อจ.มฟล.เจ๋ง-ทำเครื่องนำทางคนตาบอดทุนแค่พันบาท
เชียงราย - อาจารย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เจ๋ง ประดิษฐ์เครื่อง “ไอโซน่าร์” ช่วยนำทางคนตาบอดสำเร็จ ต้นทุนแค่พันบาท ขณะที่ของนอกราคาเรือนหมื่นขึ้น สามารถช่วยคนใช้รู้ตัวก่อนเดินไปกระทบวัตถุรอบตัว ตั้งแต่เดินเข้าใกล้ระยะ 1.30 เมตร ล่าสุดจดสิทธิบัตรแล้ว พร้อมเตรียมต่อยอดช่วยผู้สูงอายุต่อ
สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง แจ้งว่า ได้มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่คือ "เครื่องบอกเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับผู้พิการทางสายตา" ที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก โดยมีชื่อว่าไอโซน่าร์ (iSonar) ซึ่งคิดประดิษฐ์ขึ้นโดยนายสุรพล วรภัทราทร อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
เครื่องไอโซน่าร์ที่ว่านี้มีขนาดเกือบเท่ากล่องไม้ขีด มีน้ำหนักเบาไม่ถึง 2 กรัม ลักษณะเป็นกล่องสีขาว และมีสายไว้คล้องคอ เพื่อให้เครื่องอยู่ระดับอก และหันส่วนปฏิบัติการออกไปทางด้านหน้า เมื่อผู้คล้องอุปกรณ์เปิดเครื่องและเดินตรงไปห่างจากวัตถุกำแพง ฯลฯ ระยะตั้งแต่ 1.30 เมตรลงมา เครื่องก็จะเริ่มสั่น และยิ่งเดินเข้าไปใกล้วัตถุเครื่องก็จะสั่นไหวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ช่วยให้ผู้พิการทางสายตาสามารถทราบการเข้าใกล้วัตถุที่อยู่ด้านหน้าได้ มีรัศมีแนวกว้างทั้งด้านบน ล่าง ซ้าย ขวา ข้างละ 40 ซม.
นายสุรพล กล่าวว่า แรงจูงใจที่ทำให้ประดิษฐ์เครื่องไอโซน่าร์ เพราะช่วงที่ศึกษา และเป็นอาจารย์สอนหนังสือได้ทำงานคลุกคลีกับผู้พิการทางสายตามาตลอด พบเห็นความทุกข์ยากของผู้พิการที่ต้องเดินชนกับวัตถุต่างๆ จนบางครั้งได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะที่ศีรษะ ดังนั้น จึงเริ่มศึกษาอุปกรณ์ที่คนพิการทางสายตาได้ใช้กันทั่วโลก ซึ่งพบว่ามีขนาดใหญ่และใช้ไม่สะดวก รวมทั้งมีราคาแพงตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ขณะที่ผู้คนพิการส่วนใหญ่ในประเทศไทยซึ่งสถิติในปี 2544 มีจำนวน 123,200 คน ยังไม่มีใช้กัน ส่วนใหญ่ใช้เพียงไม้เท้าหรือคนช่วยพยุงไป
เมื่อมีโอกาสได้ทำงานวิจัยร่วมกับทีมงาน ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จึงได้คิดค้นเครื่องไอโซน่าร์ขึ้น โดยใช้เวลาศึกษาวิจัยร่วม 1 ปี มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้พิการในสมาคมคนตาบอด จ.เชียงราย และการศึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์ที่มีวางจำหน่ายอยู่แล้วทั่วโลก จึงสอบถามและโดยนำอุปกรณ์ที่ค้นขึ้นใหม่ไปให้ผู้พิการทดลองใช้ควบ คู่กับการจัดทำวัตถุจำลองที่จะเดินไปกระทบหลายรอบ จนพบผลว่า เครื่องไอโซน่าร์สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีสูงสุด เช่น อัตราการเดินชนวัตถุของส่วนต่างๆ ของร่างกายต่ำลงหรือบางส่วนไม่กระทบเลย และผู้ใช้ยังมีความพึงพอใจสูงสุดเพราะมีคุณสมบัติคือ ใช้งานจริงได้อย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย หรือใช้ได้โดยไม่ต้องถือไว้ในมือ ทำให้เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย รวมทั้งขนาดเล็กและมีต้นทุนต่ำเพียงเครื่องละประมาณ 1,000 บาท
