คน (0%)
จำนวนคนโหวตทั้งหมด: 1 คน (100%)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผู้ป่วยใช้หุ่นยนต์ โลโคแมต ช่วยฝึกเดินอัมพฤกษ์-อัมพาต...!ผลพวงของโรคหลอดเลือดสมอง ที่คนไทยเป็นกันมากขึ้นในแต่ละปีองค์การ อัมพาตโลก (World Stroke Organization : WSO) รายงานว่า โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์-อัมพาต เป็นสาเหตุการตายอันดับ ๒ ของประชากรอายุมากกว่า ๖๐ ปี และเป็นสาเหตุการตายอันดับ ๓ ทั่วโลก รวมทั้ง เป็นสาเหตุที่สำคัญของความพิการที่รุนแรง ข้อมูลทางสถิติพบว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดใหม่ทั่วโลกราว ๑๐-๑๕ ล้านคน ในจำนวน นี้ ๕ ล้านคนเสียชีวิต และอีก ๕ ล้านคนกลายเป็นคนพิการอย่างถาวร ส่วนประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายหรือพิการสูงเป็นอันดับ ๓ ในเพศชาย รองจากโรคเอดส์และอุบัติเหตุ และสูงเป็นอันดับ ๒ ในเพศหญิงรองจากโรคเอดส์ พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ บอกว่า เพราะเหตุที่ในปัจจุบันมีผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาตเพิ่มขึ้นมาก ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติจึงได้นำ “โลโคแมต” (Lokomat) หรือหุ่นยนต์ฝึกเดินมาใช้สำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาต ถือเป็นหุ่นยนต์ ๑ ใน ๓ ตัวที่มีในประเทศไทย โดยโลโคแมตอีก ๒ ตัว อยู่ที่ รพ.ศิริราช และ รพ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) โดยที่ มอ.และศูนย์สิรินธรมีทั้งหุ่นยนต์โลโคแมตธรรมดาและโลโคแมตจิ๋ว ที่สามารถใช้กับการฝึกเดินในเด็กสมองพิการหรือเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้ ด้วย ภคอร สายพันธุ์ หัวหน้างานกายภาพบำบัด ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ อธิบายว่า โลโคแมตถือเป็นอุปกรณ์ฝึกเดินที่ทันสมัยที่สุดที่ศูนย์สิรินธรนำมาใช้สำหรับ ผู้ป่วยทางระบบประสาท เช่น บาดเจ็บไขสันหลัง หลอดเลือดสมอง เด็กสมองพิการและเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า รวมทั้งกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาการเดินทุกรูปแบบ โลโคแมต ทำงานโดยการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยมีส่วนประกอบของ อุปกรณ์ที่ช่วยพยุงสะโพกและขาทั้งสองข้าง ขาแต่ละข้างจะมีมอเตอร์ของข้อสะโพกและข้อเข่าติดตั้งยึดกับลู่ทางเดินที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์พีซี ภคอร บอกว่า ในอดีตการฝึกเดินของผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาต และ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเดิน จะใช้วิธีฝึกกับนักกายภาพบำบัด ซึ่งต้องใช้ทั้งความอดทนและกำลังใจอย่างมาก บางครั้งเดินได้เพียง ๕-๑๐ นาที ก็เหนื่อยแล้ว ทั้งคนฝึกและคนถูกฝึก แต่สำหรับการฝึกกับโลโคแมต ผู้ป่วยสามารถที่จะฝึกเดินอย่างต่อเนื่องได้นานถึง ๓๐-๔๐ นาที รวมทั้งยังควบคุมจังหวะการเดินได้อย่างถูกต้อง ๑๐๐ % ลดการช่วยพยุงน้ำหนักตัว โดยผู้ป่วยสามารถพยุงน้ำหนักตัวเองได้มากขึ้น นอกจากโลโคแมตจะช่วยฝึกเดินแล้ว สิ่งที่เป็นผลพวงจากการ ฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดินสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ตัวนี้ยังมีส่วนช่วยใน เรื่องความทนทานของระบบหัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิต ที่พบว่าหลังการฝึกเดินแล้วผู้ป่วยมีระบบไหลเวียนโลหิตที่ดีขึ้น อวัยวะภายในดีขึ้น หัวใจทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก ป้องกันการยึดติดของข้อต่อ และป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุน ได้ด้วย ที่พิเศษอีกอย่างสำหรับการฝึกเดินกับหุ่นยนต์โลโคแมต ก็คือ ความเพลิดเพลินในระหว่างการฝึก เพราะระบบของโลโคแมตจะมีการติดตั้งจอระบบ ๓ D ให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นพัฒนาการระหว่างการฝึกเดินของตนเอง และสนุกสนานไปกับเกมแอนนิเมชั่นที่ช่วยในการฝึกเดิน เช่น เกมลูกแกะ ก็จะมีแกะออกมาวิ่งเล่น ถ้าผู้ป่วยต้องการจับลูกแกะที่อยู่ทางซ้าย ก็ต้องออก กำลังขาขวาให้มากขึ้น ถ้าต้องการลูกแกะที่อยู่ทางขวาก็ต้องออกกำลังขาซ้าย หรือเกมสุนัขจิ้งจอก ที่ผู้ป่วยต้องพยายามเดินหลบหลีกสุนัขจิ้งจอกที่ออกมาขวางทาง หรือพยายามหลีกเลี่ยง มิฉะนั้นก็อาจจะถูกสุนัขจิ้งจอกกัดเอาได้ เรียกว่า ระหว่างที่กำลังฝึกเดินนั้น ผู้ป่วยแทบไม่รู้เลยว่ากำลังอยู่ในโปรแกรมของการฝึก เพราะเหมือนกำลังเล่นเกมแอนนิเมชั่น ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสิบเกมเลยทีเดียว สำหรับโลโคแมต ได้รับการพัฒนาขึ้นที่ Spinal Cord Injury Center ของมหาวิทยาลัย Balgrist ในเมืองซูริก ที่มีทั้งแพทย์ นักกายภาพบำบัด ผู้ป่วย และนักวิทยาศาสตร์ ช่วยกันแก้ไขปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้งานจนเป็นที่ยอมรับ ด้วยความจำกัดของทรัพยากรบุคคล เวลา และงบประมาณ ปัจจุบันโลโคแมต สามารถใช้ฝึกเดินให้ผู้ป่วยได้ประมาณวันละ ๕ คน เพราะแต่ละคนต้องใช้เวลา ตั้งแต่ติดตั้งอุปกรณ์ ฝึกเดิน และถอดอุปกรณ์ คนละไม่ต่ำกว่า ๑ ชั่วโมง แต่ผลที่น่าพอใจก็คือ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติยืนยันว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์โลโคแมต มีพัฒนาการด้านการเดินในทางบวกและมีโอกาสที่จะเดินได้ดีขึ้นถึง
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)