นวัตกรรมประสาทหูเทียม
ในวันนี้ บริษัท MED-EL Medical Electronics ผู้นำเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังระดับโลกเปิดเผยว่า ดร. Ingeborg Hochmair ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ MED-EL ได้รับเกียรติขึ้นรับรางวัล Lasker-DeBakey Clinical Medical Research Award ในสาขานวัตกรรมประสาทหูเทียม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยคืนการได้ยินให้กับผู้ที่หูหนวกหรือผู้ที่มีปัญหา ในการฟัง โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปกระตุ้นเส้นประสาทการรับเสียงภายในหู เธอจะขึ้นรับรางวัลร่วมกับนาย Graeme M. Clark (ศาสตราจารย์กิตติคุณประจำมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย) และนาย Blake S. Wilson (มหาวิทยาลัยดุ๊ก รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา) รางวัลวิทยาศาสตร์อันทรงเกียรตินี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ที่ได้อุทิศตนเพื่อพัฒนาคุณภาพในการรักษา โรค ทั้งนี้ พิธีมอบรางวัลจะถูกจัดขึ้นที่มหานครนิวยอร์ก ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2556
ดร. Ingeborg Hochmair สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เธอเป็นที่รู้จักจากผลงานการอุทิศตนในแวดวงประสาทหูเทียม โดยเริ่มจากการพัฒนาประสาทหูเทียมไมโครอิเล็กทรอนิกส์แบบหลายช่องสัญญาณตัวแรกของโลก ซึ่งได้รับการผ่าตัดติดตั้งในกรุงเวียนนาเมื่อปี 2520 อุปกรณ์ประสาทหูเทียมประกอบไปด้วยสายอิเล็กโทรดที่มีขนาดยาวและยืดหยุ่น นับเป็นครั้งแรกที่อุปกรณ์ดังกล่าวจะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังประสาทการรับฟังเสียงของหูชั้นใน หรือกระดูกหูรูปก้นหอย หลังจากที่มีการพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวจนนำไปสู่ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมในปี 2522 เครื่องแปลงสัญญาณขนาดเล็กซึ่งถูกติดตั้งเพิ่มเข้าไปในประสาทหูเทียม สามารถทำให้ผู้ใส่เข้าใจคำและประโยคได้โดยไม่ต้องอาศัยการอ่านปากในสภาพแวด ล้อมที่เงียบ ผู้รับรางวัลอายุน้อยอย่าง ดร. Ingeborg Hochmair เป็นนักบุกเบิกด้วยตัวของเธอเองจากการอุทิศเวลาเกือบทั้งชีวิตให้กับการ วิจัยประสาทหูเทียม อีกทั้งเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังผลงานเครื่องแปลงสัญญาณขนาดเล็กที่ทำให้ผู้ ใช้สามารถเข้าใจคำพูดแบบเปิดมาเป็นเวลากว่า 34 ปี รวมถึงนวัตกรรมต่างๆที่เธอได้วิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเช่น การพัฒนาเครื่องแปลงสัญญาณในประสาทหูเทียมแบบติดตั้งหลังใบหู (BTE) เครื่องแรกของโลกในปี 2534
นอกจากนี้ เธอยังได้สร้างความก้าวหน้าครั้งใหญ่อีกครั้ง ผ่านผลงานการพัฒนาประสาทหูเทียมที่มีอัตราการกระตุ้นสูง ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเสริมการทำงานควบคู่กับระบบโครงสร้างการเข้ารหัสคำพูด ตัวล่าสุดของ Blake Wilson โดยนับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา อุปกรณ์ประสาทหูเทียมดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกับอีกขั้นของ สมรรถนะประสาทหูเทียม จนกลายเป็นอุปกรณ์ตัวแรกที่กลุ่มผู้ใหญ่ที่หูหนวกก่อนที่จะรู้จักการใช้ภาษา ส่วนใหญ่สามารถเข้าใจคำโดดได้มากกว่า 50% ภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ติดตั้งประสาทหูเทียม อ้างอิงจากรายงานการวิจัยทางคลินิกที่กระทำพร้อมกันหลายแห่ง ซึ่งหมายความว่า ผู้ที่ได้รับการติดตั้งส่วนใหญ่สามารถสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์ในหัวข้อใหม่ๆ ร่วมกับผู้พูดที่พวกเขาไม่คุ้นเคยได้