นายสุรพล กล่าวอีกว่า รูปแบบการทำงานของเครื่องไอโซน่าร์ใช้ระบบอัลตราโซนิคที่ส่งคลื่นโซน่าร์ความถี่ 40 กิโลเฮิร์ต ซึ่งละเอียดจนมนุษย์ไม่ได้ยิน เพราะมนุษย์เราจะได้ยินในระดับ 20 กิโลเฮิร์ต จากนั้นคลื่นที่กระทบกับวัตถุข้างหน้าจะสะท้อนกลับไปยังตัวรับและควบคุม โดยตัวควบคุมหรือไมโคร คอนโทลเลอร์ จะส่งไปยังตัวสั่นสะเทือนทำให้เกิดการสั่นสะเทือนตั้งแต่ระยะ 1.30 เมตรขึ้นไป และจะค่อยๆ สั่นมากขึ้นเมื่อเข้าไปใกล้วัตถุที่คลื่นไปกระทบมากขึ้น ใช้พลังงานจากแบ๊ตเตอรี่ชนิดเดียวกับที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือที่มีขนาด เล็กและแบน ซึ่งสามารถใช้งานได้นานประมาณ 2 วัน และสามารถชาร์จได้เรื่อยๆ เมื่อไม่ใช้งานก็มีสวิตซ์เปิดและปิดได้ด้วย
"ที่ผ่านมาได้ ทดลองโดยให้ผู้พิการทางสายตาได้ใช้จริง เมื่อได้ผลแล้วก็นำมาปรับปรุงเรื่อยๆ เช่น เคยติดตั้งเสียงดัง เพื่อเตือนด้วย แต่ผู้พิการบอกว่า เขาก็ต้องการได้ยินเสียง อื่นๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากเครื่องนี้เสียงดังเพิ่มขึ้นอีกก็จะรบกวนการได้ยินด้านอื่นได้ เครื่องเดิมมีรัศมีการกระทบกับวัตถุเป็นวงกว้างเกินความจำเป็นจึงปรับให้มี รัศมีแคบลง จนได้ระดับที่ใช้งานได้จริง ผู้ใช้มีความพึงพอใจ ส่วนวุตถุที่อยู่ต่ำลงไปก็สามารถใช้ไม้เท้าได้อยู่แล้ว เป็นต้น"
นายสุรพล บอกอีกว่า ปัจจุบันได้นำเครื่องไอโซน่าร์ ไปมอบให้กับผู้พิการทางสายตาภายในสมาคมคนตาบอด จ.เชียงราย แล้ว 75 คน เพื่อให้แจ้งกลับความต้องการเพิ่มเติม และอุปสรรคปัญหา ซึ่งพบว่า ยังไม่มีการแจ้งเรื่องปัญหาอุปสรรคใดๆ กลับมา ทางมหาวิทยาลัยฯจึงทำการจดสิทธิบัตรเครื่องไอโซน่าร์ ซึ่งสามารถลอกเลียนแบบได้ยาก เพราะมีการใส่โปรแกรมควบคุมการทำงานเอาไว้เป็นการเฉพาะด้วย นอกจากนี้เมื่อนำไปจัดแสดงตามกิจกรรมต่างๆทั้งในและต่างประเทศพบว่า ได้รับความสนใจจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ-เอกชน ที่จะนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือคนพิการ ส่วนผู้พิการเองก็บอกต่อๆ กันไปจนคนที่ไม่มีใช้ก็อยากได้ใช้บ้าง
ขั้นตอนต่อไปคือ การพัฒนาให้เข้าสู่สายการผลิตเพื่อนำไปใช้ได้โดยทั่วไป โดยร่วมกับองค์กรที่สนใจ ขณะเดียวกันยังจะมีการพัฒนาเครื่องรุ่นต่อๆ ไป เพื่อให้ผู้ใช้พึงพอใจมากที่สุด เพราะจากการวิจัยที่ผ่านมามีข้อมูลที่เก็บไว้ เช่น ผู้พิการต้องการให้เครื่องสามารถกันน้ำได้ เปิดปิดเองได้เมื่อไม่ใช้ บอกเส้นทางได้ บอกเวลาได้ เป็นต้น
“คาดว่าปลายปี 2557 จะมีเครื่องรุ่นใหม่ออกมาต่อไป และพัฒนาต่อยอดไปถึงการใช้สำหรับช่วยเหลือผู้สูงอายุอีกด้วย”
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000136669 (ขนาดไฟล์: 166)
(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 พ.ย.56 )
1 อาจารย์สุรพล วรภัทราทร 24/11/2556 16:09:19
ใครสนใจสั่งซื้อหรือติดต่อรับเครื่องได้ฟรี ได้ที่ www.i-sonar.com นะครับ หรือเมล์มาที่ surapol.vor@mfu.ac.th
