ญี่ปุ่นสร้างแผงวงจรสุดบาง-เบา เซ็นเซอร์รับคลื่นสมองช่วยผู้พิการ
นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการสร้างแผงวงจรที่มีความบางเพียง 1 ใน 5 ของแผ่นพลาสติกห่ออาหาร และเบากว่าขนนก โดยสามารถนำไปใช้เป็นเซ็นต์เซอร์รับสัญญาณของสมองเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวของแขน-ขาเทียมได้ในอนาคต
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่าแผงวงจรจะถูกฝังอยู่ในแผ่นฟิล์มที่บางเป็นพิเศษมีน้ำหนักเพียง 3 กรัมต่อตารางเมตร บางเพียง 2 ไมโครเมตร บางกว่าแผ่นพลาสติกห่ออาหารที่หนา 10 ไมโครเมตร ถึง 5 เท่า อุปกรณ์มีจุดเด่นอยู่ที่มันสามารถทำงานได้แม้จะถูกขยำก็ตาม และว่าแผงวงจรดังกล่าวจะสามารถใช้ในการตรวจสอบข้อมูลทางกายภาพได้เช่นอุณหภูมิในร่างกายและความดันโลหิต รวมถึงสัญญาณไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อหรือหัวใจ นอกจากนี้อุปกรณ์ดังกล่าวยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ติดบนเพดานปาก ให้ทำงานเสมือนทัชแพด เพื่อช่วยผู้พิการที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้สามารถใช้ลิ้นในการสั่งงานอุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ
"แผงวงจรดังกล่าวสามารถติดไว้บนพื้นผิวทุกรูปแบบและไม่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ใช้งาน" ศาสตราจารย์โตกาโอะ โซมิยะ ผู้นำทีมวิจัยซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารเนเจอร์กล่าว และเสริมว่า แผงวงจรที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ได้เปรียบเซ็นเซอร์ทางการแพทย์อื่นๆ ที่มักประกอบด้วยชิ้นส่วนที่เป็นซิลิโคนหรือวัสดุที่ไม่ยืดหยุ่นที่ส่งผลให้ผู้ใช้รู้สึกไม่สบายตัวและว่าแผงวงจรยืดหยุ่นชนิดใหม่สามารถขจัดได้แม้กระทั่งความเครียดอีกด้วย
นอกจากนี้ การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวยังอาจช่วยปรับปรุงวิถีชีวิตของผู้ที่ใช้แขน-ขาเทียมได้ โดยทีมวิจัยระบุว่าความยืดหยุ่นของแผงวงจรส่งผลให้สามารถพันอุปกรณ์เอาไว้ รอบแขนหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้มากขึ้น โดยจะสามารถรับสัญญาณไฟฟ้าที่สั่งงานการเคลื่อนไหวไปยังกล้ามเนื้อ แล้วส่งต่อไปยังแขนขาเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การเคลื่อนที่ของแขนขาเทียมนุ่มนวลขึ้นและเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นอุปกรณ์ดังกล่าวยังจะสามารถใช้ในวงการวิทยาศาสตร์การกีฬาด้วย การประยุกต์ใช้เป็นเซ็นเซอร์ป้องกันอาการช็อกจากการออกกำลังกายอย่างหนักด้วยการตรวจวัดอุณหภูมิและอัตราการเต้นของหัวใจ
ความเป็นไปได้ในการสร้างแผงวงจรดังกล่าวมีขึ้นหลังจากทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการสร้างฉนวน กันไฟฟ้าคุณภาพสูงที่มีความบางมากเป็นพิเศษได้ และจากการทดสอบอุปกรณ์ดังกล่าวยังสามารถทำงานในสภาพแวดล้อมของสารละลายที่มีความเค็มจัดซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมเดียวกันกับในร่างกายของมนุษย์ได้นานถึง 2 สัปดาห์ ส่งผลให้เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นเซ็นเซอร์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จากในร่างกายมนุษย์ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์โซมิยะระบุว่า จำเป็นที่จะต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้งานจริง เช่นการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการสร้างความระคายเคืองให้กับผิวหนัง รวมถึงการสร้างแหล่งพลังงานมีขนาดเล็กพอก็เป็นอีกความท้าทายหนึ่ง
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1375068545