ทั้งนี้ ความใส่ใจในเรื่องหูชั้นในและโครงสร้างอันละเอียดอ่อนได้จุดประกายให้กับดร. Hochmair ในการจัดทำวิจัยและพัฒนาจนนำไปสู่การคิดค้นสายอิเล็กโทรดที่มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งช่วยรักษาโครงสร้างหูชั้นในอันละเอียดอ่อน แม้ว่าจะถูกติดตั้งลึกเข้าไปในหูชั้นในก็ตาม
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ดร. Hochmair และ Wilson ได้ร่วมงานกันในหลายๆเรื่อง เช่น ผลประโยชน์จากการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมทั้งสองข้าง การกระตุ้นประสาทหูเทียมผสมกับเครื่องช่วยฟัง ตลอดจนประสาทหูเทียมสำหรับผู้ที่หูหนวกข้างเดียว
จนถึงทุกวันนี้ ประสาทหูเทียมเป็นอวัยวะเทียมตัวแรกยังคงสามารถทำหน้าที่ในการทดแทนการทำงาน ของระบบประสาทมนุษย์ หรือในกรณีนี้ได้แก่ระบบประสาทการได้ยิน ด้วยปัญญาที่ดีเลิศ สปิริตความเป็นนักบุกเบิกอีกทั้งแรงผลักดันสู่ความเป็นเลิศในตัวของดร. Hochmair ทั้งหมดนี้ได้พลิกโฉมเปลี่ยนชีวิตของผู้คนทั่วโลกมาแล้วเกือบ 100,000 ราย
ดร. Hochmair กล่าว “ความสำเร็จทั้งหลายนี้เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่ดิฉันมีร่วมกันกับนาย Erwin Hochmair วิศวกรไฟฟ้าผู้ที่เป็นทั้งสามีและผู้ร่วมงานที่ใกล้ชิดดิฉันที่สุด อีกทั้งความร่วมมือกับพันธมิตรที่น่าทึ่ง ได้แก่ บรรดานักวิจัย ศัลยแพทย์ แพทย์ เพื่อนร่วมงานที่ MED-EL และท้ายที่สุดคือ ผู้ใช้งานอุปกรณ์ที่เราได้คิดค้นขึ้นมา”
ดร. Ingeborg Hochmair ได้ก่อตั้ง MED-EL ร่วมกับ ศ. Erwin Hochmair ด้วยวิสัยทัศน์เรื่องการคิดค้นนวัตกรรมล้ำสมัยเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก MED-EL เป็นบริษัทเอกชน โดยมีดร. Ingeborg Hochmair ดำรงตำแหน่งผู้นำองค์กร ดร. Hochmair มองว่าการเป็นซีอีโอของ MED-EL ไม่ได้เป็นเพียงแค่หน้าที่ที่เธอต้องทำ แต่มันเป็นชีวิตของเธอ MED-EL ก่อตั้งขึ้นโดยมีหลักการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้คน ให้สามารถเอาชนะกับความบกพร่องทางการได้ยิน อันเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการสื่อสาร และนี่ยังคงเป็นพันธกิจและความมุ่งมั่นที่อยู่ในตัวเธอมาตลอด การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้กลายเป็นค่านิยมหลักทั้งในเรื่องส่วนตัว และการปฏิบัติงาน ซึ่งยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบันจากตลอดระยะเวลาที่เธอเป็นผู้นำของ MED-EL
ดร. Hochmair และบริษัทในเครือ MED-ELทั้งหมด ขอแสดงความยินดีกับ Graeme M. Clark และ Blake S. Wilson ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมงานวิจัย ซึ่งพวกเขาจะร่วมขึ้นรับรางวัลอันทรงเกียรติกับเธอในครั้งนี้ด้วย