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายสุรพล วรภัทราทร อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กับผลงานเครื่องนำทางคนตาบอดเชียงราย - อาจารย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เจ๋ง ประดิษฐ์เครื่อง “ไอโซน่าร์” ช่วยนำทางคนตาบอดสำเร็จ ต้นทุนแค่พันบาท ขณะที่ของนอกราคาเรือนหมื่นขึ้น สามารถช่วยคนใช้รู้ตัวก่อนเดินไปกระทบวัตถุรอบตัว ตั้งแต่เดินเข้าใกล้ระยะ 1.30 เมตร ล่าสุดจดสิทธิบัตรแล้ว พร้อมเตรียมต่อยอดช่วยผู้สูงอายุต่อ สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง แจ้งว่า ได้มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่คือ "เครื่องบอกเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับผู้พิการทางสายตา" ที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก โดยมีชื่อว่าไอโซน่าร์ (iSonar) ซึ่งคิดประดิษฐ์ขึ้นโดยนายสุรพล วรภัทราทร อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างการทำงานของเครื่องนำทางคนตาบอด เครื่องไอโซน่าร์ที่ว่านี้มีขนาดเกือบเท่ากล่องไม้ขีด มีน้ำหนักเบาไม่ถึง 2 กรัม ลักษณะเป็นกล่องสีขาว และมีสายไว้คล้องคอ เพื่อให้เครื่องอยู่ระดับอก และหันส่วนปฏิบัติการออกไปทางด้านหน้า เมื่อผู้คล้องอุปกรณ์เปิดเครื่องและเดินตรงไปห่างจากวัตถุกำแพง ฯลฯ ระยะตั้งแต่ 1.30 เมตรลงมา เครื่องก็จะเริ่มสั่น และยิ่งเดินเข้าไปใกล้วัตถุเครื่องก็จะสั่นไหวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ช่วยให้ผู้พิการทางสายตาสามารถทราบการเข้าใกล้วัตถุที่อยู่ด้านหน้าได้ มีรัศมีแนวกว้างทั้งด้านบน ล่าง ซ้าย ขวา ข้างละ 40 ซม. นายสุรพล กล่าวว่า แรงจูงใจที่ทำให้ประดิษฐ์เครื่องไอโซน่าร์ เพราะช่วงที่ศึกษา และเป็นอาจารย์สอนหนังสือได้ทำงานคลุกคลีกับผู้พิการทางสายตามาตลอด พบเห็นความทุกข์ยากของผู้พิการที่ต้องเดินชนกับวัตถุต่างๆ จนบางครั้งได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะที่ศีรษะ ดังนั้น จึงเริ่มศึกษาอุปกรณ์ที่คนพิการทางสายตาได้ใช้กันทั่วโลก ซึ่งพบว่ามีขนาดใหญ่และใช้ไม่สะดวก รวมทั้งมีราคาแพงตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ขณะที่ผู้คนพิการส่วนใหญ่ในประเทศไทยซึ่งสถิติในปี 2544 มีจำนวน 123,200 คน ยังไม่มีใช้กัน ส่วนใหญ่ใช้เพียงไม้เท้าหรือคนช่วยพยุงไป เครื่องนำทางคนตาบอด เมื่อมีโอกาสได้ทำงานวิจัยร่วมกับทีมงาน ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จึงได้คิดค้นเครื่องไอโซน่าร์ขึ้น โดยใช้เวลาศึกษาวิจัยร่วม 1 ปี มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้พิการในสมาคมคนตาบอด จ.