โมบายล์แอพพลิเคชั่นเพื่อ 'เด็กออทิสติก'
เด็กออทิสติกจำเป็นต้องได้การปรับพฤติกรรมอยู่เสมอ แต่พบว่า เฉพาะการสอนของโรงเรียน และการรักษาของแพทย์อย่างถูกวิธี ยังไม่เพียงพอต่อพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ จึงมีการคิดค้นระบบฐานข้อมูลและพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นบนมือถือ
คลิปวีดีโอนี้ อาจสร้างความเข้าใจผิด หากผู้ชมไม่เคยทราบถึงพฤติกรรมโวยวาย อาละวาดของเด็กออทิสติกและบทบาทของครูผู้สอนที่ต้องควบคุมให้เด็กนิ่งในทันที เช่นเดียวกับ ผู้ปกครอง ที่เคยตั้งคำถามบ่อยครั้ง ถึงสาเหตุของรอยฟกช้ำบนร่างกายของเด็ก ขณะเดียวกัน เด็กก็ไม่สามารถสื่อสารสิ่งที่เกิดขึ้นได้ จึงเป็นเรื่องปกติที่ผู้ปกครองจะคาดเดาสาเหตุว่าเกิดจากทำร้ายของครูหรือเพื่อนร่วมชั้น
อาการออทิสซึ่ม เป็นอาการบกพร่องทางสมอง ที่ส่งผลให้ผู้มีอาการนี้ ไม่รู้จักการปฏิสัมพันธ์ เช่น ไม่สบตา ไม่แสดงสีหน้า ไม่พยายามพูดคุย และจะอาละวาดเมื่อมีความรู้สึกไม่พอใจ ปัจจุบันในประเทศไทยพบเด็กกลุ่มนี้กว่า3แสนคน
กว่า 10 ปีที่ โรงเรียนอนุบาลกุลจินต์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เปิดรับเด็กออทิสติกเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ โดยมีทีมกุมารแพทย์และจิตแพทย์ดูแลอย่างสม่ำเสมอ แต่ทางโรงเรียนพบว่า ปัญหาใหญ่ของการรักษา คือ เด็กไม่สามารถสื่อสารกับแพทย์ได้ ขณะเดียวกัน ผู้ปกครองและครู ก็บอกอาการของเด็กให้แพทย์วินิจฉัยไม่ถูกต้องทั้งหมด
ทางโรงเรียนจึงติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่อติดตามพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก และบันทึกภาพในระบบฐานข้อมูล โดยผู้ปกครองสามารถติดตามบุตรหลานขณะอยู่ในห้องเรียน และแพทย์สามารถดูอาการเด็กย้อนหลัง ผ่านจอคอมพิวเจอร์ ข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บเป็นความลับระหว่าง โรงเรียน-ผู้ปกครอง-และแพทย์เท่านั้น
โรงเรียนอนุบาลกุลจินต์ยังจับมือกับสำนักวิชาสารสนเทศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ ซิปป้า พัฒนาแอพพลิเคชั่นให้สามารถดูภาพได้เรียลไทม์ซึ่งจะมีประโยชน์ในกรณีฉุกเฉินที่แพทย์จำเป็นต้องวินิจฉัยทันที
แต่แอพพลิเคชั่นนี้จะเกิดประโยชน์สูงสุด ก็ต่อเมื่อ แพทย์สามารถเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายที่มีคุณภาพ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง หรือ สามจี ตลอดเวลา ทุกพื้นที่ ซึ่งอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กำลังพัฒนาในระยะถัดไป
ในแต่ละปี เด็กแต่ละคนจะได้รับการสอนที่แตกต่างตามพัฒนาการและความบกพร่องของแต่ละคน โดยครูผู้สอน จะบันทึกข้อมูลลงในเอกสารแผนการสอนเฉพาะบุคคลตลอดปีการศึกษา เพื่อรายงานไปยังผู้ปกครองเป็นระยะ ขณะที่การพัฒนาสู่ระบบฐานข้อมูล จะทำให้ผู้ปกครองและแพทย์ติดตามอาการของเด็กได้ใกล้ชิดมากขึ้น
สำหรับผู้ปกครองที่อยู่ห่างไกล การบันทึกภาพ คือการเฝ้าดูพัฒนาการของเด็ก ยังช่วยลดความเป็นห่วง และเป็นบทเรียนให้ผู้ปกครองจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นซ้ำได้ถูกวิธี เช่น มารดาของเด็กออทิสติกคนนี้ ยอมรับว่า ก่อนหน้านี้จะรู้สึกอับอายเมื่อลูกชายอาละวาดในที่สาธารณะเนื่องจากไม่ทราบวิธีการดูแลที่เหมาะสม
และแม้จะมีความบกพร่อง แต่หลายคนยังไม่ทราบว่า เด็กออทิสติกส่วนใหญ่ มีความอัจฉริยะซ่อนอยู่ อย่าง ทิวสน ที่สามารถตัดกระดาษเป็นตัวหนังตะลุง ภายในเวลาไม่ถึงนาที โดยไม่ใช้ดินสอร่าง โรงเรียนอนุบาลกุลจินต์ มองว่าหากสามารถชูจุดเด่น และพัฒนาอยู่เสมอ ส่วนในห้องเรียนที่มีทั้ง เด็กปกติ และเด็กออทิสติก ก็เป็นตัวอย่างของการเรียนรู้ในการปรับตัวเข้าสังคม ทั้งเด็กปกติที่เรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลาย ส่วนเด็กออทิสติกได้ฝึกปรับพฤติกรรมให้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
ขอบคุณ... http://news.voicetv.co.th/thailand/82767.html
