WEFRE หุ่นยนต์กายภาพบำบัดข้อมือ – ฉลาดคิด
ประเทศไทยกำลังมีประชากรสูงอายุเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่าจะมีสูงถึง 14 % ของประชากรทั้งหมดในปี 2564และปัญหาที่มาพร้อมกับความสูงวัยก็คือโรคภัยไข้เจ็บและความเสื่อมถอย ของกล้ามเนื้อต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ
“ดร.วินัย ชนปรมัตถ์” จากสถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) หัวหน้าโครงการพัฒนาระบบหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก หรือ WEFRE Rehab System บอกว่า คนสูงอายุรวมถึงผู้พิการด้านแขนขา มักจะมีปํญหาแขนขาอ่อนแรง ไม่สามารถควบคุมการทำงานได้ จำเป็นต้องเข้ารับการฟื้นฟูจากนักกายภาพบำบัด ที่ปัจจุบันมีจำนวนไม่เพียงพอกับผู้ป่วย ซึ่งเฉลี่ยแล้วนักกายภาพบำบัด 1 คนจะต้องให้บริการผู้ป่วยกว่า 2 หมื่นรายต่อปี ระบบหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นมานี้จึงเปรียบเสมือนตัวช่วย ลดปัญหาให้กับการต่อคิวที่ยาวนานในการเข้ารับบริการ โดยเป็นนวัตกรรมสำหรับฟื้นฟูร่างกายด้วยการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มา ประยุกต์กับหลักการฟื้นฟูพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเสริมประสิทธิภาพอุปกรณ์ของนักกายภาพบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ออกแบบโดยใช้หลักการสำคัญคือ ต้องเคลื่อนย้ายและติดตั้งได้ง่าย สร้างความเพลิดเพลินในการใช้งาน และมีราคาที่เหมาะสมนักวิจัยบอกว่าหากนำต้นแบบไปผลิตออกมาเชิงพาณิชย์ คงไม่ใช่สินค้าที่ถูกที่สุดในตลาดแต่จะเป็นตัวที่คุ้มค่า คุ้มราคา ด้วยฟีเจอร์เด่น ๆ อย่างเช่น สามารถใช้ในการฟื้นฟู ข้อมูล แขนท่อนล่าง และข้อศอก ได้ในระบบเดียวกันเคลื่อนย้ายไปใช้งานได้ในทุกพื้นที่ ติดตั้งใช้งานง่าย มีระบบซอฟต์แวร์ที่ไม่ซับซ้อน มีเกมทั้งสองมิติ และสามมิติ สร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ใช้ขณะทำการฟื้นฟู
ขณะเดียวกันผู้ใช้ยังสามารถเลือกรูปแบบโปรแกรมของการฟื้นฟูได้หลากหลายแบบตามสถานะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของผู้ใช้ ที่สำคัญระบบนี้ยังสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ขณะที่ทำการฟื้นฟูเพื่อให้แพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องสามารถไปวิเคราะห์ผลการฟื้นฟูได้ ปัจจุบันผลงานต้นแบบพร้อมสำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชน เพื่อเพิ่มความสุขให้กับคนไทยรวมถึงขยายโอกาสไปยังประเทศเพื่อนบ้านหรือในอาเซียนได้อีกด้วย.นาตยา คชินทรnattayap.k@gmail.com
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/233735 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
WEFRE หุ่นยนต์กายภาพบำบัดข้อมือ ประเทศไทยกำลังมีประชากรสูงอายุเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่าจะมีสูงถึง 14 % ของประชากรทั้งหมดในปี 2564และปัญหาที่มาพร้อมกับความสูงวัยก็คือโรคภัยไข้เจ็บและความเสื่อมถอย ของกล้ามเนื้อต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ “ดร.วินัย ชนปรมัตถ์” จากสถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) หัวหน้าโครงการพัฒนาระบบหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก หรือ WEFRE Rehab System บอกว่า คนสูงอายุรวมถึงผู้พิการด้านแขนขา มักจะมีปํญหาแขนขาอ่อนแรง ไม่สามารถควบคุมการทำงานได้ จำเป็นต้องเข้ารับการฟื้นฟูจากนักกายภาพบำบัด ที่ปัจจุบันมีจำนวนไม่เพียงพอกับผู้ป่วย ซึ่งเฉลี่ยแล้วนักกายภาพบำบัด 1 คนจะต้องให้บริการผู้ป่วยกว่า 2 หมื่นรายต่อปี ระบบหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นมานี้จึงเปรียบเสมือนตัวช่วย ลดปัญหาให้กับการต่อคิวที่ยาวนานในการเข้ารับบริการ โดยเป็นนวัตกรรมสำหรับฟื้นฟูร่างกายด้วยการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มา ประยุกต์กับหลักการฟื้นฟูพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเสริมประสิทธิภาพอุปกรณ์ของนักกายภาพบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ออกแบบโดยใช้หลักการสำคัญคือ ต้องเคลื่อนย้ายและติดตั้งได้ง่าย สร้างความเพลิดเพลินในการใช้งาน และมีราคาที่เหมาะสมนักวิจัยบอกว่าหากนำต้นแบบไปผลิตออกมาเชิงพาณิชย์ คงไม่ใช่สินค้าที่ถูกที่สุดในตลาดแต่จะเป็นตัวที่คุ้มค่า คุ้มราคา ด้วยฟีเจอร์เด่น ๆ อย่างเช่น สามารถใช้ในการฟื้นฟู ข้อมูล แขนท่อนล่าง และข้อศอก ได้ในระบบเดียวกันเคลื่อนย้ายไปใช้งานได้ในทุกพื้นที่ ติดตั้งใช้งานง่าย มีระบบซอฟต์แวร์ที่ไม่ซับซ้อน มีเกมทั้งสองมิติ และสามมิติ สร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ใช้ขณะทำการฟื้นฟู ขณะเดียวกันผู้ใช้ยังสามารถเลือกรูปแบบโปรแกรมของการฟื้นฟูได้หลากหลายแบบตามสถานะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของผู้ใช้ ที่สำคัญระบบนี้ยังสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ขณะที่ทำการฟื้นฟูเพื่อให้แพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องสามารถไปวิเคราะห์ผลการฟื้นฟูได้ ปัจจุบันผลงานต้นแบบพร้อมสำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชน เพื่อเพิ่มความสุขให้กับคนไทยรวมถึงขยายโอกาสไปยังประเทศเพื่อนบ้านหรือในอาเซียนได้อีกด้วย.นาตยา คชินทรnattayap.k@gmail.com ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/233735 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)