มจธ.สุดเจ๋งคว้า ๒ รางวัล งาน iCREATe ๒๐๑๒ นวัตกรรมเพื่อคนพิการและสูงอายุ
นักศึกษาไทยจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) คว้า ๒ รางวัลในงานประชุมนานาชาติ ด้านวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ๒๐๑๒ หรือ ไอ-ครีเอท ๒๐๑๒ ที่ประเทศสิงคโปร์ หลังสร้างผลงานตอบโจทย์ยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางผสานเทคโนโลยีขั้นสูงสู่ชีวิต ที่ดีและสะดวกสบายยิ่งขึ้น
น.ส.ภณิดา ตันเจริญ หรือน้องแพลน นักศึกษาชั้นปีที่ ๕ สาขาออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดเผยถึง Sound Story ผลงานการออกแบบภายใต้โปรเจกต์ Toy for visually impaired children ว่า ผลงานดังกล่าวใช้เวลาคิดพัฒนาประมาณ ๑ ปี และได้ส่งเข้าประกวด Student Design Challenge ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ๒๐๑๒ (International Convention for Rehabilitation Engineering & Assistive Technology ๒๐๑๒ หรือ iCREATe๒๐๑๒ (ไอ-ครีเอท) ภายใต้หัวข้อ “Assistive & Rehabilitation Technology (ART) in an Inclusive Community” ที่มีโจทย์ว่าต้องคำนึงถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลางผสมผสานกับเทคโนโลยีเพื่อทำ ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ การดำรงชีวิตที่ดี และสะดวกสบายยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ iCREATe๒๐๑๒ จัดขึ้นเป็นปีที่ ๖ ณ ประเทศสิงคโปร์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตนักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นนวัตกรรมช่วย เหลือคนพิการและผู้สูงอายุ แบ่งการแข่งขันเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ Design Category และ Technology Category ซึ่งผลงานของภณิดาที่ได้รับรางวัลเป็นรางวัลชมเชย Merit Award จัดอยู่ในประเภท Design Category
“Sound Story เป็นของเล่น Universal toy ที่ออกแบบมาเพื่อกลุ่มเด็กผู้พิการทางสายตา แต่เด็กปกติก็สามารถเล่นด้วยได้ เหมาะกับเด็กอายุ ๓-๕ ปี ซึ่งทำให้เขาจินตนาการภาพของสิ่งที่มองไม่เห็น ด้วยการกระตุ้นประสาทสัมผัสผ่านทางการได้ยิน เพราะเด็กพวกนี้จะมีความสามารถพิเศษทางหูดีกว่าคนอื่น ช่วยพัฒนาด้านจินตนาการได้อย่างไม่รู้จบ ความคิดสร้างสรรค์ ให้เด็กสามารถสร้างจินตนาการของเขาเองได้ ด้วยการรับรู้ประสบการณ์ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริง ผ่านทางของเล่นนั่นเอง”
Sound Story เป็นเซตของเล่นมีด้วยกัน ๓ ชุด คือ ชุดเมือง ทะเล และป่า มีลักษณะเป็นเมืองจำลองขนาดย่อมๆ มีรถ บ้าน คอนโด วัด มีทั้งหมด ๗ ชิ้นมีเสียงที่แตกต่างกันไป และแผ่นกระดาน ๑ แผ่นสำหรับเล่นร่วมกัน โดยผู้เล่นสามารถนำของเล่นทั้ง ๗ ชิ้น วางตรงไหนก็ได้ที่ผู้เล่นต้องการ โดยสังเกตจากผิวสัมผัสด้วยการเขย่า ซึ่งแรงเขย่าจะเป็นตัวกำหนดความดังของเสียง แต่หากนำของเล่นพวกนี้มาเล่นนอกแผ่นกระดานจะไม่มีเสียงอะไร โดยแผ่นกระดานจะมีผิวสัมผัสที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ ซึ่งนอกจากความสนุกสนานแล้วยังเป็นการฝึกพัฒนาการด้านการสัมผัส การพัฒนากล้ามเนื้อมือ และพัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กด้วย เนื่องจากกระบวนการเล่นต้องการเล่นร่วมกับผู้อื่น