เชียงราย และการศึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์ที่มีวางจำหน่ายอยู่แล้วทั่วโลก จึงสอบถามและโดยนำอุปกรณ์ที่ค้นขึ้นใหม่ไปให้ผู้พิการทดลองใช้ควบ คู่กับการจัดทำวัตถุจำลองที่จะเดินไปกระทบหลายรอบ จนพบผลว่า เครื่องไอโซน่าร์สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีสูงสุด เช่น อัตราการเดินชนวัตถุของส่วนต่างๆ ของร่างกายต่ำลงหรือบางส่วนไม่กระทบเลย และผู้ใช้ยังมีความพึงพอใจสูงสุดเพราะมีคุณสมบัติคือ ใช้งานจริงได้อย่างรวดเร็ว สะดวกสบาย หรือใช้ได้โดยไม่ต้องถือไว้ในมือ ทำให้เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย รวมทั้งขนาดเล็กและมีต้นทุนต่ำเพียงเครื่องละประมาณ 1,000 บาท นายสุรพล กล่าวอีกว่า รูปแบบการทำงานของเครื่องไอโซน่าร์ใช้ระบบอัลตราโซนิคที่ส่งคลื่นโซน่าร์ความถี่ 40 กิโลเฮิร์ต ซึ่งละเอียดจนมนุษย์ไม่ได้ยิน เพราะมนุษย์เราจะได้ยินในระดับ 20 กิโลเฮิร์ต จากนั้นคลื่นที่กระทบกับวัตถุข้างหน้าจะสะท้อนกลับไปยังตัวรับและควบคุม โดยตัวควบคุมหรือไมโคร คอนโทลเลอร์ จะส่งไปยังตัวสั่นสะเทือนทำให้เกิดการสั่นสะเทือนตั้งแต่ระยะ 1.30 เมตรขึ้นไป และจะค่อยๆ สั่นมากขึ้นเมื่อเข้าไปใกล้วัตถุที่คลื่นไปกระทบมากขึ้น ใช้พลังงานจากแบ๊ตเตอรี่ชนิดเดียวกับที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือที่มีขนาด เล็กและแบน ซึ่งสามารถใช้งานได้นานประมาณ 2 วัน และสามารถชาร์จได้เรื่อยๆ เมื่อไม่ใช้งานก็มีสวิตซ์เปิดและปิดได้ด้วย เครื่องนำทางคนตาบอด "ที่ผ่านมาได้ ทดลองโดยให้ผู้พิการทางสายตาได้ใช้จริง เมื่อได้ผลแล้วก็นำมาปรับปรุงเรื่อยๆ เช่น เคยติดตั้งเสียงดัง เพื่อเตือนด้วย แต่ผู้พิการบอกว่า เขาก็ต้องการได้ยินเสียง อื่นๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากเครื่องนี้เสียงดังเพิ่มขึ้นอีกก็จะรบกวนการได้ยินด้านอื่นได้ เครื่องเดิมมีรัศมีการกระทบกับวัตถุเป็นวงกว้างเกินความจำเป็นจึงปรับให้มี รัศมีแคบลง จนได้ระดับที่ใช้งานได้จริง ผู้ใช้มีความพึงพอใจ ส่วนวุตถุที่อยู่ต่ำลงไปก็สามารถใช้ไม้เท้าได้อยู่แล้ว เป็นต้น" นายสุรพล บอกอีกว่า ปัจจุบันได้นำเครื่องไอโซน่าร์ ไปมอบให้กับผู้พิการทางสายตาภายในสมาคมคนตาบอด จ.เชียงราย แล้ว 75 คน เพื่อให้แจ้งกลับความต้องการเพิ่มเติม และอุปสรรคปัญหา ซึ่งพบว่า ยังไม่มีการแจ้งเรื่องปัญหาอุปสรรคใดๆ กลับมา ทางมหาวิทยาลัยฯจึงทำการจดสิทธิบัตรเครื่องไอโซน่าร์ ซึ่งสามารถลอกเลียนแบบได้ยาก เพราะมีการใส่โปรแกรมควบคุมการทำงานเอาไว้เป็นการเฉพาะด้วย นอกจากนี้เมื่อนำไปจัดแสดงตามกิจกรรมต่างๆทั้งในและต่างประเทศพบว่า ได้รับความสนใจจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ-เอกชน ที่จะนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือคนพิการ ส่วนผู้พิการเองก็บอกต่อๆ กันไปจนคนที่ไม่มีใช้ก็อยากได้ใช้บ้าง ขั้นตอนต่อไปคือ การพัฒนาให้เข้าสู่สายการผลิตเพื่อนำไปใช้ได้โดยทั่วไป โดยร่วมกับองค์กรที่สนใจ ขณะเดียวกันยังจะมีการพัฒนาเครื่องรุ่นต่อๆ ไป เพื่อให้ผู้ใช้พึงพอใจมากที่สุด เพราะจากการวิจัยที่ผ่านมามีข้อมูลที่เก็บไว้ เช่น ผู้พิการต้องการให้เครื่องสามารถกันน้ำได้ เปิดปิดเองได้เมื่อไม่ใช้ บอกเส้นทางได้ บอกเวลาได้ เป็นต้น “คาดว่าปลายปี 2557 จะมีเครื่องรุ่นใหม่ออกมาต่อไป และพัฒนาต่อยอดไปถึงการใช้สำหรับช่วยเหลือผู้สูงอายุอีกด้วย” ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000136669 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 พ.ย.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)