"อาร์กัส ทู ซิสเต็ม" ดวงตาเทียม-ผ่านเอฟดีเอแล้ว

แสดงความคิดเห็น

"อาร์กัส ทู ซิสเต็ม" ดวงตาเทียม

อาการตาบอด เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหนึ่งที่พบกันบ่อยมากก็คืออาการ "เรตินิทิส พิกเมนโทซา" หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า โรคอาร์พี ที่มีชื่อทางการแพทย์เป็นภาษาไทยว่า โรคจอประสาทตาเสื่อม นั่นเองผู้เชี่ยวชาญเชื่อกันว่าสาเหตุสำคัญโรค อาร์พีนั้นมาจากกรรมพันธุ์ อาการที่เกิดขึ้นทำให้กลุ่มเซลล์ประสาทตาที่เรียกกันว่า ร็อด เซลล์ และ โคน เซลล์ บริเวณจอประสาทตาไม่ทำหน้าที่อย่างที่มันควรจะทำคือ การทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์รับแสงที่จะทำปฏิกิริยากับแสงแล้วแปลงมันเป็น กระแสไฟอ่อนๆ ไปยังด้านหลังของจอประสาทตา เพื่อถ่ายทอดไปยังประสาทการมองเห็นและจะต่อไปยังระบบประสาทในสมองของคนเรา

การไม่ทำหน้าที่ของกลุ่มเซลล์ไวแสงดังกล่าว จะส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า การมองเห็นของตนมืดลงเรื่อยๆ ต่อด้วยอาการ ลานสายตา หรือ มุมมองของการมองเห็น แคบลง หากอาการรุนแรง จะส่งผลให้ตาบอดสนิทในที่สุด มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เป็นจำนวนไม่น้อยในเมืองไทย เช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกาที่พบผู้ป่วยอาร์พีอยู่ราว 100,000 คนในปัจจุบัน ในอังกฤษพบผลกระทบต่อประชากรราว 25,000 ครัวเรือนเป็นต้น

ที่น่าดีใจก็คือ มีหลายๆ หน่วยงานทั้งที่เป็นของทางการและเอกชนพยายามหาทางศึกษาวิจัยทั้งในเรื่องของ การป้องกันและการแก้ปัญหาให้กับผู้ที่สูญเสียการมองเห็นไปแล้ว หนึ่งในบริษัทเอกชนที่ทำวิจัยเรื่องนี้มานานก็คือ "เซคคันด์ ไซท์" บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นเจ้าของระบบ เรตินาเทียม ที่เรียกว่า อาร์กัส ทู ซิสเต็ม ซึ่งผ่านการทดลองใช้งานในตัวผู้ป่วยมาแล้วและอยู่ระหว่างการยื่นขออนุญาตจาก สำนักงานอาหารและยา (เอฟดีเอ) ของสหรัฐอเมริกา ที่ในที่สุดก็อนุมัติให้มีการนำเอาระบบดังกล่าวมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้กับผู้ป่วยอายุตั้งแต่25ปีขึ้นไป

ถือเป็นระบบตาเทียมระบบแรกที่ได้รับความเห็นชอบจากเอฟดีเอให้นำมาใช้กับผู้ป่วยในวงกว้างได้อย่างเป็นทางการ ระบบ อาร์กัส ทู ของ เซคคันด์ ไซท์ ทำงานโดยการใช้กลุ่มอีเลคโทรดจำนวนหนึ่งเข้าไปทำหน้าที่แทนที่ร็อดเซลล์และ โคนเซลล์ในบริเวณจอประสาทตา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะผ่าตัดเพื่อฝังกลุ่มอีเลคโทรดดังกล่าวไว้ในบริเวณจอ ประสาทตาด้านหลังลูกตาของผู้ป่วย อีเลคโทรดดังกล่าวจะเชื่อมต่ออยู่กับกล้องวิดีโอขนาดจิ๋วที่ติดตั้งไว้บน แว่นตาของผู้ป่วยผ่านทางอุปกรณ์ประมวลผลขนาดเล็ก ที่ผู้ป่วยสามารถติดไว้กับข้อมือเพื่อไปไหนมาไหนได้ตลอดเวลา