ขณะที่น้องหมอ-กิตติกร วรวิทยาการ และ นายนรุตม์ปิติทรงสวัสดิ์ หรือน้องดุ๊กดิ๊ก นักศึกษาชั้นปีที่ ๕ สาขาออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ (มจธ.) สามารถคว้ารางวัลชมเชย Merit Award ประเภท Design Category จากเวที iCREATe ๒๐๑๒ เช่นกัน จากผลงานที่มีชื่อว่า JAI ออกแบบภายใต้โปรเจกต์ Independent Living Devices for disability and elderly โดย นายกิตติกรกล่าวว่า JAI เป็นโปรเจกต์เกี่ยวกับคนพิการ ตนและเพื่อนเริ่มลงพื้นที่พูดคุยเก็บข้อมูลกับคนพิการและอัมพาต มาตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นปีที่ ๓ หลังได้รับโจทย์ว่าอุปกรณ์ที่สามารถช่วยเหลือคนพิการที่เป็นอัมพาตได้
“หลังจากได้รับโจทย์เราได้ไปพบกับผู้พิการ จริงๆ เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นว่าเขามีปัญหาอะไรในการใช้ชีวิต ผู้พิการที่เราทำมี ๒ กรณี คือ อัมพาตครึ่งล่าง และอัมพาตครึ่งซีก ซึ่งโปรเจกต์นี้เราทำคู่กับ NECTEC ซึ่งมีเทคโนโลยีที่รองรับคนกลุ่มนี้อยู่แล้ว แต่อุปกรณ์ของเราจะเข้าไปช่วยพัฒนาต่อยอดงานของ NECTEC ให้เหมาะกับผู้ใช้มากขึ้น แทนที่ผู้พิการจะใช้รีโมทพัดลม ทีวี แอร์ ครั้งละ ๓-๔ อัน เรานำมารวมไว้อยู่อันเดียวกันและเปลี่ยนจากปุ่มเป็นพื้นที่สัมผัส ใช้ส่วนหนึ่งของมือแตะลงไปก็ทำงานได้เลย”
ทั้งนี้ ผลงาน JAI มีอุปกรณ์ ๒ ชิ้นใช้คู่กัน คือ Display และรีโมท พ่วงอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยรีโมท ๑ อันจะมีระบบฉุกเฉิน ๒ แบบ ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ ขณะที่ในโหมดฉุกเฉิน (Emergency Mode) ได้มีการพัฒนาฟังชั่นเพิ่มเติม เช่น การทุบรีโมท จะมีการเชื่อมสัญญาณในบ้านเป็นระดับให้ดังเป็นเสียงกริ่ง แต่หากเกิดฉุกเฉินกว่านั้น การเตือนจะเพิ่มเป็นอีกระดับหนึ่ง เช่น ส่งสัญญาณเตือนคนในบ้าน หรือการส่งข้อความไปหาเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง เป็นต้น
ด้านนายนรุตม์ กล่าวเสริมว่า อยากให้มีการต่อยอดอุปกรณ์ชิ้นนี้ไปถึงมือผู้ป่วยจริงๆ ในแบบ User Centered Design ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุดทั้งทางด้านรูปแบบ ร่างกาย จิตใจ และสังคม ไม่ใช่แค่การออกแบบเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และแม้ว่าปัจจุบันอุปกรณ์ชิ้นนี้ยังไม่ได้ผลิตออกมาใช้กับผู้พิการทั่วไป เนื่องจากต้องนำโปรแกรมไปใส่ในระบบของ NECTEC และพัฒนาให้สอดคล้องกับการใช้งานของผู้พิการ ซึ่งตนเชื่อว่าอีกไม่นานผู้พิการจะมีโอกาสใช้นวัตกรรมเหล่านี้เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตต่อไป
สถิติความสนใจ
ชอบ: 1 คน (100%)
ไม่ชอบ: 0 คน (0%)
ไม่มีความเห็น: 0 คน (0%)
