20 นวัตกรรมเข้ารอบสุดท้าย เตรียมพัฒนาให้เป็นจริงต่อไป
การประกวด "เจมส์ ไดซัน อวอร์ด" ประจำปีนี้ ได้ 20 นวัตกรรมที่เข้ารอบสุดท้าย จากการสร้างสรรค์โดยวิศวกร, นักวิทยาศาสตร์ และนักออกแบบทั่วโลกแล้ว จากผู้ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 650 ชิ้น 18 ประเทศ และจะประกาศผู้ชนะเลิศในวันที่ 7 พ.ย.นี้ โดยมีรางวัลให้ 30,000 ปอนด์ หรือประมาณ 1,501,000 บาท
ทีมวิศวกรจากสหรัฐประดิษฐ์ "Titan arm" ช่วยคนงานที่ต้องยกของหนักตามโกดังทั้งหลาย ที่มักมีปัญหาเจ็บแขนและปวดหลัง โดยแขนที่ทำงานเหมือนหุ่นยนต์นี้ทำหน้าที่ไม่ต่างจากกระดูกภายนอกร่างกาย ที่จะช่วยเพิ่มพละกำลังให้กับมนุษย์และเป็นเครื่องที่ผูกโยงติดกับหลังช่วย ป้องกันการยกของหนักผิดท่า แขนกลดังกล่าวยังช่วยผู้ที่ประสบอุบัติเหตุแขนบาดเจ็บ ในการสร้างกล้ามเนื้อขึ้นใหม่และกลับมาเริ่มต้นควบคุมเครื่องยนต์กลไกต่างๆ ได้อีกครั้ง
ฮิโรชิ ยามัวรา คิดค้น "Handie" มือที่เพิ่มความคล่องแคล่วให้กับมนุษย์ มีเซ็นเซอร์ติดอยู่ภายในสามารถอ่านสัญญาณจากสมองคนได้ ขณะที่นักประดิษฐ์อีกคนจากญี่ปุ่น สร้าง "AWARING" ช่วยหาว่าผู้พูดคนนั้นอยู่ตรงจุดไหน ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับคนหูหนวกที่เข้าใจการสื่อสารด้วยการอ่านจากริม ฝีปาก แต่จะมีปัญหาเมื่ออยู่ในที่สาธารณะที่มีผู้พูดหลายคน
มูกิ ยามาโมโต สร้าง "Stack" พริ้นเตอร์อิงค์เจ็ตขนาดเล็ก ความพิเศษคือเมื่อวางลงบนกองกระดาษที่ใช้แล้วจะกลืนกระดาษลงไป จากนั้นสร้างกระดาษใหม่ขึ้นมาได้
เจค อีวิลล์ สร้างเครื่องพริ้นเตอร์ 3 มิติชื่อ "Cortex" ซึ่งสามารถพิมพ์แบบออกมาเป็นรูปทรงได้เลยและยังทำจากพลาสติกที่ใช้แล้วด้วย
วิศวกรจากอังกฤษ แดน แม็คเลาจ์ลิน เห็นว่าอุตสาหกรรมผลิตขนแกะได้ก่อให้เกิดขยะมากมาย เขาจึง นำขนแกะที่ทิ้งแล้วมาแปรรูปเป็นพลาสติกที่ทนไฟและย่อยสลายได้ ตั้งชื่อว่า "BioWool" ทำโดยนำขนแกะมาแปรง จากนั้นตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำเส้นใยมารวมกัน เส้นใยที่ได้นำมาทำเป็นกระเป๋าเดินทางได้
"Xarius" เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าขนาดพกพาที่ใช้พลังงานลม ที่นำมาใช้ชาร์ตอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับเขตที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง
"Gluco" ช่วยผู้ป่วยเบาหวานได้มาก โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่ต้องเจาะผิวหนังอีกต่อไป เพียงแค่ใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับนาฬิกาดิจิตอล ก็สามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้หลังจากนั้นนำผลที่วัดมาดูว่าต้องฉีดอินซูลินปริมาณเท่าไร
"Sono" สร้างขึ้นมาช่วยคนในเมืองใหญ่ที่มักประสบปัญหาเสียงรบกวน ทั้งจากท้องถนนและเพื่อนบ้าน เมื่อติดเครื่องที่ว่าไว้ที่หน้าต่าง จะทำให้เสียงจากภายนอกไม่สามารถผ่านกระจกเข้ามาในบ้านได้
"Comb" ดูจากรูปลักษณ์ภายนอกเราอาจคิดไปว่าเป็น "แบทโมบาย" ของมนุษย์ค้างคาว แต่นี่คือ รถเก็บขยะที่ไม่ต้องมีคนขับ โดยติดตั้งจีพีเอสและควบคุมการขับเคลื่อนด้วยรีโมตคอนโทรล
เซอร์เจมส์ ไดซัน กล่าวถึง นวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวดในปีนี้ว่า "มีความคิดที่กล้าหาญทั้งใหญ่และเล็ก ซึ่งสามารถแก้ปัญหาสำคัญของมนุษย์ได้ โดยวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์รุ่นหนุ่มสาวจากทั่วโลก แต่นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการอีกยาวนานในการผลิตให้เป็นจริงใน เชิงพาณิชย์"
ขอบคุณ … http://thaipost.net/tabloid/131013/80612 (ขนาดไฟล์: 167)
(ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ต.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
