‘เพียงแค่ อ่าน’
คอลัมน์ - รู้โลก ไม่รู้ตน : “เสียง” สิ่งที่ใคร ๆ ก็มี แต่บางทีวัน ๆ เราพูดออกไปสื่อสารออกไปโดยที่เราอาจไม่เคยได้ตระหนักว่า “เสียง” ของเรา อาจมีประโยชน์มากกว่าการสื่อสารประจำวัน แต่ยังสามารถเป็น “แสง” สำหรับคนบางคนได้อีกด้วย
ผมพูดถึงสิ่งนี้เพราะได้มามีส่วนร่วมในโครงการ แอพพลิเคชั่น Read for the Blind อันเป็นแอพพลิเคชั่น ที่ทำให้คนทุกคนที่มีสมาร์ทโฟน สามารถที่จะอ่านหนังสือ อัดเสียงเป็นไฟล์เสียง ที่ผู้พิการทางสายตาสามารถที่จะมาโหลดฟังได้นั่นเอง !!!
หลาย ๆ ครั้งเราดำรงชีวิตในสังคม โดยที่ไม่ได้ตระหนักถึงเพื่อนร่วมสังคมที่อาจจะมีอะไรไม่ครบเหมือนกันกับพวกเรา หลายครั้งเราอาจจะลืมไปว่า ผู้พิการทางสายตา มีขีดจำกัดในการเข้าถึงองค์ความรู้ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เราสามารถเข้าถึงได้ และบ่อย ๆ ครั้งเลยที่เราลืมไปว่าเราสามารถที่จะช่วยเหลือพวกเขาได้ และสิ่งที่เราช่วยเขาได้นั้นไม่ต้องลงทุนอะไรมากมายเพียงแค่อ่านหนังสือเป็น ไฟล์เสียงให้กับพวกเขาแต่เดิมการอ่านหนังสือให้ผู้พิการทางสายตานั้นลำบากพอสมควร เพราะต้องไปจองห้องอัด ต้องรอคิว
ต้องอ่านหนังสือที่เราอาจจะไม่คุ้นเคย เมื่อเจอขีดจำกัดแบบนี้ก็เลยถอดใจ และไม่ได้อ่าน ทำให้ห้องสมุดหนังสือเสียงจึงมีจำกัดเอามาก ๆ จึงอยากจะพูดถึง แอพพลิเคชั่น ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ ข้ามผ่านขีดจำกัดเหล่านี้ เพราะเป็นความพยายามที่ดียิ่งของหลาย ๆ ส่วนที่ร่วมกันเสียสละพัฒนามันขึ้นมาครับ
ที่อยากจะพูดถึงก็เพราะว่าทุก ๆ ส่วนที่ร่วมกันสร้างแอพพลิเคชั่นนี้ นอกจากจิตใจดีคิดถึงผู้อื่นแล้ว (โดยเฉพาะผู้ริเริ่มโครงการนี้คือ คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ อดีตพิธีกรชื่อดัง ยังได้มาร่วมกัน “สละเวลา” (อันเป็นสิ่งที่ ภาคธุรกิจ และคนไทยปัจจุบัน หวงแหนมาก ๆ) มารังสรรค์โครงการนี้ ทั้ง กูเกิล ประเทศไทย, ซัมซุงประเทศไทย (ที่เป็นผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นจนสำเร็จ) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ที่ปกติก็ช่วยมูลนิธิคนตาบอดด้วยการแปลงไฟล์หนังสือเป็นหนังสืออักษรเบรลล์ และ เอไอเอส ที่ช่วยในหลายมิติ รวมถึงเรื่องพื้นที่ เซิร์ฟเวอร์
