ผลิตเครื่อง'เดินดี' ช่วยเหลือผู้ป่วยอัมพาต
วงการแพทย์ไทยก้าวหน้าไปอีกขั้นกับการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ช่วยเหลือผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต แขนขาอ่อนแรงด้วยการพัฒนาอุปกรณ์ชื่อ"เดินดี"ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเดินได้ดีขึ้น จากข้อมูลสำนักโรคไม่ ติดต่อ กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะตัวเลขจากปี พ.ศ.2540 มีผู้ป่วยจำนวน 50,000 คน และเพิ่มขึ้นในปี 2554 เป็น200,000คน
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร.เซง เลิศมโนรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ไฟฟ้า) พร้อมทีมผู้ช่วยวิจัยประกอบด้วย นายจิรวัฒน์ จิตประสูติวิทย์ และ นายรติกร ชัยวัฒนธรรม นักศึกษาปริญญาโท จึงร่วมกันคิดค้นอุปกรณ์ช่วยเดินให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีปัญหาระหว่างการทำกายภาพบำบัด โดยเฉพาะปัญหาปลายเท้าตก ทำให้เดินลำบาก จนได้รับรางวัลชนะเลิศจากเวทีการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศ ไทย ครั้งที่ 13 และรางวัล Best Contribution Award ที่ประเทศจีน และต่อยอดพัฒนาอุปกรณ์สร้างกระแสประสาทเทียมชื่อว่าเครื่อง "เดินดี" ในเชิงพาณิชย์แล้ว
ผศ.ดร.เซง บอกว่า เครื่องเดินดีจะมีอุปกรณ์หลัก 3 ตัว คือ ตัวเครื่อง ตัวเซ็นเซอร์ และขั้วกระตุ้น ซึ่งหลักการทำงาน คือ ตัวเครื่องเดินดีจะตรวจสอบการก้าวเดินจากเซ็นเซอร์ที่ติดอยู่บริเวณส้นเท้า เมื่อผู้ป่วยจะก้าวเดิน ส้นเท้าจะยกขึ้นพ้นพื้น โดยเซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณไปยังเครื่องที่ติดอยู่ใต้หัวเข่า แล้วตัวเครื่องจะจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านขั้วอิเล็กโทรดไปยังเส้นประสาท เมื่อเส้นประสาทได้รับสัญญาณไฟฟ้า กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัว ทำให้เวลาก้าวเดิน ปลายเท้าจะพ้นพื้น
"โดยเครื่องที่ทีมวิจัยผลิตขึ้นจะมีราคาประมาณ 6,000 บาท ถูกกว่าต่างประเทศมาก มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาเพียง 12 กรัม จึงพกพาสะดวก เหมาะกับการใช้งานผู้ป่วยมาก" ปัจจุบันเครื่องเดินดีผลิตไป แล้ว 500 เครื่อง โดย 250 เครื่องจำหน่ายให้กับคนทั่วไป อีก 250 เครื่องจะนำไปมอบให้กับโรงพยาบาลศูนย์ 24 แห่งทั่วประเทศ พร้อมฝึกอบรมการใช้งานของเครื่องให้กับเจ้าหน้าที่ร.พ.ด้วย เพราะผู้ป่วยที่ต้องการใช้เครื่องนี้ ต้องได้รับการทดสอบก่อนว่าอาการของโรคเหมาะกับการใช้เครื่องนี้หรือไม่ ผู้ใช้จึงต้องได้รับคำแนะนำอย่างใกล้ชิด
โดยต้องขอบคุณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัท นานมี จำกัด บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) และ กลุ่มบริษัท ไทยอีสเทิร์น ที่สนับสนุนต่อยอดการผลิตผลงานชิ้นนี้ ผู้ป่วยที่สนใจอุปกรณ์นี้ ติดตามได้ที่ ช่องทาง www.facebook.com/DearnDee (ขนาดไฟล์: 0 )
ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผู้ป่วยอัมพาต ทดลองใช้ อุปกรณ์ชื่อ \'เดินดี\' วงการแพทย์ไทยก้าวหน้าไปอีกขั้นกับการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ช่วยเหลือผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต แขนขาอ่อนแรงด้วยการพัฒนาอุปกรณ์ชื่อ"เดินดี"ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเดินได้ดีขึ้น จากข้อมูลสำนักโรคไม่ ติดต่อ กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะตัวเลขจากปี พ.ศ.2540 มีผู้ป่วยจำนวน 50,000 คน และเพิ่มขึ้นในปี 2554 เป็น200,000คน ผู้ป่วยอัมพาต ทดลองใช้ อุปกรณ์ชื่อ \\\'เดินดี\\\'ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร.เซง เลิศมโนรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ไฟฟ้า) พร้อมทีมผู้ช่วยวิจัยประกอบด้วย นายจิรวัฒน์ จิตประสูติวิทย์ และ นายรติกร ชัยวัฒนธรรม นักศึกษาปริญญาโท จึงร่วมกันคิดค้นอุปกรณ์ช่วยเดินให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีปัญหาระหว่างการทำกายภาพบำบัด โดยเฉพาะปัญหาปลายเท้าตก ทำให้เดินลำบาก จนได้รับรางวัลชนะเลิศจากเวทีการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศ ไทย ครั้งที่ 13 และรางวัล Best Contribution Award ที่ประเทศจีน และต่อยอดพัฒนาอุปกรณ์สร้างกระแสประสาทเทียมชื่อว่าเครื่อง "เดินดี" ในเชิงพาณิชย์แล้ว เครื่อง\'เดินดี\' ช่วยเหลือผู้ป่วยอัมพาตผศ.ดร.เซง บอกว่า เครื่องเดินดีจะมีอุปกรณ์หลัก 3 ตัว คือ ตัวเครื่อง ตัวเซ็นเซอร์ และขั้วกระตุ้น ซึ่งหลักการทำงาน คือ ตัวเครื่องเดินดีจะตรวจสอบการก้าวเดินจากเซ็นเซอร์ที่ติดอยู่บริเวณส้นเท้า เมื่อผู้ป่วยจะก้าวเดิน ส้นเท้าจะยกขึ้นพ้นพื้น โดยเซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณไปยังเครื่องที่ติดอยู่ใต้หัวเข่า แล้วตัวเครื่องจะจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านขั้วอิเล็กโทรดไปยังเส้นประสาท เมื่อเส้นประสาทได้รับสัญญาณไฟฟ้า กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัว ทำให้เวลาก้าวเดิน ปลายเท้าจะพ้นพื้น "โดยเครื่องที่ทีมวิจัยผลิตขึ้นจะมีราคาประมาณ 6,000 บาท ถูกกว่าต่างประเทศมาก มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาเพียง 12 กรัม จึงพกพาสะดวก เหมาะกับการใช้งานผู้ป่วยมาก" ปัจจุบันเครื่องเดินดีผลิตไป แล้ว 500 เครื่อง โดย 250 เครื่องจำหน่ายให้กับคนทั่วไป อีก 250 เครื่องจะนำไปมอบให้กับโรงพยาบาลศูนย์ 24 แห่งทั่วประเทศ พร้อมฝึกอบรมการใช้งานของเครื่องให้กับเจ้าหน้าที่ร.พ.ด้วย เพราะผู้ป่วยที่ต้องการใช้เครื่องนี้ ต้องได้รับการทดสอบก่อนว่าอาการของโรคเหมาะกับการใช้เครื่องนี้หรือไม่ ผู้ใช้จึงต้องได้รับคำแนะนำอย่างใกล้ชิด โดยต้องขอบคุณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัท นานมี จำกัด บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) และ กลุ่มบริษัท ไทยอีสเทิร์น ที่สนับสนุนต่อยอดการผลิตผลงานชิ้นนี้ ผู้ป่วยที่สนใจอุปกรณ์นี้ ติดตามได้ที่ ช่องทาง www.facebook.com/DearnDee ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdOREF5TURnMU5nPT0=§ionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE15MHdPQzB3TWc9PQ== ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)