พาที:ส่งเอสเอ็มเอสฟรีด้วยเสียงพูด – ฉลาดสุดๆ

แสดงความคิดเห็น

ภาพวาดการ์ตูน คนพูดใส่โทรศัพท์มือถือ

พัฒนาไปอีกขั้น สำหรับเทคโนโลยีที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนอยากใช้กับ “เทคโนโลยีการรู้จำเสียงพูด” หรือ Automatic Speech Recognition (ASR) ที่จะช่วยแปลงเสียงพูดให้เป็นข้อความได้อย่างอัตโนมัติ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีการรู้จำเสียงพูด ได้ถูกนำไปใช้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการในหลายสาขา เช่น ช่วยเพิ่มจำนวนครั้งที่ลูกค้าโทรฯติดต่อเข้ามายังบริษัท ลดค่าใช้จ่ายในศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ รวมถึงการนำไปใช้ในวงการแพทย์ซึ่งมีนักการแพทย์มากกว่า 400,000 คน ที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการจดรายงานการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยในโรงพยาบาลและล่าสุด ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอ นิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดตัวแอพพลิเคชั่น “พาที” หรือระบบรู้จำเสียงพูดภาษาไทย เพื่อให้คนไทยได้ทดสอบการใช้งานและร่วมกันสร้างฐานข้อมูลให้กับระบบ

โมเดล ตัวอย่างกระบวนการทำงานของระบบ พาที ดร.ชัย วุฒิวิวัตร์ชัย จากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเสียง หน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ เนคเทค หัวหน้าโครงการฯ บอกว่า เนคเทคได้พัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวมากว่า 10 ปี เดิมเทคโนโลยีนี้มักจะจำกัดอยู่ในวงการศึกษาวิจัย แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาบริษัทไทยรวมถึงเนคเทค ได้พยายามประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรู้จำเสียงพูดภาษาไทยมากขึ้น แต่ยังอยู่ในเนื้อหาที่จำกัดเพื่อเร่งรัดการวิจัยและพัฒนาระบบให้ถึงจุดที่มีประสิทธิภาพเพียงพอและ สามารถประยุกต์ไปใช้ในบริการได้หลากหลาย จำเป็นต้องเปิดบริการทดสอบในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับสภาวะแวดล้อมการใช้งาน จริงมากที่สุด

โดยแอพพลิเคชั่นพาทีที่เปิดให้ทดสอบการใช้งานนี้ เบื้องต้นรองรับเฉพาะผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ ไอโอเอส เวอร์ชั่น 6 ขึ้นไป ทั้ง ไอโฟน และไอแพด เนื่องจากคุณภาพไมโครโฟนมีการปรับใช้งานที่ดี ส่วนระบบแอนดรอยด์นั้นยังไม่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากมือถือแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน ทำให้แอพพลิเคชั่นทำงานลำบาก

คณะผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นพาที การทดลองมีระยะเวลา 10 เดือนสิ้นสุดเดือน มิ.ย. 57สำหรับบริการหลักของแอพพลิเคชั่นนี้ ก็คือการส่งเอสเอ็มเอสฟรีด้วยเสียงพูด เพียงดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นพาที จากแอพสโตร์ ฟรี วิธีการใช้งานง่าย ๆ ด้วยการเข้าสู่ระบบผ่านเฟซบุ๊ก จะมีบริการฝากข้อความเสียง จากนั้นผู้ใช้งานกดปุ่มสีเขียวเพื่อบันทึกเสียง แล้วกดปุ่มหยุดเพื่อทำการบันทึกเสียง กดหมายเลขโทรศัพท์ที่ต้องการส่งพนักงานที่ให้บริการอยู่เบื้องหลังจะถอดข้อความเสียงพูดที่เข้ามายังระบบ และส่งข้อความที่ถอดได้ไปยังหมายเลขโทรศัพท์ปลายทาง พร้อมทั้งส่งอีเมลยืนยันบริการเสร็จสมบูรณ์กลับไปยังผู้ใช้

นอกจากบริการหลักที่ใช้ส่งเอสเอ็มเอส ฟรีแล้ว พาทียังมีบริการเสริมเพื่อทดสอบใช้งานระบบรู้จำเสียงพูดภาษาไทยที่พัฒนาขึ้น ด้วย ภายใต้บริการ ASR ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความใด ๆ ด้วยการพูด ข้อความที่ได้สามารถนำไปแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือแชร์ต่อได้อีกด้วย

