เทรนเนอร์ 'ศาสตร์การนวด'
ทีมนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย นายกฤษณะ โภควัฒน์ นายณัฐชนน กมลโต นางสาวกมลชนก อดิเรกธนสาร และนางสาวมัณฑนา ปานสังข์ พัฒนาโปรแกรมสอนนวดสำหรับผู้พิการทางสายตา สร้างอาชีพที่พึ่งพาตัวเองได้
อาจารย์จตุรพิธ เกราะแก้ว ที่ปรึกษาทีมวิจัยกล่าวว่า หลังจากที่ได้เข้าร่วมงาน World Blind Union ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ นายพรชัย กลับวิหค ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนและสาธิตอาชีพคนตาบอดธนบุรี พบว่าสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย และมูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด มีความต้องการให้ผู้พิการทางสายตาที่ได้เรียนรู้และฝึกการนวดได้ด้วยตนเอง
ทีมวิจัยจึงเกิดไอเดียที่จะสร้างบทเรียนสอนนวดขึ้นมา โดยพัฒนาซอฟต์แวร์ช่วยให้ผู้พิการทางตาสามารถทบทวนการนวดด้วยตัวเองที่บ้านได้ เนื่องจากหาอาสาสมัครสำหรับฝึกวิชาก็ไม่ได้ง่าย รวมถึงออกแบบมือจำลองขึ้นมา เพื่อให้คนตาบอดสัมผัส กระทั่งได้ เครื่องช่วยเรียนรู้การนวดสำหรับผู้พิการทางสายตา
กฤษณะ โภควัฒน์ สมาชิกทีมวิจัย กล่าวว่า หลักการและขั้นตอนการทำงานของเครื่องช่วยเรียนรู้การนวด สำหรับผู้พิการทางสายตา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเรียกว่า ระบบจัดการความรู้พัฒนาอาชีพนวด เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในตัวโปรแกรมมีเสียงบรรยายด้วย Google Translates เพื่ออ่านเนื้อหาให้คนตาบอดสามารถเรียนรู้ จดจำ และทบทวนความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในโปรแกรมจะควบคุมการเลือกเมนูต่างๆ ด้วยปุ่ม Space Bar และปุ่มลูกศรเลื่อนขึ้นเลื่อนลง เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานสำหรับคนตาบอด และส่วนที่2 เรียกว่า เครื่องช่วยเรียนรู้การนวดสำหรับผู้พิการทางสายตา ซึ่งเป็นหุ่นจำลองที่มีขนาดเท่ากับคนจริงๆ
อุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วยเมนู 3 เมนู คือ เมนูความรู้เกี่ยวกับการนวด ซึ่งจะให้ความรู้เกี่ยวกับการนวด เช่น วิธีการนวด การจับ การกดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยจะแบ่งการนวดออกเป็น 2 ประเภท คือ การนวดไทยบำบัด เป็นการนวดตามตำราการนวดแผนไทยโดยการนวดจะเป็นไปตามธาตุของร่างกายของผู้นวด เป็นหลัก โดยจะนวดตามอาการที่ต้องการแก้ไข และการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เป็นการนวดที่ผสมผสานวิธีการนวดในส่วนต่างๆ เกือบครบทุกส่วนของร่างกายมารวมกันเป็นกระบวนท่า เป็นการนวดครั้งเดียวแต่นวดทั้งร่างกาย
เมนูที่สองเป็นความรู้เกี่ยวกับสรีระและอวัยวะ เพื่อให้รู้หน้าที่ของแต่ละอวัยวะ รวมไปถึงตำแหน่งของอวัยวะนั้นๆ เพราะเมื่อรู้ว่าอวัยวะใดอยู่ส่วนไหนของร่างกาย ผู้นวดก็จะเรียนรู้ได้ไม่ยาก
เมนูที่สามเป็นการทดสอบซึ่งผู้พัฒนารวบรวมข้อสอบสำหรับผู้พิการทางสายตา หรือผู้ใช้ ได้ทำการวัดผลความรู้ที่ได้เรียนรู้มาจากเมนูความรู้เกี่ยวกับการนวดและเมนู ความรู้เกี่ยวกับสรีระและอวัยวะ เหมือนทำการวัดผลก่อนที่จะออกไปปฏิบัติจริงกับผู้ใช้บริการนั่นเอง