การประกวด "เจมส์ ไดซัน อวอร์ด" ประจำปีนี้ ได้ 20 นวัตกรรมที่เข้ารอบสุดท้าย จากการสร้างสรรค์โดยวิศวกร, นักวิทยาศาสตร์ และนักออกแบบทั่วโลกแล้ว จากผู้ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 650 ชิ้น 18 ประเทศ และจะประกาศผู้ชนะเลิศในวันที่ 7 พ.ย.นี้ โดยมีรางวัลให้ 30,000 ปอนด์ หรือประมาณ 1,501,000 บาท ทีมวิศวกรจากสหรัฐประดิษฐ์ "Titan arm" ช่วยคนงานที่ต้องยกของหนักตามโกดังทั้งหลาย ที่มักมีปัญหาเจ็บแขนและปวดหลัง โดยแขนที่ทำงานเหมือนหุ่นยนต์นี้ทำหน้าที่ไม่ต่างจากกระดูกภายนอกร่างกาย ที่จะช่วยเพิ่มพละกำลังให้กับมนุษย์และเป็นเครื่องที่ผูกโยงติดกับหลังช่วย ป้องกันการยกของหนักผิดท่า แขนกลดังกล่าวยังช่วยผู้ที่ประสบอุบัติเหตุแขนบาดเจ็บ ในการสร้างกล้ามเนื้อขึ้นใหม่และกลับมาเริ่มต้นควบคุมเครื่องยนต์กลไกต่างๆ ได้อีกครั้ง ฮิโรชิ ยามัวรา คิดค้น "Handie" มือที่เพิ่มความคล่องแคล่วให้กับมนุษย์ มีเซ็นเซอร์ติดอยู่ภายในสามารถอ่านสัญญาณจากสมองคนได้ ขณะที่นักประดิษฐ์อีกคนจากญี่ปุ่น สร้าง "AWARING" ช่วยหาว่าผู้พูดคนนั้นอยู่ตรงจุดไหน ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับคนหูหนวกที่เข้าใจการสื่อสารด้วยการอ่านจากริม ฝีปาก แต่จะมีปัญหาเมื่ออยู่ในที่สาธารณะที่มีผู้พูดหลายคน มูกิ ยามาโมโต สร้าง "Stack" พริ้นเตอร์อิงค์เจ็ตขนาดเล็ก ความพิเศษคือเมื่อวางลงบนกองกระดาษที่ใช้แล้วจะกลืนกระดาษลงไป จากนั้นสร้างกระดาษใหม่ขึ้นมาได้ เจค อีวิลล์ สร้างเครื่องพริ้นเตอร์ 3 มิติชื่อ "Cortex" ซึ่งสามารถพิมพ์แบบออกมาเป็นรูปทรงได้เลยและยังทำจากพลาสติกที่ใช้แล้วด้วย วิศวกรจากอังกฤษ แดน แม็คเลาจ์ลิน เห็นว่าอุตสาหกรรมผลิตขนแกะได้ก่อให้เกิดขยะมากมาย เขาจึง นำขนแกะที่ทิ้งแล้วมาแปรรูปเป็นพลาสติกที่ทนไฟและย่อยสลายได้ ตั้งชื่อว่า "BioWool" ทำโดยนำขนแกะมาแปรง จากนั้นตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำเส้นใยมารวมกัน เส้นใยที่ได้นำมาทำเป็นกระเป๋าเดินทางได้ "Xarius" เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าขนาดพกพาที่ใช้พลังงานลม ที่นำมาใช้ชาร์ตอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับเขตที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง "Gluco" ช่วยผู้ป่วยเบาหวานได้มาก โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่ต้องเจาะผิวหนังอีกต่อไป เพียงแค่ใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับนาฬิกาดิจิตอล ก็สามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้หลังจากนั้นนำผลที่วัดมาดูว่าต้องฉีดอินซูลินปริมาณเท่าไร "Sono" สร้างขึ้นมาช่วยคนในเมืองใหญ่ที่มักประสบปัญหาเสียงรบกวน ทั้งจากท้องถนนและเพื่อนบ้าน เมื่อติดเครื่องที่ว่าไว้ที่หน้าต่าง จะทำให้เสียงจากภายนอกไม่สามารถผ่านกระจกเข้ามาในบ้านได้ "Comb" ดูจากรูปลักษณ์ภายนอกเราอาจคิดไปว่าเป็น "แบทโมบาย" ของมนุษย์ค้างคาว แต่นี่คือ รถเก็บขยะที่ไม่ต้องมีคนขับ โดยติดตั้งจีพีเอสและควบคุมการขับเคลื่อนด้วยรีโมตคอนโทรล เซอร์เจมส์ ไดซัน กล่าวถึง นวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวดในปีนี้ว่า "มีความคิดที่กล้าหาญทั้งใหญ่และเล็ก ซึ่งสามารถแก้ปัญหาสำคัญของมนุษย์ได้ โดยวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์รุ่นหนุ่มสาวจากทั่วโลก แต่นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการอีกยาวนานในการผลิตให้เป็นจริงใน เชิงพาณิชย์" ขอบคุณ … http://thaipost.net/tabloid/131013/80612 (ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ต.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)