สำหรับความถูกต้องแม่นยำในการแปลงภาษาพูดเป็นข้อความนั้น ดร.ชัย บอกว่า ขณะนี้มีความถูกต้องประมาณ 50% คำศัพท์ส่วนใหญ่เป็นด้านการท่องเที่ยว และกีฬาต่าง ๆแต่เมื่อผ่านช่วงทดลองไปแล้วจะเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้อง แม่นยำได้กว่า 80% สามารถรองรับการพูดได้แบบไม่จำกัดเนื้อหา แต่ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือประชาชนเข้ามาใช้งานจึงจะได้ฐานข้อมูลใหม่และมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยบอกว่า พาทีจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในการสร้างระบบ ประยุกต์ที่ใช้เสียงพูดในการติดต่อสื่อสารสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพิ่มปริมาณการรับสายของคอลเซ็นเตอร์ ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย มีระบบติดตามการประเมินผลตลอดเวลา สามารถบรรยายใต้ภาพที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรม ทีวีดิจิทัล ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) หวังให้เข้าถึงทุกคนทั่วถึงและเท่าเทียมกัน รวมถึงการถอดความเสียงบันทึกการประชุม อาทิ ศาล และประชุมรัฐสภา อยากใช้…ก็ช่วยกันทดสอบบริการได้เลย.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/228663 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ส.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 28/08/2556 เวลา 03:25:13 ดูภาพสไลด์โชว์ พาที:ส่งเอสเอ็มเอสฟรีด้วยเสียงพูด – ฉลาดสุดๆ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพวาดการ์ตูน คนพูดใส่โทรศัพท์มือถือ พัฒนาไปอีกขั้น สำหรับเทคโนโลยีที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนอยากใช้กับ “เทคโนโลยีการรู้จำเสียงพูด” หรือ Automatic Speech Recognition (ASR) ที่จะช่วยแปลงเสียงพูดให้เป็นข้อความได้อย่างอัตโนมัติ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีการรู้จำเสียงพูด ได้ถูกนำไปใช้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการในหลายสาขา เช่น ช่วยเพิ่มจำนวนครั้งที่ลูกค้าโทรฯติดต่อเข้ามายังบริษัท ลดค่าใช้จ่ายในศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ รวมถึงการนำไปใช้ในวงการแพทย์ซึ่งมีนักการแพทย์มากกว่า 400,000 คน ที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการจดรายงานการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยในโรงพยาบาลและล่าสุด ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอ นิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดตัวแอพพลิเคชั่น “พาที” หรือระบบรู้จำเสียงพูดภาษาไทย เพื่อให้คนไทยได้ทดสอบการใช้งานและร่วมกันสร้างฐานข้อมูลให้กับระบบ โมเดล ตัวอย่างกระบวนการทำงานของระบบ พาทีดร.ชัย วุฒิวิวัตร์ชัย จากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเสียง หน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ เนคเทค หัวหน้าโครงการฯ บอกว่า เนคเทคได้พัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวมากว่า 10 ปี เดิมเทคโนโลยีนี้มักจะจำกัดอยู่ในวงการศึกษาวิจัย แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาบริษัทไทยรวมถึงเนคเทค ได้พยายามประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรู้จำเสียงพูดภาษาไทยมากขึ้น แต่ยังอยู่ในเนื้อหาที่จำกัดเพื่อเร่งรัดการวิจัยและพัฒนาระบบให้ถึงจุดที่มีประสิทธิภาพเพียงพอและ สามารถประยุกต์ไปใช้ในบริการได้หลากหลาย จำเป็นต้องเปิดบริการทดสอบในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับสภาวะแวดล้อมการใช้งาน จริงมากที่สุด โดยแอพพลิเคชั่นพาทีที่เปิดให้ทดสอบการใช้งานนี้ เบื้องต้นรองรับเฉพาะผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ ไอโอเอส เวอร์ชั่น 6 ขึ้นไป ทั้ง ไอโฟน และไอแพด เนื่องจากคุณภาพไมโครโฟนมีการปรับใช้งานที่ดี ส่วนระบบแอนดรอยด์นั้นยังไม่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากมือถือแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน ทำให้แอพพลิเคชั่นทำงานลำบาก คณะผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นพาที การทดลองมีระยะเวลา 10 เดือนสิ้นสุดเดือน มิ.ย. 57สำหรับบริการหลักของแอพพลิเคชั่นนี้ ก็คือการส่งเอสเอ็มเอสฟรีด้วยเสียงพูด เพียงดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นพาที จากแอพสโตร์ ฟรี วิธีการใช้งานง่าย ๆ ด้วยการเข้าสู่ระบบผ่านเฟซบุ๊ก จะมีบริการฝากข้อความเสียง จากนั้นผู้ใช้งานกดปุ่มสีเขียวเพื่อบันทึกเสียง แล้วกดปุ่มหยุดเพื่อทำการบันทึกเสียง กดหมายเลขโทรศัพท์ที่ต้องการส่งพนักงานที่ให้บริการอยู่เบื้องหลังจะถอดข้อความเสียงพูดที่เข้ามายังระบบ และส่งข้อความที่ถอดได้ไปยังหมายเลขโทรศัพท์ปลายทาง พร้อมทั้งส่งอีเมลยืนยันบริการเสร็จสมบูรณ์กลับไปยังผู้ใช้ นอกจากบริการหลักที่ใช้ส่งเอสเอ็มเอส ฟรีแล้ว พาทียังมีบริการเสริมเพื่อทดสอบใช้งานระบบรู้จำเสียงพูดภาษาไทยที่พัฒนาขึ้น ด้วย ภายใต้บริการ ASR ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความใด ๆ ด้วยการพูด ข้อความที่ได้สามารถนำไปแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือแชร์ต่อได้อีกด้วย สำหรับความถูกต้องแม่นยำในการแปลงภาษาพูดเป็นข้อความนั้น ดร.ชัย บอกว่า ขณะนี้มีความถูกต้องประมาณ 50% คำศัพท์ส่วนใหญ่เป็นด้านการท่องเที่ยว และกีฬาต่าง ๆแต่เมื่อผ่านช่วงทดลองไปแล้วจะเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้อง แม่นยำได้กว่า 80% สามารถรองรับการพูดได้แบบไม่จำกัดเนื้อหา แต่ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือประชาชนเข้ามาใช้งานจึงจะได้ฐานข้อมูลใหม่และมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นักวิจัยบอกว่า พาทีจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในการสร้างระบบ ประยุกต์ที่ใช้เสียงพูดในการติดต่อสื่อสารสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพิ่มปริมาณการรับสายของคอลเซ็นเตอร์ ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย มีระบบติดตามการประเมินผลตลอดเวลา สามารถบรรยายใต้ภาพที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรม ทีวีดิจิทัล ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) หวังให้เข้าถึงทุกคนทั่วถึงและเท่าเทียมกัน รวมถึงการถอดความเสียงบันทึกการประชุม อาทิ ศาล และประชุมรัฐสภา อยากใช้…ก็ช่วยกันทดสอบบริการได้เลย. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/228663 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...