กระบวนการทำงานของ อาร์กัส ทู ซิสเต็ม จะเริ่มต้นจากการส่งสัญญาณภาพของกล้องวิดีโอที่ติดตั้งไว้ที่แว่นตาไปยัง หน่วยประมวลผลบริเวณข้อมือ เมื่อประมวลภาพแล้วสัญญาณที่ประมวลได้จะถูกส่งกลับมายังแว่นตา เพื่อส่งต่อไปยังกลุ่มอีเลคโทรดที่เรตินาของผู้ป่วย ซึ่งจะทำหน้าที่แทนกลุ่มประสาทไวแสงในธรรมชาติ ส่งคลื่นไฟฟ้าอ่อนๆเข้าสู่ระบบเพื่อให้สมองสามารถแปรเป็นภาพได้อีกต่อหนึ่งนั่นเอง ผู้ป่วยที่สูญเสียการมองเห็นเพราะโรคอาร์พี ที่ใช้งานอาร์กัส ทู ซิสเต็มได้ผล ต้องเป็นผู้ป่วยที่สูญเสียกลุ่มประสาทไวเสงดังกล่าวไป แต่ระบบส่วนที่เหลือทั้งหมดยังทำงานได้เป็นปกติ

นอกจากนั้น อาร์กัส ทู ซิสเต็ม ที่มีอีเลคโทรดอยู่เพียง 60 ตัว ไม่สามารถทำหน้าที่ทดแทนสายตาตามธรรมชาติของเราได้เป๊ะทั้งหมด สิ่งที่ผู้ป่วยที่ใช้ระบบนี้เห็นก็เหมือนกับการได้เห็นภาพโทรทัศน์ความ ละเอียดขนาด 60 พิเซล แต่ยังดีพอที่สามารถทำให้ผู้ใช้เคลื่อนไหวไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเองอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น หากยังไม่มีอาการ ถนอมสายตาที่ธรรมชาติให้มาไว้ให้ดี เป็นดีที่สุดแน่นอน

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1361422262&grpid=&catid=12&subcatid=1203

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.พ.56

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.พ.56
วันที่โพสต์: 22/02/2556 เวลา 04:36:41 ดูภาพสไลด์โชว์ "อาร์กัส ทู ซิสเต็ม" ดวงตาเทียม-ผ่านเอฟดีเอแล้ว