ดร. Hochmair กล่าว “ดิฉันรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ผลงานของเรา ซึ่งเราได้ทุ่มเทมาทั้งชีวิตได้รับการยอมรับอย่างสมเกียรติเช่นนี้”
เธอกล่าวเสริมว่า “อย่างไรก็ตาม ดิฉันรู้สึกยินดีมากขึ้นไปอีก ที่รางวัลนี้จะสร้างการตระหนักรับรู้ให้กับทั้งวงการประสาทหูเทียม โดยเฉพาะความสำคัญของประสาทหูเทียมในการรักษาผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีปัญหาในการได้ยิน หรือหูหนวกมาตั้งแต่เกิด ไปจนถึงผู้ใหญ่ที่สูญเสียการได้ยินในภายหลังอีกด้วย งานของเราเพิ่งจะเริ่มต้นเพียงเท่านั้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้สนับสนุนผลงานการวิจัยของเราในระยะเวลาอันรวด เร็ว เรากำลังยืนอยู่ ณ จุดเริ่มต้นแห่งการค้นพบที่ไม่นานมานี้คงเป็นได้แค่ความฝัน หลังจากที่ผ่านมากว่าหลายปี การกลับมาได้ยินอีกครั้งยังคงเหมือนปาฏิหาริย์ และดิฉันยังคงรู้สึกถึงความเร่งด่วนเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่หู หนวก ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถ เปลี่ยนแปลงชีวิตในครั้งนี้ และยังคงเดินหน้าเพื่อสืบสานปณิธานสู่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีประสาทหูเทียมในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า”สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกียวกับ Lasker Awards สามารถรับชมได้ที่ http://www.laskerfoundation.org.
เกี่ยวกับ MED-EL- MED-EL Medical Electronics เป็นผู้ให้บริการระบบเครื่องช่วยฟังชั้นนำของโลก ก่อตั้งโดยสองนักวิทยาศาสตร์และผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมชาวออสเตรีย คือ Ingeborg และ Erwin Hochmair ซึ่งทั้งสองได้ร่วมกันพัฒนาประสาทหูเทียมไมโครอิเล็กทรอนิกส์แบบหลายช่อง สัญญาณตัวแรกของโลกเมื่อปี 2520 โดยในปี 2533 พวกเขาได้จ้างพนักงานกลุ่มแรกเข้ามาทำงาน ซึ่งเป็นการวางรากฐานสู่ความสำเร็จในการเติบโตของกิจการ นับจนถึงปัจจุบัน บริษัทเอกชนแห่งนี้มีพนักงานกว่า 1,500 รายทั่วโลก
จนถึงทุกวันนี้ ประสาทหูเทียมเป็นอวัยวะเทียมตัวแรกที่มาทดแทนการทำงานของระบบประสาทมนุษย์ หรือในกรณีนี้ได้แก่ระบบประสาทการได้ยิน MED-EL ให้บริการโซลูชั่นเครื่องช่วยฟังอันหลากหลาย เพื่อรักษาความบกพร่องทางการได้ยินในระดับที่แตกต่างกันไป ซึ่งรวมถึงประสาทหูเทียม ระบบหูชั้นกลางเทียม เครื่องช่วยฟังชนิดเสียงผ่านทางกระดูก ไปจนถึงระบบประสาทหูเทียมผสมกับเครื่องช่วยฟัง
MED-EL ก่อตั้งขึ้นโดยมีพันธกิจเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้คน ให้พวกเขาสามารถเอาชนะกับความบกพร่องทางการได้ยินอันเป็นอุปสรรคที่ขัดขวาง การสื่อสาร MED-EL ได้มอบของขวัญอันล้ำค่าให้กับผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินมาแล้วราวๆ 100 ประเทศ http://www.medel.com (ขนาดไฟล์: 167)
สามารถรับชมรูปภาพประกอบได้ทาง epa european pressphoto agency ( http://www.epa.eu (ขนาดไฟล์: 144) ) และสามารถดาวน์โหลดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ http://www.presseportal.de/pm/62623/med-el?keygroup=bild (ขนาดไฟล์: 0 )
ขอบคุณ... http://www.thaipr.net/health/500384