หลาย ๆ ท่านที่ โหลดแอพพลิเคชั่นนี้ จะบอกว่าใช้ง่ายแต่เบื้องหลังนั้นทำยากมาก ๆ ใช้เวลาครึ่งปี กว่าที่จะออกมาได้ปรากฏการณ์ การที่มีแอพพลิเคชั่น ที่ทำให้เราสามารถทำความดี ทำเพื่อผู้อื่นได้เพียงแค่การอัดเสียง ในสมาร์ทโฟนของตนเอง (ง่ายกว่านี้คงไม่มีแล้ว) ยังน่าเป็นสิ่งที่ กระตุ้นให้คนเราได้ตระหนักถึงการใช้ชีวิตของเราเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นมากขึ้น ตระหนักถึงชีวิตของเราเพื่อคนอื่นมากขึ้น นอกจากนี้ “การอ่านออกเสียง” ยังช่วยให้เรา ฝึกสติ และสมาธิได้ดีกว่าการอ่านในใจ อันเป็นการฝึกสติได้ในอีกวิธีหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ โครงการนี้จะทำให้เราได้ตระหนักถึงคุณค่าของหนังสือ ที่ครั้งหนึ่งเราอาจจะมองว่า ไม่มีคุณค่า (สำหรับคนไทยที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ) การช่วยกันอ่านแม้ว่าจะไม่เยอะมาก จะทำให้รู้ว่า มีคนอีกจำนวนมากที่อยากจะอ่าน แต่ไม่สามารถที่จะอ่านหนังสือได้ทุกเล่ม เรามีโอกาสแล้ว จึงควรที่จะใช้ความพร้อมของพวกเราในการอ่านหนังสือเปิดโลกเสริมจินตนาการกัน ได้มากขึ้น ช่วยกันลบคำสบประมาทที่ ผลวิจัยบอกว่าคนไทยอ่านหนังสือวันละไม่กี่บรรทัดกันเสียทีลองมาร่วมเป็นส่วน หนึ่งที่ทำให้โลกที่มืด ๆ สีดำ ๆ ของผู้พิการทางสายตา กลับมาเป็นโลกที่กว้างขึ้นจากการเสียสละเวลา ของพวกท่านกันสักนิด แล้วท่านจะอัศจรรย์ใจว่า เพียงแค่อ่าน ท่านก็ทำสิ่งดี ๆ ให้กับผู้อื่นได้แล้วครับ.
ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=189608 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ต.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คณะผู้จัดทำโครงการแอพพลิเคชั่น Read for the Blind คอลัมน์ - รู้โลก ไม่รู้ตน : “เสียง” สิ่งที่ใคร ๆ ก็มี แต่บางทีวัน ๆ เราพูดออกไปสื่อสารออกไปโดยที่เราอาจไม่เคยได้ตระหนักว่า “เสียง” ของเรา อาจมีประโยชน์มากกว่าการสื่อสารประจำวัน แต่ยังสามารถเป็น “แสง” สำหรับคนบางคนได้อีกด้วย ผมพูดถึงสิ่งนี้เพราะได้มามีส่วนร่วมในโครงการ แอพพลิเคชั่น Read for the Blind อันเป็นแอพพลิเคชั่น ที่ทำให้คนทุกคนที่มีสมาร์ทโฟน สามารถที่จะอ่านหนังสือ อัดเสียงเป็นไฟล์เสียง ที่ผู้พิการทางสายตาสามารถที่จะมาโหลดฟังได้นั่นเอง !!! แอพพลิเคชั่น Read for the Blindหลาย ๆ ครั้งเราดำรงชีวิตในสังคม โดยที่ไม่ได้ตระหนักถึงเพื่อนร่วมสังคมที่อาจจะมีอะไรไม่ครบเหมือนกันกับพวกเรา หลายครั้งเราอาจจะลืมไปว่า ผู้พิการทางสายตา มีขีดจำกัดในการเข้าถึงองค์ความรู้ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เราสามารถเข้าถึงได้ และบ่อย ๆ ครั้งเลยที่เราลืมไปว่าเราสามารถที่จะช่วยเหลือพวกเขาได้ และสิ่งที่เราช่วยเขาได้นั้นไม่ต้องลงทุนอะไรมากมายเพียงแค่อ่านหนังสือเป็น ไฟล์เสียงให้กับพวกเขาแต่เดิมการอ่านหนังสือให้ผู้พิการทางสายตานั้นลำบากพอสมควร เพราะต้องไปจองห้องอัด ต้องรอคิว ต้องอ่านหนังสือที่เราอาจจะไม่คุ้นเคย เมื่อเจอขีดจำกัดแบบนี้ก็เลยถอดใจ และไม่ได้อ่าน