จำนวนคนโหวตทั้งหมด: 1 คน (100%)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพที่๑ ผลงาน Sound Story และผลงาน Merit Award ประเภท Design Category ที่คว้ารางวัล จากงาน iCREATe ๒๐๑๒นักศึกษาไทยจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) คว้า ๒ รางวัลในงานประชุมนานาชาติ ด้านวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ๒๐๑๒ หรือ ไอ-ครีเอท ๒๐๑๒ ที่ประเทศสิงคโปร์ หลังสร้างผลงานตอบโจทย์ยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางผสานเทคโนโลยีขั้นสูงสู่ชีวิต ที่ดีและสะดวกสบายยิ่งขึ้น น.ส.ภณิดา ตันเจริญ หรือน้องแพลน นักศึกษาชั้นปีที่ ๕ สาขาออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดเผยถึง Sound Story ผลงานการออกแบบภายใต้โปรเจกต์ Toy for visually impaired children ว่า ผลงานดังกล่าวใช้เวลาคิดพัฒนาประมาณ ๑ ปี และได้ส่งเข้าประกวด Student Design Challenge ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ๒๐๑๒ (International Convention for Rehabilitation Engineering & Assistive Technology ๒๐๑๒ หรือ iCREATe๒๐๑๒ (ไอ-ครีเอท) ภายใต้หัวข้อ “Assistive & Rehabilitation Technology (ART) in an Inclusive Community” ที่มีโจทย์ว่าต้องคำนึงถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลางผสมผสานกับเทคโนโลยีเพื่อทำ ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ การดำรงชีวิตที่ดี และสะดวกสบายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ iCREATe๒๐๑๒ จัดขึ้นเป็นปีที่ ๖ ณ ประเทศสิงคโปร์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตนักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นนวัตกรรมช่วย เหลือคนพิการและผู้สูงอายุ แบ่งการแข่งขันเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ Design Category และ Technology Category ซึ่งผลงานของภณิดาที่ได้รับรางวัลเป็นรางวัลชมเชย Merit Award จัดอยู่ในประเภท Design Category “Sound Story เป็นของเล่น Universal toy ที่ออกแบบมาเพื่อกลุ่มเด็กผู้พิการทางสายตา แต่เด็กปกติก็สามารถเล่นด้วยได้ เหมาะกับเด็กอายุ ๓-๕ ปี ซึ่งทำให้เขาจินตนาการภาพของสิ่งที่มองไม่เห็น ด้วยการกระตุ้นประสาทสัมผัสผ่านทางการได้ยิน เพราะเด็กพวกนี้จะมีความสามารถพิเศษทางหูดีกว่าคนอื่น ช่วยพัฒนาด้านจินตนาการได้อย่างไม่รู้จบ ความคิดสร้างสรรค์ ให้เด็กสามารถสร้างจินตนาการของเขาเองได้ ด้วยการรับรู้ประสบการณ์ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริง ผ่านทางของเล่นนั่นเอง” Sound Story เป็นเซตของเล่นมีด้วยกัน ๓ ชุด คือ ชุดเมือง ทะเล และป่า มีลักษณะเป็นเมืองจำลองขนาดย่อมๆ มีรถ บ้าน คอนโด วัด มีทั้งหมด ๗ ชิ้นมีเสียงที่แตกต่างกันไป และแผ่นกระดาน ๑ แผ่นสำหรับเล่นร่วมกัน โดยผู้เล่นสามารถนำของเล่นทั้ง ๗ ชิ้น วางตรงไหนก็ได้ที่ผู้เล่นต้องการ โดยสังเกตจากผิวสัมผัสด้วยการเขย่า ซึ่งแรงเขย่าจะเป็นตัวกำหนดความดังของเสียง