ซิป้าหนุน'โมบายแอพฯ' เสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก
ผู้ปกครองและแพทย์ผู้ดูแลเด็กพิเศษจากโรงเรียนกุลจินต์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เตรียมใช้ 'โมบายแอพพลิเคชั่น' เพื่อช่วยสังเกตการณ์การพัฒนาของเด็กที่ป่วยเป็นออทิสติก หลังสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ SIPA (ซิป้า) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นมือถือผ่านทางระบบปฏิบัติการไอโอเอส,แอนดรอยด์และวินโดวส์โฟน
โรงเรียนกุลจินต์ เปิดการเรียนการสอนให้กับ 'เด็กพิเศษ' หรือเด็กออทิสติก มาเป็นเวลากว่า 20 ปี มุ่งเน้นส่งเสริมให้เด็กกลุ่มนี้เรียนร่วมกับเด็กปกติ โดยทั้งโรงเรียนมีเด็กพิเศษราว 30 คนเรียนร่วมกับเด็กปกติทั้งหมด 100 คน นับตั้งแต่ 'กิติพันธ์ ใจฐิติวิทย์' ลูกชายเจ้าของโรงเรียนกุลจินต์เข้ามาช่วยงานมารดา โรงเรียนได้เริ่มเปิดระบบฐานข้อมูลในเว็บไซต์ เพื่อเก็บข้อมูลนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษ ก่อนนำไปสู่การประสานงานกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ SIPA จนเกิดการสร้างแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ให้แพทย์และผู้ปกครองตรวจสอบพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กพิเศษที่ป่วยเป็นออทิสติก
แอพฯ KJ School Application ฉบับเบต้าซึ่งนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 4 คนได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น จากฐานข้อมูลของโรงเรียนที่อยู่บนเว็บไซต์ www.kunlajin-hy.com ถูกตั้งเป้าให้เป็นแอพพลิเคชั่นตัวกลางที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา อาการป่วยของเด็กพิเศษ โดยอนุญาตให้แพทย์และผู้ปกครองของเด็กแต่ละคน สามารถเห็นพัฒนาการของเด็กผ่านทางวิดีโอแบบเรียลไทม์เพื่อศึกษาพัฒนาการ และให้คำแนะนำในการรักษาและปฏิบัติได้อย่างทันท่วงทีได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา
ในส่วนของการสังเกตการณ์ทั้งระบบเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น ผู้ปกครองและแพทย์จะต้องล็อกอินเข้าสู่ระบบ เพื่อดูวิดีโอและคำแนะนำในการรักษา ตารางเรียน และความเห็นของแพทย์และครู ที่เกี่ยวข้องกับเด็กในการดูแลของตนเท่านั้น
กิติพันธ์ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าจากสำนักศึกษาวิชาสารสนเทศศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ แกนนำหลักในการขับเคลื่อนแนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้ามาส่งเสริมพัฒนาการของเด็กพิเศษ ได้เริ่มต้นพัฒนาเว็บไซต์ของโรงเรียน ให้เป็นศูนย์รวมข้อมูลในการให้ความช่วยเหลือด้านพัฒนาการของเด็กพิเศษ และเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคลให้เป็นแฟ้มประวัติรวมทั้งผลักดันการใช้กล้องวงจรปิดเก็บภาพพฤติกรรมเด็ก
กิติพันธ์ ระบุว่า ในขั้นแรกคิดว่าจะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายของโรงเรียนในการพาเด็กไปพบแพทย์ รวมทั้งอนุญาตให้ผู้ปกครองเห็นพัฒนาการของเด็ก วิธีการปฏิบัติของคณะครูต่อนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษในช่วงที่เด็กไม่รู้ตัวซึ่งจะแสดงให้เห็นพัฒนาการของเด็กที่แท้จริง
แตกต่างจากเดิมโรงเรียนต้องใช้ระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ โดยมีครูเล่าอาการให้ผู้ปกครองและแพทย์ฟังซึ่งไม่ชัดเจนเท่าการเห็นภาพจริง หลังจากพัฒนาเว็บไซต์ไปได้ระยะหนึ่ง กิติพันธ์สังเกตว่า การสื่อสารผ่านทางเว็บมีข้อจำกัด คือแพทย์และผู้ปกครองจะต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น จึงเกิดความคิดที่จะพัฒนาแอพฯ บนมือถือเพื่อปิดช่องว่างดังกล่าว โดยหลังจากปรึกษากับอาจารย์จาก ม.วลัยลักษณ์ โครงการพัฒนาแอพฯ 'KJ School' จึงเกิดขึ้น โดยมี ดร.ชัชนันท์ จันแดง และ ดร.จิรารัตน์ สิทธิวรชาติ อาจารย์ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์เป็นที่ปรึกษา