thaipr.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สื่อทางการแพทย์ แสดงภาพอุปกรณ์ประสาทหูเทียมในวันนี้ บริษัท MED-EL Medical Electronics ผู้นำเทคโนโลยีเครื่องช่วยฟังระดับโลกเปิดเผยว่า ดร. Ingeborg Hochmair ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ MED-EL ได้รับเกียรติขึ้นรับรางวัล Lasker-DeBakey Clinical Medical Research Award ในสาขานวัตกรรมประสาทหูเทียม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยคืนการได้ยินให้กับผู้ที่หูหนวกหรือผู้ที่มีปัญหา ในการฟัง โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปกระตุ้นเส้นประสาทการรับเสียงภายในหู เธอจะขึ้นรับรางวัลร่วมกับนาย Graeme M. Clark (ศาสตราจารย์กิตติคุณประจำมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย) และนาย Blake S. Wilson (มหาวิทยาลัยดุ๊ก รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา) รางวัลวิทยาศาสตร์อันทรงเกียรตินี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ที่ได้อุทิศตนเพื่อพัฒนาคุณภาพในการรักษา โรค ทั้งนี้ พิธีมอบรางวัลจะถูกจัดขึ้นที่มหานครนิวยอร์ก ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2556 ดร. Ingeborg Hochmair สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เธอเป็นที่รู้จักจากผลงานการอุทิศตนในแวดวงประสาทหูเทียม โดยเริ่มจากการพัฒนาประสาทหูเทียมไมโครอิเล็กทรอนิกส์แบบหลายช่องสัญญาณตัวแรกของโลก ซึ่งได้รับการผ่าตัดติดตั้งในกรุงเวียนนาเมื่อปี 2520 อุปกรณ์ประสาทหูเทียมประกอบไปด้วยสายอิเล็กโทรดที่มีขนาดยาวและยืดหยุ่น นับเป็นครั้งแรกที่อุปกรณ์ดังกล่าวจะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังประสาทการรับฟังเสียงของหูชั้นใน หรือกระดูกหูรูปก้นหอย หลังจากที่มีการพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวจนนำไปสู่ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมในปี 2522 เครื่องแปลงสัญญาณขนาดเล็กซึ่งถูกติดตั้งเพิ่มเข้าไปในประสาทหูเทียม สามารถทำให้ผู้ใส่เข้าใจคำและประโยคได้โดยไม่ต้องอาศัยการอ่านปากในสภาพแวด ล้อมที่เงียบ ผู้รับรางวัลอายุน้อยอย่าง ดร. Ingeborg Hochmair เป็นนักบุกเบิกด้วยตัวของเธอเองจากการอุทิศเวลาเกือบทั้งชีวิตให้กับการ วิจัยประสาทหูเทียม อีกทั้งเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังผลงานเครื่องแปลงสัญญาณขนาดเล็กที่ทำให้ผู้ ใช้สามารถเข้าใจคำพูดแบบเปิดมาเป็นเวลากว่า 34 ปี รวมถึงนวัตกรรมต่างๆที่เธอได้วิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเช่น การพัฒนาเครื่องแปลงสัญญาณในประสาทหูเทียมแบบติดตั้งหลังใบหู (BTE) เครื่องแรกของโลกในปี 2534 นอกจากนี้ เธอยังได้สร้างความก้าวหน้าครั้งใหญ่อีกครั้ง ผ่านผลงานการพัฒนาประสาทหูเทียมที่มีอัตราการกระตุ้นสูง ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเสริมการทำงานควบคู่กับระบบโครงสร้างการเข้ารหัสคำพูด ตัวล่าสุดของ Blake Wilson โดยนับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา อุปกรณ์ประสาทหูเทียมดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกับอีกขั้นของ สมรรถนะประสาทหูเทียม