news.voicetv.co.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เด็กออทิสติกจำเป็นต้องได้การปรับพฤติกรรมอยู่เสมอ แต่พบว่า เฉพาะการสอนของโรงเรียน และการรักษาของแพทย์อย่างถูกวิธี ยังไม่เพียงพอต่อพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ จึงมีการคิดค้นระบบฐานข้อมูลและพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นบนมือถือ คลิปวีดีโอนี้ อาจสร้างความเข้าใจผิด หากผู้ชมไม่เคยทราบถึงพฤติกรรมโวยวาย อาละวาดของเด็กออทิสติกและบทบาทของครูผู้สอนที่ต้องควบคุมให้เด็กนิ่งในทันที เช่นเดียวกับ ผู้ปกครอง ที่เคยตั้งคำถามบ่อยครั้ง ถึงสาเหตุของรอยฟกช้ำบนร่างกายของเด็ก ขณะเดียวกัน เด็กก็ไม่สามารถสื่อสารสิ่งที่เกิดขึ้นได้ จึงเป็นเรื่องปกติที่ผู้ปกครองจะคาดเดาสาเหตุว่าเกิดจากทำร้ายของครูหรือเพื่อนร่วมชั้น อาการออทิสซึ่ม เป็นอาการบกพร่องทางสมอง ที่ส่งผลให้ผู้มีอาการนี้ ไม่รู้จักการปฏิสัมพันธ์ เช่น ไม่สบตา ไม่แสดงสีหน้า ไม่พยายามพูดคุย และจะอาละวาดเมื่อมีความรู้สึกไม่พอใจ ปัจจุบันในประเทศไทยพบเด็กกลุ่มนี้กว่า3แสนคน กว่า 10 ปีที่ โรงเรียนอนุบาลกุลจินต์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เปิดรับเด็กออทิสติกเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ โดยมีทีมกุมารแพทย์และจิตแพทย์ดูแลอย่างสม่ำเสมอ แต่ทางโรงเรียนพบว่า ปัญหาใหญ่ของการรักษา คือ เด็กไม่สามารถสื่อสารกับแพทย์ได้ ขณะเดียวกัน ผู้ปกครองและครู ก็บอกอาการของเด็กให้แพทย์วินิจฉัยไม่ถูกต้องทั้งหมด ทางโรงเรียนจึงติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่อติดตามพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก และบันทึกภาพในระบบฐานข้อมูล โดยผู้ปกครองสามารถติดตามบุตรหลานขณะอยู่ในห้องเรียน และแพทย์สามารถดูอาการเด็กย้อนหลัง ผ่านจอคอมพิวเจอร์ ข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บเป็นความลับระหว่าง โรงเรียน-ผู้ปกครอง-และแพทย์เท่านั้น โรงเรียนอนุบาลกุลจินต์ยังจับมือกับสำนักวิชาสารสนเทศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ ซิปป้า พัฒนาแอพพลิเคชั่นให้สามารถดูภาพได้เรียลไทม์ซึ่งจะมีประโยชน์ในกรณีฉุกเฉินที่แพทย์จำเป็นต้องวินิจฉัยทันที แต่แอพพลิเคชั่นนี้จะเกิดประโยชน์สูงสุด ก็ต่อเมื่อ แพทย์สามารถเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายที่มีคุณภาพ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง หรือ สามจี ตลอดเวลา ทุกพื้นที่ ซึ่งอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กำลังพัฒนาในระยะถัดไป ในแต่ละปี เด็กแต่ละคนจะได้รับการสอนที่แตกต่างตามพัฒนาการและความบกพร่องของแต่ละคน โดยครูผู้สอน จะบันทึกข้อมูลลงในเอกสารแผนการสอนเฉพาะบุคคลตลอดปีการศึกษา เพื่อรายงานไปยังผู้ปกครองเป็นระยะ ขณะที่การพัฒนาสู่ระบบฐานข้อมูล จะทำให้ผู้ปกครองและแพทย์ติดตามอาการของเด็กได้ใกล้ชิดมากขึ้น สำหรับผู้ปกครองที่อยู่ห่างไกล การบันทึกภาพ คือการเฝ้าดูพัฒนาการของเด็ก ยังช่วยลดความเป็นห่วง และเป็นบทเรียนให้ผู้ปกครองจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นซ้ำได้ถูกวิธี เช่น มารดาของเด็กออทิสติกคนนี้ ยอมรับว่า ก่อนหน้านี้จะรู้สึกอับอายเมื่อลูกชายอาละวาดในที่สาธารณะเนื่องจากไม่ทราบวิธีการดูแลที่เหมาะสม และแม้จะมีความบกพร่อง แต่หลายคนยังไม่ทราบว่า เด็กออทิสติกส่วนใหญ่ มีความอัจฉริยะซ่อนอยู่ อย่าง ทิวสน ที่สามารถตัดกระดาษเป็นตัวหนังตะลุง ภายในเวลาไม่ถึงนาที โดยไม่ใช้ดินสอร่าง โรงเรียนอนุบาลกุลจินต์ มองว่าหากสามารถชูจุดเด่น และพัฒนาอยู่เสมอ ส่วนในห้องเรียนที่มีทั้ง เด็กปกติ และเด็กออทิสติก ก็เป็นตัวอย่างของการเรียนรู้ในการปรับตัวเข้าสังคม ทั้งเด็กปกติที่เรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลาย ส่วนเด็กออทิสติกได้ฝึกปรับพฤติกรรมให้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด ขอบคุณ... http://news.voicetv.co.th/thailand/82767.html news.voicetv.co.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)