ดร.ชัชนันท์ ระบุว่า การพัฒนาโมบายแอพฯ ในตอนนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งใช้เวลาในการพัฒนามาแล้วประมาณ 2 เดือน และยังไม่สามารถใช้งานแบบเรียลไทม์ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบ 3G ซึ่งที่จังหวัดสงขลายังไม่มีเครือข่ายรองรับเหมือนในกรุงเทพฯ แต่การเชื่อมต่อผ่านทางอินเตอร์เน็ตไร้สายแบบไวไฟสามารถเชื่อมต่อได้ไม่มีปัญหา
ด้าน 'ลักขณา กระบวนสิน' ผู้ปกครองของนักเรียนซึ่งเป็นเด็กพิเศษวัย 23 ปีที่เข้ารับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กับโรงเรียนกุลจินต์ เผยว่า ตั้งแต่เข้ารับการศึกษากับที่ร.ร. ลูกชายของตนสามารถที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ได้ และเดินทางไปเที่ยวพร้อมครอบครัวเป็นระยะทางไกลได้บ้างแล้วหลังจากเมื่อก่อนเวลานั่งรถไปด้วยกันลูกควบคุมอารมณ์ไม่ได้
หากแอพฯ ดังกล่าวใช้ได้จริงบนมือถือ สามีซึ่งอยู่คนละจังหวัดกันคงจะดูพัฒนาการของลูกได้ ขณะเดียวกันแพทย์จะได้ให้การรักษาที่ส่งเสริมพัฒนาการของลูกชายได้อย่างเต็มที่'ปริญญา ชาตินักรบ' ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาบุคลากรและวิชาการจาก SIPA ระบุว่า SIPA ทำบันทึกความเข้าใจกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วประเทศ เพื่อตกลงที่จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการพัฒนาฝีมือเพื่อสร้าง ประสบการณ์ในการทำงาน โดยเฉพาะ ม.วลัยลักษณ์ ในปีการศึกษา 2556 SIPA อุดหนุนเงินให้กับนักศึกษาทั้งหมด 3,000 คน เฉลี่ยคนละ 10,000 บาท : วรวิตา แย้มสุดา
ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdNVEkyTURrMU5nPT0= (ขนาดไฟล์: 167)
ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โมบายแอพพลิเคชั่น ผู้ปกครองและแพทย์ผู้ดูแลเด็กพิเศษจากโรงเรียนกุลจินต์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เตรียมใช้ 'โมบายแอพพลิเคชั่น' เพื่อช่วยสังเกตการณ์การพัฒนาของเด็กที่ป่วยเป็นออทิสติก หลังสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ SIPA (ซิป้า) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นมือถือผ่านทางระบบปฏิบัติการไอโอเอส,แอนดรอยด์และวินโดวส์โฟน โรงเรียนกุลจินต์ เปิดการเรียนการสอนให้กับ 'เด็กพิเศษ' หรือเด็กออทิสติก มาเป็นเวลากว่า 20 ปี มุ่งเน้นส่งเสริมให้เด็กกลุ่มนี้เรียนร่วมกับเด็กปกติ โดยทั้งโรงเรียนมีเด็กพิเศษราว 30 คนเรียนร่วมกับเด็กปกติทั้งหมด 100 คน นับตั้งแต่ 'กิติพันธ์ ใจฐิติวิทย์' ลูกชายเจ้าของโรงเรียนกุลจินต์เข้ามาช่วยงานมารดา โรงเรียนได้เริ่มเปิดระบบฐานข้อมูลในเว็บไซต์ เพื่อเก็บข้อมูลนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษ ก่อนนำไปสู่การประสานงานกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ SIPA จนเกิดการสร้างแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ให้แพทย์และผู้ปกครองตรวจสอบพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กพิเศษที่ป่วยเป็นออทิสติก แอพฯ KJ School Application ฉบับเบต้าซึ่งนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 4 คนได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น จากฐานข้อมูลของโรงเรียนที่อยู่บนเว็บไซต์ www.kunlajin-hy.com ถูกตั้งเป้าให้เป็นแอพพลิเคชั่นตัวกลางที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา อาการป่วยของเด็กพิเศษ โดยอนุญาตให้แพทย์และผู้ปกครองของเด็กแต่ละคน สามารถเห็นพัฒนาการของเด็กผ่านทางวิดีโอแบบเรียลไทม์เพื่อศึกษาพัฒนาการ และให้คำแนะนำในการรักษาและปฏิบัติได้อย่างทันท่วงทีได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา ในส่วนของการสังเกตการณ์ทั้งระบบเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น ผู้ปกครองและแพทย์จะต้องล็อกอินเข้าสู่ระบบ เพื่อดูวิดีโอและคำแนะนำในการรักษา ตารางเรียน และความเห็นของแพทย์และครู ที่เกี่ยวข้องกับเด็กในการดูแลของตนเท่านั้น กิติพันธ์ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าจากสำนักศึกษาวิชาสารสนเทศศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ แกนนำหลักในการขับเคลื่อนแนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้ามาส่งเสริมพัฒนาการของเด็กพิเศษ ได้เริ่มต้นพัฒนาเว็บไซต์ของโรงเรียน ให้เป็นศูนย์รวมข้อมูลในการให้ความช่วยเหลือด้านพัฒนาการของเด็กพิเศษ และเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคลให้เป็นแฟ้มประวัติรวมทั้งผลักดันการใช้กล้องวงจรปิดเก็บภาพพฤติกรรมเด็ก กิติพันธ์ ระบุว่า ในขั้นแรกคิดว่าจะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายของโรงเรียนในการพาเด็กไปพบแพทย์ รวมทั้งอนุญาตให้ผู้ปกครองเห็นพัฒนาการของเด็ก วิธีการปฏิบัติของคณะครูต่อนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษในช่วงที่เด็กไม่รู้ตัวซึ่งจะแสดงให้เห็นพัฒนาการของเด็กที่แท้จริง แตกต่างจากเดิมโรงเรียนต้องใช้ระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ โดยมีครูเล่าอาการให้ผู้ปกครองและแพทย์ฟังซึ่งไม่ชัดเจนเท่าการเห็นภาพจริง หลังจากพัฒนาเว็บไซต์ไปได้ระยะหนึ่ง กิติพันธ์สังเกตว่า การสื่อสารผ่านทางเว็บมีข้อจำกัด คือแพทย์และผู้ปกครองจะต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น จึงเกิดความคิดที่จะพัฒนาแอพฯ บนมือถือเพื่อปิดช่องว่างดังกล่าว โดยหลังจากปรึกษากับอาจารย์จาก ม.วลัยลักษณ์ โครงการพัฒนาแอพฯ 'KJ School' จึงเกิดขึ้น โดยมี ดร.ชัชนันท์ จันแดง และ ดร.จิรารัตน์ สิทธิวรชาติ อาจารย์ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์เป็นที่ปรึกษา ดร.ชัชนันท์ ระบุว่า การพัฒนาโมบายแอพฯ ในตอนนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งใช้เวลาในการพัฒนามาแล้วประมาณ 2 เดือน และยังไม่สามารถใช้งานแบบเรียลไทม์ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบ 3G ซึ่งที่จังหวัดสงขลายังไม่มีเครือข่ายรองรับเหมือนในกรุงเทพฯ แต่การเชื่อมต่อผ่านทางอินเตอร์เน็ตไร้สายแบบไวไฟสามารถเชื่อมต่อได้ไม่มีปัญหา ด้าน 'ลักขณา กระบวนสิน' ผู้ปกครองของนักเรียนซึ่งเป็นเด็กพิเศษวัย 23 ปีที่เข้ารับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กับโรงเรียนกุลจินต์ เผยว่า ตั้งแต่เข้ารับการศึกษากับที่ร.ร. ลูกชายของตนสามารถที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ได้ และเดินทางไปเที่ยวพร้อมครอบครัวเป็นระยะทางไกลได้บ้างแล้วหลังจากเมื่อก่อนเวลานั่งรถไปด้วยกันลูกควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หากแอพฯ ดังกล่าวใช้ได้จริงบนมือถือ สามีซึ่งอยู่คนละจังหวัดกันคงจะดูพัฒนาการของลูกได้ ขณะเดียวกันแพทย์จะได้ให้การรักษาที่ส่งเสริมพัฒนาการของลูกชายได้อย่างเต็มที่'ปริญญา ชาตินักรบ' ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาบุคลากรและวิชาการจาก SIPA ระบุว่า SIPA ทำบันทึกความเข้าใจกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วประเทศ เพื่อตกลงที่จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการพัฒนาฝีมือเพื่อสร้าง ประสบการณ์ในการทำงาน โดยเฉพาะ ม.วลัยลักษณ์ ในปีการศึกษา 2556 SIPA อุดหนุนเงินให้กับนักศึกษาทั้งหมด 3,000 คน เฉลี่ยคนละ 10,000 บาท : วรวิตา แย้มสุดา ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdNVEkyTURrMU5nPT0= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)