แต่หากนำของเล่นพวกนี้มาเล่นนอกแผ่นกระดานจะไม่มีเสียงอะไร โดยแผ่นกระดานจะมีผิวสัมผัสที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ ซึ่งนอกจากความสนุกสนานแล้วยังเป็นการฝึกพัฒนาการด้านการสัมผัส การพัฒนากล้ามเนื้อมือ และพัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กด้วย เนื่องจากกระบวนการเล่นต้องการเล่นร่วมกับผู้อื่น ขณะที่น้องหมอ-กิตติกร วรวิทยาการ และ นายนรุตม์ปิติทรงสวัสดิ์ หรือน้องดุ๊กดิ๊ก นักศึกษาชั้นปีที่ ๕ สาขาออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ (มจธ.) สามารถคว้ารางวัลชมเชย Merit Award ประเภท Design Category จากเวที iCREATe ๒๐๑๒ เช่นกัน จากผลงานที่มีชื่อว่า JAI ออกแบบภายใต้โปรเจกต์ Independent Living Devices for disability and elderly โดย นายกิตติกรกล่าวว่า JAI เป็นโปรเจกต์เกี่ยวกับคนพิการ ตนและเพื่อนเริ่มลงพื้นที่พูดคุยเก็บข้อมูลกับคนพิการและอัมพาต มาตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นปีที่ ๓ หลังได้รับโจทย์ว่าอุปกรณ์ที่สามารถช่วยเหลือคนพิการที่เป็นอัมพาตได้ “หลังจากได้รับโจทย์เราได้ไปพบกับผู้พิการ จริงๆ เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นว่าเขามีปัญหาอะไรในการใช้ชีวิต ผู้พิการที่เราทำมี ๒ กรณี คือ อัมพาตครึ่งล่าง และอัมพาตครึ่งซีก ซึ่งโปรเจกต์นี้เราทำคู่กับ NECTEC ซึ่งมีเทคโนโลยีที่รองรับคนกลุ่มนี้อยู่แล้ว แต่อุปกรณ์ของเราจะเข้าไปช่วยพัฒนาต่อยอดงานของ NECTEC ให้เหมาะกับผู้ใช้มากขึ้น แทนที่ผู้พิการจะใช้รีโมทพัดลม ทีวี แอร์ ครั้งละ ๓-๔ อัน เรานำมารวมไว้อยู่อันเดียวกันและเปลี่ยนจากปุ่มเป็นพื้นที่สัมผัส ใช้ส่วนหนึ่งของมือแตะลงไปก็ทำงานได้เลย” ทั้งนี้ ผลงาน JAI มีอุปกรณ์ ๒ ชิ้นใช้คู่กัน คือ Display และรีโมท พ่วงอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยรีโมท ๑ อันจะมีระบบฉุกเฉิน ๒ แบบ ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ ขณะที่ในโหมดฉุกเฉิน (Emergency Mode) ได้มีการพัฒนาฟังชั่นเพิ่มเติม เช่น การทุบรีโมท จะมีการเชื่อมสัญญาณในบ้านเป็นระดับให้ดังเป็นเสียงกริ่ง แต่หากเกิดฉุกเฉินกว่านั้น การเตือนจะเพิ่มเป็นอีกระดับหนึ่ง เช่น ส่งสัญญาณเตือนคนในบ้าน หรือการส่งข้อความไปหาเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง เป็นต้น ด้านนายนรุตม์ กล่าวเสริมว่า อยากให้มีการต่อยอดอุปกรณ์ชิ้นนี้ไปถึงมือผู้ป่วยจริงๆ ในแบบ User Centered Design ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุดทั้งทางด้านรูปแบบ ร่างกาย จิตใจ และสังคม ไม่ใช่แค่การออกแบบเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และแม้ว่าปัจจุบันอุปกรณ์ชิ้นนี้ยังไม่ได้ผลิตออกมาใช้กับผู้พิการทั่วไป เนื่องจากต้องนำโปรแกรมไปใส่ในระบบของ NECTEC และพัฒนาให้สอดคล้องกับการใช้งานของผู้พิการ ซึ่งตนเชื่อว่าอีกไม่นานผู้พิการจะมีโอกาสใช้นวัตกรรมเหล่านี้เพื่อพัฒนา
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)