ไทยเจ๋ง!คิดค้นชุดแสดงผลอักษรเบรลล์ 10 เซลล์ช่วยคนตาบอด
เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.2556 นาวาอากาศโท ดร. สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า เมื่อปี 2555 ทางสถาบันฯ ประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาชุดแสดงผลอักษรเบรลล์ขนาด 3 เซลล์ ด้วยแสงซินโครตรอน เป็นครั้งแรกของประเทศ ได้รับประกาศเกียรติคุณ โครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ ของคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ฯ วุฒิสภา และในปีนี้ได้ต่อยอดงานวิจัย โดยการพัฒนาชุดแสดงผลอักษรเบรลล์เป็น 10 เซลล์ สามารถอ่านได้ต่อเนื่อง 10 ตัวอักษร ด้วยแสงซินโครตรอน ถือเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่สร้างประโยชน์ให้กับผู้พิการทางสายตาให้สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้น
ด้าน ดร.รุ่งเรือง พัฒนากุล หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ทีมงานวิจัยได้ใช้แสงซินโครตรอนที่มีความเข้มสูงกว่าดวงอาทิตย์ล้านเท่า ซึ่งมีอำนาจทะลุทะลวงสูงในการผลิตชิ้นส่วนของตัวแสดงผลอักษรเบรลล์ ทำให้มีความคมชัดและแม่นยำสูง โดยชุดอักษรเบรลล์ที่ผลิตขึ้นมานี้จะมีโปรแกรมเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เพื่อแปลงอักษรปกติให้เป็นอักษรเบรลล์ เมื่อผู้พิการทางสายตาสัมผัสที่แถวอักษรเบรลล์บนเครื่อง จะสามารถอ่านข้อความที่ป้อนผ่านคอมพิวเตอร์ได้ นอกจากนี้ ยังได้นำไปทดสอบกับนักเรียนระดับชั้น ป.5 ถึง ม.6 ของโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จ.นครราชสีมา พบว่า ความถูกต้องในการอ่านอยู่ที่ร้อยละ 95 โดยทีมนักวิจัยต้องพัฒนาเพิ่มในส่วนของโปรแกรมให้สามารถตัดคำได้อย่างถูก ต้องมากขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถอ่านได้อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ จะสามารถลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้ต้นทุนในการสร้างอุปกรณ์มีราคาถูกลงจากเดิม ที่ราคาชุดแสดงผลพร้อมโปรแกรมนำเข้าจากต่างประเทศมีราคากว่า 50,000 บาทต่อเครื่อง แต่ชุดแสดงผลอักษรเบรลล์ 10 เซลล์พร้อมโปรแกรมที่สถาบันฯผลิตขึ้นหากผลิตเพื่อจำหน่ายจะมีราคาไม่เกิน เครื่องละ 10,000 บาทเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ผู้พิการทางสายตาสามารถซื้อเป็นของตัวเองได้
ส่วน นายวิชัย สารคล่อง รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนคนตาบอด จ.นครราชสีมา กล่าวว่า โครงการนี้สร้างประโยชน์และความสะดวกสบายให้กับผู้พิการทางสายตาอย่างมาก สามารถทดแทนตำราเรียนอักษรเบรลล์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่มีผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำอย่างจำกัด และจุดของอักษรเบรลล์ยังลางเลือนได้ง่าย สิ้นเปลืองพื้นที่การจัดเก็บ อีกทั้งกระดาษยังเสียหายจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย ดังนั้นการจัดเก็บข้อมูลชุดแสดงผลอักษรเบรลล์ 10 เซลล์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะทำให้ผู้พิการทางสายตาสามารถรับข่าวสารได้สะดวก รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และสามารถจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ไม่จำเป็นต้องถือหนังสือเบรลล์หลายๆเล่ม ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางสายตาให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ง่าย ขึ้น