ทำให้ห้องสมุดหนังสือเสียงจึงมีจำกัดเอามาก ๆ จึงอยากจะพูดถึง แอพพลิเคชั่น ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ ข้ามผ่านขีดจำกัดเหล่านี้ เพราะเป็นความพยายามที่ดียิ่งของหลาย ๆ ส่วนที่ร่วมกันเสียสละพัฒนามันขึ้นมาครับ ที่อยากจะพูดถึงก็เพราะว่าทุก ๆ ส่วนที่ร่วมกันสร้างแอพพลิเคชั่นนี้ นอกจากจิตใจดีคิดถึงผู้อื่นแล้ว (โดยเฉพาะผู้ริเริ่มโครงการนี้คือ คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ อดีตพิธีกรชื่อดัง ยังได้มาร่วมกัน “สละเวลา” (อันเป็นสิ่งที่ ภาคธุรกิจ และคนไทยปัจจุบัน หวงแหนมาก ๆ) มารังสรรค์โครงการนี้ ทั้ง กูเกิล ประเทศไทย, ซัมซุงประเทศไทย (ที่เป็นผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นจนสำเร็จ) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ที่ปกติก็ช่วยมูลนิธิคนตาบอดด้วยการแปลงไฟล์หนังสือเป็นหนังสืออักษรเบรลล์ และ เอไอเอส ที่ช่วยในหลายมิติ รวมถึงเรื่องพื้นที่ เซิร์ฟเวอร์ หลาย ๆ ท่านที่ โหลดแอพพลิเคชั่นนี้ จะบอกว่าใช้ง่ายแต่เบื้องหลังนั้นทำยากมาก ๆ ใช้เวลาครึ่งปี กว่าที่จะออกมาได้ปรากฏการณ์ การที่มีแอพพลิเคชั่น ที่ทำให้เราสามารถทำความดี ทำเพื่อผู้อื่นได้เพียงแค่การอัดเสียง ในสมาร์ทโฟนของตนเอง (ง่ายกว่านี้คงไม่มีแล้ว) ยังน่าเป็นสิ่งที่ กระตุ้นให้คนเราได้ตระหนักถึงการใช้ชีวิตของเราเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นมากขึ้น ตระหนักถึงชีวิตของเราเพื่อคนอื่นมากขึ้น นอกจากนี้ “การอ่านออกเสียง” ยังช่วยให้เรา ฝึกสติ และสมาธิได้ดีกว่าการอ่านในใจ อันเป็นการฝึกสติได้ในอีกวิธีหนึ่งด้วย แอพพลิเคชั่น Read for the Blindนอกจากนี้ โครงการนี้จะทำให้เราได้ตระหนักถึงคุณค่าของหนังสือ ที่ครั้งหนึ่งเราอาจจะมองว่า ไม่มีคุณค่า (สำหรับคนไทยที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ) การช่วยกันอ่านแม้ว่าจะไม่เยอะมาก จะทำให้รู้ว่า มีคนอีกจำนวนมากที่อยากจะอ่าน แต่ไม่สามารถที่จะอ่านหนังสือได้ทุกเล่ม เรามีโอกาสแล้ว จึงควรที่จะใช้ความพร้อมของพวกเราในการอ่านหนังสือเปิดโลกเสริมจินตนาการกัน ได้มากขึ้น ช่วยกันลบคำสบประมาทที่ ผลวิจัยบอกว่าคนไทยอ่านหนังสือวันละไม่กี่บรรทัดกันเสียทีลองมาร่วมเป็นส่วน หนึ่งที่ทำให้โลกที่มืด ๆ สีดำ ๆ ของผู้พิการทางสายตา กลับมาเป็นโลกที่กว้างขึ้นจากการเสียสละเวลา ของพวกท่านกันสักนิด แล้วท่านจะอัศจรรย์ใจว่า เพียงแค่อ่าน ท่านก็ทำสิ่งดี ๆ ให้กับผู้อื่นได้แล้วครับ. ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=189608 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ต.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)