จุดเด่นของงานวิจัยดังกล่าวอยู่ที่ ภายในหุ่นจำลองมีการฝังไมโครชิพและสวิตซ์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เพื่อสอนเรื่องเส้นประธานทั้งสิบสำหรับผู้พิการทางสายตา ซึ่งหุ่นจำลองจะบอกชื่อจุดต่างๆ เมื่อผู้พิการทางสายตาทำการกดสวิตซ์ที่ตัวหุ่น โดยไมโครชิพจะประมวลผลจากสวิตซ์ที่ทำการกด โดยค่าที่ได้จะไปเปรียบเทียบกับค่าในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หากค่าที่ได้ตรงกันจะมีการออกเสียงตามจุดนั้นๆ ของเส้นประธานทั้งสิบ โดยใช้โปรแกรม virtual studio ในการออกแบบ และใช้ภาษา C ในการเขียนโปรแกรม
ขณะนี้กำลังจัดทำหุ่นการนวดเพื่อรักษาโรค และหุ่นการนวดที่ส่งเสริมสุขภาพ เพื่อขยายผลไปยังกลุ่มผู้พิการทางสายตาอื่นๆ อีก โดยทำให้มีลักษณะเช่นเดียวกับหุ่นการสอนเส้นประธานทั้งสิบ หลังจากผ่านการทดสอบโดยศูนย์การเรียนและสาธิตอาชีพคนตาบอดธนบุรี และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตาแบบเลือนราง
ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ต้นแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Contribution Award in Science) และรางวัลนวัตกรรมยอดนิยม (Popular Vote) โครงการ Brand's GEN 6 ฉลาดคิดไร้ขีดจำกัด
- See more at: ขอบคุณ … http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/535719#sthash.h2bIwKQ1.dpuf
ขอบคุณ... http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/535719
(bangkokbiznews ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ต.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ทีมนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เจ้าของผลงานโปรแกรมสอนนวดสำหรับผู้พิการทางสายตา ทีมนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย นายกฤษณะ โภควัฒน์ นายณัฐชนน กมลโต นางสาวกมลชนก อดิเรกธนสาร และนางสาวมัณฑนา ปานสังข์ พัฒนาโปรแกรมสอนนวดสำหรับผู้พิการทางสายตา สร้างอาชีพที่พึ่งพาตัวเองได้ อาจารย์จตุรพิธ เกราะแก้ว ที่ปรึกษาทีมวิจัยกล่าวว่า หลังจากที่ได้เข้าร่วมงาน World Blind Union ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ นายพรชัย กลับวิหค ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนและสาธิตอาชีพคนตาบอดธนบุรี พบว่าสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย และมูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด มีความต้องการให้ผู้พิการทางสายตาที่ได้เรียนรู้และฝึกการนวดได้ด้วยตนเอง ทีมวิจัยจึงเกิดไอเดียที่จะสร้างบทเรียนสอนนวดขึ้นมา โดยพัฒนาซอฟต์แวร์ช่วยให้ผู้พิการทางตาสามารถทบทวนการนวดด้วยตัวเองที่บ้านได้ เนื่องจากหาอาสาสมัครสำหรับฝึกวิชาก็ไม่ได้ง่าย รวมถึงออกแบบมือจำลองขึ้นมา เพื่อให้คนตาบอดสัมผัส กระทั่งได้ เครื่องช่วยเรียนรู้การนวดสำหรับผู้พิการทางสายตา กฤษณะ โภควัฒน์ สมาชิกทีมวิจัย กล่าวว่า หลักการและขั้นตอนการทำงานของเครื่องช่วยเรียนรู้การนวด สำหรับผู้พิการทางสายตา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเรียกว่า ระบบจัดการความรู้พัฒนาอาชีพนวด เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในตัวโปรแกรมมีเสียงบรรยายด้วย Google Translates เพื่ออ่านเนื้อหาให้คนตาบอดสามารถเรียนรู้ จดจำ และทบทวนความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในโปรแกรมจะควบคุมการเลือกเมนูต่างๆ ด้วยปุ่ม Space Bar และปุ่มลูกศรเลื่อนขึ้นเลื่อนลง เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานสำหรับคนตาบอด และส่วนที่2 เรียกว่า เครื่องช่วยเรียนรู้การนวดสำหรับผู้พิการทางสายตา ซึ่งเป็นหุ่นจำลองที่มีขนาดเท่ากับคนจริงๆ อุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วยเมนู 3 เมนู คือ เมนูความรู้เกี่ยวกับการนวด ซึ่งจะให้ความรู้เกี่ยวกับการนวด เช่น วิธีการนวด การจับ การกดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยจะแบ่งการนวดออกเป็น 2 ประเภท คือ การนวดไทยบำบัด เป็นการนวดตามตำราการนวดแผนไทยโดยการนวดจะเป็นไปตามธาตุของร่างกายของผู้นวด เป็นหลัก โดยจะนวดตามอาการที่ต้องการแก้ไข และการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เป็นการนวดที่ผสมผสานวิธีการนวดในส่วนต่างๆ เกือบครบทุกส่วนของร่างกายมารวมกันเป็นกระบวนท่า เป็นการนวดครั้งเดียวแต่นวดทั้งร่างกาย เมนูที่สองเป็นความรู้เกี่ยวกับสรีระและอวัยวะ เพื่อให้รู้หน้าที่ของแต่ละอวัยวะ รวมไปถึงตำแหน่งของอวัยวะนั้นๆ เพราะเมื่อรู้ว่าอวัยวะใดอยู่ส่วนไหนของร่างกาย ผู้นวดก็จะเรียนรู้ได้ไม่ยาก เมนูที่สามเป็นการทดสอบซึ่งผู้พัฒนารวบรวมข้อสอบสำหรับผู้พิการทางสายตา หรือผู้ใช้ ได้ทำการวัดผลความรู้ที่ได้เรียนรู้มาจากเมนูความรู้เกี่ยวกับการนวดและเมนู ความรู้เกี่ยวกับสรีระและอวัยวะ เหมือนทำการวัดผลก่อนที่จะออกไปปฏิบัติจริงกับผู้ใช้บริการนั่นเอง จุดเด่นของงานวิจัยดังกล่าวอยู่ที่ ภายในหุ่นจำลองมีการฝังไมโครชิพและสวิตซ์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เพื่อสอนเรื่องเส้นประธานทั้งสิบสำหรับผู้พิการทางสายตา ซึ่งหุ่นจำลองจะบอกชื่อจุดต่างๆ เมื่อผู้พิการทางสายตาทำการกดสวิตซ์ที่ตัวหุ่น โดยไมโครชิพจะประมวลผลจากสวิตซ์ที่ทำการกด โดยค่าที่ได้จะไปเปรียบเทียบกับค่าในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หากค่าที่ได้ตรงกันจะมีการออกเสียงตามจุดนั้นๆ ของเส้นประธานทั้งสิบ โดยใช้โปรแกรม virtual studio ในการออกแบบ และใช้ภาษา C ในการเขียนโปรแกรม ขณะนี้กำลังจัดทำหุ่นการนวดเพื่อรักษาโรค และหุ่นการนวดที่ส่งเสริมสุขภาพ เพื่อขยายผลไปยังกลุ่มผู้พิการทางสายตาอื่นๆ อีก โดยทำให้มีลักษณะเช่นเดียวกับหุ่นการสอนเส้นประธานทั้งสิบ หลังจากผ่านการทดสอบโดยศูนย์การเรียนและสาธิตอาชีพคนตาบอดธนบุรี และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตาแบบเลือนราง ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ต้นแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Contribution Award in Science) และรางวัลนวัตกรรมยอดนิยม (Popular Vote) โครงการ Brand's GEN 6 ฉลาดคิดไร้ขีดจำกัด - See more at: ขอบคุณ … http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/535719#sthash.h2bIwKQ1.dpuf ขอบคุณ... http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/535719 (bangkokbiznews ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ต.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)