จนกลายเป็นอุปกรณ์ตัวแรกที่กลุ่มผู้ใหญ่ที่หูหนวกก่อนที่จะรู้จักการใช้ภาษา ส่วนใหญ่สามารถเข้าใจคำโดดได้มากกว่า 50% ภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ติดตั้งประสาทหูเทียม อ้างอิงจากรายงานการวิจัยทางคลินิกที่กระทำพร้อมกันหลายแห่ง ซึ่งหมายความว่า ผู้ที่ได้รับการติดตั้งส่วนใหญ่สามารถสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์ในหัวข้อใหม่ๆ ร่วมกับผู้พูดที่พวกเขาไม่คุ้นเคยได้ ทั้งนี้ ความใส่ใจในเรื่องหูชั้นในและโครงสร้างอันละเอียดอ่อนได้จุดประกายให้กับดร. Hochmair ในการจัดทำวิจัยและพัฒนาจนนำไปสู่การคิดค้นสายอิเล็กโทรดที่มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งช่วยรักษาโครงสร้างหูชั้นในอันละเอียดอ่อน แม้ว่าจะถูกติดตั้งลึกเข้าไปในหูชั้นในก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ดร. Hochmair และ Wilson ได้ร่วมงานกันในหลายๆเรื่อง เช่น ผลประโยชน์จากการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมทั้งสองข้าง การกระตุ้นประสาทหูเทียมผสมกับเครื่องช่วยฟัง ตลอดจนประสาทหูเทียมสำหรับผู้ที่หูหนวกข้างเดียว จนถึงทุกวันนี้ ประสาทหูเทียมเป็นอวัยวะเทียมตัวแรกยังคงสามารถทำหน้าที่ในการทดแทนการทำงาน ของระบบประสาทมนุษย์ หรือในกรณีนี้ได้แก่ระบบประสาทการได้ยิน ด้วยปัญญาที่ดีเลิศ สปิริตความเป็นนักบุกเบิกอีกทั้งแรงผลักดันสู่ความเป็นเลิศในตัวของดร. Hochmair ทั้งหมดนี้ได้พลิกโฉมเปลี่ยนชีวิตของผู้คนทั่วโลกมาแล้วเกือบ 100,000 ราย ดร. Hochmair กล่าว “ความสำเร็จทั้งหลายนี้เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่ดิฉันมีร่วมกันกับนาย Erwin Hochmair วิศวกรไฟฟ้าผู้ที่เป็นทั้งสามีและผู้ร่วมงานที่ใกล้ชิดดิฉันที่สุด อีกทั้งความร่วมมือกับพันธมิตรที่น่าทึ่ง ได้แก่ บรรดานักวิจัย ศัลยแพทย์ แพทย์ เพื่อนร่วมงานที่ MED-EL และท้ายที่สุดคือ ผู้ใช้งานอุปกรณ์ที่เราได้คิดค้นขึ้นมา” ดร. Ingeborg Hochmair ได้ก่อตั้ง MED-EL ร่วมกับ ศ. Erwin Hochmair ด้วยวิสัยทัศน์เรื่องการคิดค้นนวัตกรรมล้ำสมัยเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก MED-EL เป็นบริษัทเอกชน โดยมีดร. Ingeborg Hochmair ดำรงตำแหน่งผู้นำองค์กร ดร. Hochmair มองว่าการเป็นซีอีโอของ MED-EL ไม่ได้เป็นเพียงแค่หน้าที่ที่เธอต้องทำ แต่มันเป็นชีวิตของเธอ MED-EL ก่อตั้งขึ้นโดยมีหลักการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้คน ให้สามารถเอาชนะกับความบกพร่องทางการได้ยิน อันเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการสื่อสาร และนี่ยังคงเป็นพันธกิจและความมุ่งมั่นที่อยู่ในตัวเธอมาตลอด การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้กลายเป็นค่านิยมหลักทั้งในเรื่องส่วนตัว และการปฏิบัติงาน ซึ่งยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบันจากตลอดระยะเวลาที่เธอเป็นผู้นำของ MED-EL ดร. Hochmair และบริษัทในเครือ MED-ELทั้งหมด ขอแสดงความยินดีกับ Graeme M. Clark และ Blake S. Wilson ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมงานวิจัย ซึ่งพวกเขาจะร่วมขึ้นรับรางวัลอันทรงเกียรติกับเธอในครั้งนี้ด้วย ดร. Hochmair กล่าว “ดิฉันรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ผลงานของเรา ซึ่งเราได้ทุ่มเทมาทั้งชีวิตได้รับการยอมรับอย่างสมเกียรติเช่นนี้” เธอกล่าวเสริมว่า “อย่างไรก็ตาม ดิฉันรู้สึกยินดีมากขึ้นไปอีก ที่รางวัลนี้จะสร้างการตระหนักรับรู้ให้กับทั้งวงการประสาทหูเทียม โดยเฉพาะความสำคัญของประสาทหูเทียมในการรักษาผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีปัญหาในการได้ยิน หรือหูหนวกมาตั้งแต่เกิด ไปจนถึงผู้ใหญ่ที่สูญเสียการได้ยินในภายหลังอีกด้วย งานของเราเพิ่งจะเริ่มต้นเพียงเท่านั้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้สนับสนุนผลงานการวิจัยของเราในระยะเวลาอันรวด เร็ว เรากำลังยืนอยู่ ณ จุดเริ่มต้นแห่งการค้นพบที่ไม่นานมานี้คงเป็นได้แค่ความฝัน หลังจากที่ผ่านมากว่าหลายปี การกลับมาได้ยินอีกครั้งยังคงเหมือนปาฏิหาริย์ และดิฉันยังคงรู้สึกถึงความเร่งด่วนเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่หู หนวก ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถ เปลี่ยนแปลงชีวิตในครั้งนี้ และยังคงเดินหน้าเพื่อสืบสานปณิธานสู่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีประสาทหูเทียมในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า”สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกียวกับ Lasker Awards สามารถรับชมได้ที่ http://www.laskerfoundation.org. เกี่ยวกับ MED-EL- MED-EL Medical Electronics เป็นผู้ให้บริการระบบเครื่องช่วยฟังชั้นนำของโลก ก่อตั้งโดยสองนักวิทยาศาสตร์และผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมชาวออสเตรีย คือ Ingeborg และ Erwin Hochmair ซึ่งทั้งสองได้ร่วมกันพัฒนาประสาทหูเทียมไมโครอิเล็กทรอนิกส์แบบหลายช่อง สัญญาณตัวแรกของโลกเมื่อปี 2520 โดยในปี 2533 พวกเขาได้จ้างพนักงานกลุ่มแรกเข้ามาทำงาน ซึ่งเป็นการวางรากฐานสู่ความสำเร็จในการเติบโตของกิจการ นับจนถึงปัจจุบัน บริษัทเอกชนแห่งนี้มีพนักงานกว่า 1,500 รายทั่วโลก จนถึงทุกวันนี้ ประสาทหูเทียมเป็นอวัยวะเทียมตัวแรกที่มาทดแทนการทำงานของระบบประสาทมนุษย์ หรือในกรณีนี้ได้แก่ระบบประสาทการได้ยิน MED-EL ให้บริการโซลูชั่นเครื่องช่วยฟังอันหลากหลาย เพื่อรักษาความบกพร่องทางการได้ยินในระดับที่แตกต่างกันไป ซึ่งรวมถึงประสาทหูเทียม ระบบหูชั้นกลางเทียม เครื่องช่วยฟังชนิดเสียงผ่านทางกระดูก ไปจนถึงระบบประสาทหูเทียมผสมกับเครื่องช่วยฟัง MED-EL ก่อตั้งขึ้นโดยมีพันธกิจเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้คน ให้พวกเขาสามารถเอาชนะกับความบกพร่องทางการได้ยินอันเป็นอุปสรรคที่ขัดขวาง การสื่อสาร MED-EL ได้มอบของขวัญอันล้ำค่าให้กับผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินมาแล้วราวๆ 100 ประเทศ http://www.medel.com สามารถรับชมรูปภาพประกอบได้ทาง epa european pressphoto agency ( http://www.epa.eu) และสามารถดาวน์โหลดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ http://www.presseportal.de/pm/62623/med-el?keygroup=bild ขอบคุณ... http://www.thaipr.net/health/500384 thaipr.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)