พัฒนาเทคโนโลยีอนาคตเพื่อคนพิการยุคดิจิตอล
เพราะ "ผู้พิการ" ก็เป็นกำลังหลักที่จะช่วยพัฒนาประเทศได้เช่นกัน การเปลี่ยนแนวคิดจากคนพิการเป็นภาระ มาเป็นพลังหลักในการสร้างสังคมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ และการสร้างสังคมที่ปราศจากอุปสรรคเพื่อการดำรงชีวิตของคนพิการ ก็ถือเป็นสิ่งที่ต้องเร่งพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยเรื่องการดำรงชีวิต การศึกษาก็ตาม
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "ทิศทางการวิจัย การพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ คนพิการ" ณ ห้องราชา 1 โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ เพื่อเผยแพร่เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อคนพิการ และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ
นภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เผยว่า เพื่อรองรับการใช้ชีวิตของผู้พิการในยุคดิจิตอล จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมา รองรับการดำรงชีวิตผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ต่างๆ จึงได้ร่วมมือกับสถาบันต่างๆ อาทิ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), และศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยีให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งมีทั้งเครื่องเปิด-ปิดไฟ, เครื่องช่วยกายภาพ รวมทั้งเครื่องตักข้าว
วันทนีย์ พันธชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เผยว่า ที่ผ่านมา สวทช.มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ที่มีราคาสูงโดยแบ่งเป็นระยะตั้งแต่ก่อนเกิดความพิการ คือป้องกันความพิการตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น การตรวจความผิดปกติของโครโมโซม, ระยะพบความพิการ, ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ และระยะพัฒนาศักยภาพคนพิการ ซึ่งในแต่ละขั้นต้องพยายามพัฒนาเทคโนโลยีของไทยขึ้นมาเอง
"เราเชื่อว่าในอนาคต การใช้อุปกรณ์จำพวกสมาร์ทโฟน แก็ดเจ็ทจะได้รับความนิยมมาก จึงจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีการเข้ารหัสเพื่อแปลงสิ่งพิมพ์เป็นข้อความให้กับคนพิการเพื่อให้คนตาบอดที่ใช้สมาร์ทโฟนลงโปรแกรมอ่านหนังสือได้ในแต่ละหน้า หรืออาจเป็นภาษามือให้กับคนหูหนวก รวมถึงเร่งพัฒนาระบบทีวีดิจิตอล ที่จะมี Audio description และ close caption ให้กับผู้พิการ ให้สามารถดูโทรทัศน์ได้อย่างสะดวกมากขึ้น และอยู่ในสังคมได้"
วันทนีย์เผยพรเพชร เพชรนนทรี ผู้พิการทางสายตาแต่กำเนิด เล่าว่า รู้สึกดีที่มีงานนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นทุกคน ที่สนใจมากคือโปรแกรมจีอาร์โค้ด ที่จะทำให้อ่านหนังสือที่มองไม่เห็นได้ อยากให้พัฒนาระบบให้สมบูรณ์แบบมากกว่านี้ และให้เข้าถึงมือของผู้บริโภคได้มากขึ้นกว่าเดิม ทุกวันนี้สายตาของเรามองเห็นได้รางๆ เท่านั้น เช่น ยาสระผม ก็เห็นแค่ยี่ห้อไม่เห็นส่วนประกอบและวันหมดอายุ ซึ่งมันเสี่ยงมากในการดำรงชีวิต เมื่อคนไทยด้วยกันประดิษฐ์อุปกรณ์มาช่วยเราให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ก็ถือว่าดีและน่าส่งเสริม
แหล่งที่มา : พก.จับมือมหาวิทยาลัยพัฒนานวัตกรรมผู้พิการ. ไทยรัฐ. ฉบับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556.
ขอบคุณ... http://www.nstda.or.th/news/12544-nstda (ขนาดไฟล์: 162)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
(เครื่องตักข้าว) (เครื่องช่วยกายภาพ) (เครื่องเปิด-ปิดไฟ) เพราะ "ผู้พิการ" ก็เป็นกำลังหลักที่จะช่วยพัฒนาประเทศได้เช่นกัน การเปลี่ยนแนวคิดจากคนพิการเป็นภาระ มาเป็นพลังหลักในการสร้างสังคมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ และการสร้างสังคมที่ปราศจากอุปสรรคเพื่อการดำรงชีวิตของคนพิการ ก็ถือเป็นสิ่งที่ต้องเร่งพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยเรื่องการดำรงชีวิต การศึกษาก็ตาม สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "ทิศทางการวิจัย การพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ คนพิการ" ณ ห้องราชา 1 โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ เพื่อเผยแพร่เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อคนพิการ และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ นภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เผยว่า เพื่อรองรับการใช้ชีวิตของผู้พิการในยุคดิจิตอล จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมา รองรับการดำรงชีวิตผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ต่างๆ จึงได้ร่วมมือกับสถาบันต่างๆ อาทิ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), และศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยีให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งมีทั้งเครื่องเปิด-ปิดไฟ, เครื่องช่วยกายภาพ รวมทั้งเครื่องตักข้าว วันทนีย์ พันธชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ วันทนีย์ พันธชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เผยว่า ที่ผ่านมา สวทช.มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ที่มีราคาสูงโดยแบ่งเป็นระยะตั้งแต่ก่อนเกิดความพิการ คือป้องกันความพิการตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น การตรวจความผิดปกติของโครโมโซม, ระยะพบความพิการ, ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ และระยะพัฒนาศักยภาพคนพิการ ซึ่งในแต่ละขั้นต้องพยายามพัฒนาเทคโนโลยีของไทยขึ้นมาเอง "เราเชื่อว่าในอนาคต การใช้อุปกรณ์จำพวกสมาร์ทโฟน แก็ดเจ็ทจะได้รับความนิยมมาก จึงจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีการเข้ารหัสเพื่อแปลงสิ่งพิมพ์เป็นข้อความให้กับคนพิการเพื่อให้คนตาบอดที่ใช้สมาร์ทโฟนลงโปรแกรมอ่านหนังสือได้ในแต่ละหน้า หรืออาจเป็นภาษามือให้กับคนหูหนวก รวมถึงเร่งพัฒนาระบบทีวีดิจิตอล ที่จะมี Audio description และ close caption ให้กับผู้พิการ ให้สามารถดูโทรทัศน์ได้อย่างสะดวกมากขึ้น และอยู่ในสังคมได้" วันทนีย์เผยพรเพชร เพชรนนทรี ผู้พิการทางสายตาแต่กำเนิด เล่าว่า รู้สึกดีที่มีงานนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นทุกคน ที่สนใจมากคือโปรแกรมจีอาร์โค้ด ที่จะทำให้อ่านหนังสือที่มองไม่เห็นได้ อยากให้พัฒนาระบบให้สมบูรณ์แบบมากกว่านี้ และให้เข้าถึงมือของผู้บริโภคได้มากขึ้นกว่าเดิม ทุกวันนี้สายตาของเรามองเห็นได้รางๆ เท่านั้น เช่น ยาสระผม ก็เห็นแค่ยี่ห้อไม่เห็นส่วนประกอบและวันหมดอายุ ซึ่งมันเสี่ยงมากในการดำรงชีวิต เมื่อคนไทยด้วยกันประดิษฐ์อุปกรณ์มาช่วยเราให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ก็ถือว่าดีและน่าส่งเสริม แหล่งที่มา : พก.จับมือมหาวิทยาลัยพัฒนานวัตกรรมผู้พิการ. ไทยรัฐ. ฉบับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556. ขอบคุณ... http://www.nstda.or.th/news/12544-nstda
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)