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ศาสตราจารย์โตกาโอะ โซมิยะ ผู้นำทีมวิจัย นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการสร้างแผงวงจรที่มีความบางเพียง 1 ใน 5 ของแผ่นพลาสติกห่ออาหาร และเบากว่าขนนก โดยสามารถนำไปใช้เป็นเซ็นต์เซอร์รับสัญญาณของสมองเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวของแขน-ขาเทียมได้ในอนาคต ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่าแผงวงจรจะถูกฝังอยู่ในแผ่นฟิล์มที่บางเป็นพิเศษมีน้ำหนักเพียง 3 กรัมต่อตารางเมตร บางเพียง 2 ไมโครเมตร บางกว่าแผ่นพลาสติกห่ออาหารที่หนา 10 ไมโครเมตร ถึง 5 เท่า อุปกรณ์มีจุดเด่นอยู่ที่มันสามารถทำงานได้แม้จะถูกขยำก็ตาม และว่าแผงวงจรดังกล่าวจะสามารถใช้ในการตรวจสอบข้อมูลทางกายภาพได้เช่นอุณหภูมิในร่างกายและความดันโลหิต รวมถึงสัญญาณไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อหรือหัวใจ นอกจากนี้อุปกรณ์ดังกล่าวยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ติดบนเพดานปาก ให้ทำงานเสมือนทัชแพด เพื่อช่วยผู้พิการที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้สามารถใช้ลิ้นในการสั่งงานอุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ "แผงวงจรดังกล่าวสามารถติดไว้บนพื้นผิวทุกรูปแบบและไม่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ใช้งาน" ศาสตราจารย์โตกาโอะ โซมิยะ ผู้นำทีมวิจัยซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารเนเจอร์กล่าว และเสริมว่า แผงวงจรที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ได้เปรียบเซ็นเซอร์ทางการแพทย์อื่นๆ ที่มักประกอบด้วยชิ้นส่วนที่เป็นซิลิโคนหรือวัสดุที่ไม่ยืดหยุ่นที่ส่งผลให้ผู้ใช้รู้สึกไม่สบายตัวและว่าแผงวงจรยืดหยุ่นชนิดใหม่สามารถขจัดได้แม้กระทั่งความเครียดอีกด้วย นอกจากนี้ การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวยังอาจช่วยปรับปรุงวิถีชีวิตของผู้ที่ใช้แขน-ขาเทียมได้ โดยทีมวิจัยระบุว่าความยืดหยุ่นของแผงวงจรส่งผลให้สามารถพันอุปกรณ์เอาไว้ รอบแขนหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้มากขึ้น โดยจะสามารถรับสัญญาณไฟฟ้าที่สั่งงานการเคลื่อนไหวไปยังกล้ามเนื้อ แล้วส่งต่อไปยังแขนขาเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การเคลื่อนที่ของแขนขาเทียมนุ่มนวลขึ้นและเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นอุปกรณ์ดังกล่าวยังจะสามารถใช้ในวงการวิทยาศาสตร์การกีฬาด้วย การประยุกต์ใช้เป็นเซ็นเซอร์ป้องกันอาการช็อกจากการออกกำลังกายอย่างหนักด้วยการตรวจวัดอุณหภูมิและอัตราการเต้นของหัวใจ ความเป็นไปได้ในการสร้างแผงวงจรดังกล่าวมีขึ้นหลังจากทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการสร้างฉนวน กันไฟฟ้าคุณภาพสูงที่มีความบางมากเป็นพิเศษได้ และจากการทดสอบอุปกรณ์ดังกล่าวยังสามารถทำงานในสภาพแวดล้อมของสารละลายที่มีความเค็มจัดซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมเดียวกันกับในร่างกายของมนุษย์ได้นานถึง 2 สัปดาห์ ส่งผลให้เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นเซ็นเซอร์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จากในร่างกายมนุษย์ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์โซมิยะระบุว่า จำเป็นที่จะต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้งานจริง เช่นการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการสร้างความระคายเคืองให้กับผิวหนัง รวมถึงการสร้างแหล่งพลังงานมีขนาดเล็กพอก็เป็นอีกความท้าทายหนึ่ง ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1375068545 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)