ต่อยอดสิ่งประดิษฐ์เพื่อคนพิการ
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา จำนวน 6 แห่ง ในการที่จะพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามโครงการส่งเสริมเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อความพิการและคนพิการ
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
นายวิมล จันทร์จิราวุฒิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนพิการได้รับการออกบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน 1,374,133 คน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสำคัญ โดยการปรับเปลี่ยนแนวคิด คนพิการจากการเป็นภาระ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการสร้างสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร ที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนการศึกษาวิจัย เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ การพัฒนาศักยภาพ การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิคนพิการ จึงทำให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัย พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
นอกจากนี้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) ยังได้มอบทุนสนับสนุนงานวิจัย จำนวน 4 เรื่อง เพื่อสนับสนุนให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอิสระร่วมกับทุกคนในสังคมอย่างมี ความสุขและเสมอภาค ได้แก่ 1. ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมสำหรับคนพิการ โดย ผศ.ดร.ภาณุทัต บุญประมุข คณะวิศวกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2. ระบบควบคุมรถเข็นคนพิการด้วยการตรวจจับการเคลื่อนไหวของใบหน้า โดย ผศ.ดร.ปรัญชลีย์ สมานพิบูรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 3. การออกแบบและพัฒนาเครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างต่อเนื่องสำหรับการ พื้นฟูคนพิการทางการเคลื่อนไหว โดย ผศ.ดร.สุเมธ อ่ำชิต คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ 4. การขยายระดับการทดสอบใช้งานต้นแบบเครื่องยกคนพิการ โดย ดร.พสุสิริสาลีศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสวทช.
นับเป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุขและเท่าเทียมกับคนทั่วไป.
ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/article/729/223659
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา จำนวน 6 แห่ง สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา จำนวน 6 แห่ง ในการที่จะพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามโครงการส่งเสริมเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อความพิการและคนพิการ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ นายวิมล จันทร์จิราวุฒิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนพิการได้รับการออกบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน 1,374,133 คน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสำคัญ โดยการปรับเปลี่ยนแนวคิด คนพิการจากการเป็นภาระ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการสร้างสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร ที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนการศึกษาวิจัย เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ การพัฒนาศักยภาพ การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิคนพิการ จึงทำให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัย พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นอกจากนี้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) ยังได้มอบทุนสนับสนุนงานวิจัย จำนวน 4 เรื่อง เพื่อสนับสนุนให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอิสระร่วมกับทุกคนในสังคมอย่างมี ความสุขและเสมอภาค ได้แก่ 1. ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมสำหรับคนพิการ โดย ผศ.ดร.ภาณุทัต บุญประมุข คณะวิศวกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2. ระบบควบคุมรถเข็นคนพิการด้วยการตรวจจับการเคลื่อนไหวของใบหน้า โดย ผศ.ดร.ปรัญชลีย์ สมานพิบูรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 3. การออกแบบและพัฒนาเครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างต่อเนื่องสำหรับการ พื้นฟูคนพิการทางการเคลื่อนไหว โดย ผศ.ดร.สุเมธ อ่ำชิต คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ 4. การขยายระดับการทดสอบใช้งานต้นแบบเครื่องยกคนพิการ โดย ดร.พสุสิริสาลีศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสวทช. นับเป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุขและเท่าเทียมกับคนทั่วไป. ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/article/729/223659 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)