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

\"อาร์กัส ทู ซิสเต็ม\" ดวงตาเทียม อาการตาบอด เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหนึ่งที่พบกันบ่อยมากก็คืออาการ "เรตินิทิส พิกเมนโทซา" หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า โรคอาร์พี ที่มีชื่อทางการแพทย์เป็นภาษาไทยว่า โรคจอประสาทตาเสื่อม นั่นเองผู้เชี่ยวชาญเชื่อกันว่าสาเหตุสำคัญโรค อาร์พีนั้นมาจากกรรมพันธุ์ อาการที่เกิดขึ้นทำให้กลุ่มเซลล์ประสาทตาที่เรียกกันว่า ร็อด เซลล์ และ โคน เซลล์ บริเวณจอประสาทตาไม่ทำหน้าที่อย่างที่มันควรจะทำคือ การทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์รับแสงที่จะทำปฏิกิริยากับแสงแล้วแปลงมันเป็น กระแสไฟอ่อนๆ ไปยังด้านหลังของจอประสาทตา เพื่อถ่ายทอดไปยังประสาทการมองเห็นและจะต่อไปยังระบบประสาทในสมองของคนเรา การไม่ทำหน้าที่ของกลุ่มเซลล์ไวแสงดังกล่าว จะส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า การมองเห็นของตนมืดลงเรื่อยๆ ต่อด้วยอาการ ลานสายตา หรือ มุมมองของการมองเห็น แคบลง หากอาการรุนแรง จะส่งผลให้ตาบอดสนิทในที่สุด มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เป็นจำนวนไม่น้อยในเมืองไทย เช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกาที่พบผู้ป่วยอาร์พีอยู่ราว 100,000 คนในปัจจุบัน ในอังกฤษพบผลกระทบต่อประชากรราว 25,000 ครัวเรือนเป็นต้น ที่น่าดีใจก็คือ มีหลายๆ หน่วยงานทั้งที่เป็นของทางการและเอกชนพยายามหาทางศึกษาวิจัยทั้งในเรื่องของ การป้องกันและการแก้ปัญหาให้กับผู้ที่สูญเสียการมองเห็นไปแล้ว หนึ่งในบริษัทเอกชนที่ทำวิจัยเรื่องนี้มานานก็คือ "เซคคันด์ ไซท์" บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นเจ้าของระบบ เรตินาเทียม ที่เรียกว่า อาร์กัส ทู ซิสเต็ม ซึ่งผ่านการทดลองใช้งานในตัวผู้ป่วยมาแล้วและอยู่ระหว่างการยื่นขออนุญาตจาก สำนักงานอาหารและยา (เอฟดีเอ) ของสหรัฐอเมริกา ที่ในที่สุดก็อนุมัติให้มีการนำเอาระบบดังกล่าวมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้กับผู้ป่วยอายุตั้งแต่25ปีขึ้นไป ถือเป็นระบบตาเทียมระบบแรกที่ได้รับความเห็นชอบจากเอฟดีเอให้นำมาใช้กับผู้ป่วยในวงกว้างได้อย่างเป็นทางการ ระบบ อาร์กัส ทู ของ เซคคันด์ ไซท์ ทำงานโดยการใช้กลุ่มอีเลคโทรดจำนวนหนึ่งเข้าไปทำหน้าที่แทนที่ร็อดเซลล์และ โคนเซลล์ในบริเวณจอประสาทตา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะผ่าตัดเพื่อฝังกลุ่มอีเลคโทรดดังกล่าวไว้ในบริเวณจอ ประสาทตาด้านหลังลูกตาของผู้ป่วย อีเลคโทรดดังกล่าวจะเชื่อมต่ออยู่กับกล้องวิดีโอขนาดจิ๋วที่ติดตั้งไว้บน แว่นตาของผู้ป่วยผ่านทางอุปกรณ์ประมวลผลขนาดเล็ก ที่ผู้ป่วยสามารถติดไว้กับข้อมือเพื่อไปไหนมาไหนได้ตลอดเวลา กระบวนการทำงานของ อาร์กัส ทู ซิสเต็ม จะเริ่มต้นจากการส่งสัญญาณภาพของกล้องวิดีโอที่ติดตั้งไว้ที่แว่นตาไปยัง หน่วยประมวลผลบริเวณข้อมือ เมื่อประมวลภาพแล้วสัญญาณที่ประมวลได้จะถูกส่งกลับมายังแว่นตา เพื่อส่งต่อไปยังกลุ่มอีเลคโทรดที่เรตินาของผู้ป่วย ซึ่งจะทำหน้าที่แทนกลุ่มประสาทไวแสงในธรรมชาติ ส่งคลื่นไฟฟ้าอ่อนๆเข้าสู่ระบบเพื่อให้สมองสามารถแปรเป็นภาพได้อีกต่อหนึ่งนั่นเอง ผู้ป่วยที่สูญเสียการมองเห็นเพราะโรคอาร์พี ที่ใช้งานอาร์กัส ทู ซิสเต็มได้ผล ต้องเป็นผู้ป่วยที่สูญเสียกลุ่มประสาทไวเสงดังกล่าวไป แต่ระบบส่วนที่เหลือทั้งหมดยังทำงานได้เป็นปกติ นอกจากนั้น อาร์กัส ทู ซิสเต็ม ที่มีอีเลคโทรดอยู่เพียง 60 ตัว ไม่สามารถทำหน้าที่ทดแทนสายตาตามธรรมชาติของเราได้เป๊ะทั้งหมด สิ่งที่ผู้ป่วยที่ใช้ระบบนี้เห็นก็เหมือนกับการได้เห็นภาพโทรทัศน์ความ ละเอียดขนาด 60 พิเซล แต่ยังดีพอที่สามารถทำให้ผู้ใช้เคลื่อนไหวไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเองอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น หากยังไม่มีอาการ ถนอมสายตาที่ธรรมชาติให้มาไว้ให้ดี เป็นดีที่สุดแน่นอน ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1361422262&grpid=&catid=12&subcatid=1203 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.พ.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...