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/351881 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ชุดแสดงผลอักษรเบรลล์ 10 เซลล์เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.2556 นาวาอากาศโท ดร. สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า เมื่อปี 2555 ทางสถาบันฯ ประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาชุดแสดงผลอักษรเบรลล์ขนาด 3 เซลล์ ด้วยแสงซินโครตรอน เป็นครั้งแรกของประเทศ ได้รับประกาศเกียรติคุณ โครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ ของคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ฯ วุฒิสภา และในปีนี้ได้ต่อยอดงานวิจัย โดยการพัฒนาชุดแสดงผลอักษรเบรลล์เป็น 10 เซลล์ สามารถอ่านได้ต่อเนื่อง 10 ตัวอักษร ด้วยแสงซินโครตรอน ถือเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่สร้างประโยชน์ให้กับผู้พิการทางสายตาให้สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้น ด้าน ดร.รุ่งเรือง พัฒนากุล หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ทีมงานวิจัยได้ใช้แสงซินโครตรอนที่มีความเข้มสูงกว่าดวงอาทิตย์ล้านเท่า ซึ่งมีอำนาจทะลุทะลวงสูงในการผลิตชิ้นส่วนของตัวแสดงผลอักษรเบรลล์ ทำให้มีความคมชัดและแม่นยำสูง โดยชุดอักษรเบรลล์ที่ผลิตขึ้นมานี้จะมีโปรแกรมเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เพื่อแปลงอักษรปกติให้เป็นอักษรเบรลล์ เมื่อผู้พิการทางสายตาสัมผัสที่แถวอักษรเบรลล์บนเครื่อง จะสามารถอ่านข้อความที่ป้อนผ่านคอมพิวเตอร์ได้ นอกจากนี้ ยังได้นำไปทดสอบกับนักเรียนระดับชั้น ป.5 ถึง ม.6 ของโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จ.นครราชสีมา พบว่า ความถูกต้องในการอ่านอยู่ที่ร้อยละ 95 โดยทีมนักวิจัยต้องพัฒนาเพิ่มในส่วนของโปรแกรมให้สามารถตัดคำได้อย่างถูก ต้องมากขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถอ่านได้อย่างต่อเนื่อง คนตาบอดทดลองใช้ชุดแสดงผลอักษรเบรลล์ 10 เซลล์ ทั้งนี้ จะสามารถลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้ต้นทุนในการสร้างอุปกรณ์มีราคาถูกลงจากเดิม ที่ราคาชุดแสดงผลพร้อมโปรแกรมนำเข้าจากต่างประเทศมีราคากว่า 50,000 บาทต่อเครื่อง แต่ชุดแสดงผลอักษรเบรลล์ 10 เซลล์พร้อมโปรแกรมที่สถาบันฯผลิตขึ้นหากผลิตเพื่อจำหน่ายจะมีราคาไม่เกิน เครื่องละ 10,000 บาทเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ผู้พิการทางสายตาสามารถซื้อเป็นของตัวเองได้ ส่วน นายวิชัย สารคล่อง รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนคนตาบอด จ.นครราชสีมา กล่าวว่า โครงการนี้สร้างประโยชน์และความสะดวกสบายให้กับผู้พิการทางสายตาอย่างมาก สามารถทดแทนตำราเรียนอักษรเบรลล์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่มีผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำอย่างจำกัด และจุดของอักษรเบรลล์ยังลางเลือนได้ง่าย สิ้นเปลืองพื้นที่การจัดเก็บ อีกทั้งกระดาษยังเสียหายจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย ดังนั้นการจัดเก็บข้อมูลชุดแสดงผลอักษรเบรลล์ 10 เซลล์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะทำให้ผู้พิการทางสายตาสามารถรับข่าวสารได้สะดวก รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และสามารถจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ไม่จำเป็นต้องถือหนังสือเบรลล์หลายๆเล่ม ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางสายตาให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ง่าย ขึ้น ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/351881
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)