เทคโนโลยี ‘กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาระบบดิจิทัล’ ช่วยผู้ป่วยพ้นภาวะตาบอดจากเบาหวาน ขึ้นจอประสาทตา
เบาหวานคือการตรวจตาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อวัดความดันลูกตาจอประสาทตา เส้นเลือดฝอยในตา ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านโรคจอประสาทตา โรงพยาบาลราชวิถี ได้พัฒนากระบวนการจัดการตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงต่อตาบอดจากโรคเบาหวาน โดยจัดทำ “โครงการป้องกันตาบอดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน” เพื่อพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข พยาบาลและเจ้าหน้าที่เทคนิคในท้องที่ของชุมชนตามจังหวัดต่างๆ ให้สามารถอ่านภาพจอประสาทตาผ่านกล้องถ่ายภาพจอประสาทตาระบบดิจิทัลได้ รวมไปถึงการสร้างบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่เสี่ยงต่อภาวะตาบอดให้ได้รับการบริการที่มีคุณภาพทำให้เกิดการขยายผลสู่ชุมชนที่กว้างขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโดยเน้นการสร้างเครือข่ายรวมถึงการนำเทคโนโลยี “กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาระบบดิจิทัล” มาใช้วินิจฉัยโรคดังกล่าว และโครงการฯนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศคุณภาพการให้บริการดีเด่น สาขาการเสริมสร้างการจัดการความรู้ในภาครัฐ ปี ๒๕๕๕ จากองค์การสหประชาชาติ นำความภาคภูมิใจมาสู่ระบบสาธารสุขของประเทศไทยและได้เผยแพร่ผลงานดังกล่าวต่อสายตาชาวโลกอีกด้วย
ด้านนายแพทย์ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา หัวหน้าโครงการป้องกันตาบอดจากโรคเบาหวาน โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีจักษุแพทย์และแพทย์เฉพาะทางด้านจอประสาทตาเพียง ๑,๐๐๐ คน ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ ขณะที่ในแต่ละจังหวัดมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานถึง ๕,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ ราย กรมการแพทย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดตั้งทีมคัดกรองเบาหวานเข้าจอประสาทตาไปยังอำเภอละชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะในเขตห่างไกลเพื่อให้บริการตรวจคัดกรองโรคดังกล่าว ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับบริการตรวจคัดกรองหาภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างเป็นระบบโดย ใช้มาตรฐาน International Clinical Classication ในการจัดระบบความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ทั้งนี้ บุคลากรสาธารณสุขจะส่งต่อข้อมูลและภาพจอประสาทตามายังจักษุแพทย์ก่อนผู้ป่วยมาพบแพทย์ โดยผ่านระบบเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพในการรักษาให้แก่ผู้ป่วยต่อไป
ยังไม่มีเรตติ้ง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เบาหวานคือการตรวจตาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อวัดความดันลูกตาจอประสาทตา เส้นเลือดฝอยในตา ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านโรคจอประสาทตา โรงพยาบาลราชวิถี ได้พัฒนากระบวนการจัดการตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงต่อตาบอดจากโรคเบาหวาน โดยจัดทำ “โครงการป้องกันตาบอดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน” เพื่อพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข พยาบาลและเจ้าหน้าที่เทคนิคในท้องที่ของชุมชนตามจังหวัดต่างๆ ให้สามารถอ่านภาพจอประสาทตาผ่านกล้องถ่ายภาพจอประสาทตาระบบดิจิทัลได้ รวมไปถึงการสร้างบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่เสี่ยงต่อภาวะตาบอดให้ได้รับการบริการที่มีคุณภาพทำให้เกิดการขยายผลสู่ชุมชนที่กว้างขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโดยเน้นการสร้างเครือข่ายรวมถึงการนำเทคโนโลยี “กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาระบบดิจิทัล” มาใช้วินิจฉัยโรคดังกล่าว และโครงการฯนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศคุณภาพการให้บริการดีเด่น สาขาการเสริมสร้างการจัดการความรู้ในภาครัฐ ปี ๒๕๕๕ จากองค์การสหประชาชาติ นำความภาคภูมิใจมาสู่ระบบสาธารสุขของประเทศไทยและได้เผยแพร่ผลงานดังกล่าวต่อสายตาชาวโลกอีกด้วย ด้านนายแพทย์ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา หัวหน้าโครงการป้องกันตาบอดจากโรคเบาหวาน โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีจักษุแพทย์และแพทย์เฉพาะทางด้านจอประสาทตาเพียง ๑,๐๐๐ คน ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ ขณะที่ในแต่ละจังหวัดมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานถึง ๕,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ ราย กรมการแพทย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดตั้งทีมคัดกรองเบาหวานเข้าจอประสาทตาไปยังอำเภอละชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะในเขตห่างไกลเพื่อให้บริการตรวจคัดกรองโรคดังกล่าว ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับบริการตรวจคัดกรองหาภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างเป็นระบบโดย ใช้มาตรฐาน International Clinical Classication ในการจัดระบบความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ทั้งนี้ บุคลากรสาธารณสุขจะส่งต่อข้อมูลและภาพจอประสาทตามายังจักษุแพทย์ก่อนผู้ป่วยมาพบแพทย์ โดยผ่